ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

   ไม่ว่าเวลาจะผ่านมาแล้ววกี่ปีต่อปีก็ตามแต่ ภาพจำความรุนแรงการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ก็ยังคงติดตาคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะการชุมนุมในปี53 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศยุบสภา
นับเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประเทศไทย ที่ได้สร้างความเสียหายให้ชาติบ้านเมืองเป็นอย่างมาก  จากพฤติกรรมของเหล่าบรรดาแกนนำคนเสื้อแดง ได้ปลุกปั่นยั่วยุให้ จนนำพามาสู่เหตุการณ์ “เผาบ้านเผาเมือง”
    ทั้งการให้เอา “ขวดแก้วคนละใบ มาเติมน้ำมันเอาข้างหน้า… น้ำมันล้านลิตร .. รับรองว่ากรุงเทพจะเป็นทะเลเพลิง” ของนายอริสมันต์ พงศ์ เรืองรอง  หรือ “เผาเลยพี่น้องผมรับผิดชอบเอง ของนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ , “ไฟจะลุกท่วมทั้งประเทศ “ โดยนาย วีระกานต์มุสิกพงศ์    และ“ให้ไปที่ศาลากลาง แล้วรอสัญญาณ” จตุพร พรหมพันธุ์
 

   หากย้อนไปเมื่อพฤษภาคม ปี53 เริ่มต้นจาก
เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 เจ้าหน้าที่ตำรวจเคลื่อนเข้าไปปิดล้อมและพยายามตัดขาดกลุ่มผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ประกาศว่าอภิสิทธิ์ได้เริ่มสงครามกลางเมือง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงปืนใส่เจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดความแตกแยกในกองกำลังความมั่นคง สถานทูตอเมริกันและอังกฤษปิดด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ราว 13.30 น. มีการปะทะกันระหว่างทหารกับกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณหน้าสนามมวยเวทีลุมพินี ทั้งสองฝ่ายมีการยิงปืน ประทัดยักษ์และพลุตะไลตอบโต้กัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย จากการปะทะกันบริเวณหน้าสวนลุมไนท์บาซาร์ เมื่อเวลา 15.20 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้ย้ายไปปักหลักบริเวณแยกประตูน้ำ ถนนราชปรารภทั้งสองฝั่ง และบริเวณสถานีรถไฟฟ้าราชปรารภ
ซากรถบรรทุกที่ถูกเผาทำลายกีดขวางถนนพระราม 4
    เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งประจำการบริเวณแยกบ่อนไก่ ถนนพระรามที่ 4 ได้รุกคืบเข้าควบคุมพื้นที่อีกครั้งด้วยการกลับมาวางแนวลวดหนาม หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามานำออกไปก่อนหน้านี้ ฝ่ายทหารใช้ทั้งกระสุนและแก๊สน้ำตาเข้าช่วยยึดคืนพื้นที่ ต่อมา เวลา 18.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมเสียชีวิต 1 ราย จากการปะทะกับกองกำลังทหารบริเวณแยกบ่อนไก่ กระสุนเข้าที่ท้ายทอย สถานทูตแคนาดาถูกปิดไปเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น.
ในเวลาใกล้เคียงกัน เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นหน้าเวทีคนเสื้อแดง โดยเกิดเสียงคล้ายปืนดังขึ้น และมีระเบิดควันขว้างลงมาหลังเวที ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 15 คน เวลา        18.40 น. เจ้าหน้าที่ทหารเคลื่อนรถหุ้มเกราะเข้าไปยังแยกศาลาแดง พร้อมกันนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าต่อต้านด้วยการขว้างขวด ระเบิดขวด และระเบิดควันเข้าใส่ เจ้าหน้าที่ทหารเตือนว่าจะนับหนึ่งถึงสามแล้วจะยิงทันที เสร็จแล้วเสียงปืนจากกองกำลังทหารที่ซุ่มอยู่บนรางรถไฟฟ้าก็ดังขึ้นทันที
    เวลา 21.00 น. บริเวณถนนสาทร ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ทหารตั้งแนวป้องกันปิดถนน ไม่ให้ประชาชนผ่านเข้าไปยังถนนพระรามที่ 4 ตามประกาศของ ศอฉ. โดยเจ้าหน้าที่ทหารยิงกระสุนใส่ประชาชนที่ขับรถไปตามเส้นทางถนนสาทร ช่วงบริเวณแยกไฟแดงซอยสาทร 6 หน้าโรงแรมเอฟเวอร์กรีน จนได้รับบาดเจ็บไป 1 ราย โดยถูกยิงเข้าบริเวณตาตุ่มข้อเท้าด้านขวาเจ้าหน้าที่ศูนย์เอราวัณ ช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลตากสิน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ทหารยังใช้ปืนยิงขู่ประชาชน ที่ขับรถเข้ามาตามถนนสาทร มุ่งหน้าถนนพระรามที่ 4 อีกด้วย
เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์เอราวัณ เปิดเผยว่าตัวเลขเมื่อเวลา 22.00 น. มีผู้เสียชีวิต 7 ศพ และได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 101 คน ส่วนมากถูกกระสุนปืนยิงเข้าที่ศีรษะ ปาก และช่วงท้อง ต่อมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มีผู้บาดเจ็บ 125 คน และเสียชีวิต 10 ศพ ส่วนตามข้อมูลของเดอะเทเลกราฟนั้น ได้รายงานว่ากลุ่มผู้ชุมนุมเสียชีวิตอย่างน้อย 16 ศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 157 คน


    จนเมื่อวันที่ 15 พ.ค.53 เมื่อเวลา 00.30 น. เกิดเหตุรถตู้โตโยต้าคอมมิวเตอร์ สีบรอนซ์เงิน ทะเบียน ฮค 8561 กรุงเทพมหานคร ขับมาบนถนนราชปรารภ มุ่งหน้าไปทางดินแดงด้วยความเร็วสูง เมื่อวิ่งมาถึงบริเวณสถานีแอร์พอร์ตเรลลิงก์มักกะสัน ทหารประจำด่านตรวจส่งสัญญาณให้หยุดรถ แต่รถตู้คันดังกล่าวไม่ยอมหยุด เจ้าหน้าที่ใช้ปืนยิงยางรถ แต่รถยังคงไม่หยุดวิ่ง ทหารจึงตัดสินใจระดมยิงด้วยกระสุนจนรถพรุนไปทั้งคัน ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสามราย รวมทั้งคนขับและเด็กชายวัย 10 ปี เจ้าหน้าที่ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลพญาไท 1ต่อมา เวลาประมาณ 9.00 น. ได้เกิดเหตุจ่าทหารอากาศนายหนึ่งเสียชีวิตจากการถูกฝ่ายเดียวกันยิง (friendly fire)
เจ้าหน้าที่ทหารประกาศจัดตั้ง "เขตยิงกระสุนจริง" ในหลายพื้นที่ใกล้กับกลุ่มผู้ชุมนุม และกลุ่มผู้ชุมนุมที่เข้าไปในเขตเหล่านี้จะถูกยิงทันทีที่พบ มีรายงานว่ากลุ่มผู้ชุมนุมขาดแคลนน้ำและอาหารจากการปิดกั้นของเจ้าหน้าที่ทหาร และอาจชุมนุมต่อไปได้อีกเพียงไม่กี่วัน หลังกลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าปล้นร้านค้าใกล้เคียง
เวลา 24.00 น. ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร รายงานรายชื่อผู้เสียชีวิต จากเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ทหารกระชับพื้นที่การชุมนุม ของกลุ่มคนเสื้อแดง ตั้งแต่วันที่ 14-15 พฤษภาคม ว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 24 ศพ และบาดเจ็บ 187 คน
 

   ในวันที่ 16 พ.ค.53 ผู้สื่อข่าวในบริเวณใกล้เคียงกับที่มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ทหารนั้นจำต้องยุติการออกอากาศสดด้วยเกรงว่าจะถูกพลแม่นปืนฝ่ายทหารในพื้นที่ยิง รัฐบาลกระตุ้นให้ผู้ชุมนุมเด็กและผู้สูงอายุออกจากพื้นที่ชุมนุมเมื่อช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น ทำให้เกิดความกลัวว่าจะมีการสลายการชุมนุมตามมา แกนนำ นปช. เริ่มบอกกลุ่มผู้ชุมนุมว่าสื่อต่างประเทศ เช่น ซีเอ็นเอ็น บีบีซี รอยเตอร์ และอื่น ๆ ไม่สามารถเชื่อถือได้ เนื่องจากสำนักข่าวเหล่านี้มีอคติ ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้รุนแรงจากผู้สนับสนุนชาวต่างประเทศ วันเดียวกัน พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ซึ่งถูกยิงเข้าที่ศีรษะเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม เสียชีวิต
   วันเดียวกันนาย จตุพร พรหมพันธุ์ ขอพึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนายจตุพร กล่าวว่า เหตุการณ์วันที่ 20 พฤษภาคม 2535 หากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไม่เรียกคู่ขัดแย้งมาหยุดยั้งความตายในวันนั้น ไม่รู้จะมีกี่พันศพ วันนี้ก็เช่นกัน พวกตนเป็นพสกนิกร ก็ขอพึ่งพระบารมีพระองค์ เพราะเราไม่มีที่พึ่งจริงๆ
    เวลา 23.00 น. ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร รายงานจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จากเหตุการณ์กระชับพื้นที่การชุมนุม ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม สรุปล่าสุดเวลา 22.00 น. ว่ามีผู้เสียชีวิต 31 ศพ บาดเจ็บ 230 คน รวม 261 คน รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล 83 ราย ในจำนวนนี้ต้องรักษาตัวในห้องไอซียู 12 ราย


   วันที่ 17 พ.ค.53 เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น. มีผู้ขับรถกระบะโตโยต้า วีโก้ คือ จ่าอากาศเอก พงศ์ชลิต มาจากซอยคอนแวนต์เข้าไปยังถนนสีลม ระหว่างนั้นมีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด และเกิดการยิงต่อสู้กันขึ้นระหว่างผู้ที่อยู่ในรถกับทหารซึ่งคุมพื้นที่อยู่ริมถนน จนรถกระบะเสียหลักพุ่งชนรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จอดอยู่บริเวณข้างทาง ช่วงหน้าธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ จากนั้น ได้นำผู้บาดเจ็บสองรายส่งโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน จ่าอากาศเอก พงศ์ชลิต ทิพยานนทการ ถูกยิงที่ศีรษะและเสียชีวิตในเวลาต่อมา และเรืออากาศตรีอภิชาติ ช้งย้ง อายุ 26 ปี ได้รับบาดเจ็บ คาดว่าเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความเข้าใจผิด โดยมีการปะทะกันอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งคืนระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมและทหาร โดยมีคนร้ายยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่หน้าโรงแรมดุสิตธานีจำนวนหลายลูก ทำให้กระจกหน้าโรงแรมแตก และมีกลุ่มควันสีดำพุ่งออกมาจากบริเวณชั้น 5 และ ชั้น 17 ของโรงแรม และยิงระเบิดเอ็ม 79 ตกลงบริเวณตึกอื้อจื่อเหลียงอีกจำนวน 3 ลูก แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งยิงเอ็ม 79 จำนวน 2 ลูก เข้าไปที่บริเวณลานพระราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินีด้วย 
   เมื่อเวลา 08.30 น. ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร หรือ ศูนย์เอราวัณ เปิดเผยจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปะทะกัน ระหว่างวันที่ 14-17 พฤษภาคม ว่า ขณะนี้มีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว จำนวน 252 ราย เสียชีวิต 35 ศพ รวมถึงพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) ก็เสียชีวิตลงที่วชิรพยาบาล ส่วนผู้บาดเจ็บเป็นชาวต่างชาติ มีจำนวน 6 ราย ประกอบด้วย ชาวแคนาดา ชาวโปแลนด์ ชาวพม่า ชาวไลบีเรีย ชาวอิตาลี และนิวซีแลนด์ ประเทศละ 1 ราย
    เฮลิคอปเตอร์ทหารได้โปรยใบปลิวเหนือค่ายที่ชุมนุมหลักของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยกระตุ้นให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ กลุ่มคนเสื้อแดงตอบโต้โดยการยิงพลุตะไลใส่เฮลิคอปเตอร์[ต้องการอ้างอิง] ค่ายผู้ชุมนุมถูกล้อมอย่างสมบูรณ์และรัฐบาลประกาศเส้นตายให้สลายการชุมนุมก่อนเวลา 15.00 น. การปะทะกันยังคงดำเนินต่อไป โดยทหารยิงใส่การเคลื่อนไหวใด ๆ บริเวณแนวป้องกันของกลุ่มผู้ชุมนุมของกระสุนจริง เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ใช้ยุทธวิธีถึงตายเช่นเดียวกัน กลุ่มคนเสื้อแดงยิงประทัดใส่ทหาร และมีการประยุกต์ใช้ด้ามไม้กวาดเพื่อยิงประทัดไฟอย่างรวดเร็ว
    18 พ.ค.53 การปะทะกันอย่างประปรายดำเนินต่อไปในวันที่ 18 พฤษภาคม แต่การปะทะกันเหล่านี้มีความรุนแรงน้อยกว่าการเผชิญหน้าครั้งก่อน ๆ มาก จำนวนผู้มีเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 39 ศพ ขณะที่การปะทะกันยังดำเนินต่อ เป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าเจ้าหน้าที่ทหารจะสลายการชุมนุม เนื่องจากกำลังพลและรถหุ้มเกราะมารวมตัวอยู่โดยรอบบริเวณที่ชุมนุม และกระตุ้นให้ประชาชนและกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ พร้อมทั้งประกาศว่ากำลังจะดำเนินปฏิบัติการทางทหารในอีกไม่ช้า หลังจากนั้นไม่นาน ทหารพร้อมด้วยรถหุ้มเกราะบุกเข้าไปผ่านสิ่งกีดขวางหลักของกลุ่มผู้ชุมนุม คนเสื้อแดงถูกยิงสองรายในช่วงแรกของปฏิบัติการ ขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดงอื่น ๆ จุดน้ำมันก๊าดใส่สิ่งกีดขวางเพื่อขัดขวางการรุกคืบของเจ้าหน้าที่และปิดบังทัศนียภาพ

    ทั้งนี้ ประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง หารือกับสมาชิกวุฒิสภากลุ่มที่ไม่นิยมความรุนแรง และมีข้อยุติที่จะส่งกลุ่มผู้แทนไปพบแกนนำ นปช. เพื่อรับทราบเงื่อนไข และนำมาเสนอต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ จึงได้มีการเจรจาระหว่างกลุ่มผู้แทนสมาชิกวุฒิสภากับแกนนำ นปช. ระหว่างเวลา 18:30-20:15 น. บริเวณหลังเวทีชุมนุมแยกราชประสงค์ โดยแกนนำ นปช.เห็นด้วยกับการเจรจาแบบไม่มีเงื่อนไขกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ และนอกจากนี้ สมาชิกวุฒิสภายังได้รับคำสัญญาจากอภิสิทธิ์ว่า หากแกนนำ นปช.เข้าร่วมการพูดคุยอย่างไม่มีเงื่อนไข รัฐบาลอภิสิทธิ์จะยับยั้งการใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามในอนาคต
ศูนย์บริหารการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) แจ้งยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ทหารกดดันกลุ่ม นปช. วันที่ 14-18 พฤษภาคม สิ้นสุดเวลา 18.00 น. เพิ่มเป็น 43 ราย บาดเจ็บรวม 365 ราย นักข่าวต่างชาติรายล่าสุดที่เสียชีวิต ชื่อโปเลนกี ฟาดิโอ ชาวอิตาลี

 

    ในที่สุดวันที่ 19 พ.ค.53 แม้จะมีความพยายามในการเจรจา โดยมีวุฒิสมาชิกบางส่วนเป็นสื่อกลาง และแกนนำ นปช. ยินยอมที่จะเจรจากับรัฐบาลโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ก็ยังเกิดการสลายการชุมนุม ตามข่าวที่รับรู้กันในหมู่ผู้ชุมนุม ตั้งแต่คืนวันที่ 18 พฤษภาค โดยกองทัพทำยุทธการปิดล้อมพื้นที่ชุมนุม ก่อนจะเริ่มการโจมตีอย่างเต็มรูปแบบ เริ่มจากใช้รถหุ้มเกราะเข้าทำลายสิ่งกีดขวาง ซึ่งผู้ชุมนุมสร้างขึ้นจากไม้ไผ่ ซึ่งตามคำแถลงของ พลโท ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทหาร (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) แถลงถึงปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ในวันต่อมาว่า “เรามียานเกราะ มีการเคลื่อนที่เข้าไป ในลักษณะเหมือนในสนามรบ ซึ่งต้องยอมรับว่า การจัดกำลังเข้าดำเนินการในครั้งนี้ เราไม่ได้ทำเหมือนกับการควบคุมฝูงชน ถ้าหากย้อนไปก่อนหน้านี้ จะเห็นภาพของทหารถือโล่ กระบอง เดินเข้าไปเป็นรูปขบวนปึกหนาๆ เข้าไปประจันหน้ากับผู้ชุมนุม อันนี้เป็นการควบคุมฝูงชนปกติ”ต่อมามีทหารถูกยิงด้วยลูกระเบิด ซึ่งเชื่อว่ายิงจากเครื่องชนิดเอ็ม-79 จนบาดเจ็บสาหัส 2 นาย[ต้องการอ้างอิง]มีการเผารถดับเพลิงที่จังหวัดเชียงใหม่เผารถดับเพลิงที่เชิงสะพานนวรัฐและกลุ่มผู้ชุมนุมบุกเผาบ้านพักปลัดจังหวัดเชียงใหม่[56]กองกำลังจังหวัดเชียงใหม่ประเมินความเสียหาย 13 ล้านบาท
   หลังจากกำลังทหาร เข้ายึดพื้นที่โดยรอบสวนลุมพินีไว้ได้ จากการเข้าตรวจที่เกิดเหตุโดยรอบ พบผู้เสียชีวิตเป็นชาย 2 ศพถูกยิงเข้าบริเวณศีรษะ อยู่ด้านหลังแนวบังเกอร์ฝั่งถนนราชดำริ บริเวณตรงข้ามตึก สก. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งกำลังทหารทลายเข้ามาสำเร็จ