คนไทยต้องอ่าน "พล.ท.นันทเดช" ไขก๊อก86 ปี "ประชาธิปไตย"การปฏิวัติ2475 และความแตกต่าง การปฏวัติของทหารยุคแรกกับปัจจุบัน!!??

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ในเพจเฟซบุ๊ก "พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์"  อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง เนื่องใกล้วันรำลึกวันครบรอบ 86 ปี ของการปฏิวัติ24มิ.ย.2475 จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในสังคม แท้จริงแล้วประชาธิปไตยในไทยบริสุทธิ์มากน้อยเพียง ร่วมไปถึงสาเหตุการปฏิวัติรัฐประหารที่เกิด โดยเฉพาะความแตกต่างที่เกิดขึ้นในอดีต จนการรัฐหารครั้งล่าสุด ไว้ด้วยกัน3ตอน อย่างเข้าใจง่าย ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหมดต่อไปนี้

"ประชาธิปไตย จากการปฏิวัติเมื่อ24มิ.ย.2475 ตอนที่1"

 

การเตรียมจะจัดงานรำลึกวันครบรอบ 86 ปี ของการปฏิวัติ24มิ.ย.2475 กำลังจะ
เกิดขึ้นอีกครั้ง ทั้งๆที่นักวิชาการส่วนใหญ่ และ ผู้หลงไหลประชาธิปไตยแบบตะวันตก 
ก็ลดน้อยลงตามลำดับ เพราะรู้ดีว่า ประชาธิปไตยนั้น จะใช้ได้ดี ก็เมื่อสอดคล้องกับ
วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละชาติ แต่ถ้าใช้ประชาธิปไตยไปแสวงหาประโยชน์เพื่อพวกพ้อง และ ญาติพี่น้องแล้ว ความเสียหายก็จะย้อนกลับมาที่ประเทศชาติเป็นส่วนรวม

 

การปฏิวัติเมื่อ24มิ.ย.2475 เป็นการปฏิวัติโดยคนกลุ่มน้อย ประชาชนไม่รู้เรื่องด้วย 
บังเอิญสำเร็จได้แบบฟลุ๊กๆ เพราะ (1) ไปสัญญากับทหารหลายคนว่า "จะไม่ให้มีการกระทำกระทบต่อพระมหากษัตริย์ " แต่เมื่อเมื่อสำเร็จก็ไม่ทำตามที่พูด (2) รัชกาลที่7ทรงเห็นว่า. การมอบรัฐธรรมนูญให้ประชนนั้น สอดคล้องกับแนวคิดของพระองค์อยู่แล้ว จึงยอมตามคณะราษฎร ทั้งท่ีพระองค์ทรงมีกำลังทหารเหนือกว่ามาก (3) พระองค์ไม่ต้องการเห็นคนไทยฆ่ากันเอง ฯลฯ

 

อำนาจที่คณะราษฎรได้มา และนำมาใช้นั้น กลับเลวร้ายกว่าอำนาจที่อยู่กับ พระมหากษัตริย์ เพราะประชาชนส่วนใหญ่เริ่มต่อต้าน ประกอบกับการแย่งอำนาจ ภายในกลุ่มคณะราษฎร จนเกิดการทำรัฐประหารกันไปมาถึง6ครั้ง กลายมาเป็นแบบอย่างของการทำรัฐประหารในยุคต่อมา มีการจับผู้เห็นต่างมากกว่า100คน ตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณาคดี ประหารชีวิตไป18คน ขนาดมีกลุ่มกบฏ ร.ศ.130

 

คิดลอบทำร้าย รัชกาลที่6 พระองค์ยังไม่ประหารชีวิตใครเลย และเมื่อติดคุกได้12ปีก็ปล่อยออกมา 
รัฐบาลคณะราษฎร ปิดหนังสือพิมพ์มากมาย ทั้งที่ในรัชสมัย ร.6และ ร.7 แค่ตักเตือน (มีเรื่องแย่ๆมากกว่านี้อีกแยะรออ่านตอนต่อไปครับ)

 

อำนาจที่ได้มาโดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนนั้น เป็นผลย้อนกลับมา ทำให้ประชาธิปไตย ที่ได้มา

ผิดเพี้ยนมากขึ้นตามลำดับจนถึงปัจจุบันนี้ ถึงขั้น ซื้อที่ดินเปล่าๆไว้ แลัวตัดถนนผ่านที่ตัวเองทำหมู่บ้านขาย ก็มี / ทุจริตสารพัดแบบเกิดขึ้นจนศาลพิจารณาไม่ทัน ประชาชนจึงต้องออกมารวมตัวไล่รัฐบาลแบบนี้มาแล้วถึง4ครั้ง ในรอบ12ปีที่ผ่านมา จนทำให้การัฐประหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่ทหารจะต้องริเริ่มทำเอง เปลี่ยนแปลงมา เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากการกดดันทหารจากประชาชน ไม่ได้เกิดจากทหารอีกต่อไป 

 

 

ต่อมาในวันที่ 12 มิ.ย.พล.ท.นันทเดช ได้โพสต์ข้อความในหัวข้อ "ประชาธิปไตย จากการปฏิวัติเมื่อ24มิ.ย.2475 ตอนที่2"

ข้อมูลนี้สำหรับใช้ประกอบข้อพิจารณาของกลุ่มบุคคลที่จะนำเงื่อนไข24มิ.ย.2475 ออกมาก่อกวนในปีนี้ 

 

ในรัชสมัยของ รัชกาลที่ 5 สยามเป็นประเทศเดียวที่มีเอกราช อยู่ในเอเซียใต้ และยังมีความเจริญทัดเทียมประเทศญี่ปุ่น แต่เมื่อญี่ปุ่นมีรัฐธรรมนูญขึ้นมาก็เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทหารสยามกลุ่มหนึ่ง (กลุ่มกบฏ ร.ศ. 130) เข้าใจผิดว่า การที่ญี่ปุ่นมีรัฐธรรมนูญจึงทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า จึงเตรียมทำการปฏิวัติเพื่อให้สยามมีรัฐธรรมนูญบ้าง แต่ไม่สำเร็จ โดยทหารกลุ่มนี้ไม่รู้ความจริงว่า รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นนั้นให้อำนาจพระจักรพรรดิมากมาย เพื่อป้องกันการย้อนกลับมายึดครองอำนาจของฝ่ายโชกุน ไม่ใช่รูปแบบรัฐธรรมนูญฉบับ 24 มิ.ย. 2475

 

ส่วนกรณีที่ประเทศญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้าขึ้นนั้น ความจริงมาจากเหตุผล 2 ประการ คือ

(1) ชาวญี่ปุ่นจงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิอย่างยอมตายแทนได้ ญี่ปุ่นจึงมีเอกภาพ ประชาชนตั้งใจทำมาหากิน ไม่หาทางเข้ารับราชการแต่เพียงอย่างเดียวเหมือนคนไทย
(2) ญี่ปุ่นและสยามส่งคนไปเรียนต่อยังต่างประเทศพร้อมๆ กัน (ไทยส่งทั้งเจ้า, ทหาร และสามัญชน) แต่นักศึกษาญี่ปุ่นเมื่อเรียนจบแล้วนำความรู้ที่ได้กลับมาพัฒนาประเทศ ส่วนนักศึกษาไทยกลับมาวางแผนปฏิวัติ (ไสว บุญมา "หายนะฤาสิ้นอารยธรรม" หน้า128)

 

รัชกาลที่ 7 ทรงเตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญถึง 2 ครั้งแต่ก็ถูกคัดค้านจากคณะอภิรัฐมนตรีและที่ปรึกษาทั้งชาวต่างประเทศ โดยให้เหตุผลว่า ประชาชนยังไม่พร้อม กลัวคนมีเงินจะใช้เงินซื้ออำนาจจากรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะคนจีน (ซึ่งขณะนั้นยังส่งเงินกลับไปสนับสนุนครอบครัวที่อยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่อยู่) จึงมีการวางนโยบายให้ลูกจีนที่เกิดในไทยเป็นคนไทยเต็มตัวขึ้น (ปัจจุบันคนมีเงินก็ยังซื้อเสียงอยู่ดี)​

 

นอกจากนั้น พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้ท้องถิ่นมีการปกครองตัวเองก่อน โดยเสนอ พ.ร.บ.เทศบาล แต่ไปติดอยู่ที่กองกฎหมายดึงเรื่องไว้ถึง 2 ปี รัชกาลที่ 7 ทรงมีหนังสือทวงถามไปถึง 2 ครั้ง จนกระทั่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าพระองค์ทรง “ชะลอ”เก็บไว้ (กรณีนี้มีผู้สงสัยว่าทีมงาน อ.ปรีดี จะเก็บเรื่องไว้ แต่ อ.ปรีดี ได้ตอบคำถามอาจารย์ประวัติศาสตร์ว่า ไม่ทราบเรื่องและมอบหลักฐานหนังสือตอบราชเลขาธิการของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ถึงสาเหตุความล่าช้า)

 

ถ้า พ.ร.บ.เทศบาล ถูกประกาศออกมาใช้ก่อนแล้ว การปฏิวัติ 2475 ก็จะไม่เกิดขึ้น การพระราชทานรัฐธรรมนูญของรัชกาลที่ 7 ซึ่งมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปก็จะเกิดขึ้นแทนรัฐธรรมนูญฉบับคณะราษฎร ซึ่งต้องการแก้ไขทุกปัญหาอย่างรวดเร็วทันทีทันใด 

 

(ความเข้าใจในประวัติศาสตร์นั้น ทำให้สามารถเข้าใจรากเหง้าของตัวเองได้ซึ่งจะสามารถหา รูปแบบของประชาธิปไตยของประเทศไทยต่อไปในอณาคตได้อย่างถูกต้อง)

 

 

ล่าสุดวันนี้(17มิ.ย.) "การปฎิวัติ24มิ.ย.2475 ตอนที่3 " ข้อแตกต่าง ระหว่างการปฏวัติของทหารยุคแรก กับ ทหารยุคปัจจุบัน

ตั้งแต่คณะราษฎร ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองมา จนมีรัฐประหารเกิดขึ้น5ครั้ง ในยุคของคณะราษฎรเอง  ทุกครั้งที่มีการทำรัฐประหารนั้น ไม่ได้ยึดโยงหรือถามไถ่ประชาชนเลย  มีแต่ทำเพื่อตัวเองและพวกพ้องเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาจนถึงจอมพลสฤษดิ์. ถนอม ประถาส ก็ล้วนแต่เป็นนายทหารที่เติบโตมาจากยุคของคณะราษฎรทั้งสิ้น จนเกิดเหตุการณ์14ตุลา 16ขึ้น ประชาชนออกมาสนับสนุนนักศึกษาถอดอำนาจ จอมพล ถนอม ออกมากันทั้งประเทศทุกจังหวัด ตั้งแต่นั้นมา ทหารกจึงถอยออกมาดูความต้องการของประชาชนเป็นหลัก

 

ต่อมาได้เกิดกรณีเหตุการณ์6ตุลา 19 ขึ้น ไม่มีประชาชนออกมาหนุนช่วย นศ.เลยแม้จะเพิ่งผ่านเหตุการณ์6ตุลา16 มาได้แค่3ปี  เหตุผลอะไรคงรู้กันอยู่แล้วนะครับ เมื่อประชนอยู่เฉยๆ ทหารจึงนิ่งเฉยตามประชาชนไปด้วย จนเกิดเหตุรุนแรง6ตุลา19ขึ้น นอกจากไม่ช่วยแล้ว ทหารยังถือโอกาสทำรัฐประหารไปพร้อมๆกันด้วย 

 

จากนั้น ทหารก็เริ่มทิ้งประชาชนอีกครั้งหนึ่ง จนเกิดเหตุการณ์เกือน พฤษภาคมปี 35ขึ้น ทหารก็กลับไปยึดโยงกับประชนใหม่ โดยเพิ่มคำขวัญ ของ ทบ.เข้าไปว่า "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และ ประชาชน "ขึ้น

 

ดังนั้นการรัฐประหารของทหารในยุคใหม่นี้ จึงแตกต่างกว่ายุคเดิมอย่างสิ้นเชิง คือ ทหารจะทำ ต่อเมื่อประชาชนเรียกร้อง กดดันจนถึงที่สุดแล้ว พวกเราทุกคนคงเจอกันมาด้วยตัวเองแล้ว ดังนั้น การทำรัฐประหาร เมือ ปี49 (พันธมิตร) และ 57 (กปปส) จึงเกิดขึ้นภายใต้ความต้องการของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งเกิด มาจากเรื่องการทุจริตของรัฐบาลเป็นต้นเหตุ ทั้ง2ครั้ง

 

ผมเห็นว่าสถานการณ์ยังไม่นิ่ง จะต้องพึ่ง ทหารอีกต่อไป แต่ขอพึ่งสัก2-3คนพอไม่ต้องมาช้วยกันมากนัก ก็ได้ และขอมืออาชีพมาดูเรื่องเศรษกิจ กับ การศึกษาด้วย อย่าเอาเสือสิงห์กระทิงแรด มาเป็นรมต.ก็พอใจแล้ว ครับ