ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ภายหลังที่กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการบังคับโทษตามคำพิพากษาของศาลด้วยการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาด ในคดีฆ่าชิงทรัพย์นักเรียนชั้น ม.5 อย่างโหดร้ายทารุณ กลางสวนสาธารณะในจังหวัดตรัง ถือเป็นนักโทษที่ถูกฉีดยาพิษให้ตายคนแรก ในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา

 

นำมาสู่ข้อถกเถียงในสังคมขณะนี นำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องยังคงสมควรมีโทษประหารในประเทศไทยหรือไม่

ด้านองค์กรสิทธิ์อย่างกลุ่มแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านไม่เห็นด้วยต่อวิธีการประหารนักโทษเด็ดขาดทุกกรณี โดยให้เหตุผลว่าโทษประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิต และถือเป็นการลงโทษที่โหดร้าย

 

ต่อมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ แอมเนสตี้ ฯคัดค้านโทษประหารชีวิตของไทย ว่า

 

เป็นกฎหมายของเราที่ยังคงมีอยู่ ซึ่งความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ตอนที่มีการพิจารณาว่าจะยกเลิกโทษประหารหรือไม่นั้น เสียงประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เห็นควรให้มีอยู่ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม ซึ่งปัจจุบันมีคดีร้ายแรงหลาย ๆ คดีเกิดขึ้น การมีโทษประหารก็เพื่อทำให้บ้านเมืองสงบสุขและเพื่อเป็นบทเรียนสอนใจ ซึ่งเป็นเรื่องความจำเป็นของเราและความต้องการของประชาชน

 

 

อย่างไรก็ดี ได้มีฝ่ายการเมืองเริ่มออกมาแสดงความคิดเห็นอาทิ “โบว์ “ หรือ ณัฏฐา มหัทธนา แกนนำกลุ่มอยากเลือกตั้ง ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว เชิญชวนแสดงพลัง ไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิต พร้อมเชิญชวนร่วมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ 

 

ล่าสุดเป็นทางด้านของ นายพชร นริพทะพันธุ์  ลูกชายนายพิชัย นริพทะพันธุ์   แกนนำพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กว่า

 

 "การประหารต้องมาตรฐานเดียว 'อัตราอาชญากรรมขึ้นอยู่กับมาตรฐานการบังคับใช้กฎหมายมากกว่าอัตราโทษ'

 

ผมขอแสดงความคิดเห็นกับกรณีข่าวบังคับใช้โทษประหารที่เกิดขึ้น โดยลองใช้แบบคิดจากสหรัฐฯ และยุติธรรมศาสตร์มาปรับใช้ ใน ประเด็นดังนี้

 

จากประสบการณ์และอุดมการณ์ของ พรรครีพับบลิกัน ที่พอคุ้นเคยจากการทำงานมากสุดในช่วงเวลาหนึ่ง โทษประหารชีวิตยังเป็นสิ่งที่ใช้อยู่ในหลายรัฐ โดยเฉพาะในรัฐที่รีพับบลิกันเป็นเจ้าของพื้นที่ สาเหตุอาจเพราะความเชื่อจากคัมภีร์ไบเบิล ในสมัยโบราณ เขาระบุโทษ ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ หรือ Eye for the Eye Life for Life ประโยคนี้แสดงถึงการบังคับโทษที่เฉียบขาด และรุนแรงโลกทัศน์ไม่เพียงคนต่อต้านโทษประหาร แต่ยังรวมถึงคนทั่วไปในปัจจุบัน

คนที่เชื่อในระบบชีวิตแลกชีวิต อาจต้องอ่านไบเบิ้ลให้ครบ เพราะแท้จริงแล้ว คัมภีร์ยังปรากฎรายละเอียด และกระบวนการสำคัญก่อนการบังคับโทษ ทั้งกระบวนการพิสูจน์ กระบวนการหลบหนี้ สถานที่ปลอดภัย เมืองแห่งการนิรโทษกรรม การตั้งผู้อาวุโสเป็นผู้พิพากษา หรือแม้แต่ การลดหย่อนโทษ สิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการชัดเจน ในแง่นี้ระบบยุติธรรมสากลที่เรา-พลเมืองโลกต่างยึดถือก็ ไม่ผิดแผกแตกต่างจากคัมภีร์ ต้องอย่าลืมนะครับว่า ไบเบิ้ล ไม่ได้ดูแลแค่ศาสนาคริสต์ แต่ยังรวมถึงพี่น้องยิว และอิสลามด้วย เพราะผู้เขียน คือ ‘โมเสส’ ซึ่งได้รับการระบุไว้ในฐานะศาสนาของ 3 ศาสนา

 

 

หลักการข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การประหารชีวิตคนหนึ่งคน ไม่ใช่เรื่องง่ายตามอารมณ์ และจำเป็นต้องได้รับการกวดขัน และเฝ้าดูยิ่งในสังคมที่ระบบยุติธรรมยังถูกตั้งคำถาม หรือไม่โปร่งใส ปรากฎการบังคับใช้รับสารภาพ สร้างเงื่อนไข สร้างพยาน และระบบสืบสวนสอบสวนที่ยังมีข้อบกพร่อง ข้อจำกัดในกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น ส่งผลต่อกระบวนการในชั้นศาล การสังหารชีวิตคนหนึ่งคนอาจจึงมีปัญหาในเชิงระบบ ขณะเดียวการพิจารณายังจำกัดแค่ผู้พิพากษา หรือเจ้าหน้าที่ด้านยุติธรรมจำนวนหนึ่งเท่านั้น

 

หลายคนอาจจะแปลกใจว่า ระบบการพิจารณาคดีในปัจจุบันไม่ดีหรือ? ผมอยากชวนให้เห็นถึงระบบยุติธรรมในสหรัฐฯ ที่นั่น ที่นั่นเป็นระบบปรากฎการคานอำนาจระหว่างพนักงานสอบสวน และอัยการที่จากการเลือกตั้ง ตำรวจจากการเลือกตั้งเช่นกัน และเอฟบีไอจากรัฐบาล ในกระบวนการชั้นศาล ผู้พิพากษามีทั้งเลือกตั้ง และแต่งตั้ง พร้อมคณะลูกขุนที่ได้รับการคัดสรรค์จากทั้งโจทก์ และจำเลย

 

ร้อยละ 4.1 ของผู้ต้องโทษประหารชีวิต (เกือบ 5 คนใน 100) ถูกกลับคำพิพากษาเป็นผู้บริสุทธิ์ภายหลัง หลังพบหลักฐานใหม่ๆ กระบวนการนั้นทำให้มี 5 คนในทุกๆ100 คนต้องประหารไป ไม่อยากจะคิดว่า หากถ้านำตัวเลขมานี้มาประยุกต์ใช้กับระบบยุติธรรมในประเทศที่ยังมีปัญหา จะเป็นอย่างไร?

 

 

แท้จริงแล้ว การลงโทษในระบบยุติธรรมมี 2 ทฤษฎี คือ แก้แค้น และแก้ไข การแก้แค้น คือ รัฐลงโทษจำเลยให้สาสมกับสิ่งที่กระทำไป ส่วนการแก้ไขคือ รัฐพยายามหาวิธีให้ผู้หลงผิดกลับตัวเป็นคนดี หรือกักกันภาวะนั้นไม่ให้กระทบคนอื่น โดยยึดถือหลักการสำคัญคือ ไม่มีการฆาตกรรมโดยรัฐ

 

ทุกประเทศทั่วโลกใช้ทั้งสอง ทฤษฎีคู่กัน ฝั่งยุโรปเชื่อในทฤษฎีแก้ไข มากกว่าแก้แค้น โดยเฉพาะยุโรปเหนือ ซึ่งอัตราอาชญากรรมและความรุนแรงโดยเฉลี่ยก็น้อยกว่าประเทศที่ใช้ ทฤษฎีแก้แค้น และข้อศึกษาค้นคว้าระบุว่า โทษหนักยิ่งสร้างให้เกิดความรุนแรงตามโทษ เพราะผู้กระทำผิดมัก ชั่งนำ้หนัก การกระทำและใช้กำลังตามความเสี่ยงของโทษที่จะได้รับ

 

 

สุดท้ายการค้นคว้าของนักอาชญวิทยา ยังระบุว่า อัตราอาชญกรรมขึ้นอยู่กับมาตรฐานการบังคับใช้กฎหมายมากกว่าอัตราโทษ การบังคับใช้กฎหมายที่เท่าเทียม และ integrity-สำนึกแห่งสัตย์ซื่ออย่างสมบูรณ์พร้อม ของเจ้าหน้าที่ยุติธรรม หากรู้ว่าจะถูกจับและลงโทษแน่นอน ไม่ว่าโทษจะหนักหรือเบา คนจะชั่งใจในการทำความผิดมากขึ้น

 

ประเทศไทยและคนไทยให้ค่าแก่ชีวิตคนหนึ่งคนแค่ไหน ? หรือเรายังไม่เชื่อว่าทุกคนเกิดมามีค่าเท่ากัน ? และหากทำให้เสียชีวิตไป ก็คงเป็นแค่กรรมเก่าหรือ ? ลองมองลองเปลี่ยนครับ ทุกคนมีค่าเท่ากัน รวยหรือจน ทุกคนมีหน้าที่ในสังคมต่างกันแค่นั้น อย่าเชื่อในสิ่งที่เราไม่รู้ ตัดสินในสิ่งที่เราไม่ได้เห็น

ถึงแม้จะทำงานให้พรรครีพับบลิกันมาโดยตลอด แต่ผมไม่เชื่อในระบบที่รัฐต้องมาเป็นฆาตรกรเสียเอง

#เสื้อแดงต้องมีมาตรฐานเดียว

#อย่าเชียร์การประหารชีวิตเพียงเพราะแค่สะใจ"