MQDC จับมือ GC ร่วมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม  นำนวัตกรรม ‘Upcycled’ วัสดุพลาสติกเข้าสู่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tnew.co.th

MQDC บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับนานาชาติ ร่วมกับ GC บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำ นำนวัตกรรม ‘Upcycled’ พัฒนาวัสดุก่อสร้างจากพลาสติกใช้แล้ว เพื่อนำมาใช้ในทุกๆโครงการของ MQDC เพื่อตอกย้ำพันธกิจในการร่วมแก้ปัญหาขยะพลาสติกในประเทศ

(27 มิ.ย. 2561) กรุงเทพฯ - แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) ร่วมกับบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) เตรียมพัฒนาวัสดุก่อสร้างจากพลาสติกใช้แล้วเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร. ธัญบุรี) และศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนหรือศูนย์ RISC (Research & Innovation for Sustainability Center -RISC) โดยมีการประกาศความร่วมมือครั้งนี้ที่ศูนย์ RISC อาคารแมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด

“MQDC มุ่งมั่นที่จะหาวิธีการใหม่ๆ ที่สามารถใช้วัสดุแปรรูปจากพลาสติกใช้แล้ว ตลอดจนเศษวัสดุต่างๆจากท้องทะเล ในโครงการของเรา” คุณวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MQDC กล่าว

MQDC จับมือ GC ร่วมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม  นำนวัตกรรม ‘Upcycled’ วัสดุพลาสติกเข้าสู่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

MQDC จับมือ GC ร่วมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม  นำนวัตกรรม ‘Upcycled’ วัสดุพลาสติกเข้าสู่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

 

“นวัตกรรม Upcycling เป็นวิธีการแก้ปัญหาพลาสติกเหลือทิ้งที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ โดยการนำขยะมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มโดยทำให้เป็นวัสดุใหม่ ที่สามารถนำมาใช้ได้ในรูปแบบใหม่ๆ โดยที่ไม่สร้างขยะกลับคืนสู่วงจรขยะพลาสติกอีกครั้ง กลยุทธ์การจัดการขยะพลาสติกนี้สอดคล้องกับปรัชญาของเราว่าด้วยนวัตกรรมยั่งยืนเพื่อคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน (Sustainnovation for all well-being) ซึ่งหมายรวมถึงมนุษย์ สัตว์ และสรรพสิ่งบนโลกใบนี้”

คุณวิสิษฐ์กล่าวอีกว่า “MQDC เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายแรกที่มุ่งมั่นในการนำวัสดุ Upcycling จากขยะพลาสติกมาใช้ในการพัฒนาโครงการของเราทุกๆ แห่งทั่วโลก เราหวังว่าความร่วมมือระหว่าง MQDC และ GC นี้ จะช่วยปลุกกระแสให้มีการนำวัสดุใหม่นี้มาใช้ในรูปแบบต่างๆ อย่างแพร่หลาย”

คุณวราวรรณ ทิพพาวนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกิจการองค์กร GC กล่าวว่า วัสดุก่อสร้าง Upcycled จะเป็นวัสดุที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในอนาคต

“GC ดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก Circular Economy หรือเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน โดยให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และริเริ่มโครงการUpcycling Plastic Waste ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมการแปรรูปขยะพลาสติกให้กลายเป็นวัสดุที่มีมูลค่าเพิ่ม เป็นการสร้างชีวิตใหม่ให้กับขยะพลาสติก” คุณวราวรรณ กล่าว

“ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของ GC สู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากวัสดุ Upcycling จะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ช่วยจุดประกายและสร้างความตื่นตัวให้กับสังคม ด้วยคุณสมบัติของวัสดุที่คงทน แข็งแรง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราจึงหวังว่าผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายอื่นจะหันมาสนใจใช้วัสดุ Upcycling กันมากขึ้น” คุณวราวรรณ กล่าว

รองศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์ RISC และผู้อำนวยการศูนย์ Scrap Lab มก. ผู้เป็นหัวหอกในการพัฒนาฉลาก Upcycle ของประเทศไทย กล่าวว่าความร่วมมือนี้จะเป็นการร่วมสร้างประสบการณ์ครั้งสำคัญให้กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และยังช่วยให้วัสดุ Upcycling เป็นที่รู้จักมากขึ้นในประเทศไทย อีกทั้งยังนำไปใช้ในงานออกแบบโดย Scrap Lab คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“นวัตกรรม Upcycling คือการให้ชีวิตใหม่กับของเหลือทิ้ง โดยการแปรรูปให้เป็นวัสดุใหม่ที่นำมาใช้งานได้ใหม่ในรูปแบบอื่นๆ และนี่ยังเป็นวิธีแก้วิกฤติขยะพลาสติกที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้ ถึงแม้ว่าการแก้ปัญหานี้โดยหลักการแล้วจะต้องแก้ที่การร่วมมือกันเปลี่ยนวิถีบริโภคและวิธีจัดการขยะอย่างถูกต้องก็ตาม” รศ. ดร. สิงห์ กล่าว

 

 

“ทั้งนี้ ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว GC จะทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อเพิ่มการรับรู้ด้านการจัดการขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทางอย่างถูกต้องและร่วมพัฒนากระบวนการสร้างคุณค่าใหม่ให้กับพลาสติกเหลือใช้ ในขณะที่ทาง มก. ศูนย์ RISC มทร. ธัญบุรี ศูนย์นวัตกรรมและ CSC (Customer Solution Center)ของ GC จะร่วมมือกันพัฒนานวัตกรรมในการแปรรูปขยะ และทาง MQDC จะนำวัสดุดังกล่าวมาใช้ในโครงการ การร่วมมือของทุกคนจะช่วยกันสร้างมิติใหม่ในการขจัดขยะพลาสติกเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและพิทักษ์ระบบนิเวศของเรา” รศ. ดร. สิงห์ กล่าว

อาจารย์ประชุม คำพุฒ ผู้อำนวยการ หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กล่าวว่าความร่วมมือนี้จะทำให้วัสดุใหม่แปรรูปจากขยะพลาสติกเกิดขึ้นในตลาดได้อย่างเป็นจริง

“การนำวัสดุแปรรูปจากพลาสติกมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมจะช่วยให้การแก้ปัญหาและการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการบริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากเป็นวิธีที่ใช้พลังงานน้อยกว่าการรีไซเคิลแบบเดิม ๆ”  อ.ประชุม กล่าวอีกว่า วัสดุแปรรูปใหม่นี้มีความแข็งแรงไม่ต่างจากวัสดุก่อสร้างทั่วไปแถมยังมีน้ำหนักเบากว่าอีกด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัชด ชมภูนิช รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กล่าวว่าโครงการนี้จะช่วยสร้างความรับรู้ต่อปัญหาขยะพลาสติกและช่วยกระตุ้นผู้บริโภคให้ปรับพฤติกรรมการบริโภค

“เราสามารถให้แรงบันดาลใจแก่ผู้บริโภคให้ปรับพฤติกรรมมาเป็นการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบได้ ด้วยการหาวิธีการใหม่ในการจัดการกับขยะพลาสติกอย่างมีความรับผิดชอบ อย่างทาง มก. เองก็ได้ปฏิบัติตามแนวทางนี้ด้วยการนำนโยบาย “มหาวิทยาลัยเขียว” มาใช้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ทั้งสี่วิทยาเขตของเรา”

“ทั้งผู้บริโภคและผู้อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และสวยงามด้วยวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่งทำจากการ Upcycling นี้ จะเป็นกำลังหลักที่ช่วยกระตุ้นให้มีการบริโภคและกำจัดขยะพลาสติกอย่างเหมาะสม”