ชาวใต้ใช้งานจริง "น้ำตานางเงือก"เป็นเมตตามหานิยม ไม่ต้องเสกก็แรงยิ่งกว่าน้ำมันพราย เปิดตำนานที่มาของ "สัตว์วิเศษแห่งท้องทะเล"

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

มีความเชื่อว่า ทั้งเนื้อ, กระดูก และเขี้ยวพะยูน มีคุณสมบัติทางเมตตามหานิยม (เป็นหนึ่งในของทนสิทธิ์ตามธรรมชาติที่นิยมแสวงหากัน) เขี้ยวพะยูนมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงการค้าในตลาดมืดว่า "งาช้างน้ำ" ทั้งเขี้ยวและกระดูกพะยูนมีราคาซื้อขายที่แพงมาก โดยมักนำไปทำเป็นหัวแหวน เหมือนกับหนามปลากระเบน นอกจากนี้แล้วยังเชื่อว่าน้ำตาพะยูนและเขี้ยวพะยูนมีอำนาจในทางทำให้เพศตรงข้ามลุ่มหลงคล้ายน้ำมันพราย จนมีกล่าวถึงในบทเพลงพื้นบ้านว่า

            ไม่รอดแล้วน้องเด้ ถูกเหน่น้ำตาปลาดูหยง

 

 

ชาวใต้ใช้งานจริง "น้ำตานางเงือก"เป็นเมตตามหานิยม ไม่ต้องเสกก็แรงยิ่งกว่าน้ำมันพราย เปิดตำนานที่มาของ "สัตว์วิเศษแห่งท้องทะเล"

ปลาพะยูน

 

 

พะยูน เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia)

 

 

ชาวใต้ใช้งานจริง "น้ำตานางเงือก"เป็นเมตตามหานิยม ไม่ต้องเสกก็แรงยิ่งกว่าน้ำมันพราย เปิดตำนานที่มาของ "สัตว์วิเศษแห่งท้องทะเล"

ปลาพะยูน

 

 

มีการศึกษาพะยูนในทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๗๗๖ โดยได้ตัวอย่างต้นแบบจากที่จับได้จากน่านน้ำแหลมกู๊ดโฮปถึงฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายโลมาและวาฬ เดิมจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับเดียวกันคือ Cetacea แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่า มีความแตกต่างกันมาก กล่าวคือ มีขนาดเล็กกว่า หัวกลม รูจมูกแยกจากกัน ปากเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือน ๆ กันอย่างวาฬ และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต ในปี ค.ศ. ๑๘๑๖ อองรี มารี ดูโครเตย์ เดอ แบล็งวีล นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบ ในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน รวมถึงการศึกษาซากโบราณของพะยูนในสกุล Eotheroides ในประเทศอียิปต์

 

 

พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น หรือเมื่อประมาณ ๔๐ ล้านปีมาแล้ว Eotheroides เป็นสัตว์มี ๔ ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน

 

 

พะยูนมีรูปร่างคล้ายแมวน้ำขนาดใหญ่ที่อ้วนกลมเทอะทะ ครีบมีลักษะคล้ายใบพาย ซึ่งวิวัฒนาการมาจากขาหน้าใช้สำหรับพยุงตัวและขุดหาอาหาร ไม่มีครีบหลัง ไม่มีใบหู ตามีขนาดเล็ก ริมฝีปากมีเส้นขนอยู่โดยรอบ ตัวผู้บางตัวเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีฟันคู่หนึ่งงอกออกจากปากคล้ายงาช้าง ใช้สำหรับต่อสู้เพื่อแย่งคู่กับใช้ขุดหาอาหาร ในตัวเมียมีนมอยู่ ๒ เต้า ขนาดเท่านิ้วก้อย ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร อยู่ถัดลงมาจากขา คู่หน้า สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน มีลำตัวและหางคล้ายโลมา สีสันของลำตัวด้านหลังเป็นสีเทาดำ หายใจทางปอด จึงต้องหายใจบริเวณผิวน้ำ ๑-๒ นาที อายุ ๙-๑๐ ปี สามารถสืบพันธุ์ได้ เวลาท้อง ๙-๑๔ เดือน ปกติมีลูกได้ ๑ ตัว ไม่เกิน ๒ ตัว แรกเกิดยาว ๑ เมตร หนัก ๑๕-๒๐ กิโลกรัม ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ ๑ ปี กินนมและหญ้าทะเลประมาณ ๒-๓ สัปดาห์ หย่านมประมาณ ๘ เดือน อายุประมาณ ๗๐ ปี โดยแม่พะยูนจะดูแลลูกไปจนโต ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ ๒ เมตร ถึง ๓ เมตร น้ำหนักเต็มที่ได้ถึง ๓๐๐ กิโลกรัม

 

 

ชาวใต้ใช้งานจริง "น้ำตานางเงือก"เป็นเมตตามหานิยม ไม่ต้องเสกก็แรงยิ่งกว่าน้ำมันพราย เปิดตำนานที่มาของ "สัตว์วิเศษแห่งท้องทะเล"

กระดูกปลาพะยูน

 

 

พะยูนสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานราว ๒๐ นาที เมื่อจะนอนหลับพักผ่อน พะยูนจะทิ้งตัวลงในแนวดิ่ง และนอนอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นทะเลราว ๒๐ นาที ก่อนจะขึ้นมาหายใจอีกครั้งหนึ่ง

อาหารของพะยูน ได้แก่ หญ้าทะเล ที่ขึ้นตามแถบชายฝั่งและน้ำตื้น โดยพะยูนมักจะหากินในเวลากลางวัน และใช้เวลานานถึง ๘ ชั่วโมงต่อวัน พฤติกรรมการหากินจะคล้ายกับหมู โดยจะใช้ครีบอกและปากดุนพื้นทรายไถไปเรื่อย ๆ จนบางครั้ง จะเห็นทางยาวตามชายหาด จากพฤติกรรมเช่นนี้ พะยูนจึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "หมูน้ำ" หรือ "หมูดุด" ในแถบจังหวัดจันทบุรี ในบางตัวที่เชื่องมนุษย์ อาจเกาะกินตะไคร่บริเวณใต้ท้องเรือได้

 

 

ชาวใต้ใช้งานจริง "น้ำตานางเงือก"เป็นเมตตามหานิยม ไม่ต้องเสกก็แรงยิ่งกว่าน้ำมันพราย เปิดตำนานที่มาของ "สัตว์วิเศษแห่งท้องทะเล"

กระดูกปลาพะยูน

 

 

พะยูนพบได้ในทะเลเขตอบอุ่นอย่างกว้างขวางตั้งแต่ชายฝั่งของทวีปแอฟริกาฝั่งตะวันออก, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลจีนใต้, ทะเลฟิลิปปิน, ทะเลซูลู, ทะเลเซเลบีส, เกาะชวา จนถึงโซนโอเชียเนีย โดยปกติแล้วมักจะไม่อาศัยอยู่น้ำที่ขุ่น

 

 

สำหรับสถานะของพะยูนในประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากถูกคุกคามอย่างหนักในเรื่องถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้พฤติกรรมการหากินเปลี่ยนไปกลายเป็นมักจะหากินเพียงลำพังตัวเดียว ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงที่เดียวในประเทศไทย คือ บริเวณหาดเจ้าไหมและรอบ ๆ เกาะลิบง จังหวัดตรัง เท่านั้น และอาจเป็นไปได้ว่ายังพอมีเหลืออยู่แถบทะเลจังหวัดระยอง แต่ยังไม่มีรายงานที่มีข้อมูลยืนยันถึงเรื่องนี้เพียงพอ

 

 

แต่ในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ มีชาวประมงจับพะยูนตัวหนึ่งได้ ความยาว ๒ เมตร น้ำหนักประมาณ ๒๐๐ กิโลกรัม ที่อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี หลังจากการหายตัวไปนานของพะยูนในแถบนี้นานถึง ๓๔ ปี โดยพะยูนตัวสุดท้ายที่จับได้ในบริเวณนี้คือเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕

 

 

ชาวใต้ใช้งานจริง "น้ำตานางเงือก"เป็นเมตตามหานิยม ไม่ต้องเสกก็แรงยิ่งกว่าน้ำมันพราย เปิดตำนานที่มาของ "สัตว์วิเศษแห่งท้องทะเล"

หัวแหวน

 

 

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการอนุรักษ์และการจัดการพะยูน และแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนโดยครอบคลุมพื้นที่อาศัยของพะยูนทั้งหมด ระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ/อนุสัญญาว่าด้วยชนิดพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่น โดยที่ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ ๒๐ ที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจนี้

 

 

มีรายงานว่า ประชากรพะยูนที่หลงเหลืออยู่มากที่สุด คือ ออสเตรเลีย มีอยู่ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ตัวโดยสถานที่ ๆ พบมากที่สุด คือ อ่าวชาร์ก ทางภาคตะวันตกของประเทศ มีประมาณ ๑๐,๐๐๐ ตัว คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๕ ของประชากรพะยูนทั่วโลก เพราะเป็นสถานที่อุดมไปด้วยหญ้าทะเล ขณะที่ในประเทศไทย สถานที่ ๆ เป็นแหล่งอาศัยแหล่งสุดท้ายของพะยูน คือ ทะเลจังหวัดตรัง โดยพบที่รอบ ๆ เกาะลิบง มากที่สุด คาดว่ามีราว ๒๑๐ ตัว ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสำรวจในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยเฉพาะที่เกาะลิบงนั้นเป็นที่อาศัยของจำนวนประชากรพะยูนในประเทศมากถึงร้อยละ ๖๐-๗๐ ซึ่งปัจจุบันถูกคุกคามอย่างหนัก โดยมีการล่าเอาเนื้อ, กระดูก และเขี้ยวไปขายตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ มีการคำนวณว่าหากพะยูนในน่านน้ำไทยตายปีละ ๕ตัว พะยูนจะหมดไปภายใน ๖๐ ปี  และเหลือ ๑๖๙ตัว ในการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐

 

 

ชาวใต้ใช้งานจริง "น้ำตานางเงือก"เป็นเมตตามหานิยม ไม่ต้องเสกก็แรงยิ่งกว่าน้ำมันพราย เปิดตำนานที่มาของ "สัตว์วิเศษแห่งท้องทะเล"

เขี้ยวปลาพะยูน

 

 

พะยูน เป็นสัตว์ที่ทำให้นักเดินเรือในยุคกลางเชื่อว่าคือ นางเงือก เนื่องจากแม่พะยูนเวลาให้นมลูกมักจะกอดอยู่กับอกและตั้งฉากกับท้องทะเล ทำให้แลเห็นในระยะไกลคล้ายผู้หญิงอยู่ในน้ำ พะยูนมีชื่อเรียกในภาษายาวีว่า "ดูหยง" อันมีความหมายว่า "หญิงสาว" หรือ "ผู้หญิงแห่งท้องทะเล" มีนิทานพื้นบ้านเล่าว่า พะยูน เดิมเป็นผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และอยากกินหญ้าทะเล ผู้เป็นสามีจึงไปนำหญ้าทะเลมาให้ แต่ว่าไม่พอแก่ใจ จึงลงไปกินหญ้าทะเลเองในน้ำ เมื่อน้ำทะเลขึ้น ก็กลายเป็นพะยูนไป และได้ให้สัญญากับสามีว่า หากต้องการพบให้ปักเสาไม้ลงไปหนึ่งเสา และจะมาที่เสานี้ตามที่เรียก

 

 

อ่านเพิ่มเติม...  "๑๐ เครื่องรางจากสัตว์"ของขลังธรรมชาติให้มา!! 

 

 

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

https://th.wikipedia.org/