ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 11 กรกฎาคม 2561 ที่ร้านเค้กกนิษฐา อ.นาโยง จ.ตรัง นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง หัวหน้าส่วนราชการ นายพิทักษ์พงษ์  ชัยคช เจ้าของร้านเค้กกนิษฐาและประธานชมรมปั่นจักรยานจังหวัดตรัง พร้อมด้วยภรรยา ลูก ญาติ ๆ ของทีมเก็บรังนกเกาะลิบง และชาวบ้าน ต.เกาะลิบงมาร่วมต้อนรับการเดินทางกลับมาถึงจังหวัดตรัง สิ่งแรกที่ได้เห็นนั้นคือรอยยิ้มจากทีมฮีโร่ผู้เสียสละ และรอยยิ้มของครอบครัวที่รอคอยการกลับมาพร้อมกับความภาคภูมิใจ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบดอกกุหลาบสีแดงเป็นการต้อนรับ พร้อมเลี้ยงอาหารมื้อพิเศษเป็นการขอบคุณ

นายพิทักษ์พงษ์  ชัยคช อดีตหน่วยนาวิกโยธิน ซึ่งได้ลาออกแล้วมาทำธุรกิจส่วนตัวและปัจจุบันเป็นประธานชมรมปั่นจักรยานจังหวัดตรัง เป็นบุคคลหนึ่งที่ประสานและจัดหางบในการเดินทาง  เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงที่มาที่ไปของการช่วยเหลือทีมรังนกเกาะลิบงในการเดินทางไปช่วยค้นหาทีมฟุตบอลหมูป่าอคาเดมี่ที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนครั้งนี้ว่า เริ่มต้นทางทีมงานบนเกาะเขาได้รวมกลุ่มคุยกันมีแนวคิดที่จะไปช่วย ซึ่งเมื่อเขาเห็นสภาพของภูเขาและหน้าผาแล้วเขารู้ว่าเขามีความสามารถที่จะปีนลงไปสำรวจตามช่องตามรูได้เพราะเขามีความถนัด เขาจึงรวมตัวกันที่บนเกาะเพื่อที่จะไปช่วย โดยทางทีมงานช่วยเหลือลงขันกัน มีหัวหน้ารักษาพันธุ์ป่าของเกาะลิบงเป็นผู้ประสานงาน ซึ่งช่วงเช้าของวันออกเดินทางตนได้จัดการเรื่องของอาหารเช้าให้ ส่วนค่าเดินทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตรังออกให้บางส่วนเพราะไม่คิดว่าไปอยู่หลายวัน เมื่อทราบว่าต้องอยู่หลายวัน ทางเราก็ช่วยบูรณาการให้ มีผู้ช่วยเหลือมากมาย เรื่องอาหารการกินที่พักทางจังหวัดเชียงรายเข้ามาดูแลอย่างดี ซึ่งเมื่อทราบว่าทางทีมรังนกเดินทางกลับวันนี้ ทางร้านได้สนับสนุนเรื่องรถไปช่วยทั้งส่งและรับกลับ ส่วนอย่างอื่นในช่วงที่เขาไม่อยู่เราก็ช่วยเหลือไป

ตนเองกับชาวเกาะลิบงมีความสนิทกันมานานเพราะเคยไปทำกิจกรรมร่วมกัน พอมีข่าวออกมาตนมองว่าคนกลุ่มนี้ทำได้ หากต้องช่วยเหลือเด็กออกทางด้านบนทีมงานเกาะลิบงสามารถพาน้ำหนักได้คนละหลาย 10 กิโลกรัม อย่างน้อย 50-60 กิโลกรัมสามารถพาขึ้นสบายมาก ซึ่งด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสามารถปีนปล่องด้วยมือเปล่าสบายมากโดยที่ไม่ต้องมีเครื่องพันธนาการ แค่เชือกเส้นเดียวก็ไปได้  ซึ่งภาพรวมที่ตนมอง ถ้ามองตามภาพที่เห็นคนตรังคนเกาะลิบงมีคนรู้จักมากขึ้นเป็นภาพที่ดี คนตรังมีน้ำใจ

กลับถึงบ้านแล้ว...ฮีโร่ทีมเก็บรังนกเกาะลิบง!! ท่ามกลางการต้อนรับที่แสนอบอุ่น พร้อมหน้าภรรยาและลูกรวมถึงชาวบ้านเกาะลิบง มารอให้การต้อนรับ

กลับถึงบ้านแล้ว...ฮีโร่ทีมเก็บรังนกเกาะลิบง!! ท่ามกลางการต้อนรับที่แสนอบอุ่น พร้อมหน้าภรรยาและลูกรวมถึงชาวบ้านเกาะลิบง มารอให้การต้อนรับ

 

นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง มาคอยให้การต้อนรับ กล่าวว่า ชาวจังหวัดตรังรู้สึกภาคภูมิใจที่พี่น้องชาวเกาะลิบงมีความเชี่ยวชาญทางด้านปีนเขามีจิตอาสาที่จะช่วยค้นหาน้อง ๆ ถึงแม้ทางทีมดำน้ำจะหาเจอแล้ว แต่ก็ยังต้องการหาทางออกอีก เราก็ยังช่วยเหมือนกับปิดทองหลังพระช่วยกันหลาย ๆ ทีม อันนี้ถือว่าเป็นการแสดงออกของความมีน้ำใจของชาวตรัง ท่านเป็นตัวแทนของจังหวัดตรังที่ทำให้คนทั่วโลกได้เห็นว่าจังหวัดตรังถึงแม้อยู่ห่างจากเชียงรายเกือบ 2,000 กิโลเมตร แต่ก็มีน้ำใจ ที่เราเดินทางไปกันเราไม่เงินแต่ก็ช่วย ๆ กันเฉลี่ยคนละ100,200 ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านกันตังซึ่งเป็นอำเภอของเกาะลิบงได้ช่วยเป็นหลักหมื่น ทีมแรกไปกัน 8 คน ทีมที่ 2 จำนวน 5 คน ก็ถือว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ช่วยเติมเต็มความมั่นใจในการช่วยเหลือคนที่ติดอยู่ในถ้ำ ถ้าทางหนึ่งทางใดไม่ได้มีทางเลือกอื่นที่เราพยายามหาทางออกอีก  ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงความมีน้ำใจในเพื่อนมนุษย์ที่ดี ซึ่งทางจังหวัดจะให้เกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ กำลังคิดว่าจะออกในรูปแบบใด ซึ่งตนเองคิดว่าเขาคงไม่อยากได้เงินรางวัลใดๆ แต่ประกาศนียบัตรเป็นในนามตัวแทนของจังหวัดตรังมอบให้กับฮีโร่เมืองตรัง

กลับถึงบ้านแล้ว...ฮีโร่ทีมเก็บรังนกเกาะลิบง!! ท่ามกลางการต้อนรับที่แสนอบอุ่น พร้อมหน้าภรรยาและลูกรวมถึงชาวบ้านเกาะลิบง มารอให้การต้อนรับ

กลับถึงบ้านแล้ว...ฮีโร่ทีมเก็บรังนกเกาะลิบง!! ท่ามกลางการต้อนรับที่แสนอบอุ่น พร้อมหน้าภรรยาและลูกรวมถึงชาวบ้านเกาะลิบง มารอให้การต้อนรับ

นายอิลิเฟ่น เทศนำ กล่าวว่า สภาพถ้ำที่ตรังกับที่ถ้ำหลวงแตกต่างกันมาก มีสภาพเป็นหินเปราะมันจะหักง่ายกว่าหินบ้านเราเพราะเป็นหินแกร่ง ลงพื้นที่จริงมี 7 คน ตนเองคอยช่วยเหลืออยู่ด้านล่างเพื่อให้การดูแล เพราะบางครั้งมีทีมงานเข้าไปกลัวหินจะหล่นลงมาได้เป็นอันตรายต่อน้อง ๆ ตนเองในนามของทีมงานภูมิใจที่ท่านให้โอกาส ไม่ว่าจะเป็นกำลังใจ แรงกายทุกอย่างที่ทำไปภูมิใจที่ท่านให้โอกาสทีมของจังหวัดตรัง ซึ่งการดำเนินการณ์พี่เค้าได้สั่งให้ตรวจถ้ำทุก ๆ ถ้ำ ปล่องแรกที่เจอลึกประมาณ 500 กว่าเมตรปากถ้ำกว้างประมาณ 3 เมตร คูณ 3 เมตรครึ่ง ด้านล่างกว้างประมาณ 8 คูณ 8 เมตรเป็นขั้นบันไดชั้น ๆ ลงไป ซึ่งก็ไม่ได้เจอกับน้อง ๆ หรือพ่อแม่ของเด็กเพราะทำงานคนละส่วนกันกับปากถ้ำ เพราะตนเองต้องขึ้นไปบนดอยสุดและไปด้านฟากของดอยและขึ้นสุดของดอยก่อนจะเดินกลับวันหนึ่งเดินประมาณ 10 กิโลเมตร

 

  ทางด้านนางวิไลพร พริ้มทอง  ซึ่งเป็นภรรยาของนายสมรักษ์ จิเหลา 1 ในทีมปีนเขา ที่มารอรับสามี กล่าวว่า ตนเองมีความภาคภูมิใจเป็นที่สุดที่สามีตนเองได้ไปช่วยเหลือน้อง ๆ และได้มีส่วนร่วมในภารกิจครั้งนี้ และดีใจที่สามีตนเองได้ตั้งใจเอาไว้ว่าจะไปให้ได้ และมีผู้อุปการะคุณหลาย ๆ ท่านที่ช่วย และขอขอบคุณหัวหน้าอ๊อดป่าไม้ที่ทำให้สามีตนได้เดินทางไป และสามีตนเองได้ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ พี่น้องชาวเกาะลิบงมีความดีใจสุด ๆ ที่คนธรรมดาปีนเขามีใจช่วยรักชาติ  พอสามีได้ทำเป็นผลสำเร็จชาวเกาะลิบงดีใจมาก ซึ่งจะมีการต้อนรับ พรุ่งนี้จะมีการทำบุญแกงแพะจึงขอเชิญทุกท่าน

 

นายอับดุลรอหีม ขุนรักษา กำนันตำบลเกาะลิบง กล่าวว่า ตนเองมีความภาคภูมิใจอย่างสูงที่คนทั้งประเทศและต่างประเทศทั่วโลกที่สนใจให้ความช่วยเหลือ เป็นความคิดของชุมชนเป็นความคิดของทีมรังนกนางแอ่นจะเดินทางไปช่วยเด็กเพราะดูโทรทัศน์อยู่ ด้วยที่ทุกคนมีลูกจึงมีความตั้งใจว่าจะทำอย่างไรเขาจะได้ไปที่นั่นก็ได้มาคุยกับตน ซึ่งต่อมาทางเขตอุทยานห้ามล่าสัตว์ป่าก็ได้มาคุยและปรึกษากับทีมงานว่าจะทำอย่างไรได้บ้างให้ทีมเก็บรังนกนางแอ่นได้ไปช่วยเหลือที่นั่น เมื่อมีความเห็นตรงกันจึงได้ซื้อตั๋วเครื่องบินเดินทางในวันที่ 30 ซึ่งได้ติดต่อคุณประเสริฐ คงแก้วหัวหน้าเขตพันธุ์สัตว์ป่าน่านเป็นผู้ประสานงานจากสนามบินไปยังถ้ำหลวง และเป็นคนประสานในเรื่องการดำเนินงานในการทำกิจกรรม ซึ่งเมื่อไปถึงถ้ำหลวงแล้วมันก็มีกฎเกณฑ์มีภารกิจที่ต้องประสานงานกับกลุ่ม นปข.และสืบทหารเรือลุ่มแม่น้ำโขง กรมอุทยานฯ จึงได้เข้าทำงาน และในวันที่ 2 ก็ตามทหารเรือทหารบกร่วมกันค้นหาเพื่อหาปล่องให้เจอ หลังจากเจอน้องแล้วตั้งใจว่าจะกลับบ้าน แต่ความตั้งใจเรายังไม่หมด เพราะความตั้งใจที่ไปเด็กต้องออกจากถ้ำให้หมดแล้วเราจะกลับ แต่เมื่อเจอเด็กแล้วทางทหารก็ไม่ประสานงานมาเราก็จะกลับบ้าน มาถึงสนามบินยังไม่ถึง 20 นาทีเครื่องบินจะขึ้น ทางทหารติดต่อประสานมาให้เราทำภารกิจต่อเป็นภารกิจสำรองหาถ้ำต่อ จึงทิ้งตั๋วเครื่องบินไว้ที่สนามบินเดินทางกลับไปยังถ้ำหลวงอีกครั้งหนึ่ง จนทำงานได้ถึงวันที่ 9 เราก็ตั้งใจทำ เพราะมีแผนสำรองว่าทางข้างหน้าไม่รู้จะออกได้อย่างไร เผื่อมีปัญหาทางหน่วยซิวหรือทางทหารเรือให้เราทำภารกิจต่อ ทุกวันขึ้นปีนถ้ำตั้งแต่ 9 โมงเช้า จนถึง 5 โมงเย็น เพราะมีการกำชับจากผู้พันให้ลงจากเขาไม่เกิน 5 โมงเย็น ขึ้นสูงสุด 1,200 เมตร  การขึ้นหารังนกกับการหาปล่องถ้ำมันแตกต่างกันมาก เพราะหารังนกเรามีเป้าหมาย แต่ที่โน่นเราไม่ใช่คนในพื้นที่และภูเขาก็เป็นลูกใหญ่ 7-8 กิโลเมตร มีความซับซ้อน กว่าจะขึ้นถึงภูเขาต้องใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง โดยที่มีทหารคอยคุ้มกัน บางวันเราหาเอง บางวันทหารหาให้เราลง ส่วนความเป็นอยู่ถือว่าสบายเพราะคนที่แม่สายต้อนรับอย่างดี ทางทีมงานไปนอนที่กรีนวิว เจ้าของกรีนวิวเป็นคนมุสลิม เขาให้ที่พักพิงตั้งแต่วันแรกจนถึงวันกลับ อาหารการกินไม่ว่าคนศาสนาอื่นเขาก็ระดมทุนไปให้คนมุสลิม ให้คนมุสลิมทำอาหารให้กินทุกมื้อ อาหารเหลือเฟือ มีหลายคนถามว่าเกาะลิบงอยู่ส่วนใดของจังหวัดตรัง เกาะลิบงเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดตรังอยู่ทางไต้ของประเทศไทย จริง ๆ แล้วเกาะลิบงก็มีการท่องเที่ยวอยู่แล้วไม่ว่าเรื่องของการมาดูพะยูน เรื่องของถ้ำมรกต เรื่องของชายหาด แม้กระทั้งเกาะกระดานก็อยู่ในพื้นที่เกาะลิบง เกาะลิบงเป็นพื้นที่มุสลิมเป็นชุมชนชุมชนหนึ่งที่เห็นความสำคัญเรื่องของการช่วยเหลือในชุมชนในประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยช่วยเหลือเรือของชาวสวีเดนที่ลมพัดมาซัดเกยตื้นมาครั้งหนึ่งแล้ว ชาวบ้านรวมตัวกัน 100-200 คนใช้เชือกลากเรือเพราะไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือใดๆ เราเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก เราทนดูไม่ได้ เรามีกำลังความสามารถเราก็ช่วยในกำลังความสามารถ ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนที่ให้การช่วยเหลือและส่งกำลังใจคนในประเทศและคนทั่วโลกที่ส่งกำลังใจทุกฝ่ายทุกหน่วยงานเพื่อระดมค้นหาเด็กออกจากพื้นที่จนกว่าปลอดภัยทุกคน

ถนอมศักดิ์ หนูนุ่ม ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดตรัง

 

กลับถึงบ้านแล้ว...ฮีโร่ทีมเก็บรังนกเกาะลิบง!! ท่ามกลางการต้อนรับที่แสนอบอุ่น พร้อมหน้าภรรยาและลูกรวมถึงชาวบ้านเกาะลิบง มารอให้การต้อนรับ

กลับถึงบ้านแล้ว...ฮีโร่ทีมเก็บรังนกเกาะลิบง!! ท่ามกลางการต้อนรับที่แสนอบอุ่น พร้อมหน้าภรรยาและลูกรวมถึงชาวบ้านเกาะลิบง มารอให้การต้อนรับ

กลับถึงบ้านแล้ว...ฮีโร่ทีมเก็บรังนกเกาะลิบง!! ท่ามกลางการต้อนรับที่แสนอบอุ่น พร้อมหน้าภรรยาและลูกรวมถึงชาวบ้านเกาะลิบง มารอให้การต้อนรับ