ป่วยการเมือง!? แฉ.."สมเด็จช่วง"ไม่เคยเข้าประชุมมส.ตั้งแต่ตั้งสังฆราช อ้างป่วย แต่ไปเป็นประธานเปิดงานหมู่บ้านศีลห้า!! อย่างไหนสำคัญกว่ากัน ?

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา ทางด้านกลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ได้เปิดเผยการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งล่าสุด วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม2561เวลา 14.00 น. สมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติหน้าที่แทน สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อมฺพรมหาเถร) เป็นประธานการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ครั้งที่ 19 ประจำปีพุทธศักราช 2561 ณ ห้องประชุมมหาเถรสมาคม อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

 

ในการนี้ พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เลขาธิการมหาเถรสมาคม พร้อมด้วย นายสมเกียรติ ธงศรี รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และนายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม เข้าร่วมการประชุมฯในครั้งนี้ด้วย

เช่าพระคลิ๊กที่นี่
บ้านพระเครื่อง

 

อย่างไรก็ตามมีการรายงานข่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นการประชุมที่สั้นที่สุด ได้ใช้เวลาประชุมเพียง 15 นาทีเท่านั้น  นอกจากนั้นภายหลังการประชุม มส.เสร็จสิ้นแล้ว ยังได้มีการปิดป้ายประกาศปิดห้องประชุม โดยเลื่อนใช้ออกไปเป็นเวลา 1 เดือน  ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่งรุนแรง และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเพราะปกติแต่ละเดือนจะมีการประชุม มส.เดือนละ 3 ครั้ง  คือทุกวันที่ 10 วันที่ 20 และวันที่ 30  และหากตรงกับวันหยุดก็จะเลื่อนเข้ามาหรือเลื่อนออกไปตามสถานการณ์นั้นๆ แต่การเลื่อนจะไม่เคยเกิน 1 ครั้ง

 

ป่วยการเมือง!? แฉ.."สมเด็จช่วง"ไม่เคยเข้าประชุมมส.ตั้งแต่ตั้งสังฆราช อ้างป่วย แต่ไปเป็นประธานเปิดงานหมู่บ้านศีลห้า!! อย่างไหนสำคัญกว่ากัน ?

 

 

ป่วยการเมือง!? แฉ.."สมเด็จช่วง"ไม่เคยเข้าประชุมมส.ตั้งแต่ตั้งสังฆราช อ้างป่วย แต่ไปเป็นประธานเปิดงานหมู่บ้านศีลห้า!! อย่างไหนสำคัญกว่ากัน ?

 

 

เป็นที่น่าสังเกตว่าการเลือนประชุมมส.เป็นระยะเวลาถึง1เดือน  เท่ากับว่าเหมือนรอให้พ.ร.บ.คณะสงฆ์ประกาศใช้เป็นกฏหมายอย่างเป็นทางการ จากกรณีที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการประชุมครั้งที่ 41/2561 เมื่อวันที่พฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ 3 วาระรวดด้วยคะแนนเสียง 217 เสียงในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คณะสงฆ์ (ฉบับที่... ) พ.ศ.... ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้นำเสนอนั้น  ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรอพิจารณาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นอันดับสุดท้าย  นั้นเท่ากับว่า ประกาศในราชกิจจาฯเมื่อใด ก็ถือว่าเริ่มต้นใช้กฎหมายสงฆ์ใหม่ทันที ซึ่งผลมาจากปัญหาความหย่อนยานในการบริหารงานคณะสงฆ์โดย “มหาเถรสมาคม” องค์กรปกครองสงฆ์สูงสุดที่เกิดขึ้นมาแล้วหลากหลายกรณี นั่นก็คือ การ"Set Zero" นั่นเอง

 

ที่น่าสนใจ ทางด้านของ www.alittlebuddha.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เสนอข่าวความเคลื่อนไหวในแวดวงสงฆ์ได้เผยแพร่ข้อความแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ...

 

กรรมการมหาเถรสมาคม ชุดปัจจุบัน ที่ยังขึ้นกับ พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 นั้น กำหนดให้มีกรรมการ 2 ประเภท ได้แก่

 

ประเภทที่ 1 กรรมการโดยสมณศักดิ์หรือโดยตำแหน่ง ได้แก่สมเด็จพระราชาคณะทั้ง 8 รูป เมื่อได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จฯ กฎหมายก็กำหนดให้เป็น "กรรมการมหาเถรสมาคม" โดยอัตโนมัติ จะลาออกก็ไม่ได้ ต้องเป็นไปจนตาย ยกเว้นแต่ ลาสิกขา และถูกถอดยศ จึงจะสิ้นสุดสถานภาพ

 

ประเภทที่ 2 กรรมการโดยแต่งตั้ง แต่เดิมกำหนดให้มีกรรมการประเภทนี้จากทั้ง 2 นิกายๆ ละ 6 รูป รวมเป็น 12 รูป ทั้งนี้ กำหนดให้ "สมเด็จพระสังฆราช" ทรงมีพระอำนาจในการแต่งตั้ง

 

บางช่วง  www.alittlebuddha.com ยังกล่าวอีกด้วยว่า..

 

อย่าลืมด้วยว่า ตำแหน่งในทางพระสงฆ์นั้น ถึงจะไม่มีอำนาจล้นฟ้าเหมือนทหารตำรวจหรือนักการเมือง แต่ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนั้น "ยาวนานที่สุดในโลก" คือเป็นจนสิ้นชีวิต มีน้อยมากที่จะลาออก ถูกปลด หรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ดังนั้น ตำแหน่งทางคณะสงฆ์จึงถือว่า "ทรงอิทธิพลที่สุด" เพราะมีอำนาจนานที่สุดนั่นเอง แต่หลังจากนี้ไป จะไม่มีอีกแล้วกับคำว่า "อมตะ" เพราะทุกอย่างจะกลับเข้าสู่กฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา !

 

ยิ่งตำแหน่ง "สมเด็จพระราชาคณะ" ที่ พรบ.พ.ศ.05 กำหนดว่า "ต้องเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมไปจนสิ้นชีวิต" ยกเว้นถูกปลด หรือลาสิกขา เท่านั้น ลาออกไม่ได้ ไม่มีการเลือกตั้งหรือมีวาระ (เทอม) ในการดำรงตำแหน่ง นั่นจึงเท่ากับว่า ยศหรือสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จนั่น เป็นตำแหน่งอมตะ ใครได้เป็นสมเด็จก็ปิดประตูแห่งความตกต่ำ เพราะสามารถครองยศไปจนวันตาย แถมตำแหน่งก็ติดกับยศไปจนวันตายเช่นกัน ชาตินี้แม้ไม่ได้พานพบพระนิพพาน ขอได้เป็นสมเด็จ ก็ถือว่าสุดยอดแล้ว

 

แต่เพราะความเป็นอมตะที่แปลว่า ตายยาก นี่แหละ ที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับกรรมการมหาเถรสมาคมที่เป็นสมเด็จฯ เนื่องเพราะกว่าจะได้เป็นสมเด็จนั้น ตั้งผ่านด่านอรหันต์ ตั้งแต่พระครู เจ้าคุณชั้นสามัญ ชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม ชั้นพรหม (รองสมเด็จ) และรอเวลา "สมเด็จว่าง" เพราะถ้าไม่ว่างก็ตั้งใหม่ไม่ได้ ตำแหน่งหรือสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จนั้น แบ่งออกเป็นนิกายละ 4/4 รวมเป็น 8 อรหันต์ เท่านั้น

 

เมื่อเป็นเช่นนั้น กว่าพระรูปใดจะได้เป็นสมเด็จฯ ก็แก่งัก หูตาฝ้าฟาง ส่วนใหญ่ก็มีหมอประจำตัว ซึ่งโรคนิยมของพระสงฆ์ไทยก็ได้แก่ เบาหวาน ไขมันหรือครอเรสเตอรอล และความดันสูง ยังไม่นับโรคอื่นๆ อีกเพียบ เพราะยิ่งสูงก็ยิ่งหนาว วันๆ ได้แต่นั่งรับแขก ไม่มีเวลาพักผ่อน หรือออกกำลังกาย สุดท้ายจึงเหมือนเร่งเวลาเข้าโรงพยาบาล

 

…. นี่คือปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของพระสมเด็จ ที่รัฐบาลมองเห็น....

 

ที่น่าสนใจไปกว่านั้น  www.alittlebuddha.com ได้ระบุถึง “ปัญหาสุขภาพอีกข้อโรคหนึ่ง คือ ป่วยการเมือง” 

 

การเมืองเรื่องที่ว่านั้นก็มาจาก ศึกชิงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมหาเถรสมาคม มีสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เป็นประธาน ได้ประชุมลับและเสนอนาม "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" วัดปากน้ำ ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช อย่างเป็นเอกฉันท์ ด้วยสกอร์ 17-0 ส่งผลการประชุมให้แก่รัฐบาลเพื่อนำความขึ้นทูลเกล้า ในเดือนมกราคม พ.ศ.2559 แต่รัฐบาลเอาเรื่องไปดองไว้ อ้างว่า ต้องรอให้เกิดความสงบจึงจะดำเนินการ แต่สุดท้ายรัฐบาลก็เล่นเกมเร็ว ส่งรัฐมนตรีเข้าประชุม สนช. เพื่อผ่าตัด ม.7 แก้ไขให้ "การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เป็นพระราชอำนาจ" เท่ากับยึดอำนาจมหาเถรสมาคม ไปตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2560 และต่อมาในวันที่ 12 ก.พ. 2560 ก็มีพระบรมราชโองการสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

 

ป่วยการเมือง!? แฉ.."สมเด็จช่วง"ไม่เคยเข้าประชุมมส.ตั้งแต่ตั้งสังฆราช อ้างป่วย แต่ไปเป็นประธานเปิดงานหมู่บ้านศีลห้า!! อย่างไหนสำคัญกว่ากัน ?

 

จากการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะในฝ่าย "ธรรมยุต" ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชคราวนั้น ส่งผลให้สมณศักดิ์สมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระมหามุนีวงศ์"นั้น ว่างลง แต่ฝ่ายธรรมยุตยังไม่มีการตั้งสมเด็จขึ้นแทน จึงทำให้ฝ่ายธรรมยุตมีสมเด็จเหลืออยู่เพียง 3 รูป เข้าประชุมไม่ไหวอีก 1 รูป ก็เหลือเข้าประชุมได้เพียง 2 รูป ส่วนฝ่ายมหานิกายก็เข้าประชุมได้แค่ครึ่งเดียว เพราะสมเด็จวัดญาณเวศและสมเด็จวัดปากน้ำ ทั้งเข้าประชุมไม่ได้และไม่ยอมเข้าประชุม

 

สมเด็จประยุทธ์นั้น เข้าประชุมไม่ได้ เพราะอาพาธ ที่ไปกราบลาสมเด็จวัดปากน้ำ ตั้งแต่ก่อนจะมีการตั้งสังฆราช และตอนนั้นสมเด็จวัดปากน้ำยังเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชอยู่

 

แต่เมื่อสมเด็จวัดปากน้ำ "พลาด" จากตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ขึ้นมา นั่นคือ ไม่ยอมเข้าประชุมมหาเถรสมาคมเลย จนกระทั่งบัดนี้ !

 

ป่วยการเมือง!? แฉ.."สมเด็จช่วง"ไม่เคยเข้าประชุมมส.ตั้งแต่ตั้งสังฆราช อ้างป่วย แต่ไปเป็นประธานเปิดงานหมู่บ้านศีลห้า!! อย่างไหนสำคัญกว่ากัน ?

 

แต่..แต่กลับปรากฏว่า ในงานประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการหมู่บ้านศีลห้า ซึ่งจัดที่วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้เดินทางไปร่วมงานด้วย โดยไม่มีทีท่าว่าป่วยแต่อย่างใด ยิ้มแย้มแจ่มใส โปรยอาหารให้ปลาหน้าวัดอย่างสบายอกสบายใจ เหมือนไปปิ๊กนิก !

 

ป่วยการเมือง!? แฉ.."สมเด็จช่วง"ไม่เคยเข้าประชุมมส.ตั้งแต่ตั้งสังฆราช อ้างป่วย แต่ไปเป็นประธานเปิดงานหมู่บ้านศีลห้า!! อย่างไหนสำคัญกว่ากัน ?

 

 

ป่วยการเมือง!? แฉ.."สมเด็จช่วง"ไม่เคยเข้าประชุมมส.ตั้งแต่ตั้งสังฆราช อ้างป่วย แต่ไปเป็นประธานเปิดงานหมู่บ้านศีลห้า!! อย่างไหนสำคัญกว่ากัน ?

 

ตามเส้นทางนี้ จากวัดปากน้ำไปวัดไร่ขิง ต้องผ่านพุทธมณฑล หรือพุทธมณฑลอยู่ "ใกล้" กว่าวัดไร่ขิง แปลกแต่จริง ที่สมเด็จช่วงไปวัดไร่ขิงได้ แต่ไปพุทธมณฑลไม่ได้

 

ป่วยการเมือง!? แฉ.."สมเด็จช่วง"ไม่เคยเข้าประชุมมส.ตั้งแต่ตั้งสังฆราช อ้างป่วย แต่ไปเป็นประธานเปิดงานหมู่บ้านศีลห้า!! อย่างไหนสำคัญกว่ากัน ?

 

คำถามก็คือ ระหว่างพุทธมณฑล ซึ่งเป็นสถานที่ประชุมมหาเถรสมาคม กับวัดไร่ขิง ซึ่งอยู่ในจังหวัดนครปฐมเหมือนกัน ทำไมสมเด็จช่วงไปร่วมงานศีลห้าวัดไร่ขิงได้ แต่ไปประชุมที่พุทธมณฑลไม่ได้ ?

 

และระหว่าง โครงการหมู่บ้านศีลห้า กับการประชุมมหาเถรสมาคม อย่างไหนสำคัญกว่ากัน ?

 

ตอบคำถามนี้ได้ก็ตอบปัญหาเรื่อง ป่วยการเมืองได้ เว้นแต่ไม่กล้าถามและไม่กล้าตอบ !

 

ป่วยการเมือง!? แฉ.."สมเด็จช่วง"ไม่เคยเข้าประชุมมส.ตั้งแต่ตั้งสังฆราช อ้างป่วย แต่ไปเป็นประธานเปิดงานหมู่บ้านศีลห้า!! อย่างไหนสำคัญกว่ากัน ?

 

โปรดสังเกตว่า การขาดประชุม มส. นั้น ไม่มีโทษกำกับ ไม่ว่าจะป่วยจริงหรือไม่ แต่มันเป็นมารยาทที่เรียกว่า จริยาพระสังฆาธิการ สมเด็จช่วงนั้น ดำรงตำแหน่งมายาวนาน เคยเป็นถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จะไม่รู้เรื่องนี้ก็คงไม่ใช่ นอกเสียจากว่า "จงใจ" จะไม่ไปประชุม มส. ซึ่งก็ต้องตีความว่าเป็นการ ป่วยการเมือง !

 

แต่ป่วยชนิดนี้ ไม่มียาชนิดใดจะรักษา รัฐบาลหรือมหาเถรสมาคมจะลงโทษก็ไม่ได้ ปลดก็ไม่ได้ จนกระทั่งมาถึงมะม่วงพวงสุดท้าย นั่นคือ