12 สัตว์น้ำคุ้มครอง เตรียมเปิดให้ขึ้นทะเบียน กำหนดชนิด เว้นบางสายพันธุ์ทำการเพาะ

โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ได้เพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำอีก 12 ชนิด ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546ซึ่งปกติสัตว์ป่าและสัตว์น้ำที่ได้รับการคุ้มครองนั้น เป็นสัตว์ที่ห้ามทำการเพาะพันธุ์ เว้นบางสายพันธุ์เท่านั้นที่ทำการเพาะพันธุ์ได้ ซึ่งสัตว์น้ำตามกฎกระทรวงฉบับนี้มี ปลากระเบนราหูน้ำจืด หรือปลากระเบนเจ้าพระยา (Himantura chaophraya) ที่อนุญาตให้ประชาชนเพาะพันธุ์ได้ ตามกฎกระทรวง กำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออกประกาศกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่4) พ.ศ.2561 และกฎกระทรวง กำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ได้เพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำอีก 12 ชนิด ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546

 

กฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 ได้แก่
-ปลากระเบนปีศาจครีบโค้ง(Mobula thurstoni)
-ปลากระเบนปีศาจครีบสั้น (Mobula kuhlii)
-ปลากระเบนปีศาจแคระ (Mobula eregoodootenkee)
-ปลากระเบนปีศาจหางหนาม (Mobula japanica)
-ปลากระเบนแมนต้าแนวปะการัง (Manta alfredi)
-ปลากระเบนแมนต้ายักษ์ (Manta birostris)
-ปลากระเบนราหูน้ำจืด หรือปลากระเบนเจ้าพระยา (Himanturachaophraya)
-ปลาโรนิน หรือปลากระเบนท้องน้ำ (Rhina ancylostoma)
-ปลาฉนากเขียว (Pristiszijsron)
-ปลาฉนากปากแหลม (Anoxypristiscuspidata)
-ปลาฉนากฟันเล็ก (Pristis pectinata)
-ปลาฉนากยักษ์ (Pristis pristis)

12 สัตว์น้ำคุ้มครอง เตรียมเปิดให้ขึ้นทะเบียน กำหนดชนิด เว้นบางสายพันธุ์ทำการเพาะ

 

12 สัตว์น้ำคุ้มครอง เตรียมเปิดให้ขึ้นทะเบียน กำหนดชนิด เว้นบางสายพันธุ์ทำการเพาะ

 

 

ซึ่งปกติสัตว์ป่าและสัตว์น้ำที่ได้รับการคุ้มครองนั้น เป็นสัตว์ที่ห้ามทำการเพาะพันธุ์ เว้นบางสายพันธุ์เท่านั้นที่ทำการเพาะพันธุ์ได้ ซึ่งสัตว์น้ำตามกฎกระทรวงฉบับนี้มี ปลากระเบนราหูน้ำจืด หรือปลากระเบนเจ้าพระยา (Himantura chaophraya) ที่อนุญาตให้ประชาชนเพาะพันธุ์ได้ ตามกฎกระทรวง กำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561

จากประกาศดังกล่าว กรมประมงในฐานะหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยข้อมูลด้านการค้าสัตว์น้ำหายาก และใกล้สูญพันธุ์ ควบคุม ตรวจสอบ ออกใบอนุญาต ใบรับรองต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขภายใต้กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงขอแจ้งประชาชนว่า หากท่านใดครอบครองสัตว์น้ำดังกล่าว ทั้งที่มีชีวิตหรือมีซากไว้ครอบครอง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ต้องทำการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว ซากของสัตว์ป่าคุ้มครองหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยปฏิบัติตามประกาศกรมประมง เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งการครอบครอง แบบหนังสือกำกับการจำหน่าย การนำพยานเอกสารหรือหลักฐานมาพิสูจน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว การออกใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทาจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2558 อย่างไรก็ดี การเพาะพันธุ์ปลากระเบนราหูน้ำจืดนั้น ต้องดำเนินการแจ้งขอเพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองด้วย!!

 

12 สัตว์น้ำคุ้มครอง เตรียมเปิดให้ขึ้นทะเบียน กำหนดชนิด เว้นบางสายพันธุ์ทำการเพาะ .

 

12 สัตว์น้ำคุ้มครอง เตรียมเปิดให้ขึ้นทะเบียน กำหนดชนิด เว้นบางสายพันธุ์ทำการเพาะ

 

12 สัตว์น้ำคุ้มครอง เตรียมเปิดให้ขึ้นทะเบียน กำหนดชนิด เว้นบางสายพันธุ์ทำการเพาะ

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :กรมประมง