เตรียมตัวถูกแย่ง! หวั่นต่างชาติ ชิงจดสิทธิบัตร "ปลากัดไทย" ซ้ำรอย แมววิเชียรมาศ

เชิญชวนให้คนไทยร่วมลงชื่อสนับสนุน เรียกร้องให้มีการประกาศให้ “ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ” เพื่อเป็นเอกลักษณ์ชองชาติ

เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 61 องค์กร Change.org  ออกแคมเปญ เชิญชวนให้คนไทยร่วมลงชื่อสนับสนุน เรียกร้องให้มีการประกาศให้ “ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ” เพื่อเป็นเอกลักษณ์ชองชาติ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า ปลากัดเป็นสัตว์ที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างช้านาน และที่สำคัญก็เพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจและการค้า ซึ่งการประกาศในครั้งนี้จะครอบคลุมไปถึงว่า ไทยจะสามารถเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของปลากัด ออกใบรับรองต่างๆ และเอื้อให้รายได้จากการค้าปลากัดกับต่างชาติเพิ่มขึ้น  ทั้งนี้หากรัฐบาลยังไม่รีบดำเนินการ หวั่นเกรงว่าจะซ้ำรอยกับสมุนไพรหลายๆ ชนิด และแมวไทยสายพันธุ์วิเชียรมาศ ที่ถูกประเทศอังกฤษขึ้นสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาไปก่อน

 

เตรียมตัวถูกแย่ง! หวั่นต่างชาติ ชิงจดสิทธิบัตร "ปลากัดไทย" ซ้ำรอย แมววิเชียรมาศ

 

ปลากัด (Betta splendens) หรือที่ผู้คนในโลกต่างทราบกันดีและเรียกกันว่า Siamese Fighting Fish(สยาม ไฟท์ติ้ง ฟิช) หรือ Siamese Betta(สยาม เบตต้า) คือ ปลาชนิดหนึ่งของไทย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ และมีประวัติความเป็นมาอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน สมัยก่อน คนไทยเลี้ยงปลากัดสำหรับเล่นพนันกัดปลา แต่ปัจจุบัน คนไทยและคนทั่วโลกต่างนิยมเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงาม

 

ปลากัดทุกลักษณะในโลกนี้ล้วนมีที่มาจากสายพันธุ์เดียวกับปลากัดป่าของไทย แต่ด้วยความสามารถและภูมิปัญญาของคนไทย ที่ได้คัดเลือกปลาเพื่อผสมพันธุ์ และพัฒนาปลากัดให้มีลักษณะที่สวยงามหลากหลายในที่สุด จนมีชื่อเสียงและได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก แต่ทั้งหมดก็ล้วนคือ “ปลากัดไทย” ทั้งสิ้น

 

เตรียมตัวถูกแย่ง! หวั่นต่างชาติ ชิงจดสิทธิบัตร "ปลากัดไทย" ซ้ำรอย แมววิเชียรมาศ

 

เตรียมตัวถูกแย่ง! หวั่นต่างชาติ ชิงจดสิทธิบัตร "ปลากัดไทย" ซ้ำรอย แมววิเชียรมาศ
 

 

โดยหนังสือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ส่งถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 เพื่อเสนอให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เหตุผลที่เสนอมี 4 ข้อหลักๆ คือ

 

1.เหตุผลเชิงประวัติศาสตร์ เพราะปลากัดเป็นปลาพื้นเมืองของไทย เพาะเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงปัจจุบัน

2.เหตุผลเชิงวัฒนธรรม เพราะปลากัดเป็นตัวแทนศิลปะการต่อสู้ของไทย มีคำที่ใช้ในหมู่นักเลงปลากัดในอดีต จนกลายเป็นสำนวนหรือคำที่ติดปากคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

3.เหตุผลเชิงพาณิชย์ เพราะหากยกให้ปลากัดเป็น "สัตว์น้ำประจำชาติ" จะส้างความเป็นแบรนด์ของประเทศไทยได้ โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าการส่งออกไม่น้อยกว่า 3 พันล้านบาท

4.เหตุผลเชิงบูรณาการ เพราะปลากัดในแง่ของการเป็นสินค้า สามารถร่วมกันพัฒนาได้ทั้งภาคเอกชนรายใหญ่ เอกชนรายย่อย บุคคล ชุมชน

 

เตรียมตัวถูกแย่ง! หวั่นต่างชาติ ชิงจดสิทธิบัตร "ปลากัดไทย" ซ้ำรอย แมววิเชียรมาศ

 

แม้กระทั่งชาวต่างชาติก็ต่างให้ความสนใจในปลากัดไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาพถ่ายปลากัด ซึ่งถูกถ่ายโดยนายวิศรุต อังคทะวานิช ยังถูกใช้เป็นภาพ wall paper ในโทรศัพท์ iPhone รุ่น iPhone 6s และ iPhone 6s Plus โดยบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่าง Apple  ยิ่งแสดงให้เห็นได้ว่านี่คือสิ่งล้ำค่า อัญมณีใต้ผืนน้ำ ควรค่าแก่การให้ความสำคัญและประกาศให้ “ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ”

 

แต่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ปฏิเสธข้อเสนอของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยไม่ประกาศให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ด้วยเหตุผลว่า ข้อเสนอดังกล่าวนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับมิติเรื่องเอกลักษณ์ของชาติแต่อย่างใด

 

เมื่อเป็นดังนี้ ประเทศไทยจึงเสี่ยงต่อการเสียโอกาสด้านเอกลักษณ์ของชาติในระดับนานาชาติ ทั้ง ๆ ที่ผู้คนในโลกต่างก็ยอมรับกันว่า ปลากัดเป็นสัตว์น้ำของไทยมานับร้อยปี อีกทั้งยังเสียโอกาสด้านเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรไทยได้ส่งออกปลากัดไปจำหน่ายยังต่างประเทศมูลค่าปีละนับพันลัานบาทอีกด้วย

 

ดังนั้น ในโอกาสนี้ เพื่อแสดงออกถึงความภาคภูมิใจในปลากัด มรดกปู่ย่า อัญมณีล้ำค่าใต้ผืนน้ำของชาติไทย ซึ่งอยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และผู้คนทั้งโลกต่างก็ยอมรับในเอกลักษณ์ความเป็นไทยของปลากัดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

 

ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทย ร่วมกันลงชื่อเรียกร้อง เพื่อให้รัฐบาลและคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ประกาศว่า "ปลากัด คือ สัตว์น้ำประจำชาติของประเทศไทย" ก่อนที่เราสูญเสียเอกลักษณ์ที่สำคัญของไทยให้กับต่างชาติ

ร่วมลงชื่อ : www.change.org

 

 

 

 

ขอบคุณภาพจาก

เพจเฟซบุ๊ก Shutter Prince
สมาชิกพันทิป da nokkaew