เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%

ยังเป็นประเด็นที่หลายคนเฝ้าจับตามองสำหรับสถานการณ์น้ำในเขื่อนเพราะตอนนี้มีถึง4เขื่อนใหญ่ที่น้ำอาจสูงกว่า80% ซึ่งข้อกังวลตามมานั่นก็คือจะเกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี2554หรือไม่ ซึ่งในวันนี้เราจะได้ไปตรวจสอบสถานการณ์น้ำในเขื่อนรวมไปถึงพิกัดที่ตั้งของทั้ง4เขื่อนใหญ่

สถานการณ์น้ำในเขื่อนตอนนี้หลายคนเป็นกังวลว่าประเทศไทยเจอภัยพิบัติเหมือนครั้งน้ำท่วมใหญ่ปี2554อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่ดร. สมิทธ ธรรมสโรช อดีตประธานศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมาเตือนกรมชลให้เร่งระบายน้ำจากเขื่อนที่มีน้ำเกินระดับกักเก็บ 80% ทั้งยังได้เน้นย้ำไปที่เขื่อนวชิราลงกรณ  และเขื่อนศรีนครินทร์ ว่าตอนนี้น่ากลัว หากมีแผ่นดินไหวในพม่าตอนใต้ จะกระทบผนังเขื่อน ต้องระวังให้มาก น้ำในเขื่อนเวลากระฉอกช่วงเกิดแผ่นดินไหว เหมือนขยับอ่างน้ำขึ้นลง มีคลื่นมากระทบขอบอ่าง ตัวคลื่นกระทบสันเขื่อน ทำให้เขื่อนแตกร้าวได้ 

แต่หลายคนคงไม่ต้องกังวลเพราะถ้าดูจากฝ่ายของภาครัฐแล้วตอนนี้มีการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเพื่อติดตามสถานการณ์ และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ตลอด 24 ชม. ซึ่งสถานการณ์ที่หลายฝ่ายเฝ้ากังวลและจับตามองคือ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนครและเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี   เขื่อนวชิรลงกรณ จ. กาญจนบุรี ที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80-90%  ตอนนี้เองทางกรมชลประทานเร่งผันน้ำออกจากเขื่อนในปริมาณมากขึ้น


ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม  :  ดึงสติคนไทย 11 เขื่อนใหญ่น้ำเพิ่มสูงอย่าวิตก เปรียบเทียบชัดอุทกภัยปี 54 สาเหตุท่วมใหญ่
 


ไม่เพียงเท่านั้น นายไววิทย์ แสงพานิชย์ ผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณก็ได้ให้ข้อมูลเพื่อเน้นย้ำว่าผลการตรวจสอบเขื่อนทั้งหมดยังอยู่ในสภาพที่ดี มีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย ทั้งนี้เขื่อนวชิราลงกรณ มีการวางแผนเก็บกักและระบายน้ำ ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งแต่ละเดือนจะไม่เท่ากันตลอด อาจสูงกว่า 80% ก็ได้ ซึ่งต้องดูว่าเป็นฤดูอะไร มีน้ำไหลเข้ามากน้อยอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนทุกภาคส่วน 
 

สำหรับระดับน้ำในเขื่อนที่ต้องเฝ้าระวัง ขณะนี้จะได้โฟกัสไปที่สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 80 ขึ้นไป ของความจุอ่าง จำนวน 4 อ่างซึ่งประกอบด้วย โดยข้อมูลนั้นได้มาจากกรมชลประทาน และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

1.เขื่อนน้ำอูน  ความจุของเขื่อน รนก. 520 (ล้าน ม.3) ขณะเดียวกันหากตรวจสอบที่ปริมาตรน้ำในอ่างมีปริมาตรน้ำ 525 ล้าน ลบ.ม. ของความจุอ่าง 100% ซึ่งตอนนี้ปริมาตรน้ำในอ่าง 101 %  ทั้งนี้หากดูแล้วไม่สามารถรับน้ำได้อีก 

 

เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%

 

 

2.เขื่อนศรีนครินทร์  ความจุของเขื่อน รนก. 17,745 (ล้าน ม.3) ขณะเดียวกันหากตรวจสอบที่ปริมาตรน้ำในอ่างมีปริมาตรน้ำ 15,297 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งตอนนี้ปริมาตรน้ำในอ่าง 86 % ของความจุอ่าง 100% 

 

เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%

 

 

3.เขื่อนวชิราลงกรณ ความจุของเขื่อน รนก. 8,860 (ล้าน ม.3)  ขณะเดียวกันหากตรวจสอบที่ปริมาตรน้ำในอ่างมีปริมาตรน้ำ 7,351 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งตอนนี้ปริมาตรน้ำในอ่าง 83 % ของความจุอ่าง 100% 

 

เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%

 

4.เขื่อนแก่งกระจาน  ความจุของเขื่อน รนก. 710 (ล้าน ม.3)  ขณะเดียวกันหากตรวจสอบที่ปริมาตรน้ำในอ่างมีปริมาตรน้ำ 671 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งตอนนี้ปริมาตรน้ำในอ่าง 95 % ของความจุอ่าง 100% 

 

เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%


 

เพราะฉะนั้นเพื่อความชัดเจนเราจะได้ไปดูกันว่าทั้ง4เขื่อนที่ว่านั้นอยู่จังหวัดไหนบ้างโดยเริ่มจาก เขื่อนน้ำอูน เป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำอูน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 54 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2510 ตัวเขื่อนสร้างเสร็จ พ.ศ. 2517 งานระบบส่งน้ำเสร็จ พ.ศ. 2524 ตัวเขื่อนน้ำอูน มีความสูง 29.50 เมตร สันเขื่อนยาว 3,000 เมตร เก็บน้ำได้ 520 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูกในฤดูฝน 185,800 ไร่ ในฤดูแล้ง 63,000 ไร่และช่วยบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำอูน  

 

น้ำอูนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวาริชภูมิและอำเภอพรรณานิคม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพรรณานิคมและอำเภอกุดบาก
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกุดบาก และอำเภอวังสามหมอ (จังหวัดอุดรธานี)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอวาริชภูมิ

 

เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%

ภาพ : เขื่อนน้ำอูนจังหวัดสกลนคร

 

เขื่อนศรีนครินทร์ (ชื่อเดิม เขื่อนเจ้าเณร) เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง สร้างขึ้น บนแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี กั้นแม่น้ำแควใหญ่นับเป็น เขื่อนแห่งที่ 8 ในจำนวน 17 แห่ง  เขื่อนศรีนครินทร์เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความสูงจากฐานราก 140 เมตร สันเขื่อนยาว 610 เมตร กว้าง 15 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 419 ตารางกิโลเมตร มีความจุมากเป็นอันดับหนึ่งคือ 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร โรงไฟฟ้าเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  ขื่อนศรีนครินทร์เป็นโครงการอเนกประสงค์ ซึ่งอำนวยประโยชน์ในด้านต่างๆ สามารถกักเก็บน้ำที่หลากมาในช่วงฤดูฝนไว้ในอ่างเก็บน้ำได้เป็นจำนวนมาก ช่วย บรรเทาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำแม่กลองให้ลดน้อยลง

 

เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%

 

สำหรับลุ่มน้ำแม่กลอง เริ่มจากอำเภออุ้มผาง ซึ่งอยู่ทางตอนล่างของเขตจังหวัดตาก ลงมาทางทิศใต้จนถึงเขตติดต่อระหว่างจังหวัดราชบุรีกับจังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ลุ่มน้ำรวมทั้งสิ้น 30,171.24 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และจังหวัดเพชรบุรี 

เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%

ภาพ : เขื่อนศรีนครินทร์  จังหวัดกาญจนบุรี

 

 

เขื่อนวชิราลงกรณ เดิมมีชื่อว่า เขื่อนเขาแหลม เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทยที่ดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย เป็นเขื่อนอเนกประสงค์โดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยบริเวณตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ตัวอ่างเก็บน้ำอยู่ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  เขื่อนมีความจุ 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,369 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับพื้นที่้ท้ายเขื่อนวชิราลงกรณ อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอไทรโยค อำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา และ อำเภอทองผาภูมิ  
 

เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%

 

เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%

ภาพ :เขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี

 

เขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณเขาเจ้า และเขาไม้รวกประชิดกับ ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ทางด้านเหนือน้ำ ของเขื่อนเพชรขึ้นไปตามถนน 27 กิโลเมตร สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 58 เมตร ระดับสันเขื่อน 106 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ฐานตอนที่กว้างที่สุด 250 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ

 

เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%

 

เปิดพิกัดที่ตั้ง 4 เขื่อนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อีสาน ตะวันตก เฝ้าระวังน้ำเกิน80%

ภาพ : เขื่อนแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี

 


อ้างอิงจากกรมชลประทาน , สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร