ย้อนปมสังหาร เอ็กซ์ จักรกฤษณ์  บทสรุปศาลอุทธรณ์สั่งประหาร แม่หมอนิ่ม สะท้อนสถาบันครอบครัว

  นับเป็นอีกหนึ่งคดีที่น่าจับตามองกับคดี สังหาร เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม อดีตนักยิงปืนทีมชาติไทย ที่ผู้กระทำได้จ้างวานให้มือสังหาร ยิงปืนใส่เอ็กซ์ ดับคารถหรู

 

            นับเป็นอีกหนึ่งคดีที่น่าจับตามองกับคดี สังหาร เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม อดีตนักยิงปืนทีมชาติไทย ที่ผู้กระทำได้จ้างวานให้มือสังหาร ยิงปืนใส่เอ็กซ์ ดับคารถหรู เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2556 ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แกะรอยจากพยานหลักฐานจนในที่สุดสามารถจับตัวมือสังหารรวมถึงผู้จัดหาได้สำเร็จ หลังคำซัดทอดเผยออกมาเป็นที่ตกใจของผู้ที่รอฟังสรุปผลของคดี เอ็กซ์  จักรกฤษณ์ เมื่อผู้ที่อยู่ในขบวนการจ้างวานฆ่านั้นเป็นคนใกล้ชิด อย่าง พญ.นิธิวดี หรือ หมอนิ่ม ภู่เจริญยศ ภรรยาของเอ็กซ์ รวมอยู่ในคดีด้วย และเมื่อแกะรอยลงลึกไปอีกขั้น เจ๊แหม่ม คนรับงานและจัดหามือปืน ออกมาซัดทอดไปถึง นางสุรางค์ ดวงจินดา แม่ของหมอนิ่ม ว่าเป็นผู้จ้างวานและเรียกตนเข้าไปหา 


           ทั้งนี้หลังจากคดียืดมาหลายปี ล่าสุด 7 ส.ค. 61 ศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลอุทธรณ์ได้นัดอ่านคำพิพากษาในคดีสังหารเอ็กซ์ จักรกฤษณ์ อีกครั้ง  และได้ตัดสินให้ยกฟ้องพญ.นิธิวดี หรือหมอนิ่ม ภรรยาเอ็กซ์ ด้วยเหตุผลด้านความสัมพันธ์ เพราะตลอดเวลาที่เอ็กซ์นั้นอยู่ภายในคุก หมอนิ่มได้พาลูกไปเยี่ยมอยู่ไม่ขาด แสดงให้เห็นว่าทั้งสองยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอยู่ 

 

           ด้านนางสุรางค์ ดวงจินดา แม่ของหมอนิ่มนั้น ศาลได้ตัดสินให้ประหารชีวิต แต่ด้วยจำเลยรับสารภาพ จึงลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุกตลอดชีวิต โดยให้เหตุผลว่า นางสุรางค์ ทำไปด้วยความรักลูกของตน จึงเกิดความโกรธแค้นในตัวเอ็กซ์ผู้ตาย ทั้งด้วยการกระทำที่รุนแรงต่อหมอนิ่ม ที่เอ็กซ์ใช้กำลังทำร้ายจนแท้งลูก ทำให้นางสุรางค์ เชื่อว่าเอ็กซ์ นั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยของตนได้ จึงจำเป็นต้องจ้างมือปืน ทั้งนี้ทนายเตรียมยื่นหลักทรัพย์ในการประกันตัวนางสุรางค์ 1 ล้านบาท  

 

ย้อนปมสังหาร เอ็กซ์ จักรกฤษณ์  บทสรุปศาลอุทธรณ์สั่งประหาร แม่หมอนิ่ม สะท้อนสถาบันครอบครัว


    
         ส่วนนายจิรศักดิ์ กลิ่นคล้าย มือปืน และ นายธวัชชัย เพชรโชติ ผู้ขี่รถจักรยานยนต์ ให้มือปืน ของคดีนี้  ศาลตัดสินให้ยืนตามศาลชั้นต้น จำคุกตลอดชีวิต สิ่งหนึ่งที่ทำให้นางสุรางค์ แม่ของหมอนิ่ม ตัดสินใจจ้างมือปืน นั้นเป็นเพราะความรักของแม่ที่มีต่อลูก หลังจากเห็นเอ็กซ์  จักรกฤษณ์ ทำร้ายร่างกายหมอนิ่ม นานกว่า 6 ปี ตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกัน แม้เอ็กซ์ จะพ้นโทษจากการทำร้ายร่างกายหมอนิ่มและสัญญาณว่าจะไม่ทำอีก แต่ลับหลังก็ยังเห็นทำร้ายลูกสาวและหลานอยู่เสมอ

 

ย้อนปมสังหาร เอ็กซ์ จักรกฤษณ์  บทสรุปศาลอุทธรณ์สั่งประหาร แม่หมอนิ่ม สะท้อนสถาบันครอบครัว

 

        ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2559 ที่ห้องพิจารณาคดี 203  ศาลจังหวังมีนบุรี ถ.สีหบุรานุกิจ ได้อ่านคำพิพากษาคดี หมายเลยดำ อ.383/2557  ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีศาลจังหวัดมีนบุรี เป็นโจทย์ยื่นฟ้อง นายจิรศักดิ์ กลิ่นคล้าย มือปืน นางสุรางค์  ดวงจินดา แม่ของหมอนิ่ม  พญ.นิธิวดี ภู่เจริญยศ หมอนิ่ม นายสันติ ทองเสม ทนายอี๊ด และนายธวัชชัย เพชรโชติ เป็นผู้ขี่รถจักรยานยนต์พามือปืนไปก่อเหตุเป็นจำเลยที่ 1 ในฐานความผิดร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ทั้งจ้างวานใช้ ยุยงส่งเสริมให้ฆ่า มีและพกพาอาวุธปืน ยิงในที่สาธารณะ

 

ย้อนปมสังหาร เอ็กซ์ จักรกฤษณ์  บทสรุปศาลอุทธรณ์สั่งประหาร แม่หมอนิ่ม สะท้อนสถาบันครอบครัว

 

        ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ประหารชีวิต พญ.นิธิวดี หรือหมอนิ่ม ภู่เจริญยศ อายุ 40 ปี อดีตภรรยาของเอ็กซ์ และนายสันติ หรือทนายอี๊ด ทองเสม อายุ 30 ปี ในข้อหาจ้างวานฆ่า พร้อมพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตนายจิรศักดิ์ กลิ่นคล้าย อายุ 47 ปี มือปืน และนายธวัชชัย เพชรโชติ อายุ 35 ปี ผู้ขี่รถจักรยานยนต์ให้มือปืน

 

ย้อนปมสังหาร เอ็กซ์ จักรกฤษณ์  บทสรุปศาลอุทธรณ์สั่งประหาร แม่หมอนิ่ม สะท้อนสถาบันครอบครัว

 

        ล่าสุดในวันที่ 7 ส.ค. ที่ศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลอุทธรณ์นัดอ่านคำพิพากษาในคดีนี้ ก่อนตัดสินให้ แก้ยกฟ้อง พญ.นิธิวดี หรือหมอนิ่ม ภู่เจริญยศ  โดยให้เหตุผลว่า ความสัมพันธ์ของทั้งคู่นั้น ยังมีความรักต่อกัน เพราะหมอนิ่มและผู้ตายยังไปมาหาสู่ผู้ตาย ตอนติดคุกยังพาลูกไปหา ไม่มีท่าทีโกรธแค้น ทั้งนี้ ศาลได้พิพากษา นางสุรางค์ ดวงจินดา อายุ 76 ปี แม่ของหมอนิ่ม ผู้ว่าจ้างยิงนายเอ็กซ์ ให้ประหารชีวิต แต่จำเลยรับสารภาพลดโทษ 1 ใน 3 ให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต โดยให้สาเหตุ ว่า นางสุรางค์ นั้น มีความโกรธแค้นที่คนตาย ทำร้ายลูก และหลาน จนทำให้แท้งลูก และเชื่อว่า ผู้ตายไม่สามารถเปลี่ยนนิสัยได้ เลยสั่งมือปืนยิง

       ด้านนางบุญคิด พณิชย์ผาติกรรม แม่ของเอ็กซ์นั้น ยอมรับในคำตัดสินของศาล เพราะพอใจกับการเลี้ยงหลาน ทั้ง 2 คนของตนเป็นอย่างดี ส่งให้เรียนในโรงเรียนดีๆ เห็นหลานสุขสบายก็ดีใจ เนื่องจากหากเอาเรื่องต่อไปเอ็กซ์ก็ไม่ฟื้นขึ้นมา โดยหลังจากนี้ นางบุญคิด จะไม่ยื่นฎีกาในส่วนของหมอนิ่ม พร้อมอโหสิกรรมให้

 

ย้อนปมสังหาร เอ็กซ์ จักรกฤษณ์  บทสรุปศาลอุทธรณ์สั่งประหาร แม่หมอนิ่ม สะท้อนสถาบันครอบครัว

 

 

 

      ทั้งนี้ทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้สรุปเหตุแต่ละมาตราว่าเหตุใดศาลจึงต้องประหารและประมวลกฎหมายอาญาจ้างวานนักฆ่า โดยโทษมีอย่างเดียวคือ ประหารชีวิต ดังนี้

1. มาตรา 83  ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

2. มาตรา 84  ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ 
                      ถ้าความผิดมิได้กระทำลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำหรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

3. มาตรา 288  ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี

4. มาตรา 289  ผู้ใด ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต้องระวางโทษประหารชีวิต


        และยังมีการพักโทษในผู้ต้องหาอายุ 70 ปี ที่หลายคนสงสัยว่าเป็นเช่นไรกับกฎระเบียบของกรมราชทัณฑ์คืออะไร

โดยการพักโทษของผู้ต้องขังที่มีอายุเกิน 70 ปี "ต้องเหลือโทษไม่เกิน 5 ปี และต้องถูกจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 ของโทษตามกําหนดโทษ ถ้าหากเป็นนักโทษเด็ดขาดที่กรณีอ้างเหตุเป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อย 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ เช่น พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2559 บัญญัติว่า "ต้องได้รับโทษจําคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกําหนดโทษ เว้นแต่เป็นคนเจ็บป่วย ด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง(โรคเอดส์) ระยะสุดท้าย ซึ่งแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่า 2 คน ได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าไม่สามารถจะรักษาในเรือนจําให้หายได้" เป็นต้น

อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามต่อไปว่าคดีสังหารเอ็กซ์ จักรกฤษณ์ จะจบลงเช่นไร และจะมีใครรับโทษกับคดีสะท้อนสถาบันครอบครัวนี้อย่างไรบ้าง