เปิดโมเดล"ชุมชนปลอดขยะ" แห่งใหม่ สร้างรายได้เห็นผลจริง เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561 นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ตามนโยบายรัฐบาลให้ขยะเป็นวาระแห่งชาติ คพ. ได้จัดทำ โรดแมพ การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศ ประกอบกับ กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559 - 2560) เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) ภายใต้กรอบแนวคิด 3R ประชารัฐ คือ การส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ส่งผลให้ อปท. ทั่วประเทศ ดำเนินการกำจัดขยะตกค้างเก่าสะสม และจัดการขยะมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นหนึ่งใน อปท. ที่มีรูปแบบในการลด คัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยใช้หลักการ 3R : Reduce Reuse Recycle

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561 นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ตามนโยบายรัฐบาลให้ขยะเป็นวาระแห่งชาติ คพ. ได้จัดทำ โรดแมพ การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศ ประกอบกับ กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559 - 2560) เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society)

 

เปิดโมเดล"ชุมชนปลอดขยะ" แห่งใหม่ สร้างรายได้เห็นผลจริง เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

 

ภายใต้กรอบแนวคิด 3R ประชารัฐ คือ การส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ส่งผลให้ อปท. ทั่วประเทศ ดำเนินการกำจัดขยะตกค้างเก่าสะสม และจัดการขยะมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นหนึ่งใน อปท. ที่มีรูปแบบในการลด คัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยใช้หลักการ 3R : Reduce Reuse Recycle 

นายเถลิงศักดิ์  กล่าวว่า คพ. ได้ลงพื้นที่ชุมชนปลอดขยะแห่งใหม่ เพื่อตรวจสอบการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลสังคม จังหวัดหนองคาย โดยชุมชนปลอดขยะแห่งนี้ มีขนาดพื้นที่ 2.1 ตารางกิโลเมตร เขตปกครอง 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน 1,313 ครัวเรือน มีประชากรรวม 3,376 คน โดยที่ผ่านมาเทศบาลตำบลสังคม เคยมีปัญหาการจัดการขยะ ไม่มีหลุมฝังกลบขยะ ต้องขนส่งขยะไปกำจัดที่เทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ทำให้เสียค่าจัดการขยะ ทั้งการขนส่งและการกำจัดขยะ ปีละประมาณ 445,000 บาท ขณะที่ประชาชนบางส่วนยังไม่ให้ความสำคัญในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง และยังไม่เข้าใจ “ผู้ก่อให้เกิด ต้องเป็นผู้รับผิดชอบกำจัดขยะ” ซึ่งมีปริมาณขยะเฉลี่ย 810 กิโลกรัม ต่อวัน

 

เปิดโมเดล"ชุมชนปลอดขยะ" แห่งใหม่ สร้างรายได้เห็นผลจริง เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

 

เปิดโมเดล"ชุมชนปลอดขยะ" แห่งใหม่ สร้างรายได้เห็นผลจริง เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม


นายเถลิงศักดิ์  กล่าวอีกว่า ภาครัฐได้ส่งเสริมการมีวินัยในการจัดการขยะมูลฝอยของคนในชุมชน โดยเริ่มจากกิจกรรมถนนปลอดถังขยะ ชุมชนจะช่วยกันคัดแยกขยะในครัวเรือน และนขยะทั่วไป เฉพาะส่วนที่ไม่สามารถจัดการได้ เช่น ผ้าอ้อมเด็ก ผู้ใหญ่ เป็นต้น ออกมาวางตามเส้นทางหลัก 211 ตั้งแต่เวลา 05.oo – 06.oo น.  และเส้นรองบ้านสังคม 1 ตั้งแต่เวลา 07.00 -08.00 น. รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมการลด ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่ชุมชน กิจกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟม กิจกรรมตะกร้าและกระติบข้าวไปวัด ลดใช้ถุง นุ่งผ้าไทย ใช้ปิ่นโต กิจกรรมการจัดการขยะอินทรีย์ ด้วยการทำปุ๋ยชีวภาพ ทำน้ำหมักในครัวเรือน กิจกรรมจับคู่ผู้ก่อกำเนิดและผู้ใช้ประโยชน์จากขยะ (Matching junk) เป็นต้น  “ทุกกิจกรรมการจัดการขยะของชุมชนล้วนเป็นวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และในเดือนมิถุยายน ที่ผ่านมาหมู่บ้านสังคม 1 สามารถใช้ประโยชน์จากขยะได้ทั้งหมด 635 กิโลกรัม/วัน คิดเป็น 78 % จากปริมาณขยะทั้งหมด 810 กิโลกรัม/วัน นับเป็นผลสำเร็จของการดำเนินงานชุมชนอย่างแท้จริง” 

 

เปิดโมเดล"ชุมชนปลอดขยะ" แห่งใหม่ สร้างรายได้เห็นผลจริง เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

 

เปิดโมเดล"ชุมชนปลอดขยะ" แห่งใหม่ สร้างรายได้เห็นผลจริง เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาในระยะเร่งด่วนโดยในปี 2561 ขยะมูลฝอยตกค้างได้รับการจัดการแล้ว 27 ล้านตัน หรือร้อยละ 88.5 จากทั้งหมด 30.5 ล้านตัน ในส่วนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน และดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการประเทศไทยไรขยะตามแนวทาง “ประชารัฐ” ปัจจุบันมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย 2867 แห่ง ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 20.2 ล้านตัน (ร้อยละ 74) โดยนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง 11.69 ล้านตัน (ร้อยละ 43) และนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ 8.51 ล้านตัน (ร้อยละ 31)
 

เปิดโมเดล"ชุมชนปลอดขยะ" แห่งใหม่ สร้างรายได้เห็นผลจริง เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

 

เปิดโมเดล"ชุมชนปลอดขยะ" แห่งใหม่ สร้างรายได้เห็นผลจริง เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

 

เปิดโมเดล"ชุมชนปลอดขยะ" แห่งใหม่ สร้างรายได้เห็นผลจริง เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

 

เปิดโมเดล"ชุมชนปลอดขยะ" แห่งใหม่ สร้างรายได้เห็นผลจริง เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม