ปลาซิวอ้าว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่ไม่ค่อยได้พบได้เจอกันบ่อยในยุคนี้

ติดตามรายละเอียด www.tnews.co.th

ปลาซิวอ้าว (Apollo shark)

ลักษณะทั่วไป

ปลาซิวอ้าวมีลักษณะคล้ายปลาซิวหนวดยาว แต่มีขนาดใหญ่กว่า ขนาดใหญ่ได้มากกว่า 20 เซนติเมตร รูปร่างทั่วไปมีลักษณะเรียวยาว ไม่มีหนวด มีริมฝีปากล่างต่ำกว่าริมฝีปากบน ภายในปากไ่ม่มีฟัน แต่มีฟันที่คอหอย 1 ชุด

เกล็ดรูปทรงกลม สีเงินมีประกายแวววาว บางส่วนลำตัวมีเกล็ดน้อยหรือไม่มีเลย มีเกล็ดข้างลำตัวตั้งแต่บนส่วนบนของครีบท้องจนถึงปลายครีบก้น มี 13 เกล็ด และมีเส้นข้างลำตัวทอดยาวจากด้านบนของครีบท้องจนถึงโคนครีบก้น และค่อยๆจางลง โดยเส้นข้างลำตัวทั้ง 2 ข้างจะไม่เหมือนกัน และมีลายพาดสีดำจากหลังตาไปจรดโคนหาง เหนือลายพาดสีดำมีแถบสีทองขนานไปตลอดลำตัว มีลายพาดสีดำบริเวณส่วนหางชัดเจนมากกว่าส่วนหัว

ปลาซิวอ้าวมีครีบอกขนาดใหญ่เหมือนกับปลาซิวหนวดยาวเพื่อใช้สำหรับทรงตัว และใช้กระโดดขึ้นเหนือน้ำ ส่วนครีบหลังสั้น มีก้านครีบ 6-16 อัน ก้านครีบส่วนหน้าแข็งมีหยัก ครีบก้นมีก้านครีบ 5 อัน โคนหางมีสีส้ม และมีจุดดำ

 

ปลาซิวอ้าว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่ไม่ค่อยได้พบได้เจอกันบ่อยในยุคนี้



SAKURA Extra Gold คลิ๊ก
อาหารปลาคาร์ฟ Sakura Koi Staple Fomula1.25kg. คลิ๊ก

การแพร่กระจาย
ปลาซิวหนวดยาว และปลาซิวอ้าว เป็นชนิดปลาซิวที่พบแพร่กระจายมากในประเทศไทย พบได้ทั่วไปตามแอ่งน้ำ สระน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง กระจายทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย พบมากในแถบภาคกลาง เหนือ อีสาน และตะวันออก

 

ปลาซิวอ้าว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่ไม่ค่อยได้พบได้เจอกันบ่อยในยุคนี้

 

ปลาซิวอ้าว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่ไม่ค่อยได้พบได้เจอกันบ่อยในยุคนี้

การดำรงชีพ
ปลาซิวทั้งสองมักออกหาอาหารรวมกันเป็นฝูง และเป็นปลากินพืช และกินสัตว์ ได้แก่ ลูกน้ำ กุ้ง หอยขนาดเล็ก ตะไคร่น้ำ สาหร่าย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังกินแมลงขนาดเล็กที่อยู่เหนือผิวน้ำ เช่น ริ้น เป็นต้น

การผสมพันธุ์
ปลาซิวหนวดยาว และปลาซิวอ้าว เมื่อเริ่มผสมพันธุ์ ตัวผู้ และตัวเมียจะเอาหัวชนข้างลำตัวกัน เพื่อกระตุ้นการวางไข่ และฉีดน้ำเชื้อ โดยไข่จะมีลักษณะทรงกลม สีเหลืองอ่อน ไข่ที่ผสมแล้วจะร่วงลงสู่พื้นท้องน้ำ และฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 2 วัน

 

ปลาซิวอ้าว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่ไม่ค่อยได้พบได้เจอกันบ่อยในยุคนี้