"ล้มไพรมารีโหวต-ห้ามหาเสียง" : เนื้อหาคำสั่งคลายล็อกพรรคการเมืองจากคสช.

ติดตามรายละเอียด www.tnews.co.th

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13 /๒๕๖๑ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) โดยมีเนื้อหา 9 ข้อ ซึ่งคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ออกมาไม่ใช่การปลดล็อกทางการเมือง เพราะประกาศ คสช. ฉบับที่ 57/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ยังมีผลบังคับใช้อยู่ เพราะฉะนั้นจึงเป็นการ คลายล็อกทางการเมือง

โดยเนื้อหาตอนหนึ่งของคำสั่งคสช.ที่ 13/2561 เขียนว่า

"เพื่อให้สถานการณ์ของบ้านเมืองที่มีความสงบเรียบร้อยระดับหนึ่งในขณะนี้ยังคงดำเนินอยู่ต่อไปในห้วงเวลาการปฏิรูปประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศ จึงยังคงจำเป็นต้องให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวกับการดำเนินการของพรรคการเมืองยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป แต่เพื่อให้กำรจัดให้มีกำรเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกนั้นเป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๖๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อให้พรรคการเมืองทั้งที่จัดตั้งขึ้นใหม่และจัดตั้งมาก่อนแล้ว อีกทั้งไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกมากหรือน้อยเพียงใดสามารถเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นตามเวลาดังกล่าวได้ จึงควรผ่อนคลายการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่จำเป็นบางกรณีซึ่งพรรคการเมืองต้องดำเนินการก่อนการเลือกตั้ง โดยให้สามารถดำเนินการได้ในช่วงระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่มีการประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นระยะเวลาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับต่อไป"

นอกจากนี้คำสั่ง คสช. ที่ 13/2561 ได้สั่งยกเลิก แก้ไข หรือเพิ่มเติมข้อความใน พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 รวมทั้งสิ้น 5 มาตรา ที่น่าสนใจคือมีความชัดเจนแล้วว่าจะไม่ให้นำระบบเลือกตั้งขั้นต้น หรือไพรมารี มาบังคับใช้กับการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งแรก แต่ให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้สมัคร 11 คน ประกอบด้วย กก.บห. 4 คน และตัวแทนสมาชิกที่พรรคเลือก 7 คน แล้วเสนอให้ กก.บห. ให้ความเห็นชอบ

นอกจากนี้คำสั่งหัวหน้า คสช. เปิดทางให้พรรคการเมืองใช้เทคโนโลยีหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์/ติดต่อสื่อสารกับผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคและสมาชิกพรรคของตนได้ แต่ "ต้องไม่มีลักษณะเป็นการหาเสียง"

"คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และ คสช. อาจกำหนดลักษณะต้องห้ามของการประชาสัมพันธ์หรือการติดต่อสื่อสารที่จะมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือสั่งให้มีการระงับการดำเนินการดังกล่าวก็ได้" คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561 ระบุ

อ่านเนื้อหาคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับเต็ม

 

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/๒๕๖๑

เรื่อง การดำเนินการตามกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม)

ตามที่ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๓/๒๕๖๐ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ เพื่อให้มาตรการเกี่ยวกับพรรคการเมืองได้ผลในการปฏิรูปตามมาตรา ๔๕ และมาตรา ๒๕๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งเพื่อให้พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นก่อนแล้วและพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่สามารถดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำหรือยุ่งยากสับสน แต่จากข้อเท็จจริงปรากฏว่าในปัจจุบันพรรคการเมืองดังกล่าวยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองบางประการ ดังที่พรรคการเมืองต่าง ๆ แจ้งให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบในการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ และได้ส่งหนังสือแสดงความคิดเห็นตามมาเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น เพื่อให้สถานการณ์ของบ้านเมืองที่มีความสงบเรียบร้อยระดับหนึ่งในขณะนี้ยังคงดำเนินอยู่ต่อไปในห้วงเวลาการปฏิรูปประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศ จึงยังคงจำเป็นต้องให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวกับการดำเนินการของพรรคการเมืองยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป แต่เพื่อให้กำรจัดให้มีกำรเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกนั้นเป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๖๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อให้พรรคการเมืองทั้งที่จัดตั้งขึ้นใหม่และจัดตั้งมาก่อนแล้ว อีกทั้งไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกมากหรือน้อยเพียงใดสามารถเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นตามเวลาดังกล่าวได้ จึงควรผ่อนคลายการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่จำเป็นบางกรณีซึ่งพรรคการเมืองต้องดำเนินการก่อนการเลือกตั้ง โดยให้สามารถดำเนินการได้ในช่วงระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่มีการประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นระยะเวลาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับต่อไป

อำศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้ำคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๓/๒๕๖๐ เรื่อง การดำเนินการตำมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๔๑ ในวาระเริ่มแรก ให้พรรคการเมืองตามมาตรา ๑๔๐ ดำเนินการในเรื่องและภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีทุนประเดิมจำนวนหนึ่งล้ำนบาท และแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งหัวหน้ำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๓/๒๕๖๑ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ มีผลใช้บังคับ

(๒) จัดให้มีสมาชิกซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๔ จำนวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยคนชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองสำหรับปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๓/๒๕๖๑ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ มีผลใช้บังคับ และให้พรรคการเมืองแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมด้วยหลักฐานแสดงการชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองภายในสิบห้าวันนับแต่วันพ้นระยะเวลาชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองดังกล่าว

(๓) จัดให้มีสมาชิกซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๔ ชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองให้ได้จำนวนไม่น้อยกว่าห้าพันคนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่คำสั่งหัวหน้ำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๓/๒๕๖๑ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ มีผลใช้บังคับ และให้ได้จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนภายในสี่ปีนับแต่วันที่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๓/๒๕๖๑ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ มีผลใช้บังคับ และให้นายทะเบียนสมาชิกแจ้งให้นายทะเบียนทราบ ตามรายการและวิธีการที่นำยทะเบียนกำหนด

ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าพรรคการเมืองไม่สามารถดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (๑) และ
(๒) และมาตรา ๑๔๑/๑ (๑) และ (๒) ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด คณะกรรมการอาจมีมติ
ให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปได้อีกหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละเรื่อง เมื่อครบระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือครบระยะเวลาตามมาตรา ๑๔๑/๑ วรรคสี่ หรือครบระยะเวลาที่คณะกรรมการมีมติให้ขยาย แล้วแต่กรณี ให้พรรคการเมืองที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จสิ้นสภาพลง ทั้งนี้ในระหว่างเวลาที่พรรคการเมืองยังปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) และมาตรา ๑๔๑/๑ (๑) และ (๒) ไม่ครบถ้วน จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ได้

การวินิจฉัยเรื่องใด ๆ ตามาตรานี้ที่มีผลกระทบต่อพรรคการเมือง ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะวินิจฉัย ในกรณีที่พรรคการเมืองไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ”

ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔๑/๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐

“มาตรา ๑๔๑/๑ เมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก่อนที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวมีผลใช้บังคับ พรรคการเมืองใดประสงค์จะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้แจ้งให้คณะกรรมการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวันและเมื่อได้แจ้งเรื่องดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง

(๑) แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ คำประกาศอุดมการณ์ทางการเมือง และนโยบายของพรรคการเมือง ให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีผลใช้บังคับด้วยพร้อมทั้งแจ้งรายการตามมาตรา ๓๘
(๒) เลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมืองนายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมือง ตามข้อบังคับตาม (๑) พร้อมทั้งแจ้งรายการตามมาตรา ๓๘
(๓) จัดตั้งสาขาพรรคการเมืองหรือแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด พร้อมทั้งแจ้งรายการตามมาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๕

(๔) รับสมาชิกของพรรคการเมือง

(๕) จัดให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง และสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง

(๖) มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(๗) กิจกรรมทางการเมืองอื่นที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติกำหนดในกรณีที่ต้องจัดประชุมใหญ่เพื่อการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามวรรคหนึ่ง ถ้าองค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่ ประกอบด้วยกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารพรรคการเมืองเท่าที่มีอยู่ และมีสมาชิกของพรรคการเมือง ทั้งนี้ มีจำนวนรวมกันทั้งหมดไม่น้อยกว่าสองร้อยห้ำสิบคนแล้ว ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุมดำเนินการดังกล่าวได้

ในกรณีที่พรรคการเมืองตามมาตรา ๑๔๐ ดำเนินการตามวรรคสอง ให้ดำเนินการตามข้อบังคับพรรคที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับด้วย เว้นแต่องค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นไปตามที่วรรคสองกำหนด

ให้พรรคการเมืองตามมาตรา ๑๔๐ ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) ให้แล้วเสร็จก่อนครบกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีการประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ ในราชกิจจานุเบกษา สำหรับการดำเนินการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีการประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ ในราชกิจจานุเบกษา”

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๓/๒๕๖๐ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๔๒ ในระหว่างที่พรรคการเมืองใดยังดำเนินการตามมาตรา ๑๔๑ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) และมาตรา ๑๔๑/๑ (๑) (๒) และ (๓) ไม่ครบถ้วน ห้ามมิให้จัดสรรเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองให้แก่พรรคการเมืองนั้น”

ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๓/๒๕๖๐ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๔๔ มิให้นำมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๔๙ วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ และมาตรา ๕๖ มาบังคับใช้กับการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกที่มีขึ้นภายหลังจากวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ แต่ในการพิจารณาส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งประกอบด้วยกรรมการบริหารพรรคการเมืองจำนวนสี่คน และตัวแทนสมาชิกที่พรรคการเมืองเลือกจำนวนเจ็ดคน มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาและเสนอคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองให้ความเห็นชอบ

(๒) ในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองเพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองให้ความเห็นชอบ นั้น ให้พิจารณาจากสมาชิกผู้ซึ่งยื่นความจำนงด้วยตนเองและผู้ซึ่งสมาชิกเสนอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งกำหนด โดยให้คำนึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิงด้วย และให้คณ ะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งรับฟังความคิดเห็นของหัวหน้าสาขาพรรคการเมืองตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดและสมาชิกที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาในการสรรหาด้วย

(๓) ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเห็นชอบบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งเสนอ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองออกหนังสือรับรองการส่งผู้ได้รับการสรรหาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อประกอบการสมัครรับเลือกตั้ง โดยการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ให้พรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อด้วย

(๔) ถ้าคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใดที่คณะกรรมการสรรหา ผู้สมัครรับเลือกตั้งเสนอ ให้คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งดำเนินการสรรหาบุคคลแทนบุคคลนั้น หากคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งยืนยันเสนอชื่อบุคคลเดิมและคณะกรรมการบริหาร พรรคการเมืองไม่เห็นชอบด้วย ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งประชุมร่วมกัน เมื่อที่ประชุมร่วมกันดังกล่าวมีมติเป็นประการใดให้ดำเนินการไปตามมตินั้น การลงมติดังกล่าวให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ

(๕) ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองได้ให้ความเห็นชอบรายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้งตาม (๓) หรือนับแต่วันที่มีมติเห็นชอบรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งของที่ประชุมร่วมกัน ตาม (๔) ให้พรรคการเมืองเปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับการสรรหาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยการประกาศให้ทราบ เป็นการทั่วไป

(๖) การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปแทนการเลือกตั้ง ทั่วไปครั้งแรกที่เป็นโมฆะ หรือการเลือกตั้งใหม่ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดได้รับเลือกตั้ง หรือกรณีที่ผู้สมัครตาย ก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง หรือกรณีที่ผู้ได้รับเลือกตั้งพ้นจำกตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ดำเนินการตามมาตรานี้ ”

ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๖ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๔๖ ในการเรียกเก็บค่าบำรุงพรรคการเมืองภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ พรรคการเมืองจะเรียกเก็บค่าบำรุงพรรคการเมืองต่ำกว่าอัตราที่กำหนด ตามมาตรา ๑๕ (๑๕) ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าสิบบาท ”

ข้อ ๖ พรรคการเมืองจะดำเนินการประชาสัมพันธ์หรือติดต่อสื่อสารกับผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ภายในพรรคการเมืองและสมาชิกของพรรคการเมืองของตน โดยวิธีผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ แต่การดำเนินการนั้นต้องไม่มีลักษณะเป็นการหาเสียง ทั้งนี้ คณะกรรมการ การเลือกตั้งและคณะรักษาความสงบแห่งชาติอาจกำหนดลักษณะต้องห้ามของการประชาสัมพันธ์ หรือการติดต่อสื่อสารที่จะมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือสั่งให้มีการระงับ การดำเนินการดังกล่าวก็ได้

ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งแรก เมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวกำหนด และให้จัดทำ และประกาศเขตเลือกตั้ง ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

ข้อ ๘ ในกรณีที่เห็นสมควรนายกรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้

ข้อ ๙ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 14 กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๑
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ