ถอดดราม่าโจทย์คณิต สู่ปัญหา "แม่พิมพ์ของชาติ" ที่แก้ไม่เคยตก

กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นบนโลกออนไลน์และสร้างความฉงนกันไปตามๆ กัน จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Phuan Pennapa" โพสต์ภาพและข้อความเพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับโจทย์การบ้านวิชาคณิตศาสตร์ของหลาน

ถอดดราม่าโจทย์คณิต สู่ปัญหา "แม่พิมพ์ของชาติ" ที่แก้ไม่เคยตก

 

    กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นบนโลกออนไลน์และสร้างความฉงนกันไปตามๆ กัน จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Phuan Pennapa" โพสต์ภาพและข้อความเพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับโจทย์การบ้านวิชาคณิตศาสตร์ของหลานที่ตนสอนและมั่นใจว่าตอบ "ถูก" อย่างแน่นอน ทว่าเมื่อคุณครูท่านนี้ตรวจกลับกลายเป็นคำตอบที่ "ผิด" ไปเสียอย่างนั้น งานนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ เพราะภายหลังที่โพสต์นี้ได้ถูกเผยแพร่ออกไปมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตออกมาแสดงความเห็นกันเป็นจำนวนมาก

 

    และพร้อมใจให้คำตอบไปในทิศทางเดียวกัน ยืนยันว่าน่าจะมีความผิดพลาดระหว่างการตรวจการบ้านของคุณครูท่านนี้ แต่แล้วเรื่องกลับบานปลายยิ่งขึ้นไปอีกเพราะพบว่าโจทย์ไม่ได้มีเพียงข้อเดียวและทุกข้อเป็นโจทย์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ไม่ได้มีความซับซ้อน แต่คำตอบทุกข้อคุณครูกลับสวนทางกับคนส่วนใหญ่อย่างสิ้นเชิง

 

 

ถอดดราม่าโจทย์คณิต สู่ปัญหา "แม่พิมพ์ของชาติ" ที่แก้ไม่เคยตก

 

 

ถอดดราม่าโจทย์คณิต สู่ปัญหา "แม่พิมพ์ของชาติ" ที่แก้ไม่เคยตก

 

 

ถอดดราม่าโจทย์คณิต สู่ปัญหา "แม่พิมพ์ของชาติ" ที่แก้ไม่เคยตก

 

 

    จนเป็นเหตุให้เกิดการตั้งคำถามถึงการคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษาที่มีหน้าที่เป็น "แม่พิมพ์ของชาติ" และเป็นต้นธารของแหล่งความรู้เพื่อถ่ายทอดให้แก่เด็กและเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ ว่ามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด แต่แท้จริงแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นปัญหาในระดับองค์รวมของ "ระบบการศึกษาไทย" ที่ดูแล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในเร็ววันนี้ จนกลายเป็นปัญหาที่ดูจะคาราคาซัง และส่งผลกระทบต่อคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ในประเทศโดยตรง

ถอดดราม่าโจทย์คณิต สู่ปัญหา "แม่พิมพ์ของชาติ" ที่แก้ไม่เคยตก

 

   

    จากผลการทดสอบ PISA (Program for International Student Assessment) หรือ การสำรวจระดับนานาชาติแบบทุก 3 ปี เพื่อประเมินระบบการศึกษาทั่วโลก ผ่านการทดสอบทักษะและความรู้ความสามารถของนักเรียนวัย 15 ปี ในปี 2015 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 54 จากผู้เข้าร่วมโครงการราว 70 ประเทศ และพบว่านักเรียนไทยที่จัดได้ว่ามีความรู้วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูงมีเพียง 1% เท่านั้น ส่วนในการทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน Ordinary National Educational Test หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ O-Net ผลที่ออกมามักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกๆ ปี นั่นก็คือ เด็กไทยมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐานอยู่เสมอ ทั้งที่ประเทศไทยทุ่มเทใช้เวลาในการเรียนการสอนมากกว่า 8 ชม. ต่อวัน และที่น่าตกใจกว่านั้นคือการทดสอบ PISA ยังแสดงให้เห็นว่ามีเด็กไทยกว่า 74% อ่านภาษาไทยไม่รู้เรื่อง มีตั้งแต่อ่านไม่ออก อ่านแล้วตีความไม่ได้ วิเคราะห์ความหมายไม่ถูก หรือแม้แต่ใช้ภาษาให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาวิชาอื่นๆ 

 

 

    ปัญหาด้านบุคลากรครูในประเทศไทยก็ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ระบบการศึกษาไทยต้องย่ำอยู่กับทีเช่นทุกวันนี้ เพราะจากการสำรวจพบว่าประเทศฟินแลนด์ ที่ถือว่าเป็นประเทศที่คุณภาพการศึกษาสูงอันดับต้นๆ ของโลก ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ "วิชาชีพ" ครูมากที่สุด ทว่าในทรรศนะของคนส่วนใหญ่ในประเทศไทยกลับแตกต่างออกไป เพราะมี "ค่านิยม" ที่ว่า อาชีพหมอ หรือวิศกรเป็นอาชีพที่มั่นคงกว่า หาใช่อาชีพครู นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศไทยมีการผลิตครูมากถึงปีละประมาณ 12,000 คน ในขณะที่อัตราการบรรจุครูใหม่ในแต่ละปีมีเพียง 3-4 พันคนเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ในแต่ละปีบัณฑิตครูที่จบออกมาใหม่จะมีการตกงานเบื้องต้นเกือบหนึ่งหมื่นคน

 

 

ถอดดราม่าโจทย์คณิต สู่ปัญหา "แม่พิมพ์ของชาติ" ที่แก้ไม่เคยตก

    ในภาพรวมประเทศไทยยังนับว่าขาดแคลนครู โดยเฉพาะครูในสาขาวิชาสำคัญๆ เช่น วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ ภาษา เป็นต้น ยังพบอีกว่า ไม่มีความชัดเจนทางนโยบายในการที่จะสนับสนุนให้ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่ตรงกับเนื้อหาสาระ ในทางตรงกันข้ามยังกลับพบมาตรการในเชิงกีดกันอีกด้วย เช่น การกำหนดให้ผู้ที่จะรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ต้องไปเรียนเพิ่มเติมอีกอย่างน้อยหนึ่งปี เป็นต้น

 

 

ถอดดราม่าโจทย์คณิต สู่ปัญหา "แม่พิมพ์ของชาติ" ที่แก้ไม่เคยตก

 

 

    นอกจากนี้ "หนี้สิน" ยังเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่นำมาซึ่งภาวะการขาดแคลนครู ในหลายโรงเรียนยังคงขาดแคลนบุคลากรทางศึกษา เพราะการผลิตและบรรจุครูไม่สอดคล้องกัน โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด การคืนอัตรากำลัง ของสำนักงานข้าราชการครู กับคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและกำลังคนภาครัฐไม่ตรงกัน และยิ่งในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีครูเกษียณอายุกว่า 2 แสนคน เหล่านี้ล้วนป็นเหตุให้ครูหลายคนต้องทำการสอนนักเรียนในวิชาที่ตนไม่ถนัด จนเกิดเป็นความผิดพลาด ไม่สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เป็นเป็นโยชน์หรือองค์ความรู้เฉพาะในรายวิชานั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเรียนการสอนก็ถือว่า "สูญเปล่า"

 

 

    สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาจะพบว่า ทุกรัฐบาลมักมียุทธศาสตร์และนโยบายเพื่อผลักดันให้ระบบการศึกษาไทยไปในทิศทางที่ดีขึ้นมาโดยตลอด แต่ยังไม่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม การยกระดับมาตรฐานการศึกษาควรเริ่มต้นที่ การปรับหลักสูตรและจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยอาจใช้โมเดลจากต่างประเทศเป็นตัวนำร่อง รวมถึงการฝึกอบรมครู และการพัฒนาครูอยู่เสมอ และภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในการกำหนดทิศทางการผลิตบุคลากรทางการศึกษาอย่างจริงจัง เพราะเราต่างหวังว่าจะมีครูที่มีคุณภาพเพื่อประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้แก่เด็กและเยาวชนในวันนี้เพื่อเป็นอนาคตและพัฒนาประเทศชาติต่อไป

 

 

ถอดดราม่าโจทย์คณิต สู่ปัญหา "แม่พิมพ์ของชาติ" ที่แก้ไม่เคยตก