ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

นับแต่อดีตเป็นที่ปรากฏเด่นชัดว่าประวัติศาสตร์การเมืองไทยมักถูกขีดเขียนด้วย "ปลายกระบอกปืน" เมื่อกองทัพที่เป็นหนี่งในองคาพยพของสถาบันทางการเมือง เลือกที่จะก้าวเข้ามามีบทบาทในการกำหนดทิศทางการเมืองของประเทศนับแต่เหตุการณ์ "อภิวัฒน์สยาม"

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

 

    นับแต่อดีตเป็นที่ปรากฏเด่นชัดว่าประวัติศาสตร์การเมืองไทยมักถูกขีดเขียนด้วย "ปลายกระบอกปืน" เมื่อกองทัพที่เป็นหนี่งในองคาพยพของสถาบันทางการเมือง เลือกที่จะก้าวเข้ามามีบทบาทในการกำหนดทิศทางการเมืองของประเทศนับแต่เหตุการณ์ "อภิวัฒน์สยาม" ตั้งแต่นั้นสถานะของกองทัพได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การดำรงอยู่ของกองทัพไม่เพียงแต่เป็นการรักษาอธิปไตยของชาติ เพราะในเชิงพฤตินัยกองทัพยังเป็นเสมือนฐานเก้าอี้ของรัฐบาล

 

    แต่ทว่าความขัดแย้งทางการเมืองกลับนำมาซึ่งการยึดอำนาจเพื่อล้มรัฐบาลผ่านการ "รัฐประหาร" กว่า 13 ครั้ง จนกลายเป็นรอยตำหนิในประวัติศาสตร์การเมืองของ "ประเทศกำลังพัฒนา" ที่พยายามก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยอันสมบูรณ์มาโดยตลอด และการรัฐประหารครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 นี้เอง ที่เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญ เพราะไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นชนวนเหตุที่นำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้งทางอุดมการณ์แบ่งแยกประชาชนออกเป็นหลายขั้ว แปรเปลี่ยนเป็นเจตคติทางการเมืองจนกลายเป็นวิกฤตการณ์ความรุนแรงจวบจนทุกวันนี้

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

 

 

    การก้าวสู่จุดสูงสุดทางการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ ทักษิณ ชินวัตร อาจเรียกได้ว่าเป็นนายกฯ ขวัญใจชาว "รากหญ้า" ด้วยนโยบายการหาเสียงแบบ "ประชานิยม" ที่ไม่สนใจใยดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาติ เป็นเหตุให้ในปี 2548 นายสนธิ ลิ้มทองกุล และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้คร่ำหวอดในฐานะแกนนำผู้ชุมนุมนับแต่เหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" เริ่มมีการปลุกระดมมวลชนที่มีอุดมการณ์ร่วมเพื่อทำการขับไล่รัฐบาลในชื่อ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" โดยอ้างว่ารัฐบาลมีการทุจริตคอรัปชั่น จนเป็นเหตุให้ทักษิณ เลือกที่จะยุบสภาเพื่อทำการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

 

 

    แต่กระนั้นเมื่อถึงคราวเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 12 เม.ษ. 2549 ปรากฏว่า "พรรคไทยรักไทย" ก็ยังคงได้คะแนนเสียงจากประชาชนอย่างล้นหลาม ด้วยเพราะนโยบายส่วนใหญ่ของทักษิณ ยังเป็นที่ถูกตาต้องใจสามารถตอบสนองความต้องการของอัตราประชากรส่วนใหญ่ในประเทศได้ ทว่าสังคมบางส่วนกลับมองว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ยุติธรรม เพราะพรรคฝ่ายค้านอย่าง "พรรคประชาธิปัตย์" ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรคไม่ได้ส่งตัวแทนเข้าลงเลือกตั้ง จนกลายเป็นที่มีของการกล่าวติดตลกจากสื่อมวลชนว่า พรรคประชาธิปัตย์ถึงลงเลือกตั้งอย่างไรก็แพ้

 

    และอาจด้วยเพราะบุคลิกที่มีความแข็งกร้าว ตรงไปตรงมาของนายกฯ ผู้นี้ ที่ได้ฉีกขนมธรรมเนียมเดิมเป็นต้นว่าหลีกเลี่ยงการเข้าบ้าน "สี่เสาเทเวศน์" อันเป็นบ้านพักของ "ป๋าเปรม" เพื่อทำความเคารพ โดยธรรมเนียมเหล่านี้ อดีตนายกฯ ทุกคนภายหลังรับตำแหน่งล้วนต้องยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอด หรือการโยกย้ายโผทหารระดับสูงด้วยตนเอง ตลอดจนสร้างวาทกรรม "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ" และ "มือที่มองไม่เห็น" จึงคล้ายว่าเป็นการท้าทายเชิงอำนาจและแสดงอาการแข็งข้อไร้ซึ่งสัมมาคารวะต่อประธานองคมนตรีอย่างชัดเจน

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

 

 

    เหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นว่าทักษิณ ต้องการแยกการเมืองเป็นเอกเทศน์จากกองทัพ แต่ประการหนึ่งอาจด้วยเพราะมั่นใจว่าด้วยสายสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมรุ่น "เตรียมทหาร 10" โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เขาผลักดันข้ามมาจาก พล.21 รอ. เข้าสู่ตำแหน่งคุมกำลังพระนครในตำแหน่ง ผบ.พล.1 รอ. ก่อนจะขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 เป็นเสมือนหน้าด่าน และเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์รัฐประหารล้มรัฐบาลอย่างแน่นอน แต่แล้วใครจะรู้ว่าท้ายสุดเพื่อนอาจต้องฆ่าเพื่อน และอาจเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่ ทักษิณ ต้องจำไปชั่วชีวิต

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

 

 

    ทางด้านกลุ่ม "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดราวาศอกแต่อย่างใด อีกทั้งยังสร้างสัญลักษณ์ทางการเมือง ขึ้นมาด้วยการใส่ชุดสีเหลือง พร้อมกับกล่าวว่ารัฐบาลของทักษิณ ไม่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การชุมนุมดังกล่าวส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศแทบจะหยุดชะงัก มีการเรียกร้องให้ทหารออกมาแก้ไขปัญหาชาติบ้านเมือง ทำให้กองทัพมีความชอบธรรมที่จะออกมาก่อการ "รัฐประหาร"

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

    กระแสเรียกร้องให้มีการรัฐประหารปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน ผบ.ทบ. ในขณะนั้น มักกล่าว ต่อหน้าประชาชนอยู่เสมอว่า "จะไม่มีการปฏิวัติ" และเมื่อถูกถามจากทักษิณ ก็มักจะยืนยันว่า "ผมไม่ทำพี่"  แต่คงลืมไปว่า "การทหารย่อมไม่เบื่อหน่ายอุบาย" เพราะปฏิบัติการล้มรัฐบาลกำลังจะอุบัติขึ้นในไม่ช้า

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

 

 

    วันที่ 19 ก.ย. 2549 มีคำสั่งเรียกผู้นำทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลแต่ปรากฏว่ามี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร. เท่านั้นที่เข้าร่วม ไร้วี่แววของผู้นำเหล่าทัพที่เหลือ กระทั่งช่วงบ่ายมีข่าวลือหนาหูถึงการรัฐประหารทั่วทำเนียบรัฐบาลและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกทั้งยังมีข่าวลือว่ารัฐมนตรีและนักการเมืองร่วมรัฐบาลหลายคนหลบหนีออกนอกประเทศไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

 

    ทว่าถึงแม้จะเคลือบแคลงใจและหวาดระแวงเพียงใดว่าที่ น.ช. ผู้นี้ก็จำต้องไปเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาติที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กระทั่งกลางดึกสงัดของวันเดียวกัน พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน จึงได้นำกำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษจ.ลพบุรี เคลื่อนกำลังเข้าสู่ กรุงเทพฯในทันที โดยมีการตั้งชื่อกลุ่มของตนว่า "คณะมนตรีรักษาความมั่นคงแห่งชาติ" ปฏิบัติการทั้งหมดดำเนินขึ้นอย่างรวดเร็วจนทหารฝั่งรัฐบาลตั้งตัวกันแทบไม่ติด 

 

    เมื่อทักษิณ ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงต่อสายตรงหา พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ทว่าไม่มีการตอบรับแต่อย่างใด และมีการเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า ในขณะนั้น พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผบ.สส. ในขณะนั้น ถูกแต่งตั้งโดยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นผู้อำนวยการควบคุมสถานการณ์ ทว่าเนื่องจากกองกำลังของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้เข้าควบคุมสถานการณ์ที่กองบัญชาการทหารสูงสุดไว้เรียบร้อยแล้ว และเกรงว่าหากมีการต่อสู้ขัดขืนอาจนำมาซึ่งการนองเลือดจนอาจกลายเป็นกบฏ อีกทั้งยังได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือ "ป๋าเปรม" ที่ พล.อ.เรืองโรจน์ เคารพรัก จึงตัดสินใจวางมือและหันหน้าเข้าร่วมกับคณะก่อการในวินาทีสุดท้าย เหตุผลในการรัฐประหารนั้น พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน ระบุว่ารัฐบาลขณะนั้นบริหารงานมีปัญหา ปล่อยให้มีการทุจริตคอรัปชั่นอย่างกว้างขวางแทรกแซงข้าราชการและเป็นเผด็จการรัฐสภา

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี  

 

    เวลา 22.54 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยออกอากาศทางสถานีทุกช่อง ขึ้นคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก และเปิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ประกอบ ด้านสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นและบีบีซีเผยแพร่ข่าวรถถังและกำลังทหารควบคุมสถานการณ์ภายในกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้น พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อดีตโฆษก ททบ.5 อ่านแถลงการณ์ที่แสดงไว้ในหน้าจอก่อนหน้านี้ซ้ำสองครั้ง

 

    จวบจนกระทั่งเวลาเที่ยงคืน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นำผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่คือ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ด้วยเพราะความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้ามของทักษิณอย่าง "พรรคประชาธิปัตย์" กับ พล.อ.สุรยุทธ ที่เติบโตในเส้นทางราชการทหารจากแม่ทัพภาคที่ 2 ที่น่าจะเกษียรอายุราชการในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบกที่อุปมาได้ว่าเก็บเข้ากรุ ทบ. ไม่มีโอกาสที่จะกลับเข้าไลน์ 5 เสือทบ. แต่กระนั้นในสมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย กลับถูกดึงขึ้นมาเป็นผช.ผบ. และขึ้นเป็น ผบ.ทบ.ด้วยอายุราชการที่เหลือเกือบ 4 ปี ต่อด้วยนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีภายหลังเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเวลา 1 ปี 120 วัน

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

    หลังจากการออกนอกประเทศในครั้งนั้น ต่อมาช่วงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เวลา 09.40 น. ทักษิณเดินทางกลับประเทศไทย และทันที่มาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ก้มลงกราบพื้น ที่หน้าห้องรับรองพิเศษ และโบกมือทักทายประชาชนที่มารอให้การต้อนรับ ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม

 

    จากนั้น ทักษิณเดินทางไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อรายงานตัวในคดีทุจริตที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ต่อด้วยการรายงานตัวต่ออัยการสูงสุด ในคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซีแอสเซท จำกัด (มหาชน) ในเครือชินคอร์ป

 

    และในระหว่างที่กำลังมีการดำเนินคดีที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ทักษิณและภรรยา เดินทางไปต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากนั้นศาลอ่านคำวินิจฉัยว่า ทักษิณมีความผิดในคดีดังกล่าว ทักษิณจึงไม่เดินทางกลับมายังประเทศไทย และในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ทักษิณตัดสินใจจดทะเบียนหย่ากับคุณหญิงพจมาน ด้วยเหตุผลทางการเมือง ที่สถานกงสุลใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง หลังจากสมรสและใช้ชีวิตคู่มานานถึง 32 ปี นับแต่นั้นเป็นต้นมา ทักษิณมีการเคลื่อนไหวผ่านกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ผ่านการปราศรัยด้วยวิธีโทรศัพท์ทางไกลเข้าสู่ที่ชุมนุม (โฟนอิน) และการส่งสัญญาณภาพและเสียงมายังที่ชุมนุม (วิดีโอลิงก์) พร้อมทั้งอดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชน และสมาชิกพรรคเพื่อไทย ก็ให้การสนับสนุน

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

 

    ช่วงปลายปี พ.ศ. 2552 ทักษิณได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของราชอาณาจักรกัมพูชา ทางรัฐบาลไทยจึงยื่นหนังสือต่อรัฐบาลกัมพูชา ให้ส่งตัวทักษิณกลับไทย ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน แต่รัฐบาลกัมพูชาปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไม่รวมถึงกรณีที่เป็นนักโทษทางการเมือง รัฐบาลไทยจึงต่อต้านด้วยการเรียกตัวเอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชากลับประเทศ ซึ่งส่งผลให้กัมพูชาเรียกเอกอัครราชทูตของตนกลับประเทศเช่นกัน ทักษิณและครอบครัว เดินทางไปถึงกรุงพนมเปญของกัมพูชา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เพื่อรับตำแหน่งดังกล่าว และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา
 

 

    การรัฐประหารในครั้งนั้นเรียกได้ว่าสำเร็จราบรื่นได้โดยที่ไม่มีการสูญเสีย และทักษิณ ชินวัตร ผู้ที่จะมีสถานะเป็น น.ช. ในเวลาต่อมาต้องพ่ายให้แก่คณะก่อการในที่สุด แต่ยังคงเลือกที่จะยืนกรานจนถึงทุกวันนี้ ว่าตนนั้นเป็นเพียงผู้ถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง แต่จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือเพราะด้วยหมายจับที่ยาวเป็นหางว่าวถึง 5 คดี ได้แก่

คดีแรก คดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงค์) ให้กับรัฐบาลพม่าวงเงิน 4,000 ล้านบาท  เป็นการออกหมายจับ ทักษิณ เมื่อ 16 ก.ย. 2551 เนื่องจากทักษิณ หลบหนีคดี เพื่อติดตามตัว ทักษิณ มาฟังการพิจารณาของศาลนัดแรก

คดีที่สอง คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว (หวยบนดิน ) เป็นการออกหมายจับเมื่อวันที่  26 ก.ย. 51 เพื่อติดตามตัว ทักษิณ มาพิจารณาคดีนัดแรก

คดีที่สาม คดีทุจริตแปลงสัมปทานมือถือ - ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เป็นการออกหมายจับเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 51 เพื่อติดตามตัวมาพิจารณาคดีนัดแรก

คดีที่สี่ คดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษกมูลค่า 772 ล้านบาทเศษ ตามคำพิพากษาที่ให้จำคุก ทักษิณ เป็นเวลา 2 ปี โดยออกหมายจับเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2551

คดีที่ห้า คดีก่อการร้าย ออกหมายจับ เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2553 ซึ่งคดีนี้ศาลกำลังจะสืบพยานโจทก์ถ้า ทักษิณ เป็นผู้บริสุทธิ์จริง เหตุใดจึงไม่กลับมาต่อสู้คดีตามครรลองของกระบวนทางกฏหมาย ใยจึงต้องหลบหนีระหกระเหินเร่ร่อนเฉกเช่นทุกวันนี้

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี

 

 

 

ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย. อวสานทักษิณ สู่ น.ช.หนีคดี