แต่ละคนไม่ธรรมดา 10 อันดับมหาเศรษฐีไทยประจำปี 2561 ครองแชมป์ยังเจ้าเดิม อาณาจักรแห่งการกินรวบธุรกิจ

   เรียกว่าไม่ผิดไปจากทุกปี เมื่อ ฟอร์บส์ นิตยสารด้านธุรกิจ-การเงินชื่อดังของสหรัฐ เผยรายงานการสำรวจผู้ที่มีฐานะร่ำรวยที่สุดในโลกประจำปี 2561 ปรากฏว่า มีมหาเศรษฐีไทยติดอยู่ในการจัดอันดับครั้งนี้

 

     เรียกว่าไม่ผิดไปจากทุกปี เมื่อ ฟอร์บส์ นิตยสารด้านธุรกิจ-การเงินชื่อดังของสหรัฐ เผยรายงานการสำรวจผู้ที่มีฐานะร่ำรวยที่สุดในโลกประจำปี 2561 ปรากฏว่า มีมหาเศรษฐีไทยติดอยู่ในการจัดอันดับครั้งนี้

 

      โดยตำแหน่งมหาเศรษฐีที่มีฐานะร่ำรวยสุดของไทย ตกเป็นของตระกูลเจียรวนนท์ เครือเจริญโภคภัณฑ์  มูลค่าทรัพย์สินกว่า 3.0 หมื่นล้านเหรียญ และอีก 10 อันดับ รายชื่ออภิมหาเศรษฐีไทยประจำปี 2561 มีดังนี้

1. ตระกูลเจียรวนนท์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มูลค่าทรัพย์สิน: 3.0 หมื่นล้านเหรียญ

2. ครอบครัวจิราธิวัฒน์ เครือเซ็นทรัล มูลค่าทรัพย์สิน: 2.12 หมื่นล้านเหรียญ

3. นายเฉลิม อยู่วิทยา กระทิงแดง มูลค่าทรัพย์สิน: 2 หมื่นล้านเหรียญ

4. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ไทย เบฟเวอเรจ มูลค่าทรัพย์สิน: 1.74 หมื่นล้านเหรียญ

5. นายวิชัย ศรีวัฒนประภา คิงเพาเวอร์ มูลค่าทรัพย์สิน: 5.2 พันล้านเหรียญ

6. นายกฤตย์ รัตนรักษ์ กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ มูลค่าทรัพย์สิน: 3.7 พันล้านเหรียญ

7. นายสารัชถ์ รัตนาวะดี กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ มูลค่าทรัพย์สิน: 3.4 พันล้านเหรียญ

8. นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ กรุงเทพดุสิตเวชการ มูลค่าทรัพย์สิน: 3.35 พันล้านเหรียญ

9. นายอาลก โลเฮีย (Aloke Lohia) อินโดรามา เวนเจอร์ส มูลค่าทรัพย์สิน: 3.3 พันล้านเหรียญ

10. นายวานิช ไชยวรรณ ไทยประกันชีวิต มูลค่าทรัพย์สิน: 3 พันล้านเหรียญ

 

แต่ละคนไม่ธรรมดา 10 อันดับมหาเศรษฐีไทยประจำปี 2561 ครองแชมป์ยังเจ้าเดิม อาณาจักรแห่งการกินรวบธุรกิจ

 

    ฉะนั้นวันนี้สำนักข่าวทีนิวส์จะพาทุกท่านไป ไล่เรียงความรวยของ 3 อันดับต้นๆ ว่าแต่ละคนนั้นประกอบธุรกิจอะไรบ้าง โดยจะเห็นว่าสี่อันดับแรกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นรวมกันเกือบ 7.81 แสนล้านบาท

 

แต่ละคนไม่ธรรมดา 10 อันดับมหาเศรษฐีไทยประจำปี 2561 ครองแชมป์ยังเจ้าเดิม อาณาจักรแห่งการกินรวบธุรกิจ

 

แต่อันดับ1  ก็ยังเป็นของ "ตระกูลเจียรวนนท์" ซึ่งประกอบธุรกิจใน "เครือเจริญโภคภัณฑ์"   มีทรัพย์สินสูงถึง 3 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 9.37 แสนล้านบาท ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

สำหรับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซีพี เป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีธุรกิจหลักคืออาหารและการเกษตรผ่านทางบริษัทลูก เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF นอกจากธุรกิจการเกษตรแล้ว เครือเจริญโภคภัณฑ์ยังทำธุรกิจอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ธุรกิจค้าปลีกร้านเซเว่น อีเลฟเว่น,ธุรกิจค้าส่งห้างแมคโคร, ธุรกิจโทรคมนาคมในบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น เป็นต้น

เครือเจริญโภคภัณฑ์ประกอบธุรกิจทางด้านเกษตรและอาหารหลายชนิดมีตั้งแต่ ซื้อขายพืชไร่, ฟาร์มไก่พันธุ์, เป็ดพันธุ์, หมู, กุ้ง, ปลาทับทิม, โรงงานแปรรูปอาหาร, โรงงานอาหารสัตว์ ผ่านทางบริษัทลูกๆ ซึ่งมีอยู่กระจายทั่วประเทศไทย และในต่างประเทศบางแห่ง โดยเฉพาะในประเทศจีน บริษัทฯ ที่พอเป็นที่รู้จัก เช่น เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารสัตว์ ธัญพืช เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร (Crop Integration Business) ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด (CPS) จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอาหารสัตว์


-กลุ่มโทรคมนาคมและมัลติมีเดีย ทรู คอร์ปอเรชั่น


-กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดย บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) กว่า 30 ปี ของการบริหารจัดการอาคารซี.พี.ทาวเวอร์ อาคารสำนักงานให้เช่า

 

 

 

  มีธุรกิจของกลุ่มซีพี แบ่งเป็น 8 ธุรกิจกลุ่มสายหลัก ที่หลายคนเห็นแล้วต้องคาดไม่ถึงว่าจะอยู่ในเครือของเจ้าสัวใหญ่รายนี้ ได้แก่

1) กลุ่มการเกษตร และอาหาร มี 5 บริษัท หลัก ได้แก่

  1.1 CHIA TAI CO., LTD. บริษัท เจียไต๋ จำกัด  เจ้าของผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยตรากระต่าย เมล็ดพันธุ์ตราเครื่องบิน เมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวตราโฮมการ์เด้น และผลิตภัณฑ์อารักขาพืชตราช่อฟ้าและตราเจียไต๋ มีธุรกิจหลักคือ ผลิตและจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ 
ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์อารักขาพืช รวมไปถึงอุปกรณ์เกษตรและโรงเรือน และธุรกิจผักผลไม้สด มีรายได้ 17,456 ล้านบาท เป็นกำไร 1,249 ล้านบาท

  1.2 FEED INGREDIENTS TRADING ทำธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ข้าว ธัญพืชแปลรูปให้สัตว์

  1.3 CHAROEN POKPHAND FOOD PLC. บริษัทนี้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ชื่อย่อว่า CPF ประกอบธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร ตั้งแต่ ผลิตอาหารสัตว์ เพาะพันธุ์สัตว์ เลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า แปรรูปเนื้อสัตว์ขั้นพื้นฐาน
 ผลิตสินค้าเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารสำเร็จรูป รวมถึงช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ในรูปแบบร้านค้าปลีกและร้านอาหาร ตัวอย่างแบรนด์ที่อยู่ภายใต้บริษัทก็มี ผลิตภัณฑ์อาหารตรา CP ไส้กรอกตรา BKP ร้านอาหาร CHESTER’S GRILL ไก่ย่างห้าดาว
 และนมตรา MEIJI บริษัทมีรายได้ 464,465 ล้านบาท เป็นกำไร 14,703 ล้านบาท

  1.4 C.P. INTERTRADE CO., LTD. ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ นำเข้า-ส่งออกวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมไปถึงอาหารและข้าว มีรายได้ 12,717 ล้านบาท เป็นกำไร 15.65 ล้านบาท

  1.5 THAI RICE CO., LTD. บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด ทำธุรกิจข้าวครบวงจร ผู้ผลิต ข้าวตราฉัตร มีรายได้ 15,123 ล้านบาท เป็นกำไร 28.52 ล้านบาท


2) ธุรกิจค้าปลีก มี 4 บริษัท หลัก ได้แก่

  2.1 CP ALL PLC. บริษัทนี้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ชื่อย่อว่า CPALL ธุรกิจหลักคือการค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อในชื่อ 7-Eleven และยังประกอบธุรกิจอื่นๆ ที่สนับสนุนธุรกิจหลัก เช่น ผลิตและจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป ตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการ Counter Service กาแฟและเบเกอรี่อย่าง Bellinee’s Bake&Brew คัดสรร และ All Cafe บริการขนส่งและกระจายสินค้า Dynamic Management ธุรกิจจำหน่ายสินค้า ผ่านแคตตาล็อกและอีคอมเมิร์ซ 24 Shopping รวมไปถึง สถาบันการศึกษาด้านการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มีรายได้รวม 434,712 ล้านบาท เป็นกำไร 16,677 ล้านบาท

  2.2 C.P. LOTUS บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (121:HK) ประกอบกิจการร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า และซุปเปอร์มาร์เก็ตในจีน ในชื่อ LOTUS มีรายได้ 50,328 ล้านบาท ขาดทุน 2,683 ล้านบาท

  2.3 SIAM MAKRO CO., LTD. ประกอบธุรกิจค้าส่ง โดยดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค ภายใต้ชื่อ MAKRO มีรายได้รวม 172,790 ล้านบาท เป็นกำไร 5,412 ล้านบาท

  2.4 SHANGHAI KINGHILL เป็นเจ้าของและผู้พัฒนาศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ภายใต้ชื่อ Super Brand Mall ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

3) การสื่อสารและโทรคมนาคม ได้แก่ TRUE CORPORATION ประกอบธุรกิจหลักคือ

- True Online ให้บริการอินเตอร์เน็ต รายได้รวม 28,300 ล้านบาท กำไร 3,704 ล้านบาท
- True Move H ให้บริการโทรศัพท์มือถือ รายได้รวม 93,876 ล้านบาท ขาดทุน 4,878 ล้านบาท
- True Vision ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก รายได้รวม 12,406 ล้านบาท ขาดทุน 1,375 ล้านบาท

และธุรกิจอื่นๆ อย่าง ร้านกาแฟ True Coffee และ มีร้านค้าออนไลน์ wemall และ iTrueMart ไม่แน่ใจว่าธุรกิจร้านค้าออนไลน์โยกไปในบริษัทใหม่ที่ทำอีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะชื่อ ASCEND GROUP แล้วหรือยัง เมื่อรวมกับรายการระหว่างกันแล้ว ทรูคอร์เปอเรชั่น มีรายได้รวม 124,719 ล้านบาท ขาดทุน 2,807 ล้านบาท


4) อีคอมเมิร์ซและธุรกิจดิจิทัล มี 2บริษัท หลัก ได้แก่

 4.1 ASCEND GROUP ประกอบธุรกิจไอทีต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ บริการบัตรเงินสด และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ อย่าง TrueMoney และ WeLoveShopping มีรายได้ 551 ล้านบาท เป็นกำไร 27 ล้านบาท

 4.2 PANTAVANIJ บริษัท พันธวณิช ให้บริการที่ปรึกษาด้านการจัดซื้อและบริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับองค์กร มีรายได้ 452 ล้านบาท เป็นกำไร 165 ล้านบาท

5) ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่บริษัท CP LAND ประกอบธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ เพื่อให้เช่า (พื้นที่ประกอบธุรกิจ) และขาย (ที่อยู่อาศัย) รวมไปถึงให้บริการบริหารจัดการอาคาร เป็นเจ้าของโครงการอย่าง ซี.พี.ทาวเวอร์ ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ และโรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน มีรายได้ 2,803 ล้านบาท เป็นกำไร 534 ล้านบาท 

6) ธุรกิจยานยนต์ มี 2 บริษัท หลัก ได้แก่

 6.1 SAIC-CP MOTOR CO., LTD. บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี เป็นบริษัทร่วมทุนกับผู้ผลิตรถยนต์จากจีน ดำเนินการผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ MG เพื่อจำหน่ายในไทยและอาเซียน มีรายได้รวม 4,158 ล้านบาท ขาดทุน 2,461 ล้านบาท

 6.2 LUOYANG NORTHERN EK CHOR ประกอบธุรกิจด้านการผลิต จัดจำหน่าย และส่งออกมอเตอร์ไซค์ในประเทศจีน ภายใต้แบรนด์ DAYANG

7) ธุรกิจเวชภัณฑ์ บริษัท SINO BIOPHARMACEUTICAL LIMITED จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (1177:HK) ประกอบธุรกิจวิจัยและพัฒนา รวมไปถึงผลิต และจัดจำหน่ายยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบ และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและสมอง ในประเทศจีน มีรายได้ 67,258 ล้านบาท เป็นกำไร 13,550 ล้านบาท

8) การเงินและการธนาคาร มี 2 บริษัท หลัก ได้แก่

  8.1 ZHENGXIN BANK CO., LTD. ประกอบธุรกิจด้านการเงินการธนาคารสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก

  8.2 PING AN INSURANCE (GROUP) COMPANY OF CHINA, LTD กลุ่มบริษัทในประเทศจีนที่ CP เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และฮ่องกง (2318:HK, 601318:SH) ให้บริการด้านการเงินตั้งแต่ ประกันทุกชนิด การธนาคาร ไปจนถึงการลงทุน มีรายได้รวม 3.87 ล้านล้านบาท เป็นกำไร 361,116 ล้านบาท

    ทั้งนี้ในส่วนของบริษัทอื่นๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ได้แก่ 4 บริษัท ดังนี้

1. C.P. POKPHAND CO. LTD บริษัทย่อยของ CPF จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (0043:HK) ดำเนินกิจการอยู่ในกลุ่มการเกษตรและอาหาร ธุรกิจหลักคือ ธุรกิจอาหารสัตว์ มีรายได้ 175,600 ล้านบาท เป็นกำไร 10,955 ล้านบาท โดยรายได้ทั้งหมดมาจากจีนและเวียดนาม

2. PT CHAROEN POKPHAND INDONESIA Tbk จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (CPIN:INDO) โดยมีธุรกิจหลักคือ อุตสาหกรรมเลี้ยงไก่ แปรรูปและจำหน่ายเนื้อไก่และเนื้อวัว มีรายได้ 95,642 ล้านบาท เป็นกำไร 5,564 ล้านบาท (คิดด้วยอัตรา 1 บาท : 400 รูเปียอินโด)

3. CHIA TAI ENTERPRISES INTERNATIONAL LIMITED บริษัทย่อยของ CPF จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (3839:HK) มีธุรกิจหลักคือ ด้านอุตสาหกรรมและเคมีชีวภาพ โดยเป็นผู้ผลิต Chlortetracycline (CTC) สำหรับใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ ใช้รักษาและป้องกันโรคติดเชื้อแบคทีเรีย มีรายได้รวม 2,902 ล้านบาท เป็นกำไร 368 ล้านบาท

4. CHAROEN POKPHAND ENTERPRISE TAIWAN CO., LTD. บริษัทย่อยของ CPF จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน (1215:TAI) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูปและอาหารแปรรูป มีรายได้ 19,990 ล้านบาท เป็นกำไร 1,388 ล้านบาท

รวมรายได้โดยประมาณจากบริษัทย่อยและบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์คือ 5,527,711,000,000 บาท คงนับตัวเลขกันไม่ถูก ถ้าให้ง่ายคือ 5.5 ล้านล้านบาท และเป็นกำไรทั้งหมด 4.2 แสนล้านบาท ถือเป็นตัวเลขที่หลายคนได้เห็นต้องตาลุกกันเลยทีเดียวกับรายได้มหาศาลนี้ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจร่วมลงทุนใหม่อีกมากมายที่ตระกูลเจียรวนนท์ มีแผนจะเปิดตลาดในปี 2562

 

 

 

แต่ละคนไม่ธรรมดา 10 อันดับมหาเศรษฐีไทยประจำปี 2561 ครองแชมป์ยังเจ้าเดิม อาณาจักรแห่งการกินรวบธุรกิจ

 

อันดับ 2 คือตระกูล "จิราธิวัฒน์"  แห่งกลุ่มเซ็นทรัล โดยขึ้นมาหนึ่งอันดับ  มีทรัพย์สิน 2.12 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 6.62 แสนล้านบา  โดยเพิ่มจากปี 2560 ที่ผ่านมา จาก 1.53 หมื่นล้านเหรียญ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด (Central Group) เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า โรงแรม และร้านอาหาร ของบุคคลผู้เป็นสมาชิกในสกุลจิราธิวัฒน์

กลุ่มธุรกิจสายงานสินค้าอุปโภค บริโภค (CFG)
รับผิดชอบในการบริหารส่วนร้านค้าสินค้าอุปโภค บริโภค ภายใต้การบริหารของ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล
- เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ (Central Food Hall)
- ไทยเฟเวอริท (Thai Flavorites)
- ท็อปส์ (Tops)
- ท็อปส์ ซูเปอร์สโตร์ (Tops SuperStore)
- ท็อปส์ มาร์เก็ต (Tops Market)
- ท็อปส์ เดลี่ (Tops Daily)
- ท็อปส์ ซูเปอร์คุ้ม (Tops SuperKoom)
- อีตไทย (EATHAI)
- เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท (Family

 

แต่ละคนไม่ธรรมดา 10 อันดับมหาเศรษฐีไทยประจำปี 2561 ครองแชมป์ยังเจ้าเดิม อาณาจักรแห่งการกินรวบธุรกิจ

 

อันดับ 3 คือ  "เฉลิม อยู่วิทยา"  จากธุรกิจในกลุ่ม "กระทิงแดง"   ขึ้นมาจากอันดับสี่เมื่อปี 2560 โดยมีทรัพย์สิน  2.1 หมื่นล้านเหรียญ หรือ  6.56 แสนล้านบาท  เพิ่มจากปีที่แล้ว   8.5 พันล้านเหรียญ เครื่องดื่ม "กระทิงแดง" ด้วยการทำตลาดแบบถึงลูกถึงคน ทำให้กระทิงแดงตีตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆ ของตลาด

 

     วางจำหน่ายกระทิงแดงในยุโรปภายใต้ชื่อการค้า เรดบูล และส่งไปขายในกว่า 70 ประเทศทั่วโลกเรดบูลมีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยการเข้าสู่วงการกีฬา โดยเป็นผู้สนับสนุนทีมแข่งรถ เรดบูลเรซซิ่ง ที่ได้รับตำแหน่งแชมเปียนโลกรถสูตรหนึ่งประจำปี 2010 และสโมสรกีฬาฟุตบอลเรดบูลรวม 5 แห่ง เป็นผู้สนับสนุนรายการแข่งขันกีฬาประเภทเอ็กซทรีมมากมาย ทรัพย์สินด้านสื่อของบริษัท มีทั้งนิตยสารเรดบูล เลทิน และเรดบูล เวอร์ซัส ทีวี ช่องเอชดีทีวีแบบไม่เก็บค่าชมที่แพร่ภาพอยู่ในยุโรป

 

     หากดูการจัดอันดับ ของ  Forbes Thailand  เฉพาะ 3 อันดับแรกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นรวมกันเกือบ 7.81 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดีเพราะสามารถเป็นเป้าชี้วัดว่าเศรษฐกิจไทยในตอนนี้อยู่ในภาวะทรงตัว มีกำลังจับจ่ายด้านต่างๆ สูง และเป็นเรื่องน่าคิดว่าในปี 2562 ที่จะถึงนี้จะมีมหาเศรษฐี หน้าใหม่ท่านใดถูกจัดอันดับในนิตยาสารฟอร์บส์ ในปีหน้าบ้างนั้นเป็นเรื่องต้องติดตามต่อไป

 

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง longtunman