รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นดร.สุวิทย์  เมษินทรีย์ รมว.วิทยาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดอุทยานฯ ไปเมื่อวันที่ 12กันยายน 2561 ที่ผ่านมา 

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกเชื่อมกับผู้ประกอบการที่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่และมุ่งเน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่เกี่ยวข้องกับพืชเศรษฐกิจ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย พริก สมุนไพรท้องถิ่นและปศุสัตว์ สุกรและไก่  อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพ อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ดิจิทัล และอิเล็กทรอนิคส์ ผ่านกลไกตามแผนงานคือ  1) แผนงานพัฒนาบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ (Service Platform) 2) แผนงานบ่มเพาะธุรกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI Business Incubation) 3) แผนงานโครงการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ (Industrial Research and Technology Capacity Development Program : IRTC) 4) แผนงานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน (Collaborative Research Program)

 

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ดร.สุวิทย์ กล่าวต่อว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ เป็นกลไกสำคัญของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯในการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ ที่ผ่านมา ผลงานเด่นของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้มีความร่วมมือ 3 ฝ่าย ได้แก่ภาครัฐ สถาบันการศึกษา และเอกชน ซึ่งร่วมมือดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมผลงานวิจัยให้กับเอกชนสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ ผ่านกลไลการดำเนินการของอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้แผนงานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน หรือที่เรียกว่า Collaborative Research ซึ่งดำเนินการร่วมกับบริษัท แมรี่แอน แดรี่ โปรดักส์ จำกัด ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนมโคสดแท้ 100 %ที่มีคุณภาพสูงประกอบด้วยโปรตีนเบต้าเคซีนชนิดเอทู (A2) ภายใต้ชื่อสินค้า “mMilk” โดยนมA2 นี้จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนดื่มนม โดยนม A2 นี้ที่ดูดซึมได้เร็ว สบายท้อง ที่สำคัญคือปราศจากโปรตีนชนิดที่ก่อให้เกิดการแพ้  ซึ่งจะทำให้คนไทยจะได้รับประทานผลิตภัณฑ์แปรรูปจากโคนมที่มีคุณภาพและราคาไม่แพง

 

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

รมว.วิทยาศาสตร์ กล่าวต่อว่า นม A2 เกิดจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมี รศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหัวหน้าโครงการได้ทำการศึกษาเพื่อค้นหาเครื่องหมายพันธุกรรมของเบต้าเคซีนชนิดเอสอง (A2 β-casein type)ซึ่งผลการวิจัยทำให้เอกชนมีความสามารถในการคัดเลือกแม่โคด้วย Genetic marker ที่ระบุจีโนไทป์ A2 เพื่อสร้างและขยายฝูงโคนมที่ผลิตนมชนิด A2 เพิ่มขึ้นท้ายสุดผลวิจัยนี้ทำให้เพิ่มศักยภาพของเอกชนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมน้ำตาลแลคโตส 0 % เป็นนมที่ดื่มได้อย่างสบายท้อง เพราะย่อยง่าย และสามารถดูดซึมคุณค่าสารอาหารธรรมชาติ จากนมโคแท้ 100 %ได้มากกว่านมปกติทั่วไป เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว และผู้ที่แพ้น้ำตาลแลคโตส จึงทำให้ผู้ที่บริโภคน้ำนมดังกล่าวมีสุขภาพดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับผู้สูงวัย กับผู้ที่ห่วงใยในสุขภาพของตนเอง

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

“mMilk” ชนิดเอทู (A2) ที่ได้รับการสนับสนุนจากอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น นี้ ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในปี 2561 ที่นอกจากจะสร้างศักยภาพการแข่งขันให้เอกชนเข้มแข็งแล้ว ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำมายกระดับการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าน้ำนมดิบ เหมาะที่จะนำมาผลิตนมฟังก์ชันให้กับผู้บริโภคกลุ่มห่วงใยสุขภาพและกลุ่มที่แพ้นมโค เพื่อผลิตให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มคนไทยที่ห่วงใยสุขภาพ (Niche market) และเป็นหนทางในการเพิ่มมูลค่าน้ำนมเพื่อเกษตรกรไทย (Value added) รวมถึงเป็นแนวทางในการรับมือผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน ที่สำคัญ ผลงานดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อชุมชนคือรายได้ที่สูงขึ้นของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่ได้แก่ร้อยเอ็ด อุดรธานี นครราชสีมา รวมถึงในภาคกลางและใต้ทั้งราชบุรีและนครศรีธรรมราช  

รวมกว่า 1,200ครอบครัว รับซื้อน้ำนมดิบได้วันละ 300 ตันที่ได้ราคาสูงขึ้นและต่อเนื่อง รวมถึงเกิดการจ้างงานชุมชน ทั้งนี้ทางเอกชนยังมีแผนลงทุนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยขยายขนาดพื้นที่โรงงาน จำนวน  60 ไร่ ที่สามารถรับรองโรงงานผลิตขนาด 2,500 ตารางเมตร ซึ่งจะมีคลังสินค้ากว่า8,000 ตารางเมตร อีกทั้งยังจะส่งเสริมให้มีศูนย์รับน้ำนมดิบจากเกษตรกรเป็นของตัวเองด้วย” ดร.สุวิทย์ กล่าวและว่า

 

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ทั้งนี้เอกชนและมหาวิทยาลัย ยังวางแผนเรื่องความยั่งยืนร่วมกัน โดยได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่างคณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น กับ บริษัท แมรี่ แอนด์ แดรี่ โปรดักส์ จำกัด ในการร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ได้ใช้สถานีทดลองที่มีชื่อว่าสถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรมร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด เพื่อใช้เป็นสถานที่บริการฝึกอบรมนักศึกษาและเกษตรกรสร้างคนในอุตสาหกรรมแปรรูปน้ำนม

นอกจากนี้ได้จัดตั้งเป็นศูนย์สาธิตและฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมขึ้น และมีการพัฒนาให้เป็นสถานีฝึกอบรมและวิจัยด้านโคนมและการแปรรูปน้ำนมในรูปแบบพึ่งตนเอง โดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ในการผลิตโคนมกับเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการผลิตนมที่เป็นผลิตภัณฑ์นมตัวใหม่ เพื่อสุขภาพ โดยใช้นวัตกรรมจากผลงานวิจัยของ ม.ขอนแก่น และก้าวสู้การเป็นผู้นำด้านการตลาดที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคคนไทยอย่างแท้จริง

 

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

นอกจากนั้น ยังมีผลงานอื่นๆ ที่ดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน อาทิ  ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์รักษาระดับแรงดันไฟฟ้ารถยนต์ (Car Voltage Stabilizer) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันความเสียหายที่สามารถเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ ของรถยนต์ ทำหน้าที่ปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่และสม่ำเสมออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าโดยทำงานร่วมกับแบตเตอรี่ ทำการกรองกระแสไฟฟ้าให้เกิดความเสถียรโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนให้วิ่งอย่างเป็นระเบียบและช่วยปรับสมดุลของกระแสไฟฟ้าภายในรถยนต์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน

 

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ผลิตภัณฑ์เครื่องดนตรีจากไม้ไผ่ขด เครื่องดนตรีจากไม้ไผ่ขด ที่เกิดการนำเอาภูมิปัญญาไม้ไผ่ขดซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ได้จากกระบวนการทำเครื่องเขิน โดยที่ไม่ต้องมีการลงรักและปิดทองมาพัฒนาและประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่โดยได้นำเอาวัสดุพื้นถิ่น ความงามและคุณสมบัติต่างๆ ที่เกิดจากไม้ไผ่ขด ผนวกกับองค์ความรู้และการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มชุมชนที่เป็นช่างไม้ไผ่ขด ช่างกีตาร์ผู้ผลิตกีตาร์และผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในฐานะนักออกแบบ จนเกิดเป็นผลงานวิจัย ภูมิปัญญาไม้ไผ่ขดเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ขด จากสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่ เพิ่มมูลค่าให้แก่วัตถุดิบท้องถิ่นและความสวยงามมากขึ้น

ผลิตภัณฑ์แคปซูลสมุนไพรดิลิเนีย สมุนไพรใหม่ ช่วยนอนหลับ งานวิจัยรางวัลระดับโลก พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลิตภัณฑ์แคปซูลดิลิเนีย By เฮิร์บเวล ช่วยฟื้นฟูความจำ ต้านอัลไซเมอร์ และช่วยในการนอนหลับ ชักนำให้หลับลึกตามวิธีการทางธรรมชาติ คือเติมสารที่ร่างกายต้องการเพื่อการนอนหลับด้วยการกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์สารสื่อประสาท (Acetylcholine) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ความคิด และพฤติกรรม ซึ่งสารที่ว่านี้มีคุณสมบัติเด่นคือการชักนำให้หลับลึกตามธรรมชาติ และไม่มีอาการงัวเงียเมื่อตื่นนอน

 

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ผลิตภัณฑ์ซุปหน่อไม้กึ่งสำเร็จรูปพร้อมทานเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคคัดสรรวัตถุดิบจากหน่อไม้ภูเขาเท่านั้น ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความสด กรอบ รสหวานแบบธรรมชาติ ปลอดสารเคมี100% ซึ่งเก็บได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารที่นำมาต่อยอดภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านอีสาน โดยเน้น สะดวก สะอาด ปลอดภัย และคงรสชาติอีสานดั้งเดิม เพียงแค่ 5 นาที ก็ได้รับประทานซุปหน่อไม้อร่อยๆ

ระบบ Socio wifi เป็นเครื่องมือการตลาดที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้เครือข่ายวายฟาย (WiFi) โดยเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ร้านค้า ธุรกิจ หรือองค์กรให้บริการวายฟาย (WiFi) กับลูกค้าได้อย่างปลอดภัย ในขณะที่สร้างความสะดวกสบาย ด้วยความสามารถอย่างการล็อกอินเข้าใช้งานผ่านทางแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) สามารถเก็บฐานข้อมูลของผู้ใช้งาน สถิติต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมการใช้งานวายฟาย (WiFi) มีระบบวิเคราะห์ข้อมูลและบริหารจัดการแคมเปญแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย (Target Marketing) โซซิโอ วายฟาย (Socio WIFI) ถูกออกแบบมาเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีจากร้านค้า ธุรกิจหรือองค์กรของคุณ ไปยังลูกค้าของคุณ ในขณะเดียวกัน ก็สร้างผลตอบแทนจากการให้บริการวายฟาย (WiFi)  แก่ธุรกิจในคราวเดียวกันด้วย