เทคโนโลยีสู่ความสำเร็จ ในยุคไอที  โปรแกรมไอโอที-บิ๊กดาต้า พานักแข่งรถขึ้นสู่โพเดียม

นักขับรถยุคใหม่ หันมาใช้โปรแกรมไอโอที (IOT) และ บิ๊ก ดาต้า (Big Data) ที่กลายเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของทีมนักแข่งรถในยุคดิจิทัลปัจจุบันนี้


        นักขับรถยุคใหม่ หันมาใช้โปรแกรมไอโอที (IOT) และ บิ๊ก ดาต้า (Big Data) ที่กลายเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของทีมนักแข่งรถในยุคดิจิทัลปัจจุบันนี้
        นายอิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ในการแข่งขันรถรายการต่าง ๆ ทั้งใน ฟอร์มูล่า 1 (Formula 1) หรือ กรังด์ปรีซ์ (Grand Prix) และการแข่งรถอื่น ๆ อีกหลายรายการ นอกจากทีมนักแข่งจะให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของรถยนต์ ความสามารถของนักแข่งรถ และความพร้อมของทีมสนับสนุนต่างๆ แล้ว ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ผลงานของนักแข่งพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ  โดยการนำเทคโนโลยี Internet of Things (อินเตอร์เน็ต ออฟ ติง) หรือ IOT (ไอโอที) มาใช้ในการเก็บข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ ของรถแข่ง ข้อมูลจำนวนมหาศาลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ Cloud (คลาว) และนำมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น การนำข้อมูลมากมายมาสร้างเป็นภาพเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการตั้งค่าเครื่องยนต์ที่เหมาะสมและการจัดการการควบคุมต่าง ๆ ของนักแข่ง หรือการวิเคราะห์วิดีโอการแข่งขันเพื่อช่วยให้นักแข่งเข้าโค้งได้ดีที่สุด เป็นต้น
        ทางบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำโดยโดย นายโทชิโนริ ไอวาซาว่า (Toshinori Iwasawa) ประธาน บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับ นายทาคูมะ ซาโตะ (Takuma Sato) นักขับรถแข่ง อดีตแชมป์การแข่งขัน Formula 1 (ฟอร์มูล่า วัน) ซึ่งปัจจุบันได้เข้าร่วมในการแข่งขันรถประเภทอินดี้ หรือ IndyCar series (อินดี้ คาร์ ซีรีย์) โดยทางบริษัทฯ ได้นำความรู้และประสบการณ์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมนำเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาช่วยทำให้ ซาโตะทำผลงานได้ดีขึ้นในแต่ละการแข่งขัน สามารถสร้างความสำเร็จใหม่ๆ ได้
        เทคโนโลยีสู่ความสำเร็จ ในยุคไอที  โปรแกรมไอโอที-บิ๊กดาต้า พานักแข่งรถขึ้นสู่โพเดียม

 

      ล่าสุด ซาโตะ นักแข่งสังกัดทีม ราฮัล เลทเตอร์แมน ลานิแกน (Rahal Letterman Lanigan Racing Team) หรือ อาร์แอลแอล (RLL) ในซีรีส์รถแข่งประเภทอินดี้ เพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งกัน Grand Prix (กรังด์ปรีซ์) ของพอร์ตแลนด์เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ โดยเอบีม คอนซัลติ้ง เป็นหน่วยสนับสนุน ซาโตะและทีมงานในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเอบีม สปอร์ต โซลูชั่น (Abeam Sports Solution) ซึ่งโซลูชั่นนี้ไม่เพียงแต่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลของทีม RLL (อาร์แอลแอล) เท่านั้น แต่ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลของทีมหลักอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิเคราะห์การตั้งค่าองศาเครื่องยนต์ จีโอเมทรี เซ็ตติ้ง อะนาลิสิซ (Geometry Settings Analysis) ที่ช่วยให้การคาดการณ์เกี่ยวกับการประหยัดเชื้อเพลิง รอบต่อนาที หรือ แลป ไทม์ (lap time) รวมถึงความเร็วต่อกิโลเมตร หรือ เพช (pace) ซึ่งช่วยให้ทีม RLL (อาร์แอลแอล) สามารถตัดสินใจได้แม่นยำในการกำหนดกลยุทธ์การขับรถแข่งจนประสบความสำเร็จ  ด้วยการตัดสินใจหยุดที่จุดพักรถ (pit stop) พิต สต็อป ให้น้อยลง จนทำให้ ซาโตะขยับจากลำดับที่ 20 เป็นผู้ชนะที่ 1 ในที่สุด
        ด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยี Internet of Things (อินเตอร์เน็ต ออฟ ติง)  หรือ IOT (ไอโอที) ทำให้เราสามารถหาและเก็บข้อมูลได้ผ่านเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งตามจุดต่าง ๆ ของรถแข่ง เช่น ในการแข่งขัน Super Formula (ซูปเปอร์ ฟอร์มูลา) ซึ่งเป็นการแข่งขันรถมอเตอร์คาร์กลุ่มที่สูงที่สุดของญี่ปุ่น เอบีม คอนซัลติ้ง ได้เข้าทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีม Real Racing (รีล เรซซิ่ง) เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่มากมาย ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการบริการแบบเบ็ดเสร็จบน Abeam Cloud (เอบีม คลาว) และการจัดการข้อมูลดังกล่าวแบบระยะยาว เสมือนทรัพย์สินระยะยาว (long-term asset) ลอง-ทีม แอสเซท โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาต่อไป
      เทคโนโลยีสู่ความสำเร็จ ในยุคไอที  โปรแกรมไอโอที-บิ๊กดาต้า พานักแข่งรถขึ้นสู่โพเดียม

เทคโนโลยีสู่ความสำเร็จ ในยุคไอที  โปรแกรมไอโอที-บิ๊กดาต้า พานักแข่งรถขึ้นสู่โพเดียม

       ตัวอย่างเช่น การนำข้อมูลมากมายมาสร้างเป็นภาพเพื่อช่วยในการตัดสินใจการตั้งค่าเครื่องยนต์ที่เหมาะสมและการจัดการการควบคุมต่าง ๆ ของนักแข่ง ด้วยการนำข้อมูลจากการควบคุมพวงมาลัย การเร่งความเร็ว การเบรก โหลดของเครื่องยนต์ อาการเครื่องยนต์กับการขับเคลื่อน ฯลฯ มาสร้างเป็นภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูล ประกอบการพูดคุยปรึกษาหารือเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าว ช่วยให้สามารถตัดสินใจการตั้งค่าเครื่องยนต์ รวมทั้งสามารถจัดการกับการควบคุมรถของนักแข่งได้อย่างเหมาะสม
        การวิเคราะห์วิดีโอการแข่งขันเพื่อช่วยให้นักแข่งเข้าโค้งได้ดีที่สุด จากการวินิจฉัยเพื่อชี้ให้เห็นว่าในการเข้าโค้งหลาย ๆ ครั้งที่ช่องว่างระหว่างตัวรถมีแนวโน้มขยายกว้างขึ้นไป และนำไปเปรียบเทียบกับเส้นทางการวิ่ง ความเร็ว และปัจจัยอื่น ๆ ของรถแต่ละคันที่มีการเข้าโค้งที่คล้าย ๆ กัน นอกจากนี้ ยังมีการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศ ความชื้น อุณหภูมิพื้นถนน ในช่วงเวลาต่าง ๆ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการพูดคุยภายในเพื่อหาวิธีให้นักแข่งเข้าโค้งได้ดีที่สุด นอกจากนี้ ยังมีการใช้ข้อมูลสด (live data) ไลฟ์ ดาต้า ด้วยระบบอัตโนมัติแบบ Robotic process automation (โรโบติก โปรเซส ออโตเมชั่น) หรือ อาร์พีเอ (RPA) ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลสดจากการแข่งขันเพื่อใช้ประโยชน์ของข้อมูลอย่างทันท่วงทีและถูกต้องแม่นยำ  
        ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทุกวงการต้องเร่งปรับตัวให้ทันโลกและหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อก้าวนำก่อนใคร ไม่เว้นแม้แต่วงการนักแข่งรถในโลกความเร็ว ที่จากเดิม เพียงการให้ความสำคัญไปที่ประสิทธิภาพของรถยนต์ ความสามารถของนักแข่งรถ และความพร้อมของทีมสนับสนุน กลับเริ่มหันมาให้ความสนใจและใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาขยายขีดความสามารถ เพิ่มโอกาสที่จะคว้าลำดับในการแข่งขันที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ และก้าวข้ามข้อจำกัดที่เคยมี  

เทคโนโลยีสู่ความสำเร็จ ในยุคไอที  โปรแกรมไอโอที-บิ๊กดาต้า พานักแข่งรถขึ้นสู่โพเดียม