ย้อนดูสิทธิข้าราชการบำนาญ หลังกรมบัญชีกลางชี้แจงเพิ่มเงิน 40,000 บาท / เดือน ไม่เป็นความจริง

  หลังจากเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2561 สหพันธ์ข้าราชการบำนาญแห่งประเทศไทย กว่า 30 คน นำโดย นายชัยวัฒน์ อุตอิ่นแก้ว เลขาธิการฯ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ โดยกล่าวว่าในตอนนี้ขอให้ สนช.

 

      หลังจากเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2561 สหพันธ์ข้าราชการบำนาญแห่งประเทศไทย กว่า 30 คน นำโดย นายชัยวัฒน์ อุตอิ่นแก้ว เลขาธิการฯ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ โดยกล่าวว่าในตอนนี้ขอให้ สนช. พิจารณาสนับสนุนให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่าน เพื่อให้ข้าราชการบำนาญนั้นมีรายได้เพิ่ม เนื่องจากในตอนนี้ข้าราชการบำนาญเกือบทุกสังกัดในประเทศ จำนวน 654,634 คน กำลังได้รับความเดือนร้อน จากค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามสภาพเงินเฟ้อ แต่เงินบำนาญนั้นเท่าเดิมจึงไม่เป็นที่เพียงพอในการใช้จ่าย หากข้าราชการมีรายได้จากเงินบำนาญเพิ่มขึ้นจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลดีขึ้นด้วย

 

    "ข้าราชการบำนาญถือเป็นคนจนรุ่นใหม่ ได้เงินบำนาญเดือนละ 20,000 บาท หักค่าใช้จ่ายอื่น เหลือ 18,000 บาทต่อเดือน ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อข้าราชการปัจจุบันอีก 2 ล้านคน แล้วคนไทยรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่ระบบข้าราชการ ทำงานเพื่อประเทศชาติ" กฎหมายฉบับนี้นายพีระศักดิ์ ค่อนข้างเห็นด้วยกับผู้ทำคุณประโยชน์ แต่กฎหมายฉบับนี้เข้าข่ายกฎหมายทางการเงิน จึงต้องมีการเห็นชอบจากรัฐบาลก่อนเสนอต่อ ทาง สนช.จะเสนอต่อไม่ได้ ทั้งนี้จะให้ทาง กมธ. พิจารณาควบคู่กัน 

 

เงิน

 

     ทั้งนี้หลังการยื่นหนังสือเสนอขอปรับเงินบำนาญข้าราชการเพิ่มไปนั้น ส่งผลให้เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2561 น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง ได้ออกมากล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ในตอนนี้ยังไม่ทราบว่ามีการขอเรื่องแก้ไขบำนาญให้สูงขึ้น เพราะในตอนนี้มีการประกัน รายได้ขั้นต่ำของข้าราชการบำนาญอยู่แล้ว 9,000 บาท/เดือน ตามค่าแรงขั้นต่ำของบุคคลทั่วไป ดังนั้นการที่ข้าราชการบำนาญได้รับรายได้ 20,000 /เดือน ถือว่าเกินกว่ารัฐบาลประกันไว้ และเกินกว่าค่าแรงขั้นต่ำ

 

 

 

 

กรมบัญชีกลาง

 

        ด้าน น.ส.สุทธิรัตน์ กล่าวอีกว่าคงต้องถามกลับไปว่าทำไมคนที่ใช้แรงงานและได้รับค่าแรงขั้นต่ำเพียง 9,000 บาทต่อเดือนถึงพอกิน และต้องถามว่าเขามาขออะไร เพราะคนที่ได้รับบำนาญคือคนที่ไม่ได้ทำงานแล้ว ซึ่งคนที่ทำงานบางคนยังได้เงินน้อยกว่าที่เขาได้รับการบอกว่าได้รับเงิน 2 หมื่นบาทต่อเดือนไม่พอใช้ เหตุผลคืออะไร คนยากจนกว่าเขาได้รับเงินน้อยกว่านี้อีกมาก ทำไมเขาอยู่ได้ คนได้เงิน 2 หมื่นบาทนำเงินไปใช้อะไรกันบ้าง กิจกรรมไม่ต้องไปทำกันเยอะสิ และตรงนี้ถือเป็นเรื่องการใช้ชีวิต ทุกคนต้องบริหารจัดการชีวิตของตนเองคงไม่มีข้อแนะนำอะไร ทั้งนี้ น.ส.สุทธิรัตน์ ยังกล่าวเสริมทิ้งท้ายว่า ปกติต้องขึ้นเงินเดือนข้าราชการก่อน จึงจะขึ้นเงินบำนาญได้ เนื่องจากเป็นเรื่องผูกติดกันไว้ แต่จะมาขอขึ้นบำนาญก่อนจึงถือเป็นเรื่องไม่เคยเกิดขึ้น

 

      ซึ่งจากกรณีการขึ้นเงินเดือนเพิ่มให้ข้าราชการบำนาญนี้ กลายเป็นกระแสขึ้นหลังโลกโซเชียลมีการแชร์ข่าว บิ๊กตู่ดันเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ 40,000 บำนาญหลังเกษียณ หวั่นกลัวไม่พอใช้ตอนแก่ โดยข่าวดังกล่าวได้อ้างว่าเมื่อวันที่ 22 กันยายน ได้ข้อสรุปหลังการประชุมด่วนของคณะรัฐบาล และได้ประกาศอย่างเป็นทางการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการหลังเกษียณ จาก 20,000 บาท เป็น 40,000 บาท มีผลทันทีวันที่ 1 ตุลาคม 2561 นั้น ทางกรมบัญชีกลางได้ออกมายืนยันแล้วว่าข่าวดังกล่าวที่ถูกเผยแพร่อยู่ไม่เป็นความจริงซึ่งประเด็นการปรับเพิ่มเงินบำนาญทางกระทรวงการคลังไม่มีนโยบายที่จะดำเนินการ และไม่ได้มีการนำประเด็นนี้เข้าเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้จึงมีความเป็นกังวลว่าข่าวที่แชร์ออกไปจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน ซึ่งกรมบัญชีกลาง ได้ชี้แจงทำความเข้าใจมาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอให้ช่วยแชร์ข้อมูลนี้ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกันต่อๆ ไปด้วย

 

 

 

คนชรา

โดยตอนนี้สิทธิประโยชน์ของข้าราชการทั้งเกษียณบำเหน็จและเกษียณบำนาญมีดังนี้

1. ได้รับเงินเดือนตามจำนวนเงินเท่าฐานเงินเดือนสุดท้ายตอนเกษียณอายุราชการโดยต้องนำเงินเดือนมาคูณกับอายุราชการแล้วหารด้วย 50 ก็จะได้บำนาญของทุกเดือน ข้อนี้จะต่างจากข้าราชการผู้ขอรับบำนาญตรงข้าราชการผู้มีความประสงค์จะขอรับเงินบำเหน็จจะได้รับเป็นเงินก้อนโดยจะต้องนำเงินเดือนสุดท้ายตอนเกษียณมาคูณกับอายุงานราชการจะได้เป็นจำนวนเงินบำเหน็จสามารถรับได้เลย

     ตัวอย่างเช่นกรณีเลือกเงินบำเหน็จหากเงินเดือน เดือนสุดท้ายที่ได้รับอยู่ที่ 75,000 บาท และมีอายุราชการ 25 ปี เงินบำเหน็จที่จะได้รับ คือ 1,875,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้เป็นเงินที่ผู้เกษียณสามารถรับไปได้ทันที

 

    ส่วนตัวอย่างของกรณีเลือกเงินบำนาญ ให้ผู้เกษียณนำเงินเดือนที่ตนเองได้รับเดือนสุดท้ายมาคูณกับอายุราชการของตนเอง แล้วหารด้วย 50 ยกตัวอย่างเช่น หากเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ผู้เกษียณได้รับ มีจำนวน 75,000 บาท และมีอายุราชการ 25 ปี จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 37,500 บาท

 

สองตายาย

 

2. ผู้เกษียณจะได้รับเงินค่ารักษา (เบิกได้) ให้กับตนเอง พร้อมภรรยาหรือสามี พ่อแม่ รวมไปถึงลูกที่อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ทั้งบำเหน็จและบำนาญ

 

3. ผู้เกษียณจะได้รับเงินค่าการศึกษาของลูกที่เบิกได้จนถึงอายุ 25 ปีบริบูรณ์ ทั้งบำเหน็จและบำนาญ

 

4. หากอยู่ในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จะได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ เงินประกันชีวิตและเงินช่วยเหลือจากสหกรณ์

 

(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง "กรมบัญชีกลาง" จ่ายวงเงินฉุกเฉินเยียวยา ช่วยเหลือปชช. ในพื้นที่ได้รับผลกระทบจาก"พายุปาบึก"จังหวัดละ20ล้านบาท)

 

(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง รู้หรือยัง..ดียังไง!!"กรมบัญชีกลาง" แจ้งแล้วสิทธิประโยชน์บัตรสวัสดิการคนจน เริ่มใช้ต.ค.60 ดูแลส่วนลดค่าน้ำ-ไฟ ฯลฯ ยอดล่าสุดกว่า 4 ล้านคน!?!)

ขอบคุณข้อมูล  moneyhub  , sanook