ชาวเน็ตงง! สับเละภาพสะพานน้ำแห่งแรกก่อนพบความจริงพูดได้คำเดียว”ทรงพระเจริญ”

ชาวเน็ตงง! สับเละภาพสะพานน้ำแห่งแรกก่อนพบความจริงพูดได้คำเดียว”ทรงพระเจริญ”

    เพจเฟซบุ๊ค “เมือง ทุ่งสง” โพสต์ภาพและเนื้อหา สะพานน้ำแห่งแรกของไทย!!

โดยระบุพิกัด: https://goo.gl/maps/nHsZcbk9nRs @ส้นสุขุมวิทสายเก่า ผ่านเมืองโบราณ ไปทาง อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ

” ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสนใจจากสมาชิกเฟซบุ๊คเป็นจำนวนมาก โดยหลายคนเกิดความสงสัยและแสดงความคิดเห็นหลากหลายทั้งกล่าวตำหนิเนื่องจากไม่เคยเห็นมาก่อน และไม่เข้าใจถึงประโยชน์ โดยเห็นว่าขุดเป็นคลองก็น่าจะเพียงพอ ก่อนที่จะพบว่า แท้จริงแล้วโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากแนวทางพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9   เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ รวมถึงปัญหาการจราจร ซึ่งสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับประเทศ ความเห็นของสมาชิกเฟซบุ๊คจึงเปลี่ยนเป็นคำกล่าวว่า “ทรงพระเจริญ”

 

ชาวเน็ตงง! สับเละภาพสะพานน้ำแห่งแรกก่อนพบความจริงพูดได้คำเดียว”ทรงพระเจริญ”

ชาวเน็ตงง! สับเละภาพสะพานน้ำแห่งแรกก่อนพบความจริงพูดได้คำเดียว”ทรงพระเจริญ”

 

        ทั้งนี้ข้อมูลของกรมชลประทานระบุว่า ภาพดังกล่าวคือ สะพานน้ำยกระดับ เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการดังกล่าวคือ “โครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ” อยู่ที่ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี และตำบลบางปู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยทรงมีพระราชดำริกับนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กปร. ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 สรุปความว่า “การระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ให้พิจารณาขุดลอกคลองระบายน้ำโดยมีขนาดที่เหมาะสมไม่ใช่เพื่อระบายน้ำเฉพาะบริเวณสนามบิน ให้พิจารณารวมบริเวณรอบ ๆ ด้วย”
             

 การทำงานของ สะพานน้ำยกระดับ จะมี อาคารสะพานน้ำยกระดับและอาคารทิ้งน้ำเป็นอาคารรับน้ำจากสถานีสูบน้ำ โดยยกระดับให้น้ำไหลไปตามสะพานน้ำ อัตราการไหล 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ข้ามคลองชายทะเลและถนนสุขุมวิท ให้ลงสู่ทะเลโดยตรง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กยกระดับ รูปตัวยู ท้องคลองกว้าง 25 เมตร กำแพงสูงข้างละ 3.15 เมตร สูงจากถนนสุขุมวิทประมาณ 6 เมตร
                 

 แนวทางพระราชทานเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก ปัญหาพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง เป็นพื้นที่ลุ่มมีระดับพื้นดินต่ำ บางแห่งมีลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งท้องกระทะ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ พื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นพื้นที่ ชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ จึงเป็นสถานที่รองรับการขยายตัวจากความหนาแน่นของประชากรในเขตเมืองหลวง การสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทางน้ำหลาก ทำให้สูญเสียพื้นที่รองรับน้ำกว่า 20,000 ไร่ การสร้างและการขยายถนน โครงการบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การสูบน้ำบาดาล ตลอดจนการปลูกสร้างที่พักอาศัย โรงเรือนต่างๆ

รวมถึงการขยายตัวและการพัฒนาพื้นที่อย่างรวดเร็ว ไม่เป็นไปตามผังเมืองรวมอย่างเป็นระบบ ย่อมจะส่งผลต่อสาธารณะเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ส่วนนี้ต่อเนื่องลึกเข้าสู่พื้นที่ชั้นกลางและชั้นในของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ปริมณฑล

ชาวเน็ตงง! สับเละภาพสะพานน้ำแห่งแรกก่อนพบความจริงพูดได้คำเดียว”ทรงพระเจริญ”

ชาวเน็ตงง! สับเละภาพสะพานน้ำแห่งแรกก่อนพบความจริงพูดได้คำเดียว”ทรงพระเจริญ”

ชาวเน็ตงง! สับเละภาพสะพานน้ำแห่งแรกก่อนพบความจริงพูดได้คำเดียว”ทรงพระเจริญ”

 

 

  กรมชลประทานจึงได้ทำการว่าจ้างสถาบันที่ปรึกษา ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินงานศึกษาสำรวจและออกแบบเบื้องต้น แล้วเสร็จเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2547 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเปิดโครงการเมื่อวันที่28กันยายน2547 ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปีตั้งแต่ปีพ.ศ.2548 – 2553 โดยประโยชน์ที่เกิดขึ้นคือ 

1. เพื่อเป็นคลองระบายน้ำสายหลักของพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบิน โดยการเร่งระบายน้ำจากคลองสำโรงไปยังชายทะเลและสูบระบายออกสู่ทะเลโดยตรง ทำให้สามารถลดสภาวะน้ำท่วมและความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิผล
2. เพื่อสามารถติดตามสภาพน้ำหลากและการทำงานของเครื่องสูบน้ำในการบริหารจัดการน้ำหลากทั้งระบบลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง
3. เพื่อเป็นถนนเชื่อมโยงถนนสุขุมวิท-เทพารักษ์ และถนนบางนา-ตราด ทำให้สามารถช่วยลดปัญหาการจราจรของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาค่อนข้างมาก และจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อสนามบินสุวรรณภูมิเปิดดำเนินการ
4. เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้บางส่วน สำหรับทำการเกษตรหรือกิจกรรมอื่นบริเวณใกล้เคียง 
5. เพื่อช่วยเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและระบบนิเวศของจังหวัดสมุทรปราการ

 

cr.FB: “เมือง ทุ่งสง” ภาพจาก Richard Barrow,ข้อมูลจาก กรมชลประทาน