ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

    จากกรณีที่พรรคอนาคตใหม่ได้จัดประชุมจัดตั้งพรรคครั้งใหญ่ ณ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต  โดยที่ประชุม เปิดให้ คณะกรรมการบริหารแนะนำตัว และให้ผู้จดจองชื่อพรรค 26 คน ขึ้นส่งมอบภารกิจให้ 17 คณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรก ที่มีวาระ 4 ปี 
 ซึ่งได้มีการตอบคำถามจากสื่อมวลชน ซึ่งมีคำถามว่า
จะต่อสู้กับความพยายามสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อย่างไร?

- (ธนาธร) เราไม่แปลกใจเรื่องนี้ เราเห็นตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญปี 2560 แล้ว เรารู้อยู่แล้วว่าวันนี้ต้องมาถึง วันที่ คสช. ต้องสืบทอดอำนาจตัวเอง จึงอยากเรียกร้องสื่อมวลชนและประชาชนมาร่วมกับเราเพื่อหยุดการสืบทอดอำนาจเผด็จการ... รัฐธรรมนูญปี 2560 เราไม่แก้ เราจะฉีกเลย

- (ปิยบุตร) ถ้าเรามีโอกาสเข้าสภา วันแรกเราจะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ทันที โดยมาตราแรกที่ต้องยกเลิกให้ได้คือมาตรา 279 ที่คุ้มครองประกาศและคำสั่งคณะรัฐประหารทั้งหมด เราจะปักธงก้าวหน้าลงสู่สังคม เพราะการยึดอำนาจก็ชัดเจนแล้วว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ฐานกบฎ

   ยืนยันเรื่องการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองในยุค คสช. หรือไม่?

- (ธนาธร) เรายืนยันว่าจะนิรโทษกรรมให้แก่คนที่โดนคดีการเมืองทั้งหมด เขาเป็นคนหนุ่มสาวเป็นประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพของตัวเอง นี่เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับการรับรอง ไม่มีเหตุผลที่จะไม่นิรโทษกรรม

- (ปิยบุตร) บรรดาประกาศและคำสั่งของ คสช. คือปืนที่เอากฎหมายมาห่อไว้ แต่ไม่ใช่กฎหมาย 

 

   ซึ่งก่อนหน้านี้ นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ออกมาแสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าวด้วย โดยระบุว่า
"นี่เขาจะฉีกรัฐธรรมนูญกันอีกแล้วหรือ?  จะฉีกหรือจะแก้ไขก็อย่าลืมถามชาวบ้านที่เขาโหวตรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วยนะครับ"

โดนซัดอีกดอก!! "มัลลิกา" ถามอีกเสียง "ธนาธร-ปิยบุตร" คิดฉีก รธน. "ถาม ปชช.เสียงส่วนใหญ่แล้วหรือยัง??"

โดนซัดอีกดอก!! "มัลลิกา" ถามอีกเสียง "ธนาธร-ปิยบุตร" คิดฉีก รธน. "ถาม ปชช.เสียงส่วนใหญ่แล้วหรือยัง??"

 

ล่าสุดมีอีกเสียงหนึ่งที่ทวงถามนายธนาธรและนายปิยบุตรเช่นกัน คือ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาแสดงความคิดเห็น ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวที่ชื่อว่า มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข โดยระบุว่า
28 พฤษภาคม 2561

ที่สุดก็กลับเข้าสู่ขั้นลองเดิมคือ ชูนโยบายเข้ามาลบล้างความผิดให้กับพรรคพวกตนเอง กลายเป็นการสืบทอดเจตนานิรโทษกรรมเหมาเข่ง ดั่งทายาทอสูร เมื่อติดตามข่าวดูนึกว่าจะมีอะไรตื่นเต้น แต่กลับก้าวไม่พ้นความขัดแย้ง

"ชูการนิรโทษกรรมล้างคดีให้กับพรรคพวกก็แสดงว่าจะนำพาพรรคการเมืองไปสู่ความขัดแย้งและแบ่งแยกประชาชนเพราะรู้อยู่แล้วว่าการออกกฎหมายล้างความผิดมีวิกฤตเกิดขึ้นก่อนหน้านี้"

การชูเรื่องฉีกรัฐธรรมนูญ ขณะที่ตนวางตัวเป็นพรรคของคนรุ่นใหม่แสดงว่าไม่ได้อ่านเนื้อหาในรัฐธรรมนูญและไม่ได้อ่านหนังสือหรือติดตามข่าวว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่เห็นความสำคัญของคนรุ่นใหม่ด้วยการเล็งเห็นสถานการณ์ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาขึ้น


กองทุนนี้จะสามารถรองรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ 4.3 ล้านคนในประเทศนี้ โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับเดียวที่มีมาตรา 54 วรรค 6 เขียนกำหนดไว้ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคนทุนทรัพย์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา และเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุนเพื่อใช้มาตรการหรือกลไกทางภาษีรวมทั้งให้ผู้บริจาคทรัพย์สินเข้ากองทุนได้รับประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีด้วยทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยจะต้องกำหนดให้การบริหารจัดการกองทุนมีอิสระและกำหนดให้มีการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวและมาตรา 258 (จ)ให้ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 54 วรรค 6 ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

ทั้งหมดนี้พวกที่อ้างตัวว่าเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่และอ้างตัวว่าจะเป็นพรรคการเมืองของคนรุ่นใหม่มีอนาคตอะไรที่มากกว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 54 และ 258 นี้หรือไม่ ถ้าไม่มีแล้วการประกาศฉีกรัฐธรรมนูญลองถามผู้ปกครองและเยาวชนไทยที่ด้อยโอกาส 4.3 ล้านคนซึ่งเป็นเป้าหมายและมีความหวังกับอนาคตก่อนไหม คิดจะเป็นนักประชาธิปไตยตามที่กล่าวอ้างทำไมประกาศฉีกรัฐธรรมนูญโดยที่ไม่คิดจะถามประชาชนเสียงส่วนใหญ่ที่ผ่านประชามติรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาว่าไหม?

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ในฐานะประธานมูลนิธิมัลลิกาเพื่อประชาชน www.mallikafoundation.com

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข