พุทธภูมิพล!! "ทศบารมี" ที่สถิตในพระราชหฤทัย ... คือประจักษ์พยานแห่ง "ปณิธานพระโพธิสัตว์" อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!!

รู้จริง...รู้แจ้ง...ทุกเรื่องราวแห่งพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านเป็นพระโพธิสัตว์!!

 

ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาพุทธภูมิ"!!

จริงหรือไม่จริง... ด้วยภูมิจิตภูมิธรรมของคนทั่วไปยังไม่อาจทราบได้  แต่เมื่อพิจารณาจากพระราชจริยาวัตรของพระองค์ท่านแล้วทำให้เชื่อได้ว่า คำกล่าวของครูบาอาจารย์นั้นน่าจะเป็นความจริง เพราะพระราชจริยาวัตรทั้งหลายดำเนินไปตาม "ทศบารมี" (บารมี ๑๐ ประการ) ดังนี้

๑. ทานบารมี

พุทธภูมิพล!! "ทศบารมี" ที่สถิตในพระราชหฤทัย ... คือประจักษ์พยานแห่ง "ปณิธานพระโพธิสัตว์" อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!!

ด้วยการพระราชทานกำเนิดมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ สงเคราะห์ด้านการศึกษาและป้องกันสาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ รวมทั้งให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือเป็นส่วนรวมแก่ประชาชนที่ได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อนประการอื่นอีกด้วย

 

๒. ศีลบารมี

พุทธภูมิพล!! "ทศบารมี" ที่สถิตในพระราชหฤทัย ... คือประจักษ์พยานแห่ง "ปณิธานพระโพธิสัตว์" อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!!

หมายถึงการที่พระองค์ท่านมีพระราชจริยาวัตรที่พิเศษอีกประการหนึ่งซึ่งคนทั่วไปทำได้ยาก คือ ในคืนวันอุโบสถนั้น พระองค์จะทรงรักษาอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัด

 

๓. เนกขัมมบารมี

พุทธภูมิพล!! "ทศบารมี" ที่สถิตในพระราชหฤทัย ... คือประจักษ์พยานแห่ง "ปณิธานพระโพธิสัตว์" อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!!

หมายถึงการออกบวชหรือความปลีกตัวปลีกใจจากกาม  ในข้อนี้พระองค์ท่านไม่ได้ออกบวชทางกาย (เพียงเคยทรงผนวชระยะสั้น)  แต่สำหรับการบวชทางใจที่เป็นการปลีกตัวปลีกใจทางกามในช่วงอุโบสถศีลย่อมถือเป็นบารมีข้อนี้เช่นกัน  ครูบาอาจารย์องค์หนึ่งคือหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านได้กล่าวเกี่ยวกับการบวชใจไว้อย่างนี้

 

๔. ปัญญาบารมี

พุทธภูมิพล!! "ทศบารมี" ที่สถิตในพระราชหฤทัย ... คือประจักษ์พยานแห่ง "ปณิธานพระโพธิสัตว์" อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!!

พระบารมีข้อนี้เห็นได้ชัดเจนมากจากพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ  เช่น  โครงการพระราชดำริ มูลนิธิชัยพัฒนา รวมทั้งพระอัจฉริยภาพในเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสาร ด้านกีฬา ด้านดนตรี ด้านจิตรกรรม หรือแม้แต่ด้านโหราศาสตร์ก็ตาม และยังรวมไปถึงพระราชปฏิภาณไหวพริบที่น่าอัศจรรย์

๕. วิริยบารมี

พุทธภูมิพล!! "ทศบารมี" ที่สถิตในพระราชหฤทัย ... คือประจักษ์พยานแห่ง "ปณิธานพระโพธิสัตว์" อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!!

บารมีนี้เห็นได้เด่นชัดจากพระราชจริยาวัตรของการออกไปช่วยเหลือแก้ไขทุกข์ร้อนของพสกนิกรที่ทรงทำอย่างต่อเนื่องยาวนาน และยังมิทรงหยุดหย่อนจนถึงทุกวันนี้ ดังเช่น พระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก”  หรือแม้ในด้านพระศาสนา พระองค์ทรงทำสมาธิ เจริญสติทุกวัน และทรงอุโบสถศีลทุกวันอุโบสถ  เหล่านี้ล้วนเป็นพระวิริยบารมี

 

๖. ขันติบารมี

พุทธภูมิพล!! "ทศบารมี" ที่สถิตในพระราชหฤทัย ... คือประจักษ์พยานแห่ง "ปณิธานพระโพธิสัตว์" อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!!

คือ ความอดทน ข่มกายและใจต่อความลำบากทั้งพระวรกายและพระทัย ในการช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ท่าน  แม้จะเป็นที่ทุรกันดารห่างไกล ข้ามน้ำ ข้ามภูเขา ก็มิได้เป็นอุปสรรคต่อพระองค์  ในฐานะของความเป็นมนุษย์ผู้หนึ่งและสามารถปฏิบัติภารกิจที่ยิ่งใหญ่ยาวนานได้ขนาดนี้ ถ้าขาดซึ่ง “ขันติบารมี” แล้ว ยากที่จะทรงงานมาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้

คำว่า “ป่วยไข้” แบบธรรมดาอาจจะเป็นคำต้องห้ามสำหรับพระองค์ท่าน  ถ้าไม่หนักหนาสาหัสถึงขนาดต้องทรงเข้าโรงพยาบาลแล้ว พระองค์ท่านยังทรงปฏิบัติพระราชภารกิจทั้งหลายทั้งปวงมิว่างเว้น  แม้แต่งานที่ดูไม่น่าจะสำคัญ แต่สำคัญสำหรับกำลังใจของผู้รับ อย่างเช่น การพระราชทานกระบี่หรือปริญญาบัตร พระองค์ท่านก็ยังทรงปฏิบัติอย่างสงบ ไม่ทรงแสดงถึงความเบื่อหน่ายหรือเมื่อยล้าให้เห็นเลย  นับเป็นตัวอย่างของขันติบารมีที่น่าบูชายิ่ง

 

๗. สัจจบารมี

พุทธภูมิพล!! "ทศบารมี" ที่สถิตในพระราชหฤทัย ... คือประจักษ์พยานแห่ง "ปณิธานพระโพธิสัตว์" อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!!

นับแต่ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม” ... นับถึงวันนี้ พระราชโองการนี้ย่อมประจักษ์แจ้งแก่ใจของชาวไทยทั้งชาติว่าเป็นสัจจบารมีที่แท้จริง

 

๘. อธิษฐานบารมี

พุทธภูมิพล!! "ทศบารมี" ที่สถิตในพระราชหฤทัย ... คือประจักษ์พยานแห่ง "ปณิธานพระโพธิสัตว์" อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!!

ความมุ่งมั่นในน้ำพระทัยที่ทรงประกาศเป็นพระปฐมบรมราชโองการเป็นทั้งสัจจบารมีและอธิษฐานบารมี รวมทั้งน่าจะเป็นการมุ่งมั่นต่อพระราชปณิธานที่อธิษฐานบารมีเพื่อพระโพธิญาณในอนาคตกาล จึงได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ตามแนวทางบารมี ๓๐ ถ้วน

 

๙. เมตตาบารมี

พุทธภูมิพล!! "ทศบารมี" ที่สถิตในพระราชหฤทัย ... คือประจักษ์พยานแห่ง "ปณิธานพระโพธิสัตว์" อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!!

บารมีในข้อนี้มีมากล้นเกินพรรณนา  ความทุ่มเท ความวิริยะ ความอุตสาหะ ที่ทรงกระทำเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า ๗๐ ปี ย่อมเกิดได้เพราะน้ำพระทัยเมตตาที่เปี่ยมล้นเท่านั้น

๑๐. อุเบกขาบารมี

พุทธภูมิพล!! "ทศบารมี" ที่สถิตในพระราชหฤทัย ... คือประจักษ์พยานแห่ง "ปณิธานพระโพธิสัตว์" อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!!

บารมีข้อนี้พิจารณาได้ยาก เนื่องจากต้องอาศัยการสังเกตอย่างใกล้ชิด ซึ่งผู้ที่จะยืนยันบารมีข้อนี้ต้องเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับพระองค์ท่าน  และโชคดีที่พสกนิกรอย่างเราได้รับรู้แง่มุมเกี่ยวกับอุเบกขาบารมีของพระองค์จาก พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร อดีตข้าราชบริพารผู้มีโชควาสนาได้ทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท  ดังความบางส่วนต่อไปนี้

“ผมรับราชการสนองพระเดชพระคุณใกล้พระยุคลบาทอยู่นานกว่า ๑๒ ปี  และแม้จะพ้นหน้าที่มานานแล้ว แต่ก็ยังสดับตรับฟังข่าวเกี่ยวกับพระราชจริยาวัตรและพระราชกรณียกิจอยู่มิได้ขาด ทั้งจากสื่อและจากผู้ที่ยังรับราชการอยู่ใกล้พระยุคลบาท จึงรู้ เชื่อ และขอยืนยันว่า  พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงบ้านเมืองยิ่งกว่าพระอนามัยหรือพระชนม์ชีพอย่างแน่นอนและตลอดเวลา แต่ความห่วงใยของฝ่าละอองธุลีพระบาทนั้นจะเรียกไม่ได้เป็นอันขาดว่าเป็นความทุกข์

พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเป็นทุกข์และไม่เคยเป็นทุกข์ เพราะทรงฝึกพระสติ ฝึกพระองค์ด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจนเป็นพระนิสัย  เมื่อมีวิกฤตการณ์ไม่ว่าจะร้ายแรงเพียงใด จะทรงพิจารณาด้วยความเยือกเย็นและสุขุมคัมภีรภาพ แล้วจึงทรงตัดสินพระทัยทำสิ่งที่ทรงเห็นว่าควรทำ  และเมื่อทรงทำแล้วก็จะทรงถือว่าหน้าที่สำเร็จไปอีกครั้งหนึ่งอย่างหนึ่ง  หากยังไม่จบสิ้น แต่มีเรื่องเกี่ยวพันต่อเนื่องต้องทำต่ออยู่อีก ก็จะทรงถือว่าเป็นหน้าที่อีกครั้งหนึ่งอย่างหนึ่งและทรงทำต่อ

ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งหลายนั้น หลักที่ทรงยึดถือและปฏิบัติอย่างมั่นคงและแน่วแน่คือ  ไม่ทรงสนพระทัยว่าใครจะชมหรือใครจะตำหนิ เพราะทรงถือว่าทรงทำ ‘หน้าที่เพื่อหน้าที่’  แต่ไม่ได้หมายความว่าทำแล้วทิ้ง  แต่จะทรงทบทวนไตร่ตรอง  ถ้าหากทรงเห็นว่าที่ทรงทำไปแล้วนั้นยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ ครั้งต่อไปก็จะทรงพยายามปรับปรุงแก้ไข  ซึ่งเป็นไปตาม ‘อิทธิบาท’ ข้อที่ ๔ คือ ‘วิมังสา’ อันเป็นหลักธรรมที่ทรงใช้และพระราชทานให้ผู้อื่นอยู่เสมอ ๆ เพราะทรงศึกษาและปฏิบัติธรรมมาอย่างต่อเนื่อง”

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ที่มา : www.facebook.com/notes/jarunee-nugranad-marzilli