ถ้ามูลนิธิธรรมกายถูกยึด...!?!?! จะถึงคราวธรรมกายล่มสลายหรือไม่ ??? (รายละเอียด)

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม : www.tnews.co.th

ทั้งนี้จากข้อมูลที่ทางคดีที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้นก็จะพบว่าคดีเหล่านี้ (รายละเอียดเพิ่มเติม >>>http://77jowo.tnews.co.th/contents/220896/"ชำแหละ 308 คดี" ...!?!?! เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย ตำรวจเดินหน้าเอาผิดถึงที่สุด ฤๅ จะสิ้นสุด "อาณาจักรธรรมกาย" ??? (ข้อมูล) )น้ำหนักก็จะไปตกอยู่ที่มูลนิธิธรรมกาย ไม่ใช่วัดพระธรรมกาย เนื่องมาจากว่า วัดนั้นเป็นสถานที่ราชการ ทรัพย์สินทั้งหมดก็ต้องได้รับการตรวจสอบจากทางราชการเช่นกัน

โดยในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้มีการระบุไว้ว่า

มาตรา 31 วัดมีสองอย่าง

 

 (1) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

 (2) สำนักสงฆ์

 

ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป

 

แต่ในขณะเดียวกันนั้นเจ้าอาวาสวัดก็เรียกได้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ รัฐ โดย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เจ้าอาวาสหมายความว่า บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือชั่วคราว และหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทำหน้าที่ช่วยราชการ ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะคดีด้วย ซึ่งผู้อ่านคงหมายความได้ถึงข้าราชการทั่วไป เช่น ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ทหาร นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น

และที่ผ่านๆ มานั้นในแต่ละวัดก็จะมีการรับบริจาคเงินแต่ถ้าวัดไหนที่มีประชาชนมาบริจาคกันเป็นจำนวนมากก็จะมีการตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อที่จะมาดูแลจัดการเรื่องการเงิน

โดยมูลนิธินั้น ก็จะเป็นนิติบุคคล ถ้าทรัพย์สินของมูลนิธินั้นถูกยึดก็จะตกเป็นของรัฐบาล

มูลนิธิเกิดขึ้นจาก คน ๆ หนึ่ง หรือ คนหลาย ๆ คน ที่ต้องการที่จะทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย ๆ อย่าง เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือการสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ของชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค ประเทศ ทวีป หรือโลกใบนี้

ซึ่งมูลนิธิ ได้แก่ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสาหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะการศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหา ผลประโยชน์มาแบ่งบันกัน และเป็นนิติบุคคลเมื่อได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

การจดทะเบียนมูลนิธิ ให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดารงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ยื่นแบบ ม.น. 1 ณ สานักงานเขต ที่สานักงานใหญ่ของมูลนิธิจะจัดตั้งขึ้น สำหรับกรุงเทพมหานคร หรือที่ ๆ ว่าการอำเภอสาหรับจังหวัดอื่น ๆ

 

การแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิหรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ ให้ประธานกรรมการของมูลนิธิ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นเครื่องแบบ ม.น. 2 ณ สานักงานเขตอันเป็นที่ตั้งของสานักงานใหญ่ของมูลนิธิ สำหรับกรุงเทพมหานคร หรือที่ ๆ ว่าการอำเภอ สาหรับจังหวัดอื่น ๆ

 

แต่ถ้ามูลนิธินั้นได้ทำผลเสื่อมเสียหรือไม่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์นั้นก็จะมีการเรียกร้ององขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิ โดยตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตราที่ 129 ในกรณีที่กรรมการของมูลนิธิผู้ใดดำเนินกิจการของ มูลนิธิผิดพลาดเสื่อมเสียต่อมูลนิธิ หรือดำเนินกิจการฝ่าฝืนกฎหมาย

หรือข้อบังคับของมูลนิธิหรือกลายเป็นผู้มีฐานะหรือความประพฤติ ไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ นายทะเบียน พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งถอดถอนกรรมการของมูลนิธิผู้นั้นได้

ในกรณีที่การกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของคณะ กรรมการของมูลนิธิ หรือปรากฏว่าคณะกรรมการของมูลนิธิไม่ดำเนิน การตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายทะเบียน พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งถอดถอนกรรมการของมูลนิธิทั้งคณะได้

ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งถอดถอนกรรมการของมูลนิธิ หรือคณะ กรรมการของมูลนิธิตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ศาลจะแต่งตั้งบุคคล อื่นเป็นกรรมการของมูลนิธิหรือคณะกรรมการของมูลนิธิแทนกรรมการ ของมูลนิธิ หรือคณะกรรมการของมูลนิธิที่ศาลถอดถอนก็ได้ เมื่อศาล มีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลใดเป็นกรรมการของมูลนิธิแล้ว ให้นายทะเบียน ดำเนินการจดทะเบียนไปตามนั้น

 

มาตรา 130 มูลนิธิย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้

 

(1) เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับ

 

(2) ถ้ามูลนิธิตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น

 

(3) ถ้ามูลนิธิตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด และได้ดำเนินการ ตามวัตถุประสงค์สำเร็จบริบูรณ์แล้ว หรือวัตถุประสงค์นั้นกลายเป็น การพ้นวิสัย

(4) เมื่อมูลนิธินั้นล้มละลาย

 

 

(5) เมื่อศาลมีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิตาม มาตรา 131

มาตรา 131 นายทะเบียน พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสีย คนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิได้ในกรณีหนึ่ง กรณีใดดังต่อไปนี้

 

(1) เมื่อปรากฏว่าวัตถุประสงค์ของมูลนิธิขัดต่อกฎหมาย

 

 

(2) เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิกระทำการขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน หรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของ ประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ

 

(3) เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ไม่ว่า เพราะเหตุใด ๆ หรือหยุดดำเนินกิจการตั้งแต่สองปีขึ้นไป

มาตรา 132 เมื่อมูลนิธิมีเหตุต้องเลิกตาม มาตรา 130 (1) (2) หรือ (3) แล้ว ให้คณะกรรมการของมูลนิธิที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการ เลิกมูลนิธิแจ้งการเลิกมูลนิธิต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ มีการเลิกมูลนิธิ

ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้มูลนิธิล้มละลาย ตาม มาตรา 130 (4) หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกมูลนิธิตาม มาตรา 131 ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบด้วย

 

ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกมูลนิธิในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 133 ในกรณีที่มีการเลิกมูลนิธิ ให้มีการชำระบัญชีมูลนิธิ และให้นำบทบัญญัติใน บรรพ 3 ลักษณะ 22 ว่าด้วยการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด มาใช้บังคับ แก่การชำระบัญชีมูลนิธิโดยอนุโลม ทั้งนี้ให้ผู้ชำระบัญชีเสนอรายงาน การชำระบัญชีต่อนายทะเบียนและให้นายทะเบียนเป็นผู้อนุมัติรายงาน นั้น

มาตรา 134 เมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้โอนทรัพย์สินของมูลนิธิให้ แก่มูลนิธิหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 110 ซึ่งได้ระบุ ชื่อไว้ในข้อบังคับของมูลนิธิ ถ้าข้อบังคับของมูลนิธิมิได้ระบุชื่อมูลนิธิ หรือนิติบุคคลดังกล่าวไว้ พนักงานอัยการผู้ชำระบัญชี หรือผู้มีส่วน ได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาลให้จัดสรรทรัพย์สินนั้นแก่ มูลนิธิหรือนิติบุคคลอื่นที่ปรากฏว่ามีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดที่สุดกับ วัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นได้

ถ้ามูลนิธินั้นถูกศาลสั่งให้เลิกตาม มาตรา 131 (1) หรือ (2) หรือการจัดสรรทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไม่อาจกระทำได้ ให้ทรัพย์สิน ของมูลนิธิตกเป็นของแผ่นดิน

 

ซึ่งวัดพระธรรมกายนั้นก็มีอยู่หลายมูลนิธิ อาทิ มูลนิธิธรรมกาย จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เดิมใช้ชื่อว่า มูลนิธิธรรมประสิทธิ์ โดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ณ กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2513 เมื่อสร้างวัดพระธรรมกายเสร็จได้ขอแก้ไขเอกสาร เปลี่ยนชื่อเป็น "มูลนิธิพระธรรมกาย" เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2525 ณ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี และเพื่อไม่ให้สับสนกับชื่อวัด จึงจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจาก มูลนิธิพระธรรมกาย เป็น "มูลนิธิธรรมกาย" โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตามหนังสือที่ ศธ 1304/6088 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยมูลนิธิธรรมกายนั้นมีเนื้อที่อยู่ประมาณ 2,000 กว่าไร

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นหากทางมูลนิธิของวัดพระธรรมกายนั้นถูกเจ้าหน้าที่ยกเลิกก็ต้องมีการชำระบัญชีมูลนิธิ ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตราที่ 133 ซึ่งนั้นก็อาจจะรวมไปถึงที่ดินและทรัพย์สินของทางวัด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ภายในวัด ซึ่งเราก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ว่า สิ่งเหล่านี้จะถูกทำงาย หรือนำไปขายทอดตลาด หรือจะอายัดไว้ เพื่อให้ได้รู้ว่าประเทศไทยเคยมีวัดพระธรรมกาย

 

แต่ที่แน่นอนที่สุดก็คือมันจะสร้างตราบาปและกระทบกระเทือนใจบรรดาศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายเป็นอย่างมากแน่นอน ซึ่งเราก็คงต้องติดตามต่อไปว่าบทสรุปของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร

 

เรียบเรียงโดย วัสดา สำนักข่าวทีนิวส์