ปรองดองกับใคร? ในเมื่อนักการเมืองไทยรวยค้ำฟ้า....สถิติสุดช็อค!! สส.500ครอบครัวมีทรัพย์สินเท่ากับครอบครัวประชาชนธรรมดาถึง 2 ล้านครอบครัว (รายละเอียด)

ปรองดองกับใคร? ในเมื่อนักการเมืองไทยรวยค้ำฟ้า....สถิติสุดช็อค!! สส.500ครอบครัวมีทรัพย์สินเท่ากับครอบครัวถึง2ล้านครอบครัว

ยังคงเป็นกระแสที่ถูกนำไปพูดในทุกมิติแวดวงการเมืองอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเด็นเรื่องการปรองดอง ซึ่งก่อนหน้าที่พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ก็พูดถึงความขัดแย้งคนในชาติว่าถึงเวลาประชาชนต้องเลิกฟังพวกที่คิดร้ายทำลายประเทศ และประกาศยืนยันจะใช้กฎหมายดำเนินการกับผู้กระทำผิดต่อไป แม้ว่ารัฐบาลคสช.จะมีนโยบายเรื่องความปรองดองเพื่อความสงบคนในชาติ และเน้นย้ำว่าเรื่องการปรองดองต้องเป็นเรื่องของประชาชน

ปรองดองกับใคร? ในเมื่อนักการเมืองไทยรวยค้ำฟ้า....สถิติสุดช็อค!! สส.500ครอบครัวมีทรัพย์สินเท่ากับครอบครัวประชาชนธรรมดาถึง 2 ล้านครอบครัว (รายละเอียด)

ต่อมาทางสำนักวิจัยซูเปอร์โพล ได้เผยแพร่ข้อมูลในเรื่องประชาชนส่วนใหญ่มั่นใจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะสามารถทำให้เกิดความปรองดองของคนในชาติได้ แต่ไม่มั่นใจนักการเมืองจะมีความจริงใจในการแก้ปัญหาดังกล่าว

โดยกลุ่มที่เข้าใจถึงปัญหาความปรองดองของคนในชาติได้ลึกซึ่งมากสุดนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 ระบุเป็นประชาชนทั่วไป รองลงมาร้อยละ 61.2 ระบุเป็น พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และร้อยละ 54.6 ระบุเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขณะที่ประชาชนระบุเป็นนักการเมืองเพียงร้อยละ 33.5 ทั้งๆ ที่นักการเมืองควรจะเข้าใจได้ดีกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ตามด้วยนักวิชาการร้อยละ 24.9 แกนนำชุมชนร้อยละ 17.4 ตามด้วยรัฐบาลต่างชาติและกลุ่ม NGO

ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.1 เชื่อมั่นว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะทำให้เกิดความปรองดองของคนในชาติได้ แต่ร้อยละ 68.9.1 ระบุนักการเมืองไม่จริงใจที่จะทำให้เกิดความปรองดองของคนในชาติ พร้อมกันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.8 ระบุหากไม่สร้างความปรองดองในชาติก่อนจัดการเลือกตั้ง หลังเลือกตั้งจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายเหมือนเดิม

ทั้งนี้ สำนักวิจัยซูเปอร์โพล ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง "โพลปรองดอง" จากประชาชนทุกสาขาอาชีพจำนวน 1,266 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10-21 ม.ค.ที่ผ่านมา


ขณะที่ กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงให้การสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปฏิบัติหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนนิยมมากสุดและกระเตื้องขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน

"เมื่อถามว่า หากวันนี้มีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.8 ระบุว่าจะสนับสนุน (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์2559 ร้อยละ 3.2)  ขณะที่ร้อยละ17.9 ระบุว่าจะไม่สนับสนุน ส่วนที่เหลือร้อยละ 20.3 งดออกเสียง"  เอกสารเผยแพร่ ระบุขณะที่คะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อยู่ที่ร้อยละ 17.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากผลสำรวจเมื่อเดือนกันยายน 2559 รองลงมาคือพรรคเพื่อไทยที่มีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 15.7 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ตามด้วยพรรคชาติไทยพัฒนามีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7, พรรครักประเทศไทยมีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 1.4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และพรรคพลังชลมีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 0.4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1

ทั้งนี้ กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง "คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย ปี 2560" โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศจำนวน 1,216 คน ระหว่างวันที่ 17-18 ม.ค.ที่ผ่านมา

 

ขณะที่วันที่ 21 ม.ค. “สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณีจะมีการเปิดเวทีเจรจากับทุกกลุ่มการเมืองและให้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกันในการร่วมสร้างความปรองดองยุติความขัดแย้งก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งสรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร? หากจะมีการทำข้อตกลง (MOU) ในการสร้างความปรองดองร่วมกัน อันดับ 1 เป็นแนวคิดที่ดี หากทำได้จริงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อบ้านเมือง 82.31% อันดับ 2 ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้บ้านเมืองสงบสุข เดินหน้าต่อไปได้ 79.25% อันดับ 3 แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของรัฐบาล พยายามผลักดันให้เกิดการปรองดอง 61.32%อันดับ 4 ต้องไม่บังคับ ให้อิสระ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละฝ่าย 57.55% อันดับ 5 ความขัดแย้งเป็นปัญหาที่สะสมมานาน น่าจะแก้ได้ยาก 50.47%

2. ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การปรองดองครั้งนี้สำเร็จได้ คือ อันดับ 1 ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจ มีความสามัคคี จริงใจในการแก้ปัญหา 76.89% อันดับ 2 ยอมรับฟังซึ่งกันและกัน ลดอคติ 75.47% อันดับ 3 เห็นแก่ชาติบ้านเมือง นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ 73.58% อันดับ 4 รัฐบาลต้องมีความเป็นกลาง ให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย 62.50% อันดับ 5 เนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นที่น่าพอใจ 60.38%

3. ปัญหา-อุปสรรคที่จะทำให้การปรองดองยากที่จะสำเร็จ คือ อันดับ 1 ความเห็นแก่ตัว มุ่งหวังแต่อำนาจและผลประโยชน์ 80.66% อันดับ 2 ถือทิฐิ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน 72.41% อันดับ 3 การยั่วยุ ปลุกปั่น โจมตี สร้างกระแส ปล่อยข่าว 66.98% อันดับ 4 ขาดจิตสำนึก คุณธรรมจริยธรรม 63.68% อันดับ 5 ทำไม่ต่อเนื่อง ไม่จริงจังในการสร้างความปรองดอง 53.77%

4. ความคาดหวังของประชาชนต่อความสำเร็จในการสร้างความปรองดองที่จะเกิดขึ้นจากการทำข้อตกลงนี้ อันดับ 1 ค่อนข้างคาดหวังว่าน่าจะสำเร็จ 39.47% เพราะ รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหา ทุกฝ่ายให้ความสำคัญและร่วมมือ เป็นเรื่องที่สังคมสนใจและอยากให้สำเร็จ ฯลฯ อันดับ 2 ไม่ค่อยคาดหวังว่าจะสำเร็จ 34.59% เพราะ เป็นเรื่องที่มีกระแสมานาน แต่ยังไม่เห็นผล ขาดความจริงจังในการแก้ปัญหา ต่างฝ่ายต่างถือประโยชน์ของตนเอง ฯลฯ อันดับ 3 ไม่คาดหวังว่าจะสำเร็จ 15.33% เพราะ ความขัดแย้งทางการเมืองเป็นปัญหาสะสมฝังรากลึกมานาน แก้ไขได้ยาก แนวทางการปรองดองยังไม่ชัดเจน ฯลฯ อันดับ 4 คาดหวังมากว่าจะสำเร็จ 10.61% เพราะ นายกฯให้ความสำคัญ มีการจัดตั้งคณะทำงาน อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง ฯลฯ

"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,272 คน ระหว่างวันที่ 16-20 มกราคม 2560

ทางด้านมุมของนักการเมืองท่านอื่นๆเองก็ได้มีการออกมาพูดถึงการปรองดองในหลากหลายแง่มุม เช่น นายสุริยะใส กตะศิลา ระบุว่าเป็นเรื่องดีที่หลายฝ่ายเริ่มส่งสัญญาณสนับสนุนกระบวนการปรองดองที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จะทำให้เป็นรูปธรรมภายในปีนี้ ก่อนเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่ก็มีข้อห่วงใหญ่และข้อพิจารณา ที่คสช.ต้องรับฟังอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ที่สำคัญการตั้งโจทย์ต้องไม่ผิด เพราะอาจสร้างปัญหาใหม่ตามมา รวมทั้งการออกมาตรการต่างๆก็ต้องจัดลำดับก่อนหลังให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดความหวาดระแวงและสับสนจนไปต่อไม่ได้ และยังกล่าวถึงโจทย์หลักที่ขอเสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือ ปยป. ต้องพิจารณาในประเด็นปรองดองนั้น มี 3 ส่วนใหญ่ๆ  ส่วนที่หนึ่งคือ เจ้าภาพ ซึ่งต้องได้คนที่น่าเชื่อถือได้รับการยอมรับที่สูง ประสานทุกฝ่ายได้ไม่ใช่ต้องใช้กฎหมาย ใช้คำสั่งกำกับควบคุมทั้งหมด    ส่วนที่สองคือรูปแบบหรือกระบวนการต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และต้องมีความต่อเนื่องเพราะเรื่องนี้ทำให้เสร็จภายในปีเดียวไม่ได้แน่นอน     ส่วนที่สามคือเนื้อหา ต้องยึดหลักนิติรัฐและนิติธรรม แสวงหาข้อเท็จจริงให้มากเพราะบางคดีหรือบางข้อกล่าวหาเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมืองและเกินจริงเนื้อหาต้องตอบโจทย์ทั้งเฉพาะหน้าและการแก้ปัญหาระยะยาว และต้องไม่ให้สังคมรู้สึกว่าเป็นการฮั้วหรือฟอกผิดใคร โดยเฉพาะคดีทุจริต คดีอาญาร้ายแรงมีหลักฐาน และคดีความผิดมาตรา 112

ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  แสดงความเห็นต่อการสร้างการความปรองดอง โดยเสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.  ยกเป็นวาระแห่งชาติ และเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมได้อย่างจริงใจจึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศได้แท้จริง และทำให้บ้านเมืองหลุดจากความแตกแยกขัดแย้งไปได้  ส่วนตัวมองว่าการที่พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าการปรองดองไม่ใช่เดิมพันของรัฐบาลและคสช. แต่เป็นของคนไทยทุกคน ตนเห็นว่าเป็นเดิมพันอนาคตของประเทศชาติบ้านเมือง หากผู้นำต้องการให้เดินหน้าไปได้เปลี่ยนประเทศไปในทิศทางดีขึ้น นายกฯ ต้องทำเรื่องการปรองดอง เป็นวาระแห่งชาติทำให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนรวมมาทำเรื่องปรองดอง ประเด็นสำคัญคือเชิญชวนทุกภาคส่วนในสังคมไทยมาร่วมกัน ส่วนกรณีที่มีบางฝ่ายนำเสนอให้มีการลงนามเอ็มโอยู หรือนิรโทษกรรมว่า เป็นเพียงวิธีการนำไปสู่การปรองดอง ยังไม่ใช้หลักการและแนวทางที่ถูกต้อง แต่ได้สร้างให้สังคมเกิดความสับสน

(ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ประสานเสียงตรงกัน!!! "สุริยะใส-องอาจ" ชี้ยังไม่ถึงเวลาทำMOUสร้างปรองดองห่วงซ้ำรอยเดิม-ปชช.สับสน (รายละเอียด) http://headshot.tnews.co.th/contents/td/221167/)

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่20 มกราคม 2560 ทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้นำเสนอถึงสถิติของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ซึ่งเป็นอีกปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขก่อนเริ่มการปรองดอง โดยก่อนหน้าได้มีการเปิดเผยรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2555 ที่เผยแพร่โดย“สภาพัฒน์” สามารถสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยได้อย่างชัดเจน โดยวิเคราะห์ได้จากรายได้ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มเล็กๆ โดยคนรวยที่สุด 10% ถือครองรายได้กว่า 39.3%ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่คนจนที่สุดจำนวน 10% ถือครองรายได้เพียง 1.6% เท่านั้น หรือรายได้ระหว่างกลุ่มคนที่รวยที่สุดกับกลุ่มคนที่จนที่สุด ซึ่งเมื่อเฉลี่ยแล้วห่างกันถึง 25.2 เท่า นอกจากนี้ยังได้เปิดเผยถึงสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

(ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ปรองดองต้องอยู่ที่ประชาชน !!! "สุดช็อค" เปิดสถิติความเหลื่อมล้ำของคนไทย ไร้ความมั่นคงในชีวิต 99.99% (รายละเอียด) http://headshot.tnews.co.th/contents/td/220956/ )

ล่าสุดจากการสืบค้นข้อมูลเรื่องความเหลื่อมล้ำจาก เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2557 ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา และ ดร.ศิริกัญญา ตันสกุล นักวิจัยอาวุโส มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ได้เปิดเผยผลการวิจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับ “8 ข้อเท็จจริง ความเหลื่อมล้ำในไทย”ก็ได้พบกับหนึ่งในข้อเท็จจริงที่น่าตกตะลึงอีกข้อหนึ่งคือ ทรัพย์สินเฉลี่ยของครอบครัวสส. รวยกว่าอีก 99.999% ของครอบครัวไทย เราอาจจะคิดว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นควรจะต้องเป็นตัวแทนของแต่ละหมู่บ้าน แต่ในความเป็นจริงแทบทุกครอบครัวของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นอยู่ในหมู่บ้านที่ 10 และเกือบจะเป็นบ้านที่มั่งมีที่สุดในหมู่บ้าน ทรัพย์สินรวมของครอบครัวสส. 500 ครอบครัวนั้นเท่ากับทรัพย์สินของครอบครัวถึง 2 ล้านครอบครัว
ปรองดองกับใคร? ในเมื่อนักการเมืองไทยรวยค้ำฟ้า....สถิติสุดช็อค!! สส.500ครอบครัวมีทรัพย์สินเท่ากับครอบครัวประชาชนธรรมดาถึง 2 ล้านครอบครัว (รายละเอียด)

เพราะฉะนั้นหากปัญหาหลักอย่างปัญหาความเหลื่อมล้ำยังไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปจากสังคมไทยได้ แนวทางการปรองดองก็ยากที่จะสำเร็จและยากที่ประชาชนทั่วไปจะเข้าถึงหลักการปรองดองอย่างแท้จริงได้

 

 

เรียบเรียงโดย สินีนุช สำนักข่าวทีนิวส์