จะทำกันอย่างไร...!?!? เมื่ออิทธิพล "วัดพระธรรมกาย" ไม่สิ้นสุด (รายละเอียด)

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม : www.tnews.co.th

กับอีกหนึ่งประเด็นที่สังคมได้ติดตามและให้ความสนใจมาโดยตลอดก็คงหนีไม่พ้น คดีของวัดพระธรรมกาย

หลังจากที่เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2560 ทางโยธาและผังเมือง จ.ปทุมธานี ร่วมกับอบต. ได้เข้าตรวจสอบความแข็งแรงของ 13 อาคารในวัดพระธรรมกาย

นายสุเมธ มีนาภา โยธาและผังเมืองจังหวัดปทุมธานี และ ดร.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง ได้ร่วมกันมาตรวจสอบอาคารต่าง ๆ ภายในวัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมี พระมหานพพร ปุญฺญชโย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย ให้การต้อนรับและพาเจ้าหน้าที่ตรวจอาคารต่างๆ

ด้านนายสุเมธ มีนาภา โยธาและผังเมืองจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ได้รับคำสั่งจากนายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ให้เข้ามาตรวจอาคาร 9 ประเภท เช่น อาคารลานจอดรถ ตึกอุบาสกอุบาสิกาหอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และอาคารอื่นๆรวม 13 อาคาร ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทางโยธาและผังเมืองจังหวัดปทุมธานี

ซึ่งการเข้ามาตรวจอาคารต่าง ๆ ในวัดธรรมกายนั้น จะตรวจเรื่องความมั่นคงของอาคาร ระบบความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น ถังดับเพลิง บันไดหนีไฟของอาคารสูงๆ แต่ในส่วนอาคารที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีเกี่ยวกับ พ.ร.บ.การก่อสร้างอาคาร ก็ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการตามกฎหมาย

ขณะที่ พระมหานพพร กล่าวว่า ขอยืนยันว่าการใช้สอยอาคารทั้งหมดบริเวณวัดธรรมกายใช้เพื่อการศาสนา และได้มีประชาชนเป็นจำนวนมากมาใช้สอยอาคารนี้ โดยได้รับการดูแลจากองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม และเทศบาลเมืองท่าโขลง ตลอดมาเป็นอย่างดี ซึ่งครั้งนี้หน่วยงานราชการเข้ามาตรวจสอบแล้วก็จะทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย

 

ด้านดร.วิระศักดิ์ฮาดดา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม กล่าวว่าอาคารที่มาตรวจสอบก็มั่นคงแข็งแรงดีไม่มีเรื่องของในส่วนที่ผิดกฎหมายและมาตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีและที่บอกว่าหน่วยงานราชการเข้าวัดไม่ได้นั้นพอทางเจ้าหน้าที่มาแล้วทางวัดพระธรรมกายก็ยินยอมให้เข้าตรวจสอบโดยไม่มีการขัดขวางแต่อย่างใด แนะนำพาเจ้าหน้าที่ ให้ไปตรวจอาคารต่างๆการที่เจ้าหน้าที่มีการร้องขอไป (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>>ยังไงยังไงอยู่ !?!? " กรมโยธา" ลุยตรวจ "ธรรมกาย" ...แค่ตรวจแล้วไม่ยึดหรือ (รายละเอียด) http://headshot.tnews.co.th/contents/221369/

 

ซึ่งหากเราย้อนกลับไปก่อนหน้านี้จะพบว่าทางด้านของพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รองผบ.ตร.) ก็ได้มีการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีสิ่งก่อสร้างเข้าข่ายผิดกฎหมายของวัดพระธรรมกาย

พล.ต.อ.ศรีวราห์ ได้ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 18 มกราคม ว่า ส่วนการเข้ายึดอาคารที่เป็นของกลางตามฐานความผิดต่างๆ นั้น ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนที่อยู่ภายในวัด ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยึดได้เพียงรั้วรอบวัดเท่านั้น ส่วนอาคารขนาดใหญ่ เช่น ธรรมกายเจดีย์ ยังไม่สามารถยึดได้ตราบใดที่ยังไม่สามารถเข้าไปในวัด ย้ำว่าจะเข้าไปเมื่อเวลาเหมาะสม สถานการณ์เอื้่ออำนวย

อย่างไรก็ตามเมื่อเจ้าหน้าที่ได้ปิดประกาศแจ้งแก่วัดพระธรรมกาย ว่าสิ่งก่อสร้างเข้าข่ายผิดกฎหมาย ต้องยึดเป็นของกลางในคดีไปแล้ว ตั้งแต่ปลายปี 2559ที่ผ่านมา ตามกฎหมายพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯนั้น กำหนดไว้ว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ปิดประกาศดังกล่าวแล้ว หากครบกำหนด30วัน นับแต่ปิดประกาศ ซึ่งตรงกับวันที่ 27 มกราคมนี้ หากไม่มีการดำเนินการใดๆจากทางวัดฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี จะต้องมีการพิจารณาเข้ายึดหรือค้น หรือห้ามใช้สถานที่ สิ่งปลูกสร้างที่ผิดกฎหมายดังกล่าวต่อไป อาจเป็นการประกาศห้ามเข้าและเชิญบุคคลที่อยู่ภายในออก ทั้งนี้เป็นดุลพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัดฯว่าจะดำเนินการอย่างใด เมื่อใด โดยมีปัจจัยอื่นๆเช่นความปลอดภัย งบประมาณ ประกอบด้วย

แต่ทั้งนั้นก็เป็นที่น่าสนใจว่าทำไมทางโยธาและผังเมืองจังหวัดปทุมธานี นั้นสามารถที่จะเข้าไปภายในวัดพระธรรมกายได้อย่างง่ายดายแต่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นสามารถที่จะอยู่ได้แค่บริเวณรอบรั้ววัดพระธรรมกาย

ทั้งนี้เมื่อทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้ตรวจสอบก็พบว่าวัดพระธรรมกายมีการก่อสร้างอย่างยิ่งใหญ่ มีทั้งสิ้นกว่า 27 สถานที่

อาทิ "อุโบสถวัดพระธรรมกาย" ก่อสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ. 2520 เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2525

สามารถรองรับพระภิกษุและสามเณร ถึง 200 รูป แต่ตัวอุโบสถวัดพระธรรมกาย ไม่มีช่อใบระกา ไม่มีช่อฟ้า มีรูปลักษณ์แบบศิลปไทยประยุกต์ มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 370 ล้านบาท

จะทำกันอย่างไร...!?!? เมื่ออิทธิพล "วัดพระธรรมกาย" ไม่สิ้นสุด (รายละเอียด)

อุโบสถวัดพระธรรมกาย

 

"วิหารแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง" เป็นวิหารทรงพีระมิดหกเหลี่ยมทองคำ สูง 29 เมตร ภายในเป็นห้องหยกประดิษฐานรูปหล่อทองคำ คุณยายอาจารย์มหาอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สามารถรองรับคนได้ 300 คน มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 550 ล้านบาท

 

จะทำกันอย่างไร...!?!? เมื่ออิทธิพล "วัดพระธรรมกาย" ไม่สิ้นสุด (รายละเอียด)

วิหารแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง

 

"หอฉันแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง" เป็นอาคารชั้นล่างโปร่ง มีส่วนสำนักงาน 4 ชั้น ส่วนของหลังคาสร้างเป็นยอดรูปทรงกลมคล้ายมหาธรรมกายเจดีย์ มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 970 ล้านบาท

จะทำกันอย่างไร...!?!? เมื่ออิทธิพล "วัดพระธรรมกาย" ไม่สิ้นสุด (รายละเอียด)

หอฉันแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง

"อาคาร 100 ปี แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง" เป็นอาคารรูปทรงกลม เริ่มก่อสร้างปลายปี 2552 ฐานเป็นทรงสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ทั้ง 4 มุม เพื่อให้เป็นสำนักงานใหญ่ของวัด ห้องประชุมด้านวิชาการด้านพระปริยัติธรรมขนาดใหญ่ ห้องปฏิบัติธรรมสำหรับบรรพชิต อุบาสก อุบาสิกาและเหล่าบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ ขนาดใหญ่

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมหาปูชนียาจารย์ ภายในตัวอาคาร มีเครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ บันไดหนีไฟ บันไดเลื่อน ลิฟท์อำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ตัวอาคาร มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 3,000 ล้านบาท โดยเหมาก่อสร้างโดย บริษัท ฤทธา จำกัด

จะทำกันอย่างไร...!?!? เมื่ออิทธิพล "วัดพระธรรมกาย" ไม่สิ้นสุด (รายละเอียด)

อาคาร 100 ปี แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง

 

"มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี" อาคารรูปทรงกลมแบบสาญจิเจดีย์คล้ายจานคว่ำเหมือนมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 5,800 ล้านบาท

มหาวิหารดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณริมสระนํ้าทางเข้าประตูใหญ่หมายเลข หนึ่งของวัดพระธรรมกาย

จะทำกันอย่างไร...!?!? เมื่ออิทธิพล "วัดพระธรรมกาย" ไม่สิ้นสุด (รายละเอียด)

มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี

"ปฏิมากรรมบูชามหาธรรมกายเจดีย์" เป็นสถานที่สักการะของคณะเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ ที่มาเยือนวัดพระธรรมกาย มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 175 ล้านบาท

จะทำกันอย่างไร...!?!? เมื่ออิทธิพล "วัดพระธรรมกาย" ไม่สิ้นสุด (รายละเอียด)

ปฏิมากรรมบูชามหาธรรมกายเจดีย์

 

"สภาธรรมกายสากล" อาคารปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ พื้นที่กว่า 150 ไร่ ประกอบด้วยชั้นที่ 1 (ชั้ นใต้ดิน) เป็นสถานที่ จอดรถและมีห้องประชุมหลายขนาด

ส่วนชั้นที่ 2 เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจต่างๆ สามารถจุคน ได้ประมาณ 300,000 คน มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 17,400 ล้านบาท

จะทำกันอย่างไร...!?!? เมื่ออิทธิพล "วัดพระธรรมกาย" ไม่สิ้นสุด (รายละเอียด)

สภาธรรมกายสากล

"มหาธรรมกายเจดีย์" เจดีย์รูปโดมทรงกลมแบบสาญจิเจดีย์ เส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐาน 194.40 เมตร ความสูง 32.40 เมตร ภายนอกของมหาธรรมกายเจดีย์มีการเรียงต่อองค์พระธรรมกายประจำตัวที่สลักชื่อเจ้าของไว้จำนวน 300,000 องค์ ส่วนภายในมหาธรรมกายเจดีย์บรรจุพระธรรมกายประจำตัว จำนวน 700,000 องค์

ซึ่งมหาธรรมกายเจดีย์ออกแบบด้วยหลักวิศวกรรมให้คงอยู่ได้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันปี และเป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีกลางแจ้ง ในวันสำคัญ จะมีเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์จากทั่วโลกเดินทางมาวัดพระธรรมกาย หลายแสนคนและในทุกวัน มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 75,000 ล้านบาท

จะทำกันอย่างไร...!?!? เมื่ออิทธิพล "วัดพระธรรมกาย" ไม่สิ้นสุด (รายละเอียด)

มหาธรรมกายเจดีย์

"มหารัตนวิหารคด" มีลักษณะอาคารสองชั้นในรูปแบบคล้ายสเตเดียมและสี่เหลี่ยมจตุรัส ความยาวด้านละ 1 กิโลเมตร อาคารมี 4 ด้าน ทั้งหมดมีความ 4 กิโลเมตร รอบมหาธรรมกายเจดีย์ ทั้งสี่ด้าน คาดว่าสามารถจุคนได้หนึ่งล้านคน มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 189,000 ล้านบาท

จะทำกันอย่างไร...!?!? เมื่ออิทธิพล "วัดพระธรรมกาย" ไม่สิ้นสุด (รายละเอียด)

มหารัตนวิหารคด

เรียบเรียงโดย vatsada