"การบินไทย"แจงปมพนักงานร้องนายกฯออก ม.44 ตั้งกก.พิเศษ สอบปัญหาทุจริต (รายละเอียด)

"การบินไทย"แจงปมพนักงานร้องนายกฯออก ม.44 ตั้งกก.พิเศษ สอบปัญหาทุจริต (รายละเอียด)

จากกรณี เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมา  กลุ่มพนักงานการบินไทย ที่เรียกตัวเองว่า "คนบินไทยจิตอาสา" จำนวน กว่า 100 คน รวมตัวกันเพื่อสะท้อนปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบภายในองค์กร นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ใช้อำนาจ ม.44 (คลิกอ่าน : มาตรา44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2557) ตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบการทุจริตทั้งมดภายในการบินไทย 

"การบินไทย"แจงปมพนักงานร้องนายกฯออก ม.44 ตั้งกก.พิเศษ สอบปัญหาทุจริต (รายละเอียด)

 

"การบินไทย"แจงปมพนักงานร้องนายกฯออก ม.44 ตั้งกก.พิเศษ สอบปัญหาทุจริต (รายละเอียด)

 

 

ล่าสุด วันนี้ (15 ก.พ.60) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)  ชี้แจงข้อร้องเรียนของกลุ่มพนักงาน โดยระบุว่า ได้พิจารณาเห็นว่าประเด็นต่างๆ ที่กล่าวอ้างนั้น มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและความเสียหายโดยตรงกับบริษัทฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น บริษัทฯ จึงขอให้ข้อเท็จจริงเป็นประเดต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. บริษัท การบินไทย ไม่เคยลดอายุการใช้งานจริงของเครื่องบินในฝูงบินของบริษัทฯ

บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า บริษัทฯ ไม่เคยลดอายุการใช้งานจริงของเครื่องบินแต่อย่างใด ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ใช้งานเครื่องบินอย่างคุ้มค่าและคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้โดยสารเป็นสำคัญ โดยจะปลดประจำการตามมาตรฐานสากลและมาตรฐานที่ถูกต้องทางบัญชี รวมทั้งข้อบังคับของหน่วยงานความปลอดภัยระหว่างประเทศเท่านั้น

2. บริษัท การบินไทย มิได้ดำเนินการขายหุ้น ระดมทุน กู้เงิน ตามแผนฟื้นฟูฯ ปี 2552 - 2554 เพื่อนำเงินไปซื้อเครื่องบินใหม่

บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า บริษัท การบินไทย เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์การระดมทุนต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนและเมื่อได้เงินจากการระดมทุนมาดำเนินการ จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

3. บริษัทฯ มิได้ปรับปรุงเครื่องบินแอร์บัส เอ 340 ที่มีแผนปลดระวางไว้ล่วงหน้าแล้ว บริษัทฯ ขอให้ข้อเท็จจริงว่า กรรมการและผู้บริหารไม่เคยอนุมัติหรือดำเนินการปรับปรุงเก้าอี้ที่นั่งในเครื่องบินแอร์บัส เอ 340 ที่ได้มีแผนปลดประจำการในปี 2555 แต่อย่างใด

4. การจัดตั้งบริษัทลูกหลายบริษัท โดยเฉพาะบริษัท ไทยสมายล์ นกแอร์ และ Wingspan เป็นการดำเนินการตามแผนธุรกิจที่จะนำบริษัทฯ ให้แข่งขันได้ ไม่ใช่เอื้อประโยชน์ให้กับใคร

บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า บริษัทฯ ได้จัดตั้งสายการบินนกแอร์เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ตั้งแต่ปี 2547 เนื่องจากในช่วงนั้นรัฐบาลมีนโยบายเปิดเสรีการบินภายในประเทศ และการเปิดเสรีการบินของประเทศในภูมิภาคเอเชีย มีแนวโน้มในการเปิดกว้างมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในตลาดมีความรุนแรงมากขึ้น และไม่จำกัดอยู่เฉพาะภายในประเทศ แต่ขยายสู่ธุรกิจการบินระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งแนวโน้มของผู้โดยสารที่หันมานิยมการเดินทางด้วยสายการบินต้นทุนต่ำ มีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องและช่วงชิงโอกาสทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปจากเดิม บริษัทฯ จึงได้จัดตั้งสายการบินนกแอร์ เพื่อเป็น Fighting Brand สำหรับธุรกิจการขนส่งผู้โดยสารภายในประเทศ และระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย และหากไม่ทำ บริษัทฯ จะหมดโอกาสในการแข่งขันในตลาดการบินต้นทุนต่ำ

ส่วนสายการบินไทยสมายล์นั้น เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี 2556 เพื่อเสริมศักยภาพและความแข็งแกร่งด้านเครือข่ายให้กับการบินไทย ด้วยเครื่องบินลำตัวแคบและต้นทุนต่ำ ที่เอื้อให้ลูกค้าประจำของการบินไทยอยู่กับการบินไทยได้ในราคาที่ถูกลง ทั้งนี้ เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ โดยเริ่มจากการเป็นหน่วยธุรกิจก่อน หลังจากนั้น จึงได้แยกออกมาตั้งเป็นบริษัท เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน และดำเนินการเป็นสายการบินแบบบริการเต็มรูปแบบ (Full Service) เช่นเดียวกับการบินไทย ราคาไม่แพงและสามารถบริหารต้นทุนได้ง่าย โดยใช้ฐานปฏิบัติการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อการเชื่อมโยงสนับสนุนการบินไทย

สำหรับบริษัท Wingspan ได้ตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 เพื่อแก้ไขปัญหาด้านบุคลากรระดับปฏิบัติการที่ไม่มีทักษะเฉพาะด้านเป็นส่วนใหญ่ (คลิกอ่าน : ทำความรู้จัก Wingspan เครือการบินไทย) และมีอัตราการ เข้า-ออก สูง ทั้งนี้ การปฏิบัติในแนวทางนี้เป็นเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจหลายแห่งดำเนินการมาก่อนการบินไทย

5. บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการปรับปรุงระเบียบจัดซื้อจัดจ้างและตรวจสอบการทุจริตตลอดมาแม้ไม่มีกรณีโรลส์-รอยซ์

บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญ เรื่องความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทฯ อย่างมากตลอดมา เห็นได้จากการปรับปรุงระเบียบพัสดุ มาเป็นระยะๆ โดยล่าสุด ในปี 2555 บริษัทฯ ได้ประกาศใช้ระเบียบพัสดุที่ปรับปรุงใหม่ โดยมีสาระที่สำคัญ คือบริษัทฯ จะไม่มีการจัดซื้อจัดหาผ่านคนกลาง รวมทั้งกำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงาน เพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจกัน ทั้งนี้ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทฯ เป็นไปตามมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีความยุติธรรมและโปร่งใส รวมทั้ง มีการจัดเก็บเอกสารครบถ้วน ตรวจสอบย้อนหลังได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ จะได้ดำเนินการจัดทำสัญญาคุณธรรม (Integrity Pact) สำหรับการจัดหาเครื่องยนต์ และการซ่อมบำรุงกับคู่ค้า เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการให้สินบนกับการจัดซื้อจัดจ้างของการบินไทย นอกจากนั้น ในการจัดทำแผนปฏิรูปบริษัทฯ ตั้งแต่ปี 2557 บริษัทฯ ได้บรรจุเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดหาไว้ในแผนปฏิรูปฯ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทฯ ได้รับการตรวจสอบจากภาครัฐเป็นระยะโดยล่าสุด คณะกรรมการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ที่แต่งตั้งโดย คสช. ได้มอบหมายให้ คณะอนุกรรมการฯ ซึ่งมี พล.อ.ไชยพร รัตแพทย์ เป็นประธานฯ เข้ามาตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของการบินไทย เมื่อกลางปี 2559 และไม่ปรากฏข้อท้วงติงแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อกลางปี 2559 บริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้าง โดยมีกรรมการบริษัทฯ 4 ท่าน ร่วมเป็นกรรมการ โดยมีพล.อ.ชาตอุดม ติตถะสิริ เป็นประธานคณะกรรมการฯ และได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 

6. สตง. เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ ตลอดมา และไม่เคยพบการแต่งบัญชีอย่างที่กล่าวอ้าง

บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ได้มีมติแต่งตั้งให้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่ง เป็นผู้สอบบัญชีและรับรองบัญชีของบริษัทฯ มาโดยตลอด ซึ่ง สตง. ได้ปฏิบัติงานตรวจสอบมาตรฐานการสอบบัญชี ไม่เคยพบการแต่งบัญชี หรือปิดบังการลงบัญชีสภาพเครื่องบินที่ผิดปกติแต่อย่างใด

7. กรณีการปลดระวางเครื่องบินและการขายเครื่องบินเป็นไปตามมาตรฐานและถือผลประโยชน์ของบริษัทฯเป็นที่ตั้งเสมอมา

บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า บริษัทฯ มีนโยบายและแนวทางหลักๆ ในการปลดระวางเครื่องบิน ดังนี้

1). เครื่องบินที่มีอายุใช้งานนาน ซึ่งจำเป็นต้องปลดระวาง โดยนำเครื่องบินรุ่นใหม่ที่ทันสมัยมาทดแทน แม้จะมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์มาอย่างสม่ำเสมอแต่ก็ยังได้รับการวิจารณ์จากผู้โดยสารว่ายังไม่เทียบเคียงคู่แข่งได้

2). เครื่องบินที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง ไม่คุ้มค่าต่อการนำมาใช้ เช่น เครื่องบินแอร์บัส เอ 340 ซึ่งในขณะที่ซื้อมาราคาน้ำมันค่อนข้างถูก ยังพอใช้แข่งขันทางธุรกิจบินข้ามทวีปได้  ต่อมาเมื่อราคาน้ำมันแพงมาก สายการบินคู่แข่งที่เลือกใช้เครื่องบินแบบนี้ก็ประสบปัญหาขาดทุนเช่นเดียวกับการบินไทย และมีการปลดระวางเครื่องบินรุ่นดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา การบินไทยได้พยายามนำเครื่องบินดังกล่าวไปบินในเส้นทางอื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถให้มีกำไรได้ จึงมีแผนทยอยการปลดระวางเครื่องบินเป็นระยะๆ และประกาศขาย แต่เนื่องจากเครื่องบินมือสองรุ่นนี้ไม่เป็นที่นิยมในตลาดการซื้อ-ขายเครื่องบิน ทำให้ราคาเครื่องบินที่จะขายมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ทางบริษัทฯ ควรได้รับจึงปรับปรุงการขายและหาลูกค้าที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น ขายให้กองทัพอากาศ เป็นต้น การบินไทยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจึงมีกระบวนการและระเบียบในการขายสินทรัพย์ที่รัดกุมจนบางครั้งเป็นอุปสรรคที่ทำให้การขายเครื่องบินเป็นไปได้โดยรวดเร็ว

8. การปรับปรุงเครื่องบินโบอิ้ง 747-400 เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้า (Cargo Freighter)

เครื่องบินดังกล่าวเป็นเครื่องบิน 4 เครื่องยนต์ที่มีอายุพ้นการบริการโดยปกติแล้วได้นำมาปรับปรุงเพื่อบินขนส่งสินค้า ซึ่งในขณะนั้นราคาน้ำมันไม่แพงพอที่เครื่องบิน 4 เครื่องยนต์จะทำกำไรได้ แต่ในระยะหลังที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น เครื่องบินขนส่งสินค้าหันมาใช้เครื่อง เครื่องยนต์ที่ประหยัดกว่าเครื่องบินรุ่นดังกล่าวมาก บริษัทฯ จึงทำแผนการขาย หรือให้เช่าในราคาที่บริษัทฯ มีกำไร
 

 

 

รายงานโดย นาตยา เอนกธนะเศรษฐ์  สำนักข่าวทีนิวส์