ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

วันนี้(14 ม.ค.61)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านหนองไผ่ ต.สีสุก อ.จักราช จ.นครราชสีมา ลูกหลานนายจาก ดอนกระโทก หรือที่ชาวบ้านส่วนใหญ่พากันเรียกติดปากว่า พ่อใหญ่จาก นักบุญแห่งเมืองโคราช สมัยมีชีวิตอยู่ได้เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง วัดบ้านหนองไผ่ และพาลูกหลาน ทอดกฐิน ผ้าป่า อย่างสม่ำเสมอ โดยจะเน้น ไปทำบุญที่วัดในพื้นที่กันดาร และฐานะยากจน

 

งานบุญทำบุญบรรจุอัฐ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แด่ คุณพ่อจาก ดอนกระโทก อายุ 90 ปี ได้สั่งเสียลูกหลานไว้ก่อนตายว่า อยากให้มีการแสดง เพลงโคราช โดยได้ว่าจ้าง เพลงโคราช คณะเชน หัวรถไฟ มาแสดง ให้แขกที่มาร่วมงานได้ชม เพื่อฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของคนโคราช หรือ นครราชสีมา ซึ่งเพลงโคราช  เป็นเพลงปฏิพากษ์คล้ายกับเพลงลำตัดมากกว่าหมอลำ การละเล่นเพลงโคราช นับว่าเป็นมหรสพพื้นบ้านเล่นอย่างเรียบง่ายที่สุดเพียงแต่หมอเพลงหญิง ชายแต่งกายพื้นบ้าน คือ ชายนุ่งผ้าโจงกระเบนไหมหางกระรอกใส่เสื้อดอกดวงมีผ้าขาวม้าคาดเอว และหญิงนุ่งชุดโจงกระเบน เช่นกัน ใส่เสื้อลูกไม้สวยงามขึ้นมาประชันฝีปาก เป็นคู่ ๆ บน โรงเพลง ไม่ต้องมีเสียงดนตรีและเครื่องใช้จังหวะ อะไรเลย มีแต่การแสดงไหวพริบปฏิภาณในการแสดงโวหารของหมอเพลง ตั้งแต่บนเกริ่น บทเชิญ บทเกี้ยว บทปลอบ บทคร่ำครวญไปจนจบที่เพลงลา ซึ่งกว่าจะถึงบทลานั้นส่วนมากจะเป็นเวลาใกล้รุ่งสาง  เพลงโคราช จึงเป็นศิลปะ วัฒนธรรมพื้นบ้านของจังหวัดนครราชสีมาหรือโคราช ซึ่งได้สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยเพลงโคราชนั้นมีเอกลักษณ์การร้องรำเป็นภาษาโคราช ซึ่งมีความไพเราะ ทำให้เกิดความเพลิดเพลินและสนุกสนาน

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

แต่ปัจจุบันเพลงโคราชค่อยๆ ได้รับความนิยมและความสนใจน้อยลง พวกเราจึงควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์ และสืบสานศิลปะวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ เพื่อให้ลูกหลานของเราได้สัมผัส ได้รับชมและรับความสนุกสนานเพลิดเพลินดีกว่าการเล่าขานเป็นตำนาน  

 

นายสมชาย จักราช อายุ 60 ปี หมอเพลงโคราช กล่าวว่า ประวัติของเพลงโคราช มีการเล่าขานกันมาว่า มีนายพรานคนหนึ่งชื่อ เพชรน้อย ออกไปล่าสัตว์ ในเขตหนองบุนนาก บ้านหนองบุนนาก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา คืนหนึ่งแกไปพบลูกสาวพญานาค ขึ้นมาจากหนองน้ำ มานั่งร้องเพลงคนเดียว พรานเพชรน้อยได้ยินเสียง จึงแอบเข้าไปฟังใกล้ ๆ แกประทับใจ ในความไพเราะ และเนื้อหาของเพลง จึงจำเนื้อและทำนองมาร้องให้คนอื่นฟัง ลักษณะเพลงที่ร้องเป็นเพลงก้อม หรือเพลงคู่สอง  และอีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ชาวโคราชได้เพลงโคราชมาจากอินเดีย โดยพระยาเข็มเพชรเป็นผู้นำมาพร้อมๆ กับลิเก และลำตัด โดยให้ลิเกอยู่กรุงเทพฯ ลำตัดอยู่ภาคกลาง และเพลงโคราชอยู่ที่นครราชสีมา เพลงโคราชระยะแรกๆ เป็นแบบเพลงก้อม คนที่เรียนรู้เพลงโคราช จากพระยาเข็มเพชร ชื่อตาจัน บ้านสก อยู่ "ซุมบ้านสก" ติดกับ สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

 

เพลงโคราชจะเริ่มเล่นตั้งแต่เมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด หลักฐานจากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา มีเพียงว่า สมัยท้าวสุรนารี ( คุณย่าโม ) ยังมีชีวิตอยู่ ( พ.ศ. 2313 ถึง 2395 ) ท่านชอบเพลงโคราชมาก เรื่องราวของเพลงโคราชได้ปรากฏหลัดฐานชัดเจน คือในปี พ.ศ. 2456 ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เสด็จมานครราชสีมาทรงเปิดถนนจอมสุรางค์ยาตร์ และเสด็จไปพิมาย ในโอกาสรับเสด็จครั้งนั้น หมอเพลงชายรุ่นเก่าชื่อเสียงโด่งดังมากชื่อนายหรี่ บ้านสวนข่า ได้มีโอกาสเล่นเพลงโคราชถวาย เพลงที่เล่นใช้เพลงหลัก เช่น กลอนเพลงที่ว่า

" ข้าพเจ้านายหรี่อยู่บุรีโคราชเป็นนักเลงเพลงหัด บ่าวพระยากำแหง ฯ เจ้าคุณเทศา ท่านตั้งให้เป็นขุนนาง .....ตำแหน่ง "

ความอีกตอนเอ่ยถึงการรับเสด็จว่า

" ได้สดับว่าจะรับเสด็จเพื่อเฉลิมพระเดชพระจอมแผ่นดิน โห่สามลา ฮาสามหลั่นเสียงสนั่น....ธานินทร์ "

( สมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษประจำกรมทหารม้านครราชสีมา จนถึง พ.ศ. 2462 เมื่อเสด็จนครราชสีมา นายหรี่ สวนข่า ก็มีโอกาสเล่นเพลงถวาย ) เพลงโคราชมีโอกาสเล่นถวายหน้าพระที่นั่งในงานชุมนุมลูกเสือครั้งที่ 1 ในนามการแสดงมหรสพของมณฑลนครราชสีมา เกี่ยวกับกำเนิดของเพลงโคราช มีทั้งที่เป็นคำเล่าและตำนานหลักฐานจากคำบอกเล่าของหมอเพลงอีกจำนวนหนึ่งเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสงครามระหว่างไทยกับเขมร เมื่อไทยชนะสงครามเขมรครั้งไร ชาวบ้านจะมีการเฉลิมฉลองชัยชนะ ด้วยการขับร้องและร่ายรำกันในหมู่สกที่เขาเรียกว่า " ซุมบ้านสก " ใกล้ ๆ กับชุมทางรถไฟ ถนนจิระและเริ่มเล่นเพลงโคราชกันที่หมู่บ้านนี้ ท่าทางการรำรุกรำถอย และการป้องหู มีผู้สันนิษฐานว่าประยุกต์มาจากการเล่นเจรียง ที่เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวสุรินทร์ผสมผสาน กับเพลงทรงเครื่องของภาคกลาง

ภาพ ฉัตรชัย สุตะพรม ทีมข่าวสุรินทร์นิวส์

เรียบเรียง ธนินท์ทัศนื ภูแก้ว ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักข่าวทีนิวส์ จ.สุรินทร์

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง

ร้องให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก!! “เพลงโคราช” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนโคราช บ้านเอ็ง