เกาะติด "เศรษฐกิจปี 59" ค่ายมือถือบูม !!! ทุ่มหลายหมื่นล้าน กระตุ้นเม็ดเงินในตลาดไทย !!

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง www.tnews.co.th

หลังจากจบการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz และ 1800 MHz ที่ กสทช.จัดขึ้นเมื่อปลายปี บรรดาโอเปอเรเตอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างระดมเงินลงทุนสำหรับปี 2559 อย่างเต็มที่

 

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า แนวโน้มการใช้งานโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องหลังจากนี้ คาดว่าสิ้นปีนี้เลขหมายโทรศัพท์จะเพิ่มเป็น 150 ล้านเลขหมาย จากปัจจุบันประมาณ 110 ล้านเลขหมาย เนื่องจากจะใช้เลขหมายโทรศัพท์เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ นอกเหนือจากโทรศัพท์สำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากขึ้น เช่น กล้องถ่ายรูป จีพีเอสรถขนส่งในภาคอุตสาหกรรม

ขณะที่การกำกับดูแลกิจการโทคมนาคมของ กสทช. นอกเหนือจากการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าบริการให้ถูกลงและคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เป็นไปตามที่กำหนดแล้ว ยังจะเร่งผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Mobile Economy เป็นอันดับ 1 ของอาเซียนในปี 2020 ภายใต้แผนงานระยะแรกปี 2016 -2017 ซึ่งจำเป็นต้องส่งเสริมในด้านต่าง ๆ อาทิ กำกับการขยายโครงข่ายโทรศัพท์ให้ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 กำกับราคาอุปกรณ์โทรศัพท์ให้เหมาะสมให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการและใช้งานได้อย่างน้อยร้อยละ 80 ของประชากร ส่งเสริมผู้ประกอบการโทรศัพท์ด้วยนโยบายภาครัฐสร้างผู้ประกอบการรายใหม่

สร้างธุรกิจจากการใช้นวัตกรรม Mobile Broadband ผ่านโครงข่าย 3จี และ 4 จี ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้าน Mobile Banking ให้บริการการเงินสะดวกและครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ที่จะเป็นส่วนกระตุ้นการใช้จ่ายเงินและเศรษฐกิจด้วย รวมถึงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตในชุมชนต่างๆทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการใช้ Mobile Broadband ในกลุ่มคนด้อยโอกาสและผู้พิการอย่างทั่วถึง

โดยนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ได้เตรียมเงินลงทุนไว้ 55,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี สำหรับการสร้างโครงข่าย 4G ที่ดีในระดับอาเซียน

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ตัวเลขการลงทุนยังไม่ได้สรุป แต่จะไม่น้อยกว่า 2 ปีที่ผ่านมาที่ใช้เงินลงทุนโครงข่ายราว 40,000 ล้านบาท

นายลาร์สนอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า การลงทุนของบริษัทในปี 2559 จะไม่น้อยกว่าในปีที่ผ่านมา ซึ่งใช้เงินลงทุนโครงข่ายกว่า 20,000 ล้านบาท

ด้านนายพิชญ์ โพธารามิก ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล เตรียมเงินลงทุนสำหรับขยายโครงข่ายของบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ ที่ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz ไว้ที่ 20,000 ล้านบาทสำหรับการลงทุนโครงข่ายใน 3 ปี

การลงทุนของค่ายโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตยังสอดคล้องกับดารเจริญเติบโต้ของการใช้บริการโปรแรมโซเซียลมีเดียต่างๆที่พบว่ากำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

ข้อมูลจากโซเชียล อิงค์ สำรวจคนไทยกว่า 655 คน เมื่อปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับการใช้โซเชียล เน็ตเวิร์คในชีวิตประจำวันตั้งแต่ ตื่นนอน จนจบวัน ได้ข้อมูลที่สำคัญและ น่าสนใจดังนี้ คนไทยใช้เฟซบุ๊คมากถึง  99% ใช้ไลน์84% ใช้อินสตาแกรม 56%  ใช้กูเกิลพลัส41% และใช้ทวิตเตอร์30%

หากแบ่งเป็นอัตราการใช้โซเชียล เน็ตเวิร์คเป็นช่วงกิจกรรมต่างๆ ใน 1 วัน  พบว่า คนไทยใช้ เฟซบุ๊คเป็นอันดับ 1 ในทุกๆ กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นตอนอยู่บนเตียงในช่วงตื่นนอนหรือก่อนนอน เข้าห้องน้ำ  เดินทาง ไปทำงาน รอเพื่อน ก็ใช้เฟซบุ๊คกันทุกกิจกรรม

จากการสำรวจของเอ็ตด้า ระบุว่า พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย  สมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ถูกใช้เชื่อมต่อมากที่สุดตลอด 24 ชั่วโมง กิจกรรมยอดนิยม  3 อันดับแรก ประกอบด้วย
การใช้บริการ โซเชียล เน็ตเวิร์ค คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 82.7%
การสืบค้นข้อมูล 56.6%
ใช้ติดตามข่าวสาร หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ 52.2%
พฤติกรรมเน้นหนักไปที่การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูล 62.2%
ใช้เพื่อรับ-ส่งอีเมล53.7%
เพื่อการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ 45.3%

นายภาวุธ ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Tarad.com หรือ ราคูเท็นตลาดดอทคอม กล่าวว่า ปี 2559 พฤติกรรม ต่างๆ ข้างต้นจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะการมาของเทคโนโลยี 4จี ราคาโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ได้มีราคาถูกลง ที่สำคัญอาจได้เห็นการ ลงทุนใหม่ๆ เพิ่มขึ้นของยักษ์โซเชียล ที่เข้ามาเปิดตลาดในไทยอย่างเต็มตัวตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยยอดรวมของคนใช้ โซเชียลมีสิทธิทะลุไปถึง 45-47 ล้านราย

"4จี จะเป็นตัวไดร์ฟให้โซเซียลเติบโต จะเห็นค่ายมือถือเข้ามาร่วมมือกับทาง โซเชียล ยักษ์ใหญ่มากขึ้น เพื่อครีเอทบริการต่างๆ ขณะที่ โซเชียลตัวหลักๆ ทั้งเฟซบุ๊คอินสตาแกรม รวมถึง ไลน์ อย่างไลน์เองนั้นทีมงานในไทยใหญ่มาก เฟซบุ๊คตั้งแต่เข้ามาตั้งสำนักงานในไทยก็ มีแคมเปญเจาะลูกค้าไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งทำไปพร้อมกับอินสตาแกรม ปีนี้จะเห็นการลงทุนของโซเชียล เหล่านี้ เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน"

การลงทุนทางด้านโทรคมนาคมแบบเต็มพิกัดดังกล่าว ก่อให้เกิดอุปสงค์ต่อการเจริญเติบโต้ทางภาคอุตสาหรรม โดยทางด้านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)ก็ได้ตั้งเป้าขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 2559 ไว้ที่ 450,000 ล้านบาท

การลงทุนทางด้านโทรคมนาคมแบบเต็มพิกัดดังกล่าว ก่อให้เกิดอุปสงค์ต่อการเจริญเติบโต้ทางภาคอุตสาหรรม โดยทางด้านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)ก็ได้ตั้งเป้าขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 2559 ไว้ที่ 450,000 ล้านบาท

ทั้งนี้มาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ของ BOI ประกอบไปด้วย
1) สิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนในคลัสเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ซูเปอร์คลัสเตอร์ (อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดิจิทัล ยานยนต์ ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์) จะได้รับการ "ยกเว้น" ภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และลดหย่อนภาษี 50% เพิ่มเติมอีก 5 ปี "ยกเว้น" อากรขาเข้าเครื่องจักร กับคลัสเตอร์อื่น ๆ (อุตฯ สิ่งทอ/เครื่องนุ่งห่ม เกษตรแปรรูป/อาหาร หุ่นยนต์ เครื่องมือแพทย์ อากาศยาน) ได้รับสิทธิประโยชน์ "ยกเว้น" ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3-8 ปี และลดหย่อนภาษี 50% เพิ่มเติมอีก 5 ปี

รวมถึง "ยกเว้น" อากรขาเข้าเครื่องจักร โดยมีเงื่อนไข คือ ต้องร่วมมือกับสถาบันการศึกษา/สถาบันวิจัย/Center of Excellence เพื่อพัฒนาบุคลากรและยกระดับเทคโนโลยี ขณะเดียวกันต้องยื่นขอรับส่งเสริมภายในปี 2559 และต้องมีรายได้ครั้งแรกภายในปี 2560 เพื่อเร่งรัดให้เกิดการลงทุนโดยเร็ว

2) สิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ (10 จังหวัด 23 อำเภอ 90 ตำบล) โดยระยะที่ 1 ได้แก่ จังหวัดตาก-สระแก้วตราด-มุกดาหาร-สงขลา-หนองคาย ระยะที่ 2 ได้แก่ เชียงราย-กาญจนบุรี-นครพนมนราธิวาส จะได้รับสิทธิประโยชน์ กิจการเป้าหมาย (13 กลุ่มอุตสาหกรรม) "ยกเว้น" ภาษีเงินได้สูงสุด 8 ปี และลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี ส่วนกิจการทั่วไปตามบัญชีกิจการที่ให้การส่งเสริม (จำแนกเป็นกลุ่ม A1, A2, A3, A4, B1, B2) จะได้รับการ "ยกเว้น" ภาษีเงินได้เพิ่มเติม 3 ปี จากเกณฑ์ปกติ กรณีได้รับการ "ยกเว้น" ภาษีเงินได้ 8 ปีแล้ว (กลุ่ม A1 และ A2) ให้ได้ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี

3) มาตรการเร่งรัดการลงทุน สำหรับโครงการที่ยื่นคำขอตั้งแต่ 1 มกราคม 2557-30 มิถุนายน 2559 โดยจะต้องเริ่มการผลิต/บริการและมีรายได้ภายในปี 2560 ให้มีผลบังคับใช้เฉพาะกิจการที่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ "ยกเว้น" ภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้ ผู้ประกอบการที่ลงทุนจริงไม่น้อยกว่า 70% ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน จะได้สิทธิประโยชน์ "ยกเว้น" ภาษีเพิ่มเติม 4 ปี+ลดหย่อน 50% 5 ปี

ผู้ประกอบการที่ลงทุนจริงไม่น้อยกว่า 50% ภายในเดือนมิถุนายน 2559 "ยกเว้น" ภาษีเพิ่มเติม 3 ปี+ลดหย่อน 50% 5 ปี, ผู้ประกอบการที่ลงทุนจริงไม่น้อยกว่า 50% ภายในเดือนธันวาคม 2559 "ยกเว้น" ภาษีเพิ่มเติม 2 ปี+ลดหย่อน 50% 5 ปี และ ผู้ประกอบการที่ลงทุนจริงไม่ถึง 50% ภายในปี 2559 แต่สามารถผลิต/บริการและมีรายได้ภายในธันวาคม 2560 จะได้รับการ "ยกเว้น" ภาษีเพิ่มเติม 1 ปี (สำหรับพื้นที่ทั่วไป) หรือ 2 ปี (เขตเศรษฐกิจพิเศษ)

นับตั้งแต่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (BOI) ประกาศยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี (2558-2564) เน้นส่งเสริมการลงทุนที่มีคุณค่าต่อประเทศ และส่งผลดีต่อสังคม