ถึงเวลาต้องปฏิรูปพระสงฆ์

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

 

 

โดย วสิษฐ เดชกุญชร

 

 


 หลังจากที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ทำรัฐประ หารและยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 แล้วได้มีการ ตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้น โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติขึ้น  สภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้น 18 คณะ เพื่อเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อ ให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ ในจำนวนนี้มีคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม วัฒนธรรม จริยธรรม และการศาสนารวมอยู่ด้วย 

 


 นอกจากนั้นหลังจากที่นายกรัฐมนตรีปรารภว่าพระบางรูปวัดบางวัดมีการสอนที่ผิดเพี้ยน และมีเงินเป็นจำนวนมาก สภาจึงได้ตั้ง “คณะกรรม การปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา” ขึ้นด้วย โดยมีคุณไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธานคณะกรรมการ

 


 ถ้าหากจะศึกษาข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม วัฒน ธรรม จริยธรรม และการศาสนาแล้วก็จะเห็นว่า คณะกรรมาธิการมองข้าม หรือมิได้คำนึงถึงปัญหาพระสงฆ์ในศาสนาพุทธโดยเฉพาะ หากแต่กล่าวถึง ศาสนาต่างๆที่มีอยู่ในเมืองไทยโดยทั่วไป และเสนอแนะให้ใช้คำสอนในศาส นาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมมากกว่า
 


 ส่วนคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจ การพระพุทธศาสนานั้น หลังจากที่ตั้งขึ้นแล้วและมีการประชุมกันเพียง 5 ครั้ง ก็มีปฏิกิริยาคัดค้านอย่างรุนแรงจากพระสงฆ์บางรูปและผู้สนับสนุน จนคณะกรรมการต้องยุติการประชุม
 

 

 ก่อนยุติ คณะกรรมการได้สรุปปัญหาและการแก้ไขเสนอต่อสภาปฏิ รูปแห่งชาติไว้ 5 ประเด็น ประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของ วัดหรือของพระสงฆ์ซึ่งยังไม่รัดกุม แม้กฎหมายคณะสงฆ์จะกำหนดให้เจ้า อาวาสเป็นผู้ดำเนินการ และมีคณะกรรมการ แต่ก็ปรากฏว่ามีการตั้งคน ของเจ้าอาวาสหรือญาติพี่น้องเป็นกรรมการ ทำให้อำนาจที่แท้จริงตกอยู่ กับเจ้าอาวาส อีกประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับปัญหาพระสงฆ์ซึ่งมีคุณภาพต่ำ ไม่มี ระบบกลั่นกรอง ใครจะเข้าไปบวชก็ได้ และเข้าไปเป็นพระแล้วก็ประพฤติ ปฏิบัตินอกพระธรรมวินัย แต่อ้างว่าปฏิบัติตามแนวทางพระพุทธศาสนา มี การนำเอาลัทธิคำสอนของครูบาอาจารย์ของตนไปปลอมปนและใช้แทน พระธรรมวินัย  ทำลายความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎก เป็นอันตรายต่อ ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงรากฐาน
 

 

 คณะกรรมการได้เสนอแนวทางการปฏิรูปไว้ 4 ประการคือ 1) ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุ โดย อย่างน้อยต้องกำหนดให้ทรัพย์สินรวมถึงผลประโยชน์อื่นใดทีี่ได้มาเพราะ การปฏิบัติหน้าที่ของพระสงฆ์ตกเป็นของพระพุทธศาสนา และให้แก้ไข

 

 บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1623 ให้ทรัพย์สิน ของพระภิกษุที่ได้มาในขณะที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุรูปนั้นเมื่อพระภิกษุรูปนั้นถึงมรณภาพ เว้นแต่จะได้จำ หน่ายไปในขณะยังมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม 2) แก้ไขปรับปรุงกฎมหาเถร สมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ หรือพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 โดยกระจายอำนาจการปกครอง คณะสงฆ์ แทนแบบเดิมที่เป็นการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ และให้การ แต่งตั้งและถอดถอนเจ้าอาวาสเป็นไปตามพระธรรมวินัย โดยให้วัดเป็น อิสระในการดำเนินการ และเปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม 3) ให้นำพระธรรม วินัยมากำหนดเป็นแนวทางให้พุทธบริษัทมีส่วนร่วมในการตรวจสอบพระ ภิกษุสงฆ์ได้ 4) ปฏิรูปการศึกษาของคณะสงฆ์ โดยเฉพาะการศึกษาปริยัติ ธรรม ทั้งแผนกบาลีและแผนกธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบการ ศึกษาให้กับพระสงฆ์ ซึ่งในปัจจุบันขวนขวายเรียนวิชาทางโลกมากกว่าวิชา ทางพระพุทธศาสนา


 ผมไม่ได้ติดตามข่าวเกี่ยวกับข้อเสนอของคณะกรรมการนี้ จึงไม่ทราบ ว่า ข้อเสนอดังกล่าวได้ถึงสภาปฏิรูปแห่งชาติ และผ่านไปยังสภาขับเคลื่อน การปฏิรูปประเทศแล้วหรือยัง แต่แม้จะถึงแล้วผมก็เห็นว่าการพิจารณา แบบสภา ซึ่งยังจะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการและหรือคณะอนุกรรม การอีกจะช้าไม่ทันการณ์ เพราะความเสียหายที่เกิดแก่สถาบันสงฆ์นั้นบัด นี้กว้างขวางร้ายแรงเสียแล้ว เมื่อท่านนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ปรารภเรื่องนี้ ขึ้นเอง ผมจึงเห็นว่าสมควรที่ท่านจะใช้อำนาจพิเศษตามาตรา 44 ของรัฐ ธรรมนูญ บันดาลให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ดังที่คณะกรรมการเสนอโดย เร็วที่สุดที่จะทำได้ ก่อนที่รากฐานของพระพุทธศาสนาและสังคมไทยจะ สั่นคลอนเสียหายไปมากกว่าน.ี้