"สนธิญาณ" ชี้! "รธน." ไม่ใช่คำตอบของสังคมไทย ถ้าปชช.ไม่มี สำนึกและการมีส่วนร่วม ก็จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไปไม่สิ้นสุด

ติดตามข่าวสารได้ที่ http://www.tnews.co.th

 

รายการ "สถาพรถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำวันที่  4 กุมภาพันธ์ 2559  ออกอากาศทางช่องทีนิวส์  ดำเนินรายการโดย คุณสถาพร เกื้อสกุล (ถา) ได้สัมภาษณ์คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย) กรรมการผู้อำนวยการ บริษัททีนิวส์ทีวี โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้


สนธิญาณ : สวัสดีครับแฟนข่าวทีนิวส์ท่านผู้ชมที่รักทุกท่าน ประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญก็มีให้พูดกันทุกวัน การหยิบออกมาอะไรอย่างไรประเด็นที่เป็นสาระสำคัญที่สุดก็ต้องมาพิจารณากันว่าที่สุดของที่สุดแล้วต้องการอะไรและประชาชนต้องการอะไรจากรัฐธรรมนูญ ผมอยากจะกลับมาพูดถึงเรื่องความหมายของคำว่าระบอบประชาธิปไตยสักนิดไม่ใช่เรื่องจะไปแนะนำหรือพูดเรื่องความรู้ให้ท่านผู้ชมหลายท่านก็เป็นนักวิชาการและที่สำคัญ นักวิชาการทั้งหลายเขาก็ได้ให้คำนิยามคำจำกัดความมาโดยตลอดของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย ผมมีประเด็นที่อยากนำเสนอว่าน่าแปลกใจไหมครับที่ในสถานการณ์ปัจจุบันทำไมคนไทยถึงนิยมเผด็จการ ทำไมคนไทยถึงไม่ศรัทธาเชื่อมั่นประชาธิปไตย ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ไม่คิดว่าบรรดานักเลือกตั้งเป็นเทพเจ้าที่ลงมาโปรดคนไทย คนไทยกลับคิดว่า คสช.และเผด็จการต่างหากคือเทพเจ้าต่างหากที่ลงมาโปรดคนไทย คนไทยทั้งประเทศโง่เง่า คนไทยทั้งประเทศอับจนปัญญา แต่จริงๆไม่ใช่คนไทยทั้งประเทศหรอกที่หนุนพล.อ.ประยุทธ์ในขณะนี้ เดี่ยวพูดก็จะเกินเลยไป คนไทยคิดได้ไม่เหมือนนักวิชาการอะไรอย่างไร ที่พูดประเด็นนี้ไม่ได้ลงประเด็นในรายละเอียดของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่ใครมาคัดค้านหรือว่าผมสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับอาจารย์มีชัยไม่ใช่แบบนั้นครับ แต่สิ่งที่ผมจะเรียนผมพากลับมาที่ความรู้สึกอันนี้เพื่อพูดกันในประเด็นหนึ่งว่าท้ายที่สุดแล้วคุณจะปกครองในระบอบไหนก็ตามแต่ สำนึกและความรู้สึกของประชาชนส่วนใหญ่ต่างหากจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เคยมีสำนึกและประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้เกิดขึ้นเป็นประชามติที่จะต้องเหนื่อยยากมากกว่าการเดินไปหยอดบัตรเลือกตั้งก็คือการออกมาชุมนุมในนามของมวลมหาประชาชน กปปส. ในประชามติการออกมาชุมนุมที่แสดงออกมาโดยคนเป็นล้านนั่นคือส่ิงที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของคนไทยไม่ใช่ทั้งประเทศหรอกครับ เป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดสิ่งนี้มาก่อนสะท้อนอะไรให้เห็นในสังคมไทย การที่ออกไปหย่อนบัตรเลือกตั้งแสดงสิทธิมีประเด็นมากมาย เพราะมีรถมารอรับอยู่แล้วมีคนที่ฉันรักฉันชอบมีเงินมีทองมาล่อ เรื่องเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวกับประชาธิปไตยเลยคนที่ฉันรักฉันชอบเขาจะได้มีอำนาจไม่ใช่เพราะรู้สึกสำนึกในประชาธิปไตยหรอกครับ เอารถมารับก็ต้องไปหน่อยเงินทองก็ชัดเจน เพราะฉะนั้นเวลาพูดถึงเรื่องเลือกตั้งหรือบัตรเลือกต้องก็เหนื่อย แต่การที่คนรู้สึกว่าก้าวเท้าออกจากบ้านแล้วต้องไปประท้วง เวลาเราประท้วงได้ 5พันหรือหมื่นนึงก็เป็นเรื่องใหญ่แล้ว แสนนึงเป็นเรื่องใหญ่อันนี้เป็นหลานล้าน คำว่าความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นของผู้คนเหล่านั้นคืออะไรครับ คือความรู้สึกสำนึกต่อบ้านเมือง สำนึกต่อสังคมโดยส่วนรวมโดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้สึกส่วนตนนี่ล่ะครับคือประชาธิปไตย นี่ล่ะครับคือสิ่งที่นักวิชาการนักการเมืองทั้งหลายพึงตระหนักมากกว่าการอ้างว่าตัวเองมาจากการเลือกตั้งหรือฉันไปศึกษาเรื่องประชาธิปไตยมา กฎหมายเป็นสุดยอดของประเทศนี้ นี่ควรสำนึก เพราะถ้าเราพูดกันผมก็จะเรียนว่าคุณจะร่างรัฐธรรมนูญที่20 เดี๋ยวก็มีฉบับที่21 22 23 24 25 ตลอดไป พูดแบบนี้สนธิญาณก็ไม่รักประชาธิปไตย ผมก็มีวิธีรักแบบผม ถ้าไม่มาในเรื่องความสำนึกของประชาชนก็ไม่มีทาง แต่การสำนึกของประชาชนที่กว้างขวางในการชุมนุมของมวลมหาประชาชนที่ผ่านมาผมว่าสิ่งนั้นควรจะกลับมาคิดใคร่ครวญกัน ต้องกลับมาดูว่ารัฐธรรมนูญนี่ก็ไม่ให้สิทธิ์ให้นี่ กลับมาดูสิครับว่าที่เกิดปัญหาทางการเมืองอยู่ในสังคมไทยในปัจจุบันมาจากปัญหาอะไร มาจากนักการเมืองที่สร้างกลไกกระบวนการการโกงการกิน พาตัวเองไปเชื่อมโยงกับสังคมโลกโดยเฉพาะสังคมทางธุรกิจและทุนที่กำลังหมุนเวียนอยู่ในสังคมโดยภาพรวมในขณะนี้ และแปรเปลี่ยนไปรับใช้มหาอำนาจทั้งหลาย ผมว่านักวิชาการควรไปพิจารณาในขณะที่สังคมหมุนไปจนตามไม่ทันไม่รู้ว่าโลกกำลังเกิดอะไรขึ้นประเทศนี้กำลังเกิดอะไรขึ้น ดุลอำนาจต่างๆในสังคมยังเป็นเหมือนที่คุณคิดกันอยู่หรือแปรเปลี่ยนไปแล้ว ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนทุกวันที่มีเรื่องต่างๆเข้ามากระทบแปรเปลี่ยนไปเลย ทำให้จิตสำนึกทางความคิดคำว่าประชาธิปไตยคำว่าบ้านเมืองแต่เดิมเหมือนหรือไม่เหมือนอย่างไร หากเราคิดทบทวนสิ่งที่ คสช. เขาทำมาดูกันว่าสิ่งไหนเป็นเรื่องที่ คสช. ทำเพื่อตัวเอง คนละประเด็นกับเรื่องชอบหรือไม่ชอบนะครับ มาดูกันก่อนว่า คสช.ทำรัฐธรรมนูญนี้เพื่อตัวเองเพื่อการสร้างฐานอำนาจก็มีดูก็หยิบประเด็นนี้มา สองมีประเด็นที่ทุกคนมองเห็นซึ่งผมเองก็ไม่ค่อยสบายใจคือเรื่องจริงที่ คสช. คิดว่าข้าราชการประจำเป็นผู้ที่มีความสำคัญเป็นกลไกในการขับเคลื่อนบ้านเมืองนี่ผมไม่เห็นด้วยแต่ไม่ทั้งหมด ข้าราชการทั้งหมดเป็นกลไกประจำในการขับเคลื่อนบ้านเมืองแต่ไม่ใช่ในฐานะผู้ชี้นำ

 

 

สถาพร : แล้วใครคือผู้ชี้นำครับ

 


สนธิญาณ : ผู้ชี้นำคือคนที่มาจากการเลือกตั้ง มาจากการเมืองเพียงแต่ที่ผ่านมาคนที่มาชี้นำไปในทิศทางที่ย่ำแย่จนถึงขั้นเลว จึงทำให้ข้าราชการประจำทั้งหลายดุลอำนาจดูท่าทางเหมือนกับรับใช้นักการเมือง ท่านบันดาลอย่างนู้นอย่างนี้มาแต่ท้ายสุดคนที่ดุลอำนาจอยู่ที่ข้าราชการประจำ ดังนั้นเราก็กลับมาดูในประเด็นต่อไปว่าที่มาถกเถียงเลือกบัตรเลือกตั้งสองใบ ใบเดียวสัดส่วนผสมหรือไม่ผสมกลับมาดูว่าตอนที่เขาพูดถึงเจตนารมณ์ที่มาใบเดียวสองใบเป็นอย่างไร มาถกเถียงกันตรงนี้ครับไม่ใช่บอกว่าเลวหรือไม่เลวดีหรือไม่ดี มาถกเถียงกันว่าเจตนารมณ์ของหนึ่งใบฟากฝั่งคนร่างฯเขาก็มีเหตุผลของเขาผมไม่ได้บอกถูกหรือผิดนะครับ ผมอาจจะไม่เห็นด้วย ผมอาจจะเห็นด้วยกับบัตรเลือกตั้งสองใบ แต่ว่ามาดูก่อนว่าที่เขาพูดว่าใบเดียวทำให้พรรคคัดคนด้วยความรับผิดชอบไม่ใช่เอ บี ซี ดี ทำอะไรก็ยัดทำให้เสร็จไป ดูถูกประชาชน พรรคการเมืองที่ผ่านมาทำแบบนี้จริง ๆ เขาก็ว่านี่คือเหตุผล ฝั่งนักการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคไหนก็บอกว่าสองใบทำให้ประชาชนเขาแยกไม่ใช่มาเหมารวมมาประชาชนเขาเลือกพรรคนโยบายแบบนี้ ให้ประชาชนเลือกบุคคลที่เขารัก ผมสงสัยว่าแล้วพรรคกับคนไม่เป็นอันเดียวกันหรือครับ แน่นอนครับเขามีความชอบในเรื่องตัวบุคคล แต่ความชอบในเรื่องตัวบุคคลนั้นท่านจะพัฒนาโครงสร้างทางการเมืองให้แข็งแรง ต้องพัฒนาพรรค นี่สำคัญนะครับกลไกของพรรคการเมืองต้องเป็นกลไกที่มีความสำคัญและความแข็งแรง ทีนี้มาดูกันสิครับว่าเหตุผลทั้งสองฝ่ายกลไกไหนที่จะนำพาไปสู่ทำให้เกิดความแข็งแรงของพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องมีปาร์ตี้ลิสต์เลือกตั้งกันภายในพรรคกันก่อนทำโน้นทำนี่ ผมว่าแยกแยะมาเป็นประเด็นและหยิบมาพูดกัน อันนี้ความหมายรวมผมหมายถึงรวมคณะกรรมการร่างด้วยนะครับ รายการก่อนหน้านี้มีอะไรนะครับถา

 


สถาพร : รายการเปิดกล่องรัฐธรรมนูญครับ

 


สนธิญาณ : เปิดกล่องรัฐธรรมนูญทำมาดีแล้วครับ สั้นๆ และทำให้คนเข้าใจแต่ประเด็นเหล่านี้หยิบมาให้ชัดเจนและไปหยิบเอาความเห็นของฝ่ายค้านมาเปิดเสียงด้วย ว่าที่บอกว่าเลือกตั้งใบเดียวสองใบเป็นอย่างไร และจิตเจตนาที่จะนำพาไปให้เกิดประเด็นเหล่านี้คืออะไร สรุปคือจะเรียนว่าระหว่างที่มาพูดกันเรื่องเนื้อหาเป็นอย่างไร สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะให้พิจารณาก็คือสิ่งที่เราจะทำทั้งหมดต้องนำพาไปสู่การยกระดับโครงสร้างทางความคิดของประชาชนและกลับไปพิจารณาว่าประชาชนในปัจจุบันเขาเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใน กปปส. ผมคิดว่าประชาชนให้ความสำนึกในการรับผิดชอบต่อประเทศชาติมากขึ้นและนี่คือวิวัฒนาการครับ