จำให้ขึ้นใจ!! "บิ๊กตู่" แนะนำเทคนิค 7 ข้อ อ่านรัฐธรรมนูญฉบับ "มีชัย"

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

 


หลังจากที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญหรือ กรธ.เปิดเผยเนื้อหาทั้ง 270 มาตราออกมาเป็นที่เรียบร้อย และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้สะท้อนมุมมอง และแนวทางการแก้ไขออกมา

 


ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ก็ออกมาระบุว่าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษารัฐธรรมนูญ
 

 

ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" โดยระบุว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษารัฐธรรมนูญร่างที่ 1 ซึ่งต้องระมัดระวังไม่เปิดทางให้ใครที่ไม่มีธรรมาภิบาลเข้ามาเป็นรัฐบาล ต้องช่วยกันให้สังคมมีความสุขเหมือนเดิม และแม้แต่ตนเองก็ต้องศึกษาร่างรัฐธรรมนูญเช่นกันในฐานะที่เป็นประชาชนคนหนึ่ง

 


พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวต่ออีกว่า รัฐธรรมนูญนั้นสำคัญ แต่ที่สังเกตดูเหมือนกับทุกคนคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญคือยาวิเศษ หรือสูตรสำเร็จในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ถ้าเราฟังคนโน้นคนนี้พูด ซึ่งไม่ใช่คนร่าง อาจทำให้สับสน

 


พร้อมแจงหลักการในการศึกษาร่างรัฐธรรมนูญของตนเองว่าใช้หลักการดังนี้


1. ดูทีละหมวด ถ้าอ่านไปแล้วไม่ติดใจสงสัยก็ผ่านไป


2. สงสัยตรงไหนก็ทำเครื่องหมายไว้


3. อาจจะต้องไปศึกษาเปรียบเทียบว่าต่างจากของปี 40 อย่างไร ปี 50 อย่างไร


4. นำปัจจัยต่างๆ มาวิเคราะห์ โดยต้องเอาปัญหาก่อนเดือน พ.ค.57 มาคลี่ออก ดูว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะแก้ปัญหาทั้งหมดได้หรือไม่ ถ้าได้ได้อย่างไร เพราะช่วงต่อไปนี้เป็นช่วงสำคัญเรื่องของการปฏิรูปประเทศ เราจะต้องดำเนินการไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ถ้าเรายังไม่มีวินัย ไม่เคารพกฎหมาย ไม่วางแผนอนาคตประเทศให้ชัดเจน ประชาธิปไตยของไทยจะกลับไปที่เดิม มีความขัดแย้งกัน และอาจจะมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ


5. เราจะกำหนดอนาคตประเทศไทยกันอย่างไรในเวทีโลก ก็ต้องดูว่า 20 ปีต่อจากนี้ หรือทุก 5 ปี ประเทศไทยจะอยู่ตรงไหนในเวทีโลก เราต้องกำหนดมาตรฐานไว้


6. เรื่องรัฐธรรมนูญและกฎหมายทุกฉบับ ถ้าเรามองว่าคือยาวิเศษ แล้วแก้ไขได้ทุกอย่าง ไปทบทวนดู จะแก้ไขได้ทั้งหมดไหม ความขัดแย้ง ปัญหายิ่งแรง ความขัดแย้งก็สูงขึ้น ถ้าไม่เข้มแข็งพอก็มีปัญหาอีก ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ประชาชนไม่เชื่อมั่น ไม่เชื่อถือ เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องมีความสมดุลกัน


7.กฎหมายการปกครอง การบริหาร กฎหมายลูก บทเฉพาะกาลต่างๆ ต้องดูความสัมพันธ์กันให้ต่อเนื่องด้วย

 


พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่ออีกว่า “เพราะฉะนั้นอย่าไปกังวลกับเรื่องรัฐธรรมนูญมากนัก มันอยู่ที่ใจของทุกคน รัฐธรรมนูญใจสำคัญที่สุด ประเทศไทยนั้นเราจำเป็นต้องปฏิรูปหรือไม่ อันนี้เป็นสิ่งที่อยากจะถามประชาชนทั้งประเทศว่ามันจำเป็นต้องปฏิรูปไหม”

 


ขณะที่ พันเอก วินธัย สุวารี โฆษก คสช. กล่าวถึงกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชติ (นปช.) ออกมากล่าวถึงกรณที่ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) จะสนับสนุนให้ นักศึกษาวิชาทหาร (นศท.) เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรณรงค์เพื่อให้ประชาชนทำความเข้าใจและออกมาใช้สิทธิ์ นั้นอาจทำไม่ได้เพราะเป็นการชี้นำนั้น ว่า ไม่อยากให้มองติดภาพของการเมืองอย่างเดียว เพราะเรื่องของการออกมาใช้สิทธิเป็นธรรมเนียมหลักของประชาธิปไตย แต่ส่วนจะเลือกอะไร ก็คงเป็นสิทธิ์ของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว ฉะนั้นการร่วมรณรงค์จึงน่าเป็นเรื่องปกติตามครรลองของประชาธิปไตย ที่คนในสังคมทุกคนสามารถมีส่วนร่วม ไม่ใด้เป็นการชี้นำใหเลือกแต่อย่างใด

 


โฆษก คสช.กล่าวอีกว่า รัฐบาลและ คสช. ไม่ได้เร่งให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติ หรือบังคับให้ใครประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่บางคนเข้าใจ สำหรับร่างรัฐธรรมนูญ หลายๆ คนมองว่าเป็นเหมือนเรื่องกฏหมายกึ่งวิชาการ ถ้าไม่ตั้งใจหรือมีสมาธิพอ อาจทำให้รับรู้ได้ไม่เต็มที่หรืออาจเข้าใจได้ไม่ครบถ้วน

 


ทางผู้เกี่ยวข้อง จึงอยากเน้นให้ทุกคนได้มีโอกาสศึกษาก่อน เพราะที่ผ่านมาเริ่มพบว่ามีบางคนบางกลุ่มมีความพยายามบิดเบือนในเนื้อหาหาจุดอ่อนมาติแบบหลวมหลวมๆ หวังสร้างปั่นกระแสในทางการเมือง ซึ่งเท่าที่ติดตามข้อมูลมา มีกลุ่มผู้เสนอความเห็นบางกลุ่มที่เจตนาไม่ชัด เหมือนตั้งธงจะคว่ำรัฐธรรมนูญ กับ บางกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเจตนาอยากปรับแก้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปจริง ๆ

 


ส่วนที่มีการใช้คำว่า เป็นประชามติลวงโลก อาจเป็นหนึ่งในวาทะกรรมของกลุ่มที่ตั้งธงไว้ในใจอยู่แล้ว เชื่อว่าสังคมคงรู้เท่าทัน การเสนอความเห็น เพื่อก่อให้เกิดพัฒนาการ สามารถทำได้มีหลายความเห็นได้เจาะเป็นประเด็นๆ ไป ไม่ใช่เหมารวมมาลอยๆ โดยไม่มีรายละเอียดและคำอธิบายที่เป็นสากลเพียงพอ ขณะนี้เชื่อว่ามีหลายคนอาจยังไม่ได้ศึกษาจึงอยากเชิญชวนให้ศึกษาโดยละเอียดจะได้ไม่ตกเป็นเครื่องมือปลุกปั่นให้ใคร

 


อย่างไร็ตาม ยืนยัน ว่า คสช.ไม่ได้มองความเห็นต่างเป็นภัยคุกคามแต่เป็นเรื่องของเจตนาในการแสดงออก เพราะต้องไม่ทำให้สังคมสับสน เหมือนพยายามเอาเรื่องของ รัฐธรรมนูญมาผสมเคลื่อนไหวเพื่อมุมทางการเมืองด้วย

 


ในขณะที่ ช่วงนี้เป็นการพิจารณาร่างรัฐะรรมนูญ เพื่อทำให้ร่างรัฐธรรมนูญสมบูรณ์  กลับมีกลุ่มทางการเมืองที่ออกมาวิพากษ์วิจารร์อย่างต่อเนื่อง

 


ซึ่งช่วงนี้ก็เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญต่อจากนี้ก็คือการทำประชามตินั่นเอง

 


เริ่มกันที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่หลายองค์กรแสดงความกังวลว่า ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะทำให้สิ่งที่เคยผลักดันมาหายไป ว่าหากองค์กรไหนคิดว่า กรธ.ยังไม่ครอบคลุม ก็เสนอมาได้ กรธ.จะรับพิจารณาทั้งหมด แต่ยืนยันว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นการเขียนต่อยอด
       

 

 "ตอนนี้เราพยายามเอาหูแนบดิน คอยรับฟังความเห็นที่ส่งมาจากทุกกลุ่ม ถ้าเราอธิบายแล้วกลุ่มต่างๆ คิดว่ายังขาดตกบกพร่อง หากต้องเพิ่มมาตรา เราก็เพิ่ม ไม่เป็นอะไร" นายมีชัย กล่าว

 


นายมีชัย กล่าวอีกว่า ในประเด็นที่มาของ ส.ส.นั้น สำหรับการใช้บัตรเลือกตั้งแบบใบเดียวมีพื้นฐานคิดที่ว่า ทั้งตัวบุคคลและพรรคถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ดีก็ไปไม่รอด ดังนั้นจะต้องพิจารณาทั้งตัวบุคคลและพรรคพร้อมๆ กัน ส่วนระบบการเลือกตั้งจัดสรรปันส่วน เพื่อให้ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย ส่วนข้อวิจารณ์ที่ว่า กรธ.พยายามเปิดช่องให้มีคนนอกเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ถ้าพรรคไหนไม่ชอบก็ไม่ต้องเสนอ หรือจะระบุเป็นกฎของพรรคก็ได้         

 


นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมการทำประชามติว่า จะมีการประชุมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งจะมีการหารือในประเด็นต่างๆ เช่น การกำหนดโทษผู้ขัดขวางการทำประชามติ ครั้งนี้จะได้พูดคุยกันว่าจะห้ามอะไรบ้าง และสมควรจะมีหลักเกณฑ์อย่างไร ซึ่งวิธีกำหนดโทษทำได้ 3 วิธี คือใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 การออกพระราชกำหนด และพระราชบัญญัติ ซึ่งโทษก็มีได้ทั้งโทษทางอาญา โทษทางปกครอง โทษทางแพ่ง และการคาดโทษ นอกจากนี้จะหารือเรื่องกำหนดวันออกเสียงประชามติ

 


นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงถึงการประชุม สนช. เพื่อเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญว่า สนช.มีวัตถุประสงค์ยกร่างรัฐธรรมนูญนี้นำไปสู่การทำประชามติตามโรดแม็พของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังนั้น ในการประชุมไม่ได้เป็นการตำหนิ หรือยกยอ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และไม่มีวัตถุประสงค์ล้มรัฐธรรมนูญ แต่อยากทำหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติ และสนับสนุนให้รัฐธรรมนูญออกมาดีผ่านการทำประชามติ
         
        


"ตนคิดว่าผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีอำนาจเขาคิดไว้แล้ว ดังนั้น ชัดเจนว่ายังไงก็ต้องมีการเลือกตั้งในปี 60 เพราะนายกฯ ได้บอกไว้แล้ว แต่ท่านไม่เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จำต้องมอบให้ฝ่ายกฎหมายดูแลทั้งผมและนายวิษณุ เพราะฉะนั้น อย่าเซ้าซี้ถามท่าน เพราะท่านก็จะพูดประชด เดี๋ยวสื่อก็โกรธท่านและท่านก็โกรธสื่อ และไม่ต้องห่วงเรื่องการใช้มาตรา 44 เพราะไม่ใช้อย่างแน่นอน

 


นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยว่า ยังไม่มีองค์กรหรือกลุ่มบุคคลใด ส่งเอกสารข้อเสนอแนะความคิดเห็นในการปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมายัง กรธ. มีเพียงข้อมูลความเห็นจากการเปิดเวทีรับฟังของหลายๆ ภาคส่วน ซึ่งทางอนุกรรมการฯ ได้เก็บรวบรวมไว้ และยืนยันจะนำมาพิจารณาทั้งหมดอย่างแน่นอน

 


นายอุดม กล่าวอีกว่า จากข้อวิตกกังวลและกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องการจะขยายเวลาทำกฎหมายลูกนั้น กรธ. กำลังฟังกระแสสังคมและขอยืนยันไม่ได้มีเจตนาถ่วงเวลา แต่เป็นความกังวลของ กรธ. ว่า ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ควรที่จะมีกฎหมายอย่างน้อย 10 ฉบับ เสร็จสมบูรณ์
ขณะที่ทางด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงร่างรัฐธรรมนูญตอนหนึ่งว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ผมปรารถนาที่จะเห็นรัฐธรรมนูญที่จะบังคับใช้ต่อไปมีความยั่งยืน เป็นกติกาที่เป็นประชาธิปไตยเพื่อให้ประเทศเดินหน้า แก้ปัญหาในอดีต และเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ

 


นายศุภชัย ศรีหล้า อดีต ส.ส.อุบลราชธานี อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า 2 เรื่องหลักที่เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของร่างกายของรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย คือ 1.กลไกการปราบโกง 2.การกระจายอำนาจ จะขาดเรื่องใดเรื่องใดไปไม่ได้

 


ส่วนทางด้านนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย โพสต์เฟซบุ๊ค ว่าสังคมไทยต้องวนเวียนอยู่ในวิกฤตที่เกิดจากการทำลายล้างและการกระทำอัน ‘อยุติธรรม’ ภายใต้ข้ออ้างของการจัดการกับคนโกงคนเลวให้สิ้นซาก ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำไปอย่างผิดฝาผิดตัวและไม่รับผิดชอบใดๆต่อความเสียหายที่ตามมา เช่น ในกรณีพรรคไทยรักไทย