จริงหรือ !! "ทักษิณ" ชนะ - จาตุรนต์หวังกลับบ้านหลังเลือกตั้ง

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

 


หลังจากที่เงียบหายไปนานในที่สุด นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็กลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งโดยการวีดีโอคอลมาที่งานเทศกาลปีใหม่และตรุษจีนของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทยพร้อมกับโจมตีว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับที่แย่ที่สุดและจะพาประเทศไทยถอยหลังลงคลอง พร้อมกับแสดงความมั่นใจว่าพรรคเพื่อไทยจะคว้าชัยชนะในสนามเลือกตั้งอย่างแน่นอน

 

 

 


ประกอบกับเมื่อวันที่ 7 กุมพาพันธ์ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก็ได้ให้สัมภาษณ็พิเศษกับสำนักข่าวทีนิวส์โดยได้เปิดใจเกี่ยวกับสาเหตุที่นำมาสู่การกระทบกระทั่งกับสื่อมวลชน แต่ก็ได้แฝงเอาไว้กับสาระที่ต้องการสื่อให้เห็นว่าเข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ พร้อมกับมีชอตคำพูดที่เป็นการตอบโต้กับไปมาระหว่างนายทักษิณกับพล.อ.ประยุทธ์ ใช่หรือไม่

 


7 ก.พ.2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับสำนักข่าวทีนิวส์ ระบุไว้ช่วงหนึ่งว่า

 


"จากเหตุการณ์กว่า 10 ปีที่ผ่านมา เพราะคนทำผิดกฎหมายคนเดียว แต่เพราะมีเงินมากก็สามารถทำลายทุกอย่างได้ และที่เขาไม่กลับนั้นไม่ใช่เพราะเขามีคดีเดียวที่หนีไปแต่มีอีกหลายคดีที่รออยู่เขาถึงไม่กล้ากลับ หวังว่าคุณคงเข้าใจและอยากให้คนอื่นเข้าใจด้วยว่าประเทศชาติสำคัญอย่างไร ผมมีหน้าที่ที่ต้องทำคนเดียวหรือเปล่า

 


6 ก.พ.2559 นายทักษิณ ชินวัตร ระบุว่า ผมจากบ้านไปเกือบ 10 ปี แต่บ้านเมืองเรากลับถอยหลังไปเกือบ 20 ปี ตอนนี้ผู้นำก็บ้าอำนาจจนขาดสติ ขาดวุฒิภาวะ แสดงกิริยาไม่สมควร ขอให้พวกเราเตรียมตัวไว้เลย จะมีการเลือกตั้งในเร็วๆ นี้ มั่นใจว่า พรรค เพื่อไทยมีโอกาสสูงมากที่จะกลับมาบริหารประเทศ"

 


จากการมาให้สัมภาษณ์ของนายทักษิณก็เริ่มจะมสีปฎิกิริยาจากฝ่ายต่าง ๆ ทั้งที่สนับสนุนและต่อต้านโดยเฉพาะนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย  ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านทางเฟสบุ๊คว่าจะได้โอกาสเห็นว่านายทักษสิณจะได้กลับบ้านหลังการเลือกตั้ง

 


นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย  โพสต์ข้อความลงเฟซบุค ระบุว่า หลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น เราต้องการเห็น ดร.ทักษิณกลับเมืองไทยได้ในฐานะคนไทยคนหนึ่งและในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี ตราบใดที่ยังไม่ได้ถูกพิพากษาถึงที่สุดโดยศาลยุติธรรม ก็ควรได้รับการปฏิบัติอย่างผู้บริสุทธิ์ และควรจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐ โดยได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมจากกระบวนการยุติธรรมที่แท้จริง

 

เพราะเหตุใดนายทักษิณถึงได้มั่นใจว่าจะชนะในสนามการเลือกตั้งและเพราะเหตุใดนายจาตุรนต์ถึงได้มีความหวังว่านายทักษิณจะได้กลับมาสู่ประเทศไทย ก็คงจะต้องพิสูจน์กันว่าภายใต้สูตรเลือกตั้งของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะช่วยทำให้ชนะการเลือกตั้งและกลับประเทศได้หรือไม่

 

เรียกว่ากำลังร้อนแรงมากขึ้นทุกขณะ กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อร่างรัฐธรรมนูญจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะพรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทย ที่ถึงขั้นออกเป็นแถลงการณ์ถล่มยับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว

 

ส่วนพรรคอื่นๆที่ออกมาวิพากวิจารณ์ในเชิงติเตียนเสียเป็นส่วนใหญ่นั้น ยังไม่ได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนออกมานั้น ก็ต้องมาจับตาดูว่าพรรคนั้นๆจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในสนามการเลือกตั้งครั้งนี้
ร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ ๒
สภาผู้แทนราษฎร


มาตรา ๗๘ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคน ดังนี้

(1)สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสามร้อยห้าสิบคน

(2)สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจำนวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน

 


ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด
และยังไม่มีการเลือกตั้งหรือประกาศชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่

 


ในกรณีมีเหตุใด ๆ ที่ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวนไม่ถึงหนึ่งร้อยห้าสิบคน ให้สมาชิกแบบบัญชีรายชื่อประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่

 

 

มาตรา ๗๙ ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้รับเลือกตั้งถึงร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดแล้ว


หากมีความจำเป็นจะต้องเรียกประชุมรัฐสภา ก็ให้ดำเนินการเรียกประชุมรัฐสภาได้โดยให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่ แต่ต้องดำเนินการให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ครบตามจำนวนตามมาตรา ๗๘ โดยเร็ว ในกรณีเช่นนี้ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎร ที่เหลืออยู่


มาตรา ๘๐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบ
แบ่งเขตเลือกตั้งให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้แต่ละเขตเลือกตั้ง มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เขตละหนึ่งคน และผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียง ลงคะแนนเลือกตั้งได้คนละหนึ่งคะแนน โดยจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใด หรือจะลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเลยก็ได้


ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนสูงกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง


           หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสมัครรับเลือกตั้ง การออกเสียงลงคะแนน การนับคะแนน การรวมคะแนน การประกาศผลการเลือกตั้ง และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 


ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อตรวจสอบเบื้องต้นแล้วมีเหตุอันควรเชื่อว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
และมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของเขตเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องตรวจสอบเบื้องต้นและประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าหกสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง ทั้งนี้ การประกาศผลดังกล่าวไม่เป็นการตัดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะดำเนินการสืบสวน ไต่สวนหรือวินิจฉัยกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำการทุจริต หรือไม่เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม ไม่ว่าจะได้ประกาศผลการเลือกตั้งแล้วหรือไม่ก็ตาม

 


มาตรา ๘๑ การกำหนดจำนวนผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี
และการแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ดำเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้

        
(๑) ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร
ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามร้อยห้าสิบคน จำนวนที่ได้รับให้ถือว่าเป็นจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน

        
(๒) จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนตาม (๑) ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นได้หนึ่งคน โดยให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง


(๓) จังหวัดใดมีราษฎรเกินจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน


(๔) เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดตาม (๒)
และ (๓) แล้ว ถ้าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบสามร้อยห้าสิบคน จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคำนวณตาม (๓) มากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน และให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณนั้นในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำนวนสามร้อยห้าสิบคน

         
(๕) จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน
ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี
โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน

 


มาตรา ๘๒ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องเป็นผู้ซึ่งพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกส่งสมัครรับเลือกตั้ง และจะสมัครรับเลือกตั้งเกินหนึ่งเขตมิได้

 


          เมื่อมีการสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง จะถอนการสมัครรับเลือกตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เฉพาะกรณีผู้สมัครตายหรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม และเป็นกรณีที่เปลี่ยนแปลงก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง

 


มาตรา ๘๓ ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง แจ้งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เกินสามรายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวให้ประชาชนทราบ และให้นำมาตรา ๘๒ วรรคสอง มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
        พรรคการเมืองจะไม่เสนอรายชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งก็ได้

 


มาตรา ๘๔ การเสนอชื่อบุคคลตามมาตรา ๘๓ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
           
(๑) ต้องมีหนังสือยินยอมของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อ โดยมีรายละเอียดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
           
(๒) ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้ามที่จะเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๕๕ และไม่เคยทำหนังสือยินยอมตาม (๑) ให้พรรคการเมืองอื่นในการเลือกตั้งคราวนั้น การเสนอชื่อบุคคลใดที่มิได้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าไม่มีการเสนอชื่อบุคคลนั้น

 

มาตรา ๘๕ พรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
เลือกตั้งแล้ว ให้มีสิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้
             การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ให้พรรคการเมืองจัดทำ
บัญชีรายชื่อพรรคละหนึ่งบัญชี โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพรรคต้องไม่ซ้ำกัน และไม่ซ้ำกับรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  โดยส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้คณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
            การจัดทำบัญชีรายชื่อตามวรรคสอง ต้องให้สมาชิกของพรรคการเมือง
มีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย โดยต้องคำนึงถึงผู้สมัครจากภูมิภาคต่าง ๆ และความ เท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง

 


มาตรา ๘๖ การคำนวณหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของ แต่ละพรรคการเมือง ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
          

(๑) นำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัคร
รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหารด้วยห้าร้อยอันเป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร
          

(๒) นำผลลัพธ์ตาม (๑) ไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศของ
พรรคการเมืองแต่ละพรรคที่ได้รับจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ
แบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต จำนวนที่ได้รับให้ถือเป็นจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้
         

(๓) นำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองจะพึงมีได้
ลบด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้ง ในทุกเขตเลือกตั้ง ผลลัพธ์คือจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ


(๔) ถ้าพรรคการเมืองใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากับหรือสูงกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (๒) ให้พรรคการเมืองนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจำนวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และไม่มีสิทธิได้รับการจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และให้นำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต่ำกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีตาม (๒)
ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจำนวนที่จะพึงมีตาม (๒)

 


(๕) เมื่อได้จำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองแล้ว ให้ผู้สมัครตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

            ในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดตายภายหลังวันปิดรับสมัครรับเลือกตั้ง
แต่ก่อนเวลาปิดการลงคะแนนในวันเลือกตั้ง ให้นำคะแนนที่มีผู้ลงคะแนนให้มาคำนวณตาม (๑) และ (๒) ด้วย

            การนับคะแนน หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณ การคิดอัตราส่วน
และการประกาศผลการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 


มาตรา ๘๗ เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และมิให้นับคะแนนที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับไปใช้ในการคำนวณตามมาตรา ๘๖ ในกรณีเช่นนี้ ผู้สมัครทุกรายนั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนั้นอีก และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการให้มีการรับสมัครผู้สมัคร รับเลือกตั้งใหม่

 


กล่าวโดยสรุปก็คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีทั้งหมด 500 คนแบ่งเป็นส.ส.แบ่งเขต 350 คนและบัญชีรายชื่อ 150 คน

 


แต่ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างยิ่งอยู่ขณะนี้ก็คือวิธีการนับคะแนนและการใช้บัตรเลือกตั้งแค่เพียงใบเดียว

แม้ว่ารายละเอียดในทางเทคนิคที่เหลือยังคงต้องรอพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง

แต่เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนเราจะได้นำเอาตัวเลขการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 มาเป็นตัวอย่างในการคิดคำนวณโดยใช้สูตรการเลือกตั้งแบบใหม่
คะแนนการเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554

1.พรรคเพื่อไทย 14,770,094คะแนน ได้ส.ส.รวม265 คน
 
2.พรรคประชาธิปัตย์ 10,343,571 คะแนน ได้ส.ส.รวม159 คน

3.พรรคภูมิใจไทย 3,550,429 คะแนน ได้ส.ส.รวม34 คน

4.พรรคชาติไทยพัฒนา  1,883,690 คะแนน ได้ส.ส.รวม19 คน
 
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 1,258,518  คะแนน ได้ส.ส.รวม 7 คน
 
6.พรรคพลังชล 256,881 คะแนน ได้ส.ส.รวม7คน
 
7.พรรคมาตุภูมิ 370,260 คะแนน  ได้ส.ส.รวม  2 คน

 


โดยแต่ละพรรคได้จำนวนส.ส.เขตวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ดังนี้
1.พรรคเพื่อไทย ได้ส.ส.แบ่งเขต 204 คน
 
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ส.ส. แบ่งเขต 115 คน
 
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ส.ส.แบ่งเขต 29 คน
 
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ส.ส.แบ่งเขต 15 คน
 
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ส.ส.แบ่งเขต 5 คน
 
6.พรรคพลังชล ได้ส.ส.แบ่งเขต 6 คน
 
7.พรรคมาตุภูมิ ได้ส.ส.แบ่งเขต  1 คน 

 


จากตัวเลขดังกล่าวเราจะได้มาลองใช้สูตรการคิดคำนวณแบบใหม่ ว่าแต่ละพรรคจะมีส.ส.เพิ่มขึ้นหรือน้องลงอย่างไร

 


วิธีการคิดคำนวณให้เริ่มต้นจากการหาส.ส.ที่แต่ละพรรคพึงจะมี โดยเอาคะแนนทั้งหมดของส.ส.เขต หาร ด้วย 500 แล้วเอาผลลัพธ์ที่ได้ไปลบจำนวนส.ส.เขตของพรรคนั้น ต่อจากนั้นนำตัวเลขที่เหลือ ไปบวกเป็นจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อ
ยกตัวอย่าง

 


จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.เขต 35,000,000 คน
(ประมาณการจากการเลือกตั้งเมื่อวันนี้ 3 กรกฎาคม 2554)
พรรคเพื่อไทย 14,770,094 คะแนน
ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 211 คน

 


พรรคประชาธิปัตย์ 10,343,571 คะแนน
ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 147 คน
พรรคภูมิใจไทย 3,550,429 คะแนน
ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 50 คน

 


พรรคชาติไทยพัฒนา  1,883,690 คะแนน
ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ  26คน

 


พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 1,258,518  คะแนน
ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 18 คน

 


พรรคพลังชล 256,881 คะแนน
ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 7 คน

 


พรรคมาตุภูมิ 370,260 คะแนน 
 ส.ส.จากสูตรการคิดคำนวณแบบใหม่จะเท่ากับ 5 คน

 


เมื่อพิจารณาส.ส.รวมของแต่ละพรรค เช่น

1.พรรคเพื่อไทย แต่เดิมได้ส.ส.รวม265 คน คิดจากสูตรใหม่มีส.ส.211คน

2.พรรคประชาธิปัตย์ แต่เดิมได้ส.ส.รวม159 คน คิดจากสูตรใหม่มีส.ส.147คน

3.พรรคภูมิใจไทย แต่เดิมได้ส.ส.รวม34 คน คิดจากสูตรใหม่มีส.ส. 50คน

4.พรรคชาติไทยพัฒนา  แต่เดิมได้ส.ส.รวม19 คนคิดจากสูตรใหม่มีส.ส.26คน

 5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่เดิม ได้ส.ส.รวม 7 คนคิดจากสูตรใหม่มีส.ส.18คน

6.พรรคพลังชล แต่เดิม ได้ส.ส.รวม7คนคิดจากสูตรใหม่มีส.ส.8 คน
 
7.พรรคมาตุภูมิ แต่เดิม ได้ส.ส.รวม  2 คน คิดจากสูตรใหม่มีส.ส.1คน

 


พิจารณาจากสูตรการเลือกตั้งจะเห็นว่าพรรคเพื่อไทยจะได้คะแนนน้อยลง เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ และจะไม่มีพรรคการเมืองใดเลยที่ได้คะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่ง ทำให้โอกาสในการจัดตั้งพรรคเดียวไม่สามารถเกิดขึ้นได้แต่พรรคที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นคือพรรคขนาดกลางอย่างพรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินที่จะได้จำนวนส.ส.มากยิ่งขึ้น

 


ซึ่งต่อจากนี้พรรคเหล่านี้จะถือว่าเป็นตัวแปลสำคัญในการชี้ชะตาการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง