เปิดใจ..."เจ้ายอดศึก"ผู้นำกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ (S.S.A.) หลังการเลือกตั้งในพม่า-ลุ้นจุดยืนจะเจรจาหรือใช้อาวุธ(คลิป)

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tnews.co.th/html/

     หลังการเลือกตั้งในเมียนมาร์ ซึ่งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ของนางออง ซาน ซูจี ชนะการเลือกตั้งทั้ง 2 สภาอย่างท่วมท้นทางเมียนมาร์ ได้เตรียมทำการเจรจาทางการเมืองกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 6-7 กลุ่มในเมียนมาร์ เพื่อนำไปสู่การปรองดองและยุติความขัดแย้งที่มีมานานถึง 70 ปีโดยหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจุดยืนจะเจรจาทางการเมืองกับรัฐบาลเมียนมาร์ คือ กองทัพรัฐฉาน ซึ่งนำโดย เจ้ายอดศึก โดยเจ้ายอดศึกได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนบนฐานที่มั่น ณ ดอยไตแลง รัฐฉาน เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 59 ที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

 

 

 

 


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): ทุกวันนี้เราจัดวันชาติมาทุกปีๆ หมายถึงว่าให้กลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มรับทราบว่า วันชาติเนี่ยไม่ใช่เฉพาะไทใหญ่ ชาติพันธุ์ทุกกลุ่ม ทุกชาติ และร่วมกับพม่าด้วย


นักข่าว: จุดเปลี่ยนเรื่องของการเจรจาด้านการเมืองเราจะสานต่อการเจรจายังไง


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): ด้านการเมืองเราจะยืนยัน ทำตามแนวทางเอาการเมืองเจรจาให้มีสันติวิธี


นักข่าว: ท่าทีรัฐบาลใหม่ถ้าไม่เป็นไปตามที่ต้องการ เราจะมีจุดยืนยังไง


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): อันนั้นต้องรอดูนโยบายเขาก่อนอ่ะครับ เพราะว่านโยบายเขายังไม่ออกเลย เรายินดีว่าถ้าเขามีนโยบายออกมาร่วมมือกับเรา เรายินดีจะเจรจาพูดคุยกับเขา


นักข่าว: จากท่าทีของการที่จะเจรจากับทางพม่า กลุ่มชาติพันธุ์ตอนนี้พยายามที่จะหารือกันตลอดมั้ยครับ 


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): เราได้หารือกันตลอดแหล่ะครับ


นักข่าว: อันนี้หมายถึงว่า ทำก็ทำด้วยกันใช่มั้ยครับ


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): ใช่ครับ


นักข่าว: ตอนนี้ประเมินแล้วเนี่ยคิดว่า ทางรัฐบาลพม่ามีความจริงใจหรือเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหนครับ


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): เชื่อถือได้เท่าไหร่ อันนั้นเราพูดไม่ได้ตอนนี้ เราต้องคุยกันต่อ มันต้องดูกันต่อไปๆ


นักข่าว: ขอบเขตแค่ไหนอย่างไรครับ ขอบเขตเพื่อที่จะปรองดอง หรือปกครองตนเองเป็นอิสระในแต่ละรัฐ หรือว่ายังไงครับ


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): จริงๆ ที่เราคุยกันการเมืองเนี่ยอยากให้พม่าเกิดขึ้นมาเป็นสหพันธรัฐน่ะครับ อย่างเช่นรัฐฉานก็ให้มีส่วนปกครองของตัวเองล่ะ 


นักข่าว: ส่วนปกครองของตนเองหมายถึงสามารถที่จะมีกองกำลัง


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): ใช่ครับๆ


นักข่าว: แล้วถ้าสมมุติเจรจาแล้วเนี่ย ทางพม่าไม่ดำเนินการหรือว่าละเมิด เหมือนกับหลายๆ ครั้งที่เจรจาไปแล้วแต่ว่ายังมีการยิงกันอยู่เราจะดำเนินการอย่างไรต่อไปครับ 


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): คุยกันต่อ ยังไงก็ต้องคุยกันต่อครับ การสู้รบมันมีมา 60 กว่าปี ไม่เห็นมีผลหรืออะไรเลย ต้องเจรจากันต่อ


นักข่าว: คือจะไม่มีการวางอาวุธเลยใช่มั้ยครับ


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): วางอาวุธนั้นไม่มีวางอยู่แล้วล่ะครับ วางไม่วางอันนั้นต้องถามประชาชนต่อ เพราะกองทัพมันมาจากประชาชน


นักข่าว: การเลือกตั้งที่ผ่านมาของพม่า พวกของ ออง ซาน ซูจี ได้เสียงท่วมท้นเนี่ยนะครับ คิดว่าตรงนี้จะเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการที่จะทำให้เกิดการปรองดองของกลุ่มชาติพันธุ์มั้ยครับ 


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): อันนั้นเป็นความต้องการของประชาชน ประชาชนตั้งความหวังว่า อนาคต ออง ซาน ซูจี จะไม่เกิดปัญหา เรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ รัฐบาลมีปัญหากันมาระยะเวลา 60 ปี พม่าเอาทหารมายึดอำนาจ เอาเผด็จการปกครองมาระยะเวลานานมาก ประชาชนต้องการอยากเปลี่ยนการปกครองในสหพันธ์พม่าล่ะครับ 


นักข่าว: แล้วระหว่างที่การรอแต่งตังรัฐบาลใหม่ ตอนนี้ทางรัฐฉานได้มีการดำเนินการ ในการที่จะคุยกับกองทัพพม่า


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): ก็กองทัพพม่าเราประสานกันตลอดล่ะครับ


นักข่าว: แล้วจะมีการชักชวนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มาพูดคุยกันมั้ยคะ


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): ให้มีการชักชวน เราไม่ชักชวนหรอกครับ เพราะแต่กลุ่มมันมีจุดยืนของใครของมันอยู่แล้ว ไม่ได้อยู่ที่่รัฐบาลว่าเขาจะพูดกันยังไง ตกลงกันยังไง


นักข่าว: จะมีการกำหนดกรอบเวลาในเรื่องของการทำงานได้หลังจากได้เซ็นสัญญาหยุดยิงมีความคืบหน้ายังไงบ้างคะ


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): หลังจากมีการเซ็นสัญญาในวันที่ 5 ม.ค.เสร็จแล้ว เราก็มีประชุมกันมาตลอดระยะเวลา 3 เดือน จะได้มาแต่ละกลุ่มๆ กลุ่มเจรจาทางการเมือง กลุ่มทหารประสานงานกัน แล้วก็กลุ่มที่แก้ไขปัญหา แล้วก็โครงสร้างรูปแบบการเมืองมันจัดไว้แล้ว วันที่ 12 ม.ค.แล้วเราก็ได้พูดเจรจาทางการเมืองกัน   


นักข่าว: ถ้าจะมีการเจรจากันเนี่ยเรายังต้องการอะไรที่เพิ่มหรือแตกต่างไปมั้ยครับ


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): การเมืองเริ่มต้นจากสัญญาปางหลวงไม่ได้หรอกครับ ต้องเริ่มต้นที่สัญญาเปล่า เพราะสัญญาปางหลวงเป็นการเริ่มต้นสหพันธุ์พม่าขึ้นมา


นักข่าว: ทีนี้ภายในกลุ่มของไทใหญ่เองก็คือมีหลายกลุ่ม แล้วก็กลุ่มล่าสุดน่าจะเป็นไทแดงใช่มั้ยครับที่เกิดขึ้นมา ความเป็นไปได้ที่จะรวมให้มีกลุ่มเดียวเพื่อที่จะรวมพลัง เพื่อที่จะเจรจากับรัฐบาลพม่า ตรงนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไรครับ  


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): พวกกลุ่มที่บอกพึ่งเกิดมาไม่ใช่ครับ มันมีมานานแล้ว มีนานแล้ว แล้วก็ไม่ว่าไทใหญ่เหมือนกันเอง หรือชาติพันธุ์อื่นๆ ให้สามัคคีกันนั้น เราก็พยายามอยู่ล่ะครับ ให้เกิดการปรองดองเราก็พยายามอยู่


นักข่าว: การต่อสู้เนี่ยมีมาอย่างยาวนาน ตอนนี้ในส่วนของประชาคมโลกโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจต่างๆ เข้ามารับรู้ตรงนี้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร และที่ผ่านมาเข้ามาสนับสนุนเรามากน้อยแค่ไหนอย่างไรครับ 


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): ตั้งแต่มีมา สหพันธุ์พม่า กลุ่มชาติพันธุ์ถูกกดขี่มาตลอด ประชาคมโลกก็ไม่ค่อยสนใจเราเท่าไหร่ มีแต่เสนอข่าว ที่มาช่วยเหลือไม่มีอะไรเลย


นักข่าว: เป็นเพราะอะไรครับ เพราะว่าเค้ายังรับรู้เรื่องของเราน้อยไปหรือว่ามันไม่ใช่พื้นที่ประโยชน์เค้าก็เลยไม่เข้ามา


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): มีสองประเด็น ประเด็นแรกก็เขารู้น้อยไป เขาไม่รู้สถานการณ์ที่แท้จริง ประเด็นที่สองก็เพราะพม่ามันปิดกั้น พม่าทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ดูไม่ดี ประชาคมโลกก็ไม่มาตรวจสอบ ฟังแต่ฝ่ายพม่าอย่างเดียว  


นักข่าว: แล้วในระหว่างที่มีการพูดคุยเนี่ย ยังพบว่ามีการปะทะกันอีกรึเปล่า


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): มีอยู่ครับ มีที่ภาคเหนือส่วนใหญ่


นักข่าว: ตอนนี้ในพม่าเอง ในรัฐฉานเอง ก็มีกองกำลังพม่ามาตั้งอยู่ 4 กองพลใช่มั้ยครับ ตรงนี้เรากังวลมั้ยครับ แล้วเราจะจัดการกับปัญหาตรงนี้ยังไง


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): อันนั้นต้องมาเจรจากันที่การเมืองล่ะครับ ต้องมาคุยกันที่การเมืองล่ะครับ


นักข่าว: เหมือนว่าเกือบจะ 10 ปีแล้วเนี่ย ขวัญกำลังใจของพี่น้องชาวไทใหญ่ตอนนี้เนี่ยยังโอเคอยู่มั้ยครับ 


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): ความรักชาติความรักแผ่นดิน ยาวนานเท่าไหร่ก็ตามแต่ ต้องรักษาไว้ แผ่นดินเราและชาติของเราไว้ สหรัฐฯรบมา 100 กว่าปี เขาต้องสู้ เรามีแผ่นดิน เรามีทรัพยากรของเราแล้ว ผมว่าต้องสู้ต่อไปถึงจนชนะล่ะครับ 


นักข่าว: ปีนี้เป็นที่สังเกตว่า ในการจัดงานวันชาติเนี่ย มีคนจากที่ต่างๆ รวมถึงรัฐฉานภายในด้วยที่เข้ามา เยอะกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ตรงนี้มันจะเป็นสัญญาณอะไรบางอย่างรึเปล่าครับ


ผู้นำกองกำลังไทใหญ่(S.S.A.): สถานการณ์มันเปลี่ยน ก่อนหน้านี้พม่ามันกดดัน ไม่ให้ไปไหน ตอนนี้เขาไม่ค่อยกดละ อีกอย่างหนึ่งก็เราหยุดยิง เราลงนามสัญญาถูกต้องกฎหมายแล้ว พม่าก็ถูกต้องกฎหมายแล้ว เขาก็กล้ามาก เขาก็อยากรู้อยากเห็น อยากมีส่วนร่วมการกู้ชาติล่ะครับ