ทำความรู้จักกับ "สาวไทย" 1 ในนักวิทย์นานาชาติ พิสูจน์ทฤษฎี "คลื่นความโน้มถ่วง" ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ http://www.tnews.co.th

 

 

        หลังจากที่วงการวิทยาศาสตร์ระดับโลกได้ฮือฮากับการค้นพบของคณะวิทยาศาสตร์นานาชาติ LIGO Scientific Collaboration (LSC) และได้พิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพภาคทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ได้ทำนายไว้ตั้งแต่เมื่อปี ค.ส. 1915 ว่าในจักรวาลมีคลื่นความโน้มถ่วงดำรงอยู่ (Gravitational Waves)  หลังจากเฝ้ารอการประสบผลสำเร็จมายาวนานกว่า 10 ปี  โดยทางเว็บไซต์สำนักข่าวทีนิวส์ได้ขอสัมภาษณ์ไปยังคุณ ณัฐสินี กิจบุญชู ซึ่งเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่อยู่ในวินาทีการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วง

 

 

 

ความเป็นมาก่อนจะมาทำงานให้กับ หอสังเกตการณ์ ของ LIGO Hanford

- ในปี 2010 ดิฉันมาเรียนปริญญาตรีตรี สาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยหลุยเซียนาสเตท(Louisiana State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนในช่วงปีสุดท้ายมีโอกาสได้ทำวิจัยกับอาจารย์ Gabriela González ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นโฆษกของ LIGO เมื่อเรียนจบระดับปริญญาตรีก็ไม่แน่ใจว่าหากจะเรียนต่อในระดับปริญญาโท-เอกจะทำวิจัยเรื่องอะไรดี ทางอาจารย์ Gabriela González ก็เลยแนะนำให้ลองสมัครเป็น Operations Specialist ซึ่งในขณะนั้นทั้ง LIGO Hanford และ Livingston ที่กำลังเปิดรับสมัครพร้อมกัน แต่ด้วยดิฉันต้องการหาประสบการณ์เพิ่มเติมก่อนที่จะเรียนต่อในระดับต่อไป จึงมาสมัครตำแหน่งดังกล่าวที่ LIGO Hanford เพราะมีความรู้สึกว่าฟิสิกส์ความโน้มถ่วงนั้นเป็นเรื่องน่าสนใจ ซึ่งทำงานในตำแหน่งนี้มาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว

 

 

หน้าที่หลักของตำแหน่ง Operations Specialist ในงานวิจัยนี้คืออะไร

- หน้าที่หลักคือช่วง Observing Run นั้นคือการ "ล็อค" ให้เครื่องอยู่ในสภาวะที่ตรวจจับคลื่นแรงโน้มถ่วงได้ นอกจากนั้นต้องเป็นคนสอดส่องเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายในหอสังเกตการณ์ และต้องทราบถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในหอสังเกตการณ์ที่อาจจะสามารถส่งผลกระทบหรือรบกวนต่อสัญญาณได้

 

 

ตำแหน่ง Operations specialist มีทั้งหมดกี่คน และแบ่งเวลาตรวจจับอย่างไรบ้าง

- ตำแหน่งนี้มีทั้งหมด 9 คน จะแบ่งเวลาดูแลหน้าที่ดังกล่าวแบบเวียนกะ 24/7

 

 

ในช่วงที่สามารถตรวจจับความโน้มถ่วงได้ทราบมาว่าคุณณัฐสินีเป็นคนเดียวที่อยู่ในหอสังเกตการณ์

-  ใช่ค่ะ ดิฉันเป็นคนเดียวที่อยู่ในหอสังเกตการณ์ช่วงที่เครื่องสามารถตรวจจับความโน้มถ่วงได้ ในคืนดังกล่าวกำลังเข้าทำงานในกะ Owl Shift ช่วงเวลา 24.00 น. - 08.00 น. และเป็นคนไทยคนเดียวที่ทำงานในหอสังเกตการณ์ แต่ภายใน LIGO Scientific Collaboration (LSC) น่าจะมีคนไทยที่ทำงานอยู่ที่นี่ซึ่งไม่สามารถบอกได้เลยว่ามีใครบ้าง อันเนื่องมาจากภายในองค์กรนี้มีนักวิทยาศาสตร์นับพันชีวิต ซึ่งดิฉันอยากให้คนไทยที่สนใจทำงานด้านนี้ได้มาทำงานร่วมกันภายใน LIGO

 

 

ทำความรู้จักกับ "สาวไทย" 1 ในนักวิทย์นานาชาติ พิสูจน์ทฤษฎี "คลื่นความโน้มถ่วง" ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์!!

 

 

นักวิทยาศาสตร์จะพบกับสิ่งใดที่จะตามมาหลังจากค้นพบคลื่นความโน้มถ่วง

- จากนี้สิ่งที่ตามมาหลังการค้นพบเรียกว่า Multi-Messenger Astronomy เท้าความก่อนว่าก่อนที่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าคลื่นความโน้มถ่วงมีอยู่จริง ทางด้านดาราศาสตร์ได้พึ่งคลื่น EM (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) เพียงอย่างเดียวมาโดยตลอด ซึ่งเปรียบได้ว่าก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์เสมือนเป็นคนตาบอดแต่หูหนวก กระทั่งวันนี้มี LIGO ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคลื่นดังกล่าวมีอยู่จริง เท่ากับว่า LIGO เหมือนเป็นหูให้นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์นั่นเอง นับจากนี้ไปเราจะเข้าสู่ยุคใหม่ของวงการดาราศาสตร์

 

 

การทำงานภายใต้งานวิจัยที่สำคัญเช่นนี้ทำให้รู้สึกเครียดบ้างหรือไม่ ทุกคนตึงเครียดมากน้อยแค่ไหน

- ต้องขอกล่าวก่อนว่าทุก ๆ คนที่ทำงานวิจัยชิ้นนี้ต่างทำในสิ่งที่ตัวเองรัก จึงไม่มีปัญหาในเรื่องความตึงเครียด อีกทั้งสถานที่ทำงานบรรยากาศสบาย ๆ ทุกคนเป็นกันเอง

 

 

หากมีผู้สนใจทำงานในตำแหน่ง Operations Specialist  ที่ LIGO Hanford ควรศึกษาหรือเรียนจบด้านใด

- ในตำแหน่งเดียวกันนี้ผู้ที่สนใจจะเรียนจบสาขาใดก็ได้ แต่ในช่วงหลังที่หอสังเกตการณ์ได้มองหาผู้ที่จบสาขาฟิสิกส์ วิศวกรรม หรือคณิตศาสตร์ หรือไม่ก็ต้องมีประสบการณ์ในสายใดสายหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น ตำแหน่งที่ทำอยู่ บางคนมีความรู้ทางเทคนิค แต่ไม่ได้จบสาขาวิทยาศาสตร์ก็มีเช่นกัน

 

 

ตอนนี้เป็นแอดมินเพจ ๆ หนึ่งด้วยซึ่งเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

- ใช่ค่ะ เป็นแอดมินเพจ "เชื่อกู Trust me, I'm a physicist." ที่แชร์บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ที่ดิฉันนำมาแปลเป็นภาษาไทยแล้วแชร์ให้คนไทยด้วยกันได้อ่าน ได้ทราบถึงเรื่องวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันว่ากำลังทำอะไรอยู่บ้าง กำลังก้าวไปถึงจุดไหน

 

   

อยากจะบอกอะไรกับคนไทย และเด็กไทยในวันนี้บ้าง

- ดิฉันอยากให้คนไทยมีโอกาสรู้จัก LIGO มากขึ้น และอยากให้เด็กไทยรู้ว่าการมาเป็นส่วนหนึ่งของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติไม่ใช่เรื่องที่เกินความฝันของเด็กไทยคนหนึ่งเลย ใครชอบวิทยาศาสตร์ก็อยากให้เรียน คนเก่งไม่จำเป็นต้องเรียนหมอเสมอไป เวทีวิทยาศาสตร์โลกนั้นเปิดกว้างมาก

 

 

ประวัติส่วนตัว
 

ชื่อจริง ณัฐสินี กิจบุญชู

อายุ 25 ปี

ระดับการศึกษา ปริญญาตรี สาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยหลุยเซียนาสเตท

อาชีพ นักวิทยาศาสตร์ ตำแหน่ง Operations Specialist สถาบัน LIGO Hanford

แอดมิน เพจ "เชื่อกู Trust me, I'm a physicist."

 

 

 

ทำความรู้จักกับ "สาวไทย" 1 ในนักวิทย์นานาชาติ พิสูจน์ทฤษฎี "คลื่นความโน้มถ่วง" ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์!!

 

 

ทำความรู้จักกับ "สาวไทย" 1 ในนักวิทย์นานาชาติ พิสูจน์ทฤษฎี "คลื่นความโน้มถ่วง" ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์!!

 

 

ทำความรู้จักกับ "สาวไทย" 1 ในนักวิทย์นานาชาติ พิสูจน์ทฤษฎี "คลื่นความโน้มถ่วง" ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์!!

 

 

ทำความรู้จักกับ "สาวไทย" 1 ในนักวิทย์นานาชาติ พิสูจน์ทฤษฎี "คลื่นความโน้มถ่วง" ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์!!

 

 

ทำความรู้จักกับ "สาวไทย" 1 ในนักวิทย์นานาชาติ พิสูจน์ทฤษฎี "คลื่นความโน้มถ่วง" ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์!!

 

ขอบคุณภาพจาก : www.seattletimes.com