สนธิญาณ ฟันธง!!! มี "เลือกตั้ง-ประชามติ"-ชี้นายกฯท่าทีเปลี่ยนเหตุ "ทักษิณ-ปู"ป่วนไม่เลิก-ชี้สุดท้าย"กปปส.จะชี้ชะตาสังคม???

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

สนธิญาณชี้ "นายกฯ"ความคิด -บุคลิกเปลี่ยน เหตุ "ทักษิณ-ปู"ป่วนต่อเนื่อง แฉ "ทักษิณ"ดิ้นเหตุหวั่นข้อ 16 ครม. -คาดนำสู่การเผชิญหน้าอีกครั้ง -เชื่อคนหนุน คสช. อื้อ  -ชี้ "สุเทพ"มีบทบาทสำคัญ-สุดท้ายมวลมหาปชช.จะเป็นผู้ชี้ชะตาสังคม-ฟันธงมีเลือกตั้ง-ประชามติ

 

 

 

 

 

 

 

 


รายการ "ยุคล ถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำคืนวันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 ออกอากาศทางช่องทีนิวส์  ดำเนินรายการโดย คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย) และคุณยุคล วิเศษสังข์ (หนึ่ง)  โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้


ยุคล: สวัสดีครับต้อนรับคุณผู้ชมนะครับเข้ามาในช่วงเวลาของรายการ "ยุคลถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบนะครับ" วันนี้วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 คุณผู้ชมยังคงอยู่กับผม "ยุคล วิเศษสังข์" และแขกรับเชิญของเราค่ำคืนนี้ก็เจ้าเก่าครับ พี่ต้อย "สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม" ไปทักทายพี่ต้อยกันก่อนนะครับ สวัสดีครับพี่ต้อย 


สนธิญาณ: สวัสดีครับหนึ่ง สวัสดีท่านผู้ชมทุกท่านครับ ก็พบกันทุกวันจันทร์ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งครับผม 


ยุคล: สัปดาห์นี้กลับมาในสตูดิโออีกครั้งหนึ่งนะครับ หลังจากสัปดาห์ที่แล้วไปบันทึกเทปรายการที่สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ก็เป็นอีกกิจกรรมของแฟนข่าวที่พาทัศนศึกษาแล้วก็ไปเยี่ยมชม หรือว่าพบปะพูดคุยกับผู้ดำเนินรายการ และรวมไปถึงพี่ต้อยด้วย   


สนธิญาณ: ก็ถือเป็นบรรยากาศอันงดงามนะครับ ที่ได้เกิดขึ้น สิ่งที่ผมอยากจะเรียนต่อท่านผู้ชม แฟนข่าวทีนิวส์ทุกคน เป็นน้ำใจแม้แต่เพียงเล็กๆ น้อยๆ นะครับ แต่ผมคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล ที่จะทำให้ผมแล้วก็น้องๆ ทีมงานของทีนิวส์ทุกคนมุ่งมั่นในการที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปในวงการข่าวสาร และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมได้ทำงานและทำหน้าที่ของเรา แม้จะต้องผ่าหรือฝ่ากับขวากหนามต่างๆ นะครับ ที่จะต้องเดินเหยียบย่ำ ไปด้วยความเจ็บปวด แต่อย่างไรก็ตามเราก็จะสู้ต่อไป ยิ่งได้สัมผัส ได้พูด ได้คุย ได้พบกับแฟนข่าวทีนิวส์ที่มาร่วมกิจกรรมแล้ว ต้องเรียนแบบนี้จริงๆ และสำหรับเงินทั้งหมดนะครับที่ได้กรุณามอบให้ผมในวันนั้น ทุกบาท ทุกสตางค์ เอาไปร่วมทำบุญในพิธีเอาผ้าขึ้นธาตุ ซึ่งเป็นภาษาของคนนคร (นครศรีธรรมราช) เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา นับพันๆ ปี ก็คือเอาผ้าไปห่มพระบรมธาตุ และเงินทั้งหลายเนี่ยนะครับ ได้มีญาติมิตรสมทบทุนกัน จนเต็มเป็นจำนวนเงิน 5 หมื่นบาทนะครับ ได้ถวายเพื่อที่จะเอาไปบูรณะ ซื้อทองมาซ่อมแซมพระบรมธาตุ   
        

ยุคล: ทีนี้มากันที่สถานการณ์เมนหลักของประเทศไทย แล้วก็เป็นหัวข้อหลักของการพูดคุยในค่ำคืนนี้ พี่ต้อยตั้งหัวข้อมา "สืบทอดอำนาจของคสช. คนไทยหนุนหรือค้าน?" ประเด็นการสืบทอดอำนาจ น่าจะโยงไปที่ข้อเสนอของคณะรัฐมนตรีทั้ง 16 ข้อ โดยเฉพาะข้อที่ 16 พูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และตอนนี้ก็เกิดการตีความค้นหาคำตอบมากมายนะครับว่า กรธ. จะเขียนออกมาอย่างไร คือตอนนี้มันพูดยากมากว่า จะออกมาในรูปแบบไหน จะสืบทอดอำนาจ จะเป็นการเขียนในบทเฉพาะกาล จะเป็นการมาในรูปขององค์กรพิเศษ เหมือนกับคสช. แต่พอไปถามอ.มีชัย เค้าก็บอกว่าคสช. ไม่อยู่แล้วหลังจากการเลือกตั้ง สรุปแล้วมันจะเป็นยังไง สถานการณ์มันมาถึงจุดนี้ได้ยังไงพี่ต้อย             


สนธิญาณ: สนธิญาณมีคำตอบ ที่เรียนว่าสนธิญาณมีคำตอบเนี่ย มันเป็นคำตอบที่อยู่บนประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่ผ่านมา แล้วก็อยู่บนข้อเท็จจริงทางกฎหมาย ประเด็นสำคัญที่ผมคิดว่าเราจะต้องพูดคุยกันในวันนี้เนี่ยนะครับ เริ่มต้นจากท่านผู้ชมก่อน แน่นอนล่ะครับแฟนข่าวทีนิวส์ มีทิศทางและอุดมการณ์ไปในทิศทางเดียวกันเสียเป็นส่วนใหญ่ ทิศทางที่เป็นไปในส่วนเนี่ย เรียนนะครับว่า ข้อมูลหลักฐานพยาน ที่นำเสนอทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งปวงบนหน้าจอทีนิวส์เนี่ย อยู่บนข้อมูลที่เป็นความจริงหมด ไม่มีการบิดเบือน ไม่มีการสับปรับ ไม่มีการเอาข้อมูลหลอกลวงมานำเสนอ เพราะฉะนั้นท่านผู้ชมทีนิวส์ได้ข้อมูลไปนะครับ ไปคิด ไปใคร่ครวญ ไปพิจารณา วันนี้เนี่ยผมจะถามตั้งแต่ต้นรายการว่าถ้าคสช. และพล.อ.ประยุทธ์ เค้าจะเชื่อมโยงและส่งต่ออำนาจจากคสช. จนไปสู่รัฐบาลใหม่เนี่ย เพื่อที่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมือง ไม่ลุกเป็นไฟ ย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ก่อนพฤษภาคม 57 คนไทยจะค้านหรือสนับสนุน เพราะหลายคนหลายเสียง โดยเฉพาะนักวิชาการที่ค่อนข้างจะคลั่งไคล้ กับการเป็นประชาธิปไตย ผมเรียนนะครับกับนักวิชาการกลางๆ รวมทั้งพวกที่สนับสนุนระบอบทักษิณ อาจจะคาดคิดว่า ถ้าคสช. นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ และอ.มีชัย ไปทำอย่างหนึ่งอย่างใดต่อรัฐธรรมนูญ แล้วทำให้เกิดกระบวนการของการสืบทอดอำนาจ มันจะเกิดเหตุการณ์แบบพฤษภา 35 หรือไม่ หลายคนคาดหวังแล้วก็ฝันว่าเที่ยวนี้แหล่ะมันจะมีม็อบใหญ่มากมายมหาศาล จะมาล้มล้างคสช. และกองทัพ มันเป็นความฝันแบบนั้น ทีนี้เอาท่านผู้ชมของทีนิวส์เนี่ยนะครับ เชียร์ .... จะเอาเป็นโพลหรือความเห็น          


ยุคล: ก็แล้วแต่พี่้ต้อยเลยครับ


สนธิญาณ: เอาความเห็น เพราะเราต้องการเหตุผล เห็นด้วย ด้วยเหตุผลอะไร ไม่เห็นด้วย ด้วยเหตุผลอะไร เราก็จะเอาอันนี้มานับเป็นโพลเหมือนกัน แต่เราไม่อยากให้กด 1 กด 2 เพราะต้องการเหตุผลนะครับ 


ยุคล: ก็สอบถามความคิดเห็นต่อคุณผู้ชมด้วย วันนี้จะได้ร่วมกันแชร์ไอเดียนะครับ เพราะว่าถือว่าเป็นสถานการณ์ของประเทศที่ต้อง ร่วมกันรับผิดชอบไปพร้อมๆ กันนะครับ ทีนี้พูดถึงเงื่อนไขข้อที่ 16 ของคณะรัฐมนตรี จนมันนำพามาสู่ประเด็นของการสืบทอด หรือว่าไม่สืบทอดอำนาจเนี่ยนะครับ ขออนุญาตเท้าความซักนิดหนึ่งนะครับ คือดูให้ชัดๆ กันอีกรอบหนึ่ง ว่าข้อที่ 16 เขียนเอาไว้ว่าอย่างไร จนนำมาสู่การตีความมากมายก่ายกอง ข้อ 16 ตามข้อเสนอของคณะรัฐมนตรีเนี่ยนะครับ บอกไว้แบบนี้ว่า "คณะรัฐมนตรีเป็นห่วงปัญหาดังก่อนเดือนพฤษภาคม 2557 จะย้อนกลับมาอีกภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ กายหลังการเลือกตั้ง และภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จึงเห็นว่าหากบัญญัติเนื้อหาและการบังคับใช้รัฐธรรมนูญเป็นสองช่วงเวลา คือ ช่วงเฉพาะกิจหรือเฉพาะกาลในระยะแรก ซึ่งอาจไม่ยาวนานนัก โดยมีข้อยกเว้นตามความจำเป็นเพื่อรักษาสงบเรียบร้อย และช่วงที่จะใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในระยะต่อไปซึ่งสอดคล้องกับหลักการสากลมากขึ้นและเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยที่ลดข้อจำกัดต่างๆ ลงให้มาก น่าจะแก้ปัญหา และอธิบายให้เป้นที่ยอมรับแก่ประชาชนและนานาชาติได้"       


สนธิญาณ: ดูนะหนึ่ง ในข้อ 16 เนี่ยนะครับ ผมจะเรียนแบบนี้ก่อนว่า มันจะมีหลักของมันที่ชัดเจนอยู่แล้วในข้อเสนอ นี่คือข้อเสนอของครม. ครม. ชุดนี้มีใครเป็นหัวหน้าใหญ่


ยุคล: ก็ต้องพล.อ.ประยุทธ์


สนธิญาณ: เพราะเป็นนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคสช. ชื่ออะไร


ยุคล: ก็พล.อ.ประยุทธ์ เหมือนกัน


สนธิญาณ: คนเดียวกัน ในฐานะที่ทั้ง 2 ตำแหน่งเป็นคนๆ เดียวกัน เพราะฉะนั้นโดยข้อเสนอของคณะรัฐมนตรี จึงต้องเป็นข้อเสนอที่คสช. เห็นชอบอยู่แล้ว ในข้อเสนอนี้เนี่ยนะครับ เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องกลับมาดูตรงนี้หน่อย ผมจะเรียนท่านผู้ชมนะครับว่า ข้อเสนอนี้เนี่ยถ้าย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ก่อนหน้าๆ นี้ เราจะเห็นบทสัมภาษณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ มากมายหลายครั้ง ที่บอกว่าผมพอแล้ว ผมไม่เอาแล้ว ทำไปตามโรดแมป แล้วพวกคุณก็มาทำกันต่อ รัฐบาลใหม่มาก็ทำกันไป ผมเหนื่อย ผมพอแล้ว จะเป็นแบบนี้บ่อยครั้งมาก  


ยุคล: จะพูดอยู่เสมอเลยนะครับ


สนธิญาณ: ย้ำอยู่เสมอ แต่ข้อเสนอดังกล่าวเนี่ยนะครับ ทำให้เราแปลกใจ ในฐานะคนที่เกาะติดข่าวสารบ้านเมือง แสดงว่าความหมายที่ว่าพอ หรือไม่เอาแล้วเนี่ย มันมีเงื่อนไขหรือปัจจัยใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ คณะรัฐมนตรีถึงได้มีข้อเสนอแบบนี้ แสดงว่ามันต้องมีปัจจัยและเงื่อนไขใหม่ อยู่ที่ปัจจัยและเงื่อนไขใหม่เนี่ยมันเกิดขึ้นมาจากอะไร 


ยุคล: คือพี่ต้อยกำลังจะบอกว่าพล.อ.ประยุทธ์ เนี่ย เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแผน


สนธิญาณ: ผมคิดว่ามันเป็นแบบนั้น จากการเกาะติดข่าวสารมา เพราะฉะนั้นเนี่ยนะครับ สิ่งที่เราได้เห็นเนี่ยนะครับ เปลี่ยนแผนเปลี่ยนความคิด และนำไปสู่จุดของการเปลี่ยนบุคลิกภาพ ในการสัมผัสต่อประชาชน และต่อผู้สื่อข่าว พล.อ.ประยุทธ์ หยุดพูดประเภทที่ตอบโต้กับผู้สื่อข่าว เพราะไม่ต้องการจะหลุดถ้อยคำใดๆ ออกมาที่อาจจะกลายมาเป็นประเด็นปัญหา ข้อ 2 ทุกเสาร์อาทิตย์จะมีคำสัมภาษณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ ที่เขียนด้วยตัวเองส่งให้กับพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาล เผยแพร่ถึงประชาชนเป็นระยะ หลังจากที่ได้พูดในรายการคืนความสุข ทุกวันศุกร์แล้วเราจึงเห็นว่า ทิศทางของพล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ในการสื่อสารกับประชาชน เรียกว่าปรับกระบวนการทางความคิด นี่คือรูปแบบและท่าที มันต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เปลี่ยนไป ประเด็นคืออะไรทำให้เปลี่ยน นี่เป็นเรื่องที่เราต้องขบคิด      


ยุคล: เปลี่ยนแล้วจะเป็นยังไงต่อไป


สนธิญาณ: นั่นเป็นประเด็นถัดมา เหมือนที่เราพูดกัน ว่าจะมีคนสนับสนุนหรือมีคนคัดค้าน จนลุกลามกลายมาเป็นเหตุการณ์พฤษภา 35 ผมคิดว่าปัจจัยอันสำคัญในทางการเมืองเนี่ยนะครับท่านผู้ชม ที่ทำให้คณะรัฐมนตรีต้องมีสิ่งที่เป็นข้อเสนอที่ต้องเรียกว่าท้าทาย ต่อความรู้สึกของผู้คนทั้งสังคม ไม่ว่าจะเป็นการท้าทายในเชิงหนุนหรือค้านนะครับ มันจะเป็นตัวชี้ขาดสถานการณ์ของประเทศไทย ในจังหวะก้าวของประเทศในจังหวะต่อไป   


ยุคล: อยู่ที่ประชาชนนะครับ


สนธิญาณ: อยู่ที่ประชาชน แล้วก็เงื่อนไขที่จะเป็นเงื่อนไขชี้ขาด ถ้าประชาชนหนุนแสดงว่าบ้านเมือง ประชาชนต้องการเห็นบ้านเมืองไปสู่ทิศทาง ทิศทางหนึ่ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นทิศทางที่เรียกว่าประชาธิปไตย เลือกตั้งแล้วก็ตะโกนกู่ก้องว่า มาจากเสียงส่วนใหญ่ ประเทศนี้มันต้องประชาธิปไตย เพราะทั้งโลกเค้าใช้ประชาธิปไตย คนไทยอาจจะไม่ได้เห็นแบบนั้นด้วย เพราะฉะนั้นทั้งสิ้นทั้งปวง ก่อนที่มันจะเกิดเหตุลุกลามหรือไม่ลุกลามก็ตามแต่ มันจะเกิดสถานการณ์เป็น 2 ขยัก ขยักแรกเนี่ยนะครับ จะเกิดขึ้นในตอนลงประชามติ   


ยุคล: ประมาณ 31 กรกฎาคมนี้


สนธิญาณ: ถูกต้องครับ จะเกิดขึ้นในตอนลงประชามติ นั่นก็หมายความว่าถ้าประชาชนคนไทย ไปลงประชามติสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับอาจารย์มีชัย ซึ่งมีปัจจัยและเงื่อนไขที่จะทำให้รัฐบาลใหม่ที่เกิดขึ้น จะต้องเดินไปตามครรลอง ที่คสช. และรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ วางเอาไว้ จะหนุนหรือไม่หนุน และถ้ายิ่งลึกลงไปกว่านั้น นอกเหนือจากแนวทางแนวนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการรักษาความสงบของบ้านเมือง ที่จะส่งต่อไปสู่รัฐบาลใหม่ ซึ่งจะต้องเกิดการเลือกตั้งขึ้นอย่างแน่นอนเนี่ยนะครับ ถ้าจะให้มั่นใจ จะให้ชัดเจนขึ้น นั่นหมายความว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะต้องลงไปบริหารจัดการประเทศต่อหรือไม่ นี่คือสิ่งที่ต้องคิด ถ้าประชามติออกมาทะลักทะลายท่วมท้น ประเทศเราก็จะเดินไปสู่อีกจังหวะก้าวหนึ่ง จังหวะก้าวนั้นคือจังหวะก้าวที่คสช. ได้วางเอาไว้ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 20 ปี แต่ถ้าประชามติออกมาแพ้หรือชนะแบบเฉียดฉิว และหากมีการไปจัดตั้งรัฐบาล และมีคนในคสช. หรือพล.อ.ประยุทธ์ ไปอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการที่จะบริหารประเทศชาติต่อ มันจะเกิดเหตุวุ่นวายแบบพฤษภาคม 35 หรือไม่ ที่ก็เป็นประเด็นที่ทำให้ชวนต้องคิด แต่ถ้าชนะขาดทุกอย่างจะเปลี่ยนไป ประเทศไทยจะเดินไปสู่อีกทางหนึ่ง ส่วนทางนั้นเนี่ยนะครับ จะเป็นทางแห่งความสวยสดงดงาม เป็นทางแห่งความดีงามที่มีประชาธิปไตย แต่จะเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ หรือจะเป็นประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ หรือว่าจะเดินเข้าสู่ประชาธิปไตยแบบเต็มที่ แต่อยู่ภายใต้ความสับสนอลหม่าน อยู่ภายใต้ผู้คนออกมาชุมนุมเป็นแสนเป็นล้าน แล้วเกิดความวุ่นวาย นั่นก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดใคร่ครวญ และขยายภาพออกมาให้เห็น             


ยุคล: คือในโทนของสถานการณ์จริงๆ เนี่ย ยังต้องรอเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับเสด็จน้ำเนี่ยนะครับ ที่ต้องแก้ให้เสร็จในวันที่ 29 มีนาคม แต่ขอถามพี่ต้อยก่อนว่า จากประสบการณ์พี่ต้อยและการมองสถานการณ์ ณ ขณะนี้เนี่ย คนไทยจำนวนหนึ่งได้เลือกแล้วใช่มั้ยครับว่า จะอยู่เคียงข้างคสช. คือจะให้ผ่านแน่ มายังไงเนี่ยเชื่อมั่น ต้องรอดูเนื้อหาก่อน 


สนธิญาณ: ต้องรอดูเนื้อหา


ยุคล: เลือกแล้วหรอครับ


สนธิญาณ: ผมคิดว่าคนเลือกแล้ว อยู่ที่ว่าจำนวนมากหรือน้อย


ยุคล: เพราะฉะนั้นจะมากหรือน้อยมันอยู่ที่เนื้อหามั้ยครับ หรือว่าอยู่ที่สถานการณ์ ณ เวลานั้น


สนธิญาณ: อยู่ที่สถานการณ์ ณ เวลานี้ ไม่ใช่เวลานั้น


ยุคล: เวลานี้ด้วย


สนธิญาณ: ถูกต้อง


ยุคล: เนื้อหาไม่มีผลเลยหรอครับ คนไม่อ่านรัฐธรรมนูญหรอ


สนธิญาณ: คนรู้แล้วนี่ หลักใหญ่ใจความมันรู้กันหมดแล้ว รายละเอียดจุ๊กจิ๊ก พวกอักษรภาษาเนี่ยไม่ใช่ มันชัดเจนแล้ว แต่จะเป็นยังไงเนี่ยเดี๋ยวช่วงหน้ามั้ย 


ยุคล: ได้เวลาพักเบรกแล้วนะครับ ยังไม่ได้พูดถึงสาเหตุที่พี่ต้อยวิเคราะห์ว่า ทำไมพล.อ.ประยุทธ์ ถึงเปลี่ยนใจ และยังไม่ได้พูดว่าต่อจากนี้ไป สถานการณ์การรุกรบทางการเมืองจะเป็นยังไงต่อ เดี๋ยวตามต่อในเบรกหน้านะครับ ช่วงนี้พักกันก่อนซักครู่เดียวครับ (พักช่วง) กลับเข้ามายังเบรคที่สองนะครับ

สนธิญาณ : จะเป็นแรงต้านตานพอไหมที่จะสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ หรือคนดูทีนิวส์เป็นคนส่วนน้อยของประเทศ ทีนี้เรากลับมาดูว่าก่อนหน้านี้ปฏิเสธตลอดมา ตอนนี้เกิดอะไรขึ้นผมคิดว่าปรับใจหนึ่งที่เราจะต้องกลับไปดูและมองภาพกันให้ชัด ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาตัวคุณทักษิณเอง คุณยิ่งลักษณ์เอง และบรรดาเครือข่ายทั้งหลายเรียกว่าออกมาเคลื่อนไหวถี่มาก ทีนี้ในการออกมาเคลื่อนไหวถี่นั้นมีสาเหตุครับ สาเหตุแรกตัวคุณยิ่งลักษณ์ซึ่งเป็นน้องรักน้องเลิฟของคุณทักษิณ ไม่เคยรู้เรื่องการเมือง คุณทักษิณไปลากเอามาเพราะไม่วางใจใครในการที่จะให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพราะกลัวจะไม่ตอบสนองความต้องการหรือคำสั่งของตัวเอง เหมือนที่เคยยกให้คุณสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีและปรากฏว่าคุณทักษิณอยู่ในความคับแค้นใจ และไปหลอกคุณสมัครว่าจะตั้งใหม่แต่สุดท้ายก็ไม่ตั้งไปตั้งคุณสมชายแทน วันนี้คุณทักษิณพาคุณยิ่งลักษณ์มาเสี่ยงทั้งทรัพย์สินเงินทองและชีวิต ทรัพย์สินมีโอกาสอย่างยิ่งในการที่จะถูกเรียกละเมิด

 

 

ยุคล : ผลจากคดีจำนำข้าว

 

 

สนธิญาณ : คืออาจจะเสียหายเป็นแสนแสนล้านบาท แต่เรียกไปสักสี่ห้าพันล้านบาทคุณยิ่งลักษณ์ก็หมดเนื้อหมดตัวแล้ว ส่วนที่จะฝากฝังอยู่ที่ไหนก็ตามแต่ แต่ทรัพย์สินที่มีอยู่และแสดงต่อ ป.ป.ช. ตอนที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็หมดแล้ว หมดและถ้าไม่พอต่อความเสียหายก็เข้าสู่การฟ้องร้องและเข้าสู่สภาวะสูญเสียหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สองศาลเขาบอกว่าวิพากษ์วิจารณ์คดีจำนำข้าว อันนี้ไม่ใช่การวิพากษ์วิจารณ์แต่โดยพยานหลักฐานที่ปรากฏคุณยิ่งลักษณ์มีความเสี่ยงสูง ถ้าผมเป็นคุณทักษิณจะปล่อยให้น้องสุ่มเสี่ยงเข้าคุกตารางได้หรือ ไปพาน้องมาไปเอาน้องมาใช้ จะให้น้องติดคุกหรือ

 

 

ยุคล : คดียิ่งลักษณ์จะมาก่อนการเลือกตั้งเสียด้วยซ้ำไป

 

 

สนธิญาณ : ครับ ในแง่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมือง ซึ่งปลายปีนี้จะสรุปสำนวนคดีเรียบร้อยใช้เวลาภายใน 1-2 เดือน ต้นปี 2560 จะได้เห็นคำพิพากษาแน่นอน ซึ่งการเลือกตั้งเป็นปลายกรกฎาคมไปแล้ว สามแม้วันนี้ดีเอสไอบอกว่าจะเรียกคุณโอ๊ค 4 มีนาคม นี้ มาสอบปากคำเพื่อจะให้เป็นพยานในคดีฟอกเงิน การสอบปากคำเพื่อเป็นพยานก็อยู่กับพยานหลักฐาน หลายๆคนที่สอบไปว่าท้ายที่สุดแล้วคนที่เป็นพยานอาจจะกลายมาเป็นผู้ต้องหาก็ได้ หรืออาจจะเป็นแค่พยานอย่างเดียว

 

 

ยุคล : เพราะเข้าไปเกี่ยวและเข้าไปรู้เห็นในคดีของแบงก์กรุงไทย แบงค์ในเครือกฤษดามหานคร

 

 

สนธิญาณ : น้องรักลูกชายสุดสวาท ขาดหัวใจคนเดียวโดนเรื่องหนัก เมื่อจะโดนเรื่องหนักคุณทักษิณทำอย่างไรครับ ต้องดิ้นไหมครับ นึกถึงตัวเรา

 

 

ยุคล : โดยธรรมชาติของคนเป็นพี่เป็นพ่ออยู่เฉยไม่ได้หรอกครับ

 

 

สนธิญาณ : ถูกต้อง คนที่เป็นพี่เป็นพ่อมาสร้างบาปให้กับน้องให้กับลูกตัวเอง เพราะตัวเองหลงแก่อำนาจคิดว่ามีอำนาจ สอนลูกลูกก็เอาอำนาจที่มีแสดงอิทธิฤทธิ์ สมัยคุณโอ๊คแสดงอิทธิฤทธิ์ รู้จักบริษัทฮาวคัมไหมครับ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ ได้งานของราชการไปเยอะแยะมากมายทั้ง ๆ ที่พ่อก็มีเงินมากมายมหาศาลแล้ว ในสมัยที่ม็อบกำลังมีปัญหาเยอะ ๆ หลายคนในพรรคเพื่อไทยโทรฯมาปรึกษากับผม บอกว่าช่วยแก้ปัญหาให้คุณทักษิณหน่อยนะครับ ผมพูดเรื่องจริงนะครับ ผมอาจจะเป็นแค่คนเล็ก ๆ คนหนึ่ง ผมบอกง่ายนิดเดียว คุณทักษิณประกาศเลิกวางมือทางการเมืองแล้วเอาทรัพย์สินที่มีสักสองสามหมื่นล้านบาทจากที่มีเป็นแสนแสนล้านมาให้คุณโอ๊คเป็นประธานมูลนิธิแล้วเอาเงินหมื่นสองหมื่นล้านทำเพื่อประเทศชาติทำเพื่อประชาชนอย่างเดียวคนเขาก็จะเห็นความจริงใจ แต่ความจริงสภาพการเดินส่วนทางกันทั้งสิ้น ฉะนั้นวันนี้พ่อแม่รังแกฉัน  พ่อจะรู้สึกไหม

 

 

ยุคล : เห็นจากท่าทีคุณทักษิณทำให้คนคิดว่าที่ผ่านมาคุณทักษิณรู้สึกในสิ่งที่พี่ต้อยกำลังจะพูดไหมครับ

 

 

สนธิญาณ : ผมคิดว่ารู้สึกไม่เช่นนั้นไม่เคลื่อนไหวถี่ขนาดนี้

 

 

ยุคล : เรื่องที่ทำให้น้องกับลูกต้องมาเจอชะตากรรมแบบนี้

 

 

สนธิญาณ : ผมคิดว่าไม่รู้สึกครับ แต่รู้สึกเจ็บว่าน้องกับลูกกำลังถูกรังแก รู้สึกโกรธจึงดำเนินการเคลื่อนไหว เพราะฉะนั้นคำพูดสุดท้ายของคุณทักษิณคือขู่ ผมเงียบมานานแล้ว

 

 

ยุคล : เหมือนนักเลงเหมือนกันนะครับ ต่อไปจะไม่เงียบแล้วนะครับ

 

 

สนธิญาณ : แล้วหลังจากที่ไม่เงียบ เราจะเห็นการให้สัมภาษณ์สื่ออย่างต่อเนื่อง จัดการวันที่ 9 นี้ จะไปพูดกับองค์การนโยบายโลก โอเคครับองค์การนี้เขาตั้งมา 50 กว่าปี แต่ปรากฏว่ามีบริษัทล็อบบี้ยิสต์เกิดขึ้นและเข้าไปดำเนินการ แต่นั้นก็ชี้ให้เห็นว่านั่นเป็นความพยายาม ฉะนั้นคุณทักษิณได้มีความพยายามในการที่จะสู้โดยการประกาศให้คนของตัวเองหรือผู้สนับสนุนตัวเองเห็นสัญญาณอย่างชัดเจนว่าผมจะกลับบ้าน เขาพูดใช่ไหมครับ คุณทักษิณจะกลับบ้านแบบไม่ติดคุกด้วยนะครับ ผมจะกลับบ้านมาโดยไม่ติดคุก ถ้าคุณทักษิณโดยไม่ติดคุกมีอยู่สองเหตุผล เหตุผลแรกต้องมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมคุณทักษิณ เป็นรัฐบาลประชาธิปัตย์จะออกไหมครับก็ไม่ออกอยู่แล้ว เป็นรัฐบาล คสช.จะออกไหมครับก็ไม่ออก ชัดเจนแล้วครับ ท่านนายกรัฐมนตรีพล.อ.ประยุทธ์พูดทุกครั้งต้องดำเนินการตามกฎหมายคนที่หนีไปอยู่ต่างประเทศ กลับมาเถอะมารับโทษ และรัฐบาลไหนครับที่จะออกก็ต้องเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยเท่านั้นถึงจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้คุณทักษิณ ซึ่งได้พยายามทำมาแล้วในรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์และผลที่ติดตามมาก็คือการออกมาชุมนุมของ กปปส. และประเทศก็เดินหน้าไปสู่ความรุนแรง นี่ทางแรก ทางที่สองก็คือคุณทักษิณและคณะ นี่ผมไม่ได้กล่าวหานะครับผมบอกว่ามีทางเลือกสองทาง คือคุณทักษิณและคณะต้องดำเนินการปฏิวัติประชาชน ปลุกประชาชนขึ้นสู่กับ คสช. และคสช.มีอาวุธมีกองทัพหนุนหลัง แสดงว่าการปลุกขึ้นสู่ในสงครามปฏิวัติทั่วโลกคือต้องปลุกให้ประชาชนขึ้นมาสู่

 

 

ยุคล : คุณทักษิณต้องเป็นรัฏฐาธิปัตย์แทนพล.อ.ประยุทธ์ ใช่ไหมครับ

 

 

สนธิญาณ : การปฏิวัติก็เพื่อนำไปสู่หยุดที่ยุคลว่า คือคุณทักษิณต้องได้คุมอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ถึงจะบอกว่าผมไม่ผิด ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมทำไม่ผิด ชนะเป็นเจ้า เขาบอก แพ้ก็เป็นมาร เพราะฉะนั้นคุณทักษิณมีทางเลือกอยู่สองทางในการที่จะทำ จากตัวเองประกาศจะกลับบ้าน ลูก น้อง มีโอกาสจะต้องรับชะตากรรมอันสาหัส มารวมกันแล้วดูแล้วแสดงว่าโอกาสของสถานการณ์บ้านเมือง จะนำพาไปสู่การเผชิญหน้าอีกครั้งหนึ่ง มีโอกาสไหมครับ

 

 

ยุคล : โดยเงื่อนไข

 

 

สนธิญาณ : โดยปัจจัยทางการเมืองมีโอกาสเป็นอย่างยิ่ง ถ้าผมเป็นคุณทักษิณเรียนเลยครับว่าวันนี้ต้องมีการทำ RoadMap เหมือนกัน เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ทำ RoadMap ได้ คุณทักษิณก็ทำ RoadMap ได้ คือ RoadMap ในการวางจังหวะก้าวในการต่อสู้ ทุกครั้งนะครับตั้งแต่ปี 2552 มา เขามีจังหวะเดินมาเพื่อให้ถึงจุด ๆ หนึ่งเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและดำเนินการให้เขากลับบ้าน จังหวะปี 2553 หนักกว่าปี 2552 ต้องทวนให้เห็นภาพกันไปชัดเจน ปี 2552 เอาแค่วุ่นวายเกิดจลาจลกลางเมืองให้พอหอมปากหอมคอ

 

 

ยุคล : จำลอง พฤษภา35

 

 

สนธิญาณ : ถูกต้องเพื่อให้เกิดการอภัยโทษหรือการนิรโทษกรรมตัวเอง แต่เหตุการณ์ไม่ได้เกิดไปตามคิด 2553 อีกทีหนึ่งหนักเลยมีกองกำลังติดอาวุธไม่รู้ของใครยิงกันเรียกว่าได้เกิดหายนะให้กับประเทศชาติและประชาชนทั้งระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ มากมาย ทั้งสิ้นเพื่ออะไรครับ เพื่อกลับบ้านทั้งสิ้น ภายใต้ประชาธิปไตย วันนี้ผ่านมา 2553 - 2559 ในช่วงที่รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ขึ้นมาบริหารประเทศตั้งแต่ปี 2554 - 2557 ถึงการยึดอำนาจของ คสช. ได้ใช้ความพยายามอย่างสุดขีดในการที่จะนิรโทษกรรม

 

 

ยุคล : หลายรอบ

 

 

สนธิญาณ : แต่ครั้งสุดท้ายก็คือ ทะลุซอยสุดซอยไปให้สุด ๆ คุณทักษิณสั่งการลงมาเอง

 

 

ยุคล : ถึงขนาดยอมต้มพี่น้องคนเสื้อแดง

 

 

สนธิญาณ :  ชัดเจนครับ วันนี้ท่านผู้ชมคิดว่าโอกาสอย่างนี้จะเกิดขึ้นอีกไหม จากการเคลื่อนด้วย RoadMap ของคุณทักษิณ ปัจจัยต่าง ๆ ที่รองรับและรอคอยอยู่นำพาสถานการณ์ไปถึงจุดนั้น

 

 

ยุคล : จริง ๆ ถ้าพี่ต้อยบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์เปลี่ยนความคิดเปลี่ยนแผน ถ้าไปดูคุณทักษิณก็จะเปลี่ยนเหมือนกัน ทีแรกคุณทักษิณที่บอกว่าเงียบเพราะรอการเลือกตั้งหรือเปล่า

 

 

สนธิญาณ : รอการเลือกตั้งหรือรอการเจรจาบางสิ่งบางอย่างที่ตัวเองยังหวาดหวังอยู่

 

 

ยุคล : แต่พอไปๆมาๆเจอข้อ 16 เข้าไป เจอยุทธศาสตร์20 ปี ซึ่งทั้งสองเรื่องเพิ่งมาทีหลังคุณทักษิณก็ออกมาเหมือนกัน เรียกว่าเกมเล่นกันตาต่อตาฟันตาฟันหรือเปล่าครับ

 

 

สนธิญาณ : ก็นำพาไปสู่ให้ประชาชนคนไทยเลือก อนาคตทิศทางประเทศนะครับว่าจะเดินแบบแนวของทักษิณคือประชาธิปไตยเลือกตั้งกันไป เสรีกันไปหรือจะเลือกแนวทางแบบ คสช. ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ดูแลรักษาความสงบบ้านเมือง พัฒนาประเทศชาติอย่างมีจังหวะก้าวอย่างมีแผนยุทธศาสตร์เป็นทางเลือกสองทาง

 

 

ยุคล : เกมนี้เลือกตั้งดูมีความสำคัญน้อยลงหรือเปล่าครับ

 

 

สนธิญาณ : ยังมีความสำคัญ จะต่อเนื่องให้ฟังว่าสภาพความสำคัญของการเลือกตั้งเราก็ต้องกลับมาดูมาตีความว่าข้อเสนอข้อที่16 ของที่เสนอให้กับอาจารย์มีชัยเป็นอย่างไร ก็ต้องกลับไปดูการตอบคำถามของอาจารย์มีชัย ไม่ต้องเป็นสองขยักนี้ เขียนเป็นบทเฉพาะกาลก็ได้ แต่ที่เขียนไปต้องเรียนว่าในบทเฉพาะกาลเดิมเขียนไว้แล้วว่าให้รัฐบาล คสช. รักษาการอำนาจไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ แสดงว่ารัฐบาลใหม่ รัฐบาลรักษาการและ คสช.จะจบบทบาทและยุติลง

 

 

ยุคล : อันนี้คือของที่อาจารย์มีชัยเขียนมาตั้งแต่ต้น

 

 

สนธิญาณ : ทีนี้เที่ยวนี้ต้องอ่านใจว่าเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ประกาศว่าต้องเดินตาม RoadMap แสดงว่าการเลือกตั้งต้องมี เพราะเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งอยู่ตรงที่ทำให้นานาชาติยอมรับว่าประเทศนี้ไม่ได้เดินด้วยกลไกของเผด็จการและทหารแล้ว เกิดการเลือกตั้งขึ้นมาแล้ว รัฐธรรมนูญก็มีเนื้อหานำพาไปสู่การเลือกตั้งแล้ว อาจจะมีเนื้อหาที่บางคนโจมตีหรือตีความว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ จะครึ่งใบอย่างไรจะขยายความให้ฟัง แต่เป็นกฎหมายสูงสุดที่ประชาชนได้ลงประชามติแล้ว

 

 

ยุคล : มีทั้งประชามติและมีทั้งเลือกตั้งแล้ว ก็ดูเหมือนจะยอมรับได้เหมือนกัน

 

 

สนธิญาณ : ต้องเป็นที่ยอมรับ ผมถึงเรียนว่าประชามติสำคัญ ถ้าประชามติแล้วขาดเป็นสองสามล้านคน ออกมาถล่มทลายผมเรียนได้เลยว่าสภาพการบ้านเมืองจะอยู่ภายใต้ทิศทางที่ปกติ เพราะนี่เป็นพลังที่จะไปหนุนเสริม พล.อ.ประยุทธ์และกองทัพ และผู้ที่ทำงานให้บ้านเมือง อาจจะมารวมกับนักการเมืองเพื่อที่จะเดินหน้าต่อไปได้นะครับ เพราะฉะนั้นฟันธงว่าการเลือกตั้งมีเพราะสำคัญ ประชามติก็มี แต่ขั้นตอนสำคัญว่าตอนประชามติต้องถล่มทลายนะครับ ไม่ถล่มทลายเสร็จ จังหวะสองก็ทำให้ฝ่ายต่อต้านคิดว่าคุณไปเคลื่อนไหวไปทำนู่นนี่ชนะเฉียดฉิวชนะมา คุณไปใช้อำนาจรัฐ ใช้ศึกษาวิชาทหาร แต่ถ้าชนะกันแบบ สามล้านห้าล้านก็พูดโจมตีไม่ได้แล้ว แสดงว่าคนที่นิ่งเงียบในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทุกครั้งหรือการลงประชามติครั้งอื่น ๆ จะทะลักออกมามากกว่าเดิมสำหรับจำนวนผู้ใช้สิทธิ์นึกออกไหมครับ พวกนี้ไม่เคยออกมา พวกนอนหลับทับสิทธิ์วันนี้ออกมาหนุนพล.อ.ประยุทธ์ นี่หรือไม่ต่างหากซึ่งก็ต้องมีการมาคาดการณ์ว่าใครที่จะหนุน พล.อ.ประยุทธ์ ผมเรียนนะครับ คนที่จะหนุนพล.อ.ประยุทธ์มาลองดูว่าใช่หรือไม่ใช่ กลุ่มแรกคือมวลชนที่ออกมาร่วมเคลื่อนไหวสนับสนุน กปปส. ออกมาหย่อนบัตร ขนาดออกมาเดินขบวนเป็นหลายล้านคนยังออกมาได้ ไม่ตั้งนับลูกหลานที่อยู่ที่บ้าน ที่จะชักชวนจะนำพากันออกมา เห็นไหมครับนี่จำนวนที่หนึ่ง จำนวนที่สองอยากจะออกมาเงียบ ๆ ไม่อยากจะประกาศหรือบอกกับใครคือคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งที่เบื่อหน่ายการต่อสู้ สามก็คือคนที่อยู่กลาง ๆ ในช่วงที่ผ่านมาเบื่อหน่ายต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เบื่อทุกฝ่าย พอพล.อ.ประยุทธ์ไชโยเลยจะได้จบหยุดกันไปสักที จะประชาธิปไตยหรือไม่ไม่เกี่ยวขอให้บ้านเมืองเดินไปได้ คนเหล่านี้ไปแลกเปลี่ยนเหมือนที่ผมเล่าให้ฟังว่าประเทศจีนเป็นประชาธิปไตยไหม เขาเรียกประชาธิปไตยรวมศูนย์ แต่ไม่ได้เลือกตั้งแบบเสรี เพราะฉะนั้นวิธีการแบบจีน ที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์คือกรรมการพรรคมีอำนาจแต่มีการโหวตกันในกรรมการพรรค ไม่ได้ให้ประชาชนทั่วไปโหวต ประเทศจีนก็ยังเดินมาได้ตามลำดับจนวันนี้คนจีนเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะเศรษฐกิจของจีนดีขึ้น ต้องย้อนกลับไป 30 - 40 ปีก่อน คนจีนสมัยก่อนใส่ชุดสีเทาถีบแต่จักรยาน วันนี้เศรษฐกิจจีนเฟื่องฟูจะครอบงำโลกทั้งโลกแล้ว ขณะที่อเมริกาหัวทิ่มแต่จีนผงาด เกิดอะไรขึ้นครับ เพราะจีนวางยุทธศาสตร์ชาติแล้วเดิน สร้างยุทธศาสตร์แล้วทำได้เพราะไม่มีความวุ่นวาย หลายเสียงบอกว่าไม่มีประชาธิปไตยชีวิตก็ไม่มีอิสระ เสรีภาพ ตายเสียดีกว่า คนจีนเขามีอิสระ เสรีภาพของเขาตามที่เขาจะมี จากรุ่นพ่อรุ่นปู่ย่าซึ่งอดข้าวตาย เพราะไม่มีที่ดินทำกิน มาสู่รุ่นพ่อมีอยู่มีกินมีจักรยานถีบ มีข้าวกินได้ใส่เสื้อผ้าอบอุ่น แต่สีเทากันทั้งประเทศ วันนี้รุ่นหลานเพราะการดำเนินแนวนโยบายอย่างมียุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นคนจำนวนหนึ่งของประเทศไทยคิดแบบนี้เหมือนกัน จะประชาธิปไตยอะไรไม่รู้ ขอให้เศรษฐกิจเดินไปได้และมีความต่อเนื่อง วันนี้หลายคนอาจจะคิดว่าเจอพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกก็เข้าท่าดี ไม่ต้องถือโพยไปอ่าน พูดจาก็ฉะฉานรู้เรื่องหมด เป็นคนกำหนดยุทธศาสตร์ เป็นผู้นำที่มีความพร้อมและยังไม่เห็นเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชัน อันนี้ล่ะครับเป็นปัจจัยที่ทำให้คนหนุน แต่จะมากจะน้อยผมเรียนนะครับว่าอยู่ที่ท่านผู้ชมและคนไทย ไม่ได้อยู่ที่คำพูดของผม ผมแค่วิเคราะห์ให้ฟัง

 

 

ยุคล : สถานการณ์ในวันนั้นที่ต้องตัดสินใจจะเป็นตัวบีบไหมครับว่าเป็นการเลือกระหว่าพล.อ.ประยุทธ์กับคุณทักษิณ

 

 

สนธิญาณ : เป็นการเลือกระบบ เลือกระบบของคุณทักษิณ เสรีประชาธิปไตย ค้าขายกันอย่างเสรีใครรวยมือใครยาวสาวได้สาวเอา ก็เอาแบบคุณทักษิณก็ไม่ผ่าน เอาแบบพล.อ.ประยุทธ์ประชาธิปไตยครึ่งใบเอาแบบเศรษฐกิจพอเพียงรักษาฐานอันมั่นคงของประเทศ และเดินหน้ากันไป

 

 

ยุคล : นี่เหมือนการเลือกตั้งเลยครับ

 

 

สนธิญาณ : เป็นทางเลือก เป็นการชี้ทิศทางใหม่ของประเทศ แต่จะทำได้หรือไม่เราต้องไปขยักกันต่อสำหรับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญที่ว่า อาจารย์มีชัยจะเขียนมาอย่างไรที่ทำให้การสืบทอดอำนาจหรือการส่งต่ออำนาจในการที่จะรักษาทิศทางแนวทางให้คนเลือกจะทำอย่างไรเราจะมาเฉลยกันต่อและวิเคราะห์ว่าความคาดหวังของคุณทักษิณและนักประชาธิปไตยบางส่วนคิดว่า คสช.สืบทอดผ่านยุทธศาสตร์ 20 ปี และมีบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแล้วจะมีคนออกมาประท้วงทั้งประเทศจะมีการออกมาประท้วงเหมือนตอน พฤษภา35หรือไม่ เดี๋ยวผมจะเปรียบเทียบให้เห็นว่าข้อเท็จจริงในแต่ละอันเหมือนกันหรือว่าแตกต่างกัน

 

 

ยุคล : และอยากจะถามพี่ต้อยด้วยว่า สมมติว่า คสช. ชนะขาดในการทำประชามติ คุณทักษิณจะต้องจบไปเลยหรือเปล่าครับ

 

 

สนธิญาณ : ผมคิดว่าจบแล้วเที่ยวนี้ จบตั้งแต่ประชามติ คือจะก่อกวนอะไรก็ยากมาก คือความพยายามทั้งหลาย กองกำลังติดอาวุธที่ออกมาทำนู่นทำนี่คือความจริงวันนี้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์เขาเอาอยู่หมด มีหลุดมาบ้างพวกที่จ้องจะทำ

 

 

ยุคล : เดี๋ยวมาตามต่อในเบรคสุดท้ายครับ (พักช่วง) กลับเข้ามายังเบรคสุดท้าย วันนี้เราพูดคุยกับพี่ต้อยในประเด็นที่เป็นอนาคตของประเทศต่อจากนี้ ดูพี่ต้อยจะเน้นย้ำกับประชามติวันที่ 31 ก.ค. นี้มากว่าจะเป็นตัวชี้ขาดสถานการณ์ซึ่งจะทำให้รู้เป็นรู้ตายเลยว่า พล.อ.ประยุทธ์กับคุณทักษิณ อย่างไรต่อครับพี่ต้อย

 

สนธิญาณ : เราต้องมาดูกันว่า เมื่อกี้กำลังไล่เลียงกันว่าสถานการณ์จะไปอย่างไร เนื้อหารัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร อ.วิษณุพูดเรื่องรัฐธรรมนูญปี 2521 แนวทางเป็นอย่างไรนั้น รัฐธรรมนูญที่ร่างมาแล้วบทเฉพาะกาลจะเป็นอย่างนี้ครับ รัฐสภาจะประกอบไปด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสมาชิกผู้แทนสภาราษฎร ซึ่งที่จะต้องดูข้อแรกก็คือว่าตัวของประธานวุฒิสภากับประธานสภาผู้แทนราษฎรตอนเป็นบทเฉพาะกาลใครจะเป็นประธาน สองวุฒิสภาชุดแรกแน่นอนครับไม่น่าจะมาจากการเลือกตั้ง เลือกตั้งไม่ทันนะครับจะด้วยวิธีอะไรก็ตามแต่ แต่ไม่ทัน เพราะฉะนั้นต้องมาจากการแต่งตั้งฉะนั้นสิ่งที่เราต้องติดตามดูตอนนี้คือ 1.ประธานวุฒิสภาจะเป็นประธานรัฐสภาหรือไม่

 

 

ยุคล : อันนี้คือถอดรหัสข้อ16

 

 

สนธิญาณ : รัฐธรรมนูญแต่เดิมมา ประชาธิปไตยคนครึ่งใบมาตลอด ทหารยึดอำนาจแต่งตั้งวุฒิสมาชิกมาเอง จึงให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา เหตุผลทำไมหรือครับ เพราะประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯนายกรัฐมนตรี สำคัญไหมครับ อันนี้ข้อหนึ่งก่อน เพราะถ้าเป็นสภาผู้แทน เป็นประธานรัฐสภา สิ่งแรกต้องมาจากพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งเสียงข้างมากก่อน ซึ่งไม่รู้ใครจะเป็นใครคาดการณ์ไม่ได้  ซึ่งนี่คือความหมายของคำว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ เพราะหลังจากรัฐธรรมนูญปี2521 ครั้งหลังมาก็เริ่มแก้ ก็เอาประธานสภาผู้แทนราษฎรมาเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิฯมาให้เป็นรองรัฐสภา เพราะถือว่าประธานรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง 2.จำนวนวุฒิฯ จากที่กำหนดไว้ตอนนี้ 200 ผู้แทนราษฎรมี 350 บวกกับปาร์ตี้ลิสต์เป็น 500 ทั้งหมด 700 ถ้าจะมีการเลือกนายกรัฐมนตรีโหวตเสียงบทเฉพาะกาลอาจจะเขียนว่าให้รัฐสภาดำเนินการโหวต

 

 

ยุคล : ถ้าเป็นของเดิมก็คือเฉพาะผู้แทนราษฎรมาโหวต

 

 

สนธิญาณ : ถูกต้อง และในปี 2521 วุฒิสมาชิกมีจำนวน 3 ใน 4 ของจำนวนผู้แทนสภาราษฎร ชี้ขาด นี่คือสิ่งที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2521 ต้องมาดูว่าอ.มีชัยจะทำอย่างไรต่อในการที่จะทำให้เรื่องนี้เดินต่อไปได้ ผมขยายความให้ฟังเอาหลักสั้น ๆ ง่าย ๆ แบบนี้ก่อน

 

 

ยุคล : พี่ต้อยพูดขนาดนี้กำลังบอกว่า จะไปเอาของปี 2521 มาเลยหรือเปล่า เรื่องวุฒิสมาชิก

 

 

สนธิญาณ : เป็นแนวครับ ว่าต้องมาดูว่าจะทำอย่างไร เราจินตนาการการเลือกตั้ง อย่างไรวันนี้ถามว่าพรรคเพื่อไทยกับเครือข่ายของคุณทักษิณถือว่า คสช. เป็นฝ่ายตรงข้ามไหมครับ ถ้า คสช. และรัฐบาลชุดนี้ควรจะมีการรักษาสถานการณ์บ้านเมืองให้ต่อเนื่องไป รัฐบาลพรรคเพื่อไทยหรือพรรคเพื่อไทยจะไม่เอาตามด้วย ทีนี้พรรคเพื่อไทยอย่างไรก็ตามแต่ที่นั่งในสภา 30 - 40 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามแต่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจะต้องมีประมาณ 200 คน ใน 500 คน อันนี้เป็นโจทย์ที่แก้ตั้งไว้แล้ว ด้านพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีโอกาสทั้งที่จะร่วมและไม่ร่วมกับ คสช.  เพราะรัฐธรรมนูญออกมาแนวนี้เราต้องดูท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะคุณอภิสิทธิ์

 

 

ยุคล : ตอนนี้ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่

 

 

สนธิญาณ : ไม่แสดงออกกำลังมึนงงอยู่ ท่าทีของคุณอภิสิทธิ์ถ้าหากว่าออกมาคัดค้านก็แสดบงว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เอา เพราะคุณอภิสิทธิ์ยังเป็นหัวหน้าพรรคอยู่ใครก็เปลี่ยนเสียงไม่ได้ แสดงว่ายังคุมคณะกรรมการบริหารพรรคได้อยู่ ถ้าคณะกรรมการบริหารพรรคจะเปลี่ยนไปอย่างอื่นก็ต้องปลดคุณอภิสิทธิ์ออกจากหัวหน้าพรรค

 

 

ยุคล : แล้วคุณสุเทพล่ะครับ

 

 

สนธิญาณ : ไม่เกี่ยวกับการเมืองแต่เดี่ยวต้องพูดถึงครับ พรรคเล็ก ๆ พรรคกลาง ๆ แน่นอนพรรคภูมิใจไทยเชียร์ คสช. อยู่แล้วเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะใคร ๆ ก็บอกว่าที่คุณเนวินเปลี่ยนออกจากทักษิณมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล พรรคเพื่อไทยบอกว่าไปจัดตั้งในค่ายทหาร แต่จริง ๆ ต้องให้คุณเนวินตัดสินใจ แต่ถามว่าจะมีบทบาทตามนั้นจริงหรือไม่ก็เห็นชัดว่าคุณเนวินสนิทกับพล.ต.อ.สมยศ ซึ่ง พล.ต.อ.สมยศได้เป็น ผบ.ตร. เพราะพล.อ.ประวิตร โยงใยกันมาก็เห็นภาพชัดกันได้ ปรากฏภาพที่ชัดขึ้นได้ พรรคคุณสุวัฒน์ คุณบรรหารน่าจะเป็นไปตามกระแสใหญ่ กระแสใหญ่วันนี้ไม่ได้อยู่ที่คุณทักษิณ แม้คุณทักษิณจะพยายามติดต่อและมีบทบาท แต่กระแสใหญ่ยังอยู่ที่ คสช. พรรคเหล่านี้ถ้าเลือกได้ก็จะเลือกเอา คสช. แต่ถ้าพรรคประชาธิปัตย์กับเพื่อไทย เกิดไม่เอาขึ้นมา ก็ต้องมาดูว่าโอกาสของรัฐธรรมนูญที่เคยตามที่ว่า 500 กับ 200 ครึ่งนึงคือ 350 แต่ถ้าเพื่อไทยตามฐานเก่ได้ 200 คน ประชาธิปัตย์ได้ 130 ก็ 330

 

 

ยุคล : 150 ก็ได้นะครับจริง ๆ เป็นครึ่งนึงเลยนะครับ

 

 

สนธิญาณ : ก็จากเดิมจะไม่ถึงครับ ทำให้วุฒิฯกับพรรคเล็กโหวตนายกได้

 

 

ยุคล : ประชาธิปัตย์เหมือนเป็นตัวชี้ขาดนะครับถ้าฟังแบบนี้

 

 
สนธิญาณ : ชี้ขาดแต่อาจจะไม่ชี้ขาดก็ได้ เพราะถ้าเพื่อไทยได้ 200 ประชาธิปัตย์ได้ 130 เหมือนที่เราคำนวณจากตัวเลขได้ สองพรรคเท่ากับ 330 ฝั่งรัฐบาลถ้าบวกวุฒิฯเข้าไปด้วย 370 ปริ่มมาก ซึ่งที่ยุคลถามว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวชี้ขาดหรือไม่นั้น ใช่ครับ เพราะฉะนั้นวันนี้คนที่จะเป็นตัวชี้ขาดเป็นคุณอภิสิทธิ์จะเลือกและคิดอย่างไร ตัวเองก็แสดงบทบาทเป็นนักประชาธิปไตยมาโดยตลอด

 

 

ยุคล : หลักการก็ค้ำคออยู่

 

 

สนธิญาณ : เว้นแต่ว่าเห็นแก่บ้านเมือง ก็ลาออกจากหัวหน้าพรรคไป เพื่อตัวเองไม่เสียหลักการให้คนอื่นเข้ามาแล้วก็เดินต่อไป

 

 

ยุคล : จริง ๆ ก็ออกมาพูดบ้างแล้วนะครับ

 

 

สนธิญาณ : เพราะฉะนั้นก็ต้องดูต่อบทบาทถึงคน ๆ หนึ่งที่ยุคลถามเมื่อสักครู่ คือลุงกำนัน สุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่ยุ่งเรื่องเลือกตั้ง แต่ยังมีบทบาทในพรรคประชาธิปัตย์ เพราะการที่ดำรงสถานะทางอำนาจในพรรคประชาธิปัตย์มาอย่างต่อเนื่อง บรรดาลูกน้องเครือข่ายผู้คนทั้งหลายคิดว่ายังมีอยู่เยอะและโดยเฉพาะในกรรมการบริหารพรรค ชี้ตรงไหนครับในกรรมการบริหารพรรค ก็ตอนที่เลือกคุณชายสุขุมพันธุ์แข่งกับคุณกร คุณชายสุขุมพันธุ์ได้รับการโหวตจากพรรค แหล่งข่าวชัดเจนว่าได้รับแรงสนับสนุนจากลุงกำนัน ฉะนั้นแสดงว่าน้ำหนักและน้ำเสียงในกรรมการบริหารพรรคยังมีอยู่ เพราะถ้าคุณอภิสิทธิ์เกิดปฏิเสธไม่เอา คสช. กรรมการบริหารพรรคอาจจะโหวตะและเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเป็นอีกทางที่ให้คุณอภิสิทธิ์ลาออกและให้โอกาสคนอื่น

 

 

ยุคล :ปลดคุณอภิสิทธิ์กลางอากาศเลยนะครับแบบนั้น

 

 

สนธิญาณ : ก็ไม่รู้สิครับ เพราะฉะนั้นมองเห็นว่าโอกาสมีโอกาสในการที่จะเกิดสภาพการอย่างที่ว่า

 

 

ยุคล : ฟังเงื่อนไขที่บอกว่าคุณสุเทพจะอย่างไรต่อ แต่ก็ประกาศว่าจะไม่ยุ่งกับการเลือกตั้ง แต่ถ้าฟังจริง ๆ การเลือกตั้งนี้ไม่เหมือนการเลือกตั้ง

 

 

สนธิญาณ : ตัวเองจะไม่ลงเลือกตั้ง ไม่เข้าไปอยู่ในพรรค ไม่มีอำนาจไม่เข้าไปรับตำแหน่ง โดยบทบาทนั่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่อยู่ น้อง ๆ มาถามว่าเอาอย่างไรล่ะครับพี่เทพ เอาอย่างไรดีล่ะครับท่านเลขา ถึงแม้ว่าวันนี้จะไม่ได้เป็นเลขานะครับ คนจะเรียกแบบนี้เอาอย่างไรลุงกำนัน พวกลูกหมีก็มาถาม พวกนู้นนี้ก็มาถาม จะตอบว่าไม่รู้เรื่องก็แปลกๆ ทีนี้ก็มาดูต่อว่านั่นคือส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ถ้าปรับเปลี่ยน และที่ผลบอกว่าลุงกำนันจะเป็นปัจจัยที่สำคัญ การออกมารณรงค์เรื่องประชามติเที่ยวนี้ ถ้าลุงกำนันออกมากระแสเสียงจะยิ่งเข้มแข็งขึ้น ซึ่งลุงกำนันก็ได้แสดงท่าทีอันชัดเจนในการสนับสนุน คสช. และสนับสนุนกองทัพ นี่คือสิ่งทีเกิดขึ้น และหากว่า ผมจะพยากรณ์ การเมืองเดินไปถึงจุดแบบนี้หลายคนถูกพันธนาการในพรรคเพื่อไทยถูกพันธนาการด้วยระบบทักษิณและระบบพรรค ถ้าผมเป็น คสช. ผมต้องยกเลิกกฎหมายพรรคการเมืองและนำเสนอกฎหมายพรรคการเมืองขึ้นมาใหม่ ให้พรรคการเมืองมีลักษณะเป็นของประชาชน และประชาชนมีส่วนกำหนดมากขึ้น ไม่ใช่พรรควันนี้เป้นของทักษิณ หรือเป้นของคณะกรรมการบริหาร โดยประชาชนไม่มีสิทธิ์ไม่มีส่วนในการกำหนด คือในรัฐธรรมนูญของ อ.มีชัยเขียนชัดเจนว่าให้สมาชิกพรรคมีส่วนกำหนด เพาะฉะนั้นนี่เป็นทางแก้ ผมเรียนเสนอ คสช. ไว้

 

 

ยุคล : จะปล่อยผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคเพื่อไทยให้เป็นอิสระ

 

 

สนธิญาณ : ทั้งสองทาง สร้างกฎหมายพรรคการเมืองใหม่ ที่ให้พรรคการเมืองเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทันทีที่เลิกกฎหมายพรรคการเมืองเก่า เลิกพรรคการเมืองเก่า ๆ สภาพการเป็นพรรคของทุกพรรคจบไป ทุกคนมีอิสระเสรีภาพ คุณอภิสิทธิ์ก็หมดจากสภาพการเป็นหัวหน้าพรรคกรรมการบริหารอะไรไม่มี เขียนกฎหมายพรรคการเมืองที่ใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทุกคนก็เข้ามาเหมือนเดิม แต่คนในพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยลำบากว่าจะเอาคุณอภิสิทธิ์ออกอย่างไร จะเป็นนู่นนี่อย่างไร ตอนนี้เลือกกันใหม่อย่างง่าย ไม่มีความเกรงใจไม่มีความไปหักหาญอยู่

 

 

ยุคล : เหมือนไปเอาออกมา

 

 

สนธิญาณ : ถูกต้อง หลายคนในพรรคเพื่อไทยคิดเองได้นะครับ ได้ 40 เสียงได้เป็นรัฐบาลแน่ ไปอยู่กับคุณทักษิณไม่รู้จะได้เป็นรัฐบาลหรือเปล่า

 

 

ยุคล : หาทางรอดของตัวเองดีกว่า

 

 

สนธิญาณ : ก็ทุกคนก็อึดอัดลำบากใจกับการถูกบังคับจากคุณทักษิณอยู่แล้ว

 

 

ยุคล : วันนี้จะออกก็ไม่ได้ คสช. ล็อคเอาไว้ว่าห้าม

 

 

สนธิญาณ : แต่ตอนนี้ล็อคได้ วันนี้ผมเสนอแล้ว ไปลองพิจารณา

 

 

ยุคล : จะเล่นเกมกันหรือเปล่า

 

 

สนธิญาณ : ไม่ใช่เกมครับ เป็นการปลดล็อคทางออก และต้องร่างกฎหมายที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น  เพราะพรรคการเมืองเดิมเป็นจุดอ่อนทำให้เกิดการผูกขาดขึ้นในพรรค ชัดไหมครับ คุณทักษิณสั่งการเองได้หมด แล้วทำไมไม่ทำกฎหมายใหม่ให้ดีขึ้น นี่เป็นข้อเสนอครับ

 

 

ยุคล : ถ้าอยากอยู่ด้วยกันต่อก็ไปอยู่ด้วยกัน

 

 

สนธิญาณ : ก็ไปอยู่ด้วยกันสิครับ  แต่ถ้าเขาอยากจะออกอันนี้ประชาธิปไตยไหมครับ ก็ลำบากใจนะครับ เป็นแบบนี้กัน ทีนี้มาถึงสิ่งที่มาตรการสุดท้าย ผมจะบอกความแตกต่าง ตอนนี้เครือข่ายคุณทักษิณและระบอบเครือข่ายพรรคพวกที่ทำงานอยู่ พวกนี้คาดหวังนึกยิ้ม ๆ อยู่เหมือนกันว่าให้ คสช. สืบทอดอำนาจ เดี๋ยวคนจะออกมาฮือต่อต้าน คสช. เหมือนกับที่เคยต่อต้าน รสช.

 

 

ยุคล : อันนี้ออกแนวประเมินหรือว่ามโนก็ดูกันนะครับ

 

 

สนธิญาณ : ก็ให้ดูแบบนี้ ในครั้งก่อนเป็นการเตรียมการที่เห็นชัด รสช. ไปตั้งพรรคขึ้นมาพรรคหนึ่ง ชื่อว่าพรรคสามัคคีธรรม ไปรวบรวมผู้คนมาตั้งพรรคเพื่อเตรียมไว้หนุน พล.อ.สุจินดา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ระหว่างการไปรวบรวมคนมาปรากฏว่าได้เห็นชัดว่าตอนพล.อ.สุจินดามายึดอำนาจ ผู้คนก็ชื่นชอบนะครับ จำนวนหนึ่งตอนนั้นหมั่นไส้คุณเฉลิม การทุจริตคอร์รัปชันแม้เศรษฐกิจจะดีแสนดีในสมัยน้าชาติ แต่คุณเฉลิมแกเป็นรัฐมนตีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแต่ท้าทายกองทัพ การทุจริตคอร์รัปชันแบ่งบานที่หน่วยงานไหนเป็นอะไรอย่างไร บริษัทห้างร้านโดนหมด ไปยึดแล้วคนก็เชียร์ เชียร์เสร็จพอไปรวบรวมผู้คนให้มาเป็นพรรคสามัคคีธรรม ทีนี้คนดี ๆ ก็มีเยอะนะครับ เข้าไปอยู่ไปปะปนทำให้คนสงสัยในแนวทาง ผมถึงพูดย้ำเลยครั้งว่า คสช. จะทำอะไรก็ตามแต่อย่าตั้งพรรค อย่าไปเชื่อใครก็ตามแต่ที่มายุแยง ท่านจะอยู่ได้จะทำงานต่อตามทิศทางที่คาดหวังจะเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ชาติได้ ต้องประชาชนหนุนเท่านั้น ประชาชนจะหนุนท่านก็คือจะชี้ขาดตอนประชามติอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่านไม่จำเป็นต้องหาเสียง อยู่ที่สำนึกของคนไทยจะออกมาทางไหนก็เป็นไปทางนั้น ถ้าท่านแพ้ประชามติท่านไม่ต้องคิดเลยว่า ท่านจะช่วยทำงานต่อ คนเขาไม่เอาท่านแล้ว ท่านยังมาดันทุรัง ต้องแยกย้ายกลับบ้านจะประเทศจะเป็นอย่างไรก็ให้เป็นไป เราก็กลับบ้านนอนกันไป ปิดทีนิวส์ก็ต้องเป็นแบบนั้น คนไม่เอาแล้วนิ่ เราก็เดินแนวทางนี้ชัดเจน เราไม่ได้เสนอข่าวบิดเบือนนะครับแต่เอาความจริงมาพูดให้คนเห็นว่าเป็นอะไร ถ้าความจริงนี้สังคมไทยไม่รับก็จบกันไป

 

 

ยุคล : พี่ต้อยพูดแบบนี้ แฟนข่าวทีนิวส์เขาคงจะมีความรู้สึกต้องทำอะไรสักอย่าง

 

 

สนธิญาณ : ไม่ใช่ครับ ผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับ คสช. แต่แนวทางส่วนตัว ผมพูดมานานเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ พูดมาเยอะตั้งแต่สมัยรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ ไปนำเสนอด้วยตัวเอง มาถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็พูดออกสื่อทำนู่นนี่ ตอนไปตั้งองค์กรขึ้นมาต่อต้านต่อสู่กับคุณยิ่งลักษณ์ก็นำเสนอเรื่องยุทธศาสตร์มาตลอด ทีนี้ต้องดูว่าคนจะออกมาดูเหมือนตอนล้มคุณสุจินดาตอน พฤษภา35 หรือไม่ ดูเงื่อนไขต่างกัน

 

 

ยุคล : แต่อย่าตั้งพรรค

 

 

สนธิญาณ : เพราะถ้าตั้งพรรคคุณจะต้องไปรวบรวมคน คุณจะต้องให้ความรู้สึกคือคนส่วนใหญ่หนุนอยู่ เอากระแสเสียงคนส่วนใหญ่ไปบีบบังคับพรรคการเมือง เพราะคนส่วนใหญ่เอาเขา ถ้าไม่เชื่อก็ลองดูสิครับ พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้เอาให้ชัดเลย ประกาศตัวยืนอยู่ข้าง คสช. ยืนอยู่ตรงข้าม คสช. จับมือกับพรรคเพื่อไทยเพื่อล้มรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่าง

 

 

ยุคล : ไม่ไหวหรอกครับจับกับพรรคเพื่อไทย

 

 

สนธิญาณ : ไม่ต้องจับแบบผนึกแน่น แต่เป็นแนวร่วมกัน ก็คุณเป็นนักการเมืองเหมือนกัน คุณก็เป็นนักประชาธิปไตยเหมือนกัน

 

 

ยุคล : แต่คนเดี๋ยวนี้มองออกเป็นแนวร่วมต้านรัฐธรรมนูญเหมือนกัน ก็มองว่าสมประโยชน์ร่วมกัน มองว่าเป้นฝ่ายเดียวกัน

 

 

สนธิญาณ : ก็ไม่รู้ครับ แต่ถ้ามาร่วมกับ คสช. เป็นเผด็จการตอนนี้ลำบาก พรรคประชาธิปัตย์ตอนนี้กำลังอยู่ในสภาวะลำบาก

 

 

ยุคล : ยากขนาดนั้นเลยหรือครับ

 

 

สนธิญาณ : ผมไม่รู้ว่าธรรมชาติของพรรคประชาธิปัตย์และธรรมชาติของคุณอภิสิทธิ์ ผมถึงบอกว่าพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในจุดชี้ขาดของทางการเมือง ฉะนั้นจังหวะของการก้าวจึงมีส่วนสำคัญและวันนี้คนที่จะมีส่วนสำคัญคนหนึ่งเป็นอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ คสช. ได้ทำงานต่อไปได้ คือลุงกำนัน เรื่องจริงครับ สุเทพ เทือกสุบรรณ โปรดจำชื่อนี้ไว้ ไม่ต้องเลือกเบอร์ไหน แต่เลือกไว้ในใจแล้วกัน

 

 

ยุคล : มีความหวังกับคุณสุเทพไว้ได้มาก ณ วนาทีนี้อยู่ใช่ไหมครับ

 

 

สนธิญาณ : ไม่รู้ ไม่ได้คุย ท่านก็ทำงานและไปของท่าน ผมก็มาทำงานด้านสื่อ เพราะผมบอกแล้วว่าตอนที่ผมมาเป็นแกนนำท่านก็บอกว่ามาทำกันสักหน่อย อย่าเที่ยวพูดแต่ปากอย่างเดียวกระโดดลงมาหน่อย ผมนี่คนท้าทายไม่ได้ก็กระโดดลงไป ผมก็เรียนแฟนข่าวทีนิวส์ว่าอาชีพสื่อมวลชนคืออาชีพที่ผมรักที่สุดนะครับ และผมภาคภูมิใจในการดำรงอาชีพนี้ ผมไม่ได้มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำม็อบหรือแกนนำม็อบแต่อย่างใด ผมไปเป็นแกนนำผมก็พูดเหมือนหน้าจอโทรทัศน์ ผมไม่ด่าหรือว่าใคร ผมมาวิเคราะห์และพูดถึงความเลวร้ายของระบบทักษิณ

 

 

ยุคล : ประชามตินี้รอดูมวลมหาประชาชนภาคสองได้ไหมครับครั้งนี้

 

 

สนธิญาณ : ผมคิดว่าสำคัญนะครับ มวลมหาประชาชนและผู้คนทั้งหลายจะเป็นฝ่ายเลือกว่าจะให้บ้านเมืองเดินไปทางไหน แต่ครั้งนี้ไม่ต้องออกไปเดินขบวน มีเวทีให้ท่าน

 

 

ยุคล : วันนี้ขอขอบคุณพี่ต้อยมากนะครับ ลาคุณผู้ชมไปก่อนพบกันวันจันทร์หน้าสวัสดีครับ

 

 

สนธิญาณ : สวัสดีครับ