ระทึก !! "ดีเอสไอ" ส่งปปช.ฟัน "มหาเถรสมาคม" ผิด ม.157 ปมปล่อยผ่าน "ธัมมชโย" ปาราชิก  ??

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

 

 

หลังจากที่ พนักงานสอบสวนดีเอสไอออกหมายเรียกพระเทพญาณมหามุนี หรือ พระธัมมชโยเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในฐานะผู้ต้องหาคดีข้อหาสมคบฟอกเงินร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร กรณีมีชื่อรับเช็คจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น

 

 

 


โดยกำหนดนัดรับทราบข้อหาวันที่ 8 เมษายน ที่สำนักคดีการเงินการธนาคาร ของดีเอสไอ ล่าสุด ทนายความวัดพระธรรมกาย ออกมาขอเลื่อนนัดโดยอ้างว่าเดือนเมษายนนี้ เป็นเดือนเกิดของพระ จึงต้องมีการจัดเตรียมงานบุญวันเกิดวันที่ 22 เมษายน

 


นายสัมพันธ์ เสริมชีพ ทนายความวัดพระธรรมกายเปิดเผยว่า ได้เข้าพบกับพระธัมมชโยเพื่อแจ้งเรื่องหมายรับทราบข้อกล่าวหาแล้ว รวมถึงสอบถามว่ากำหนดนัดกระชั้นชิดหรือไม่ เบื้องต้นคงต้องใช้สิทธิขอเลื่อนการรับทราบข้อกล่าวหาไปก่อน 1 ครั้ง เนื่องจากพระธัมมชโยติดภารกิจหลายอย่างของวัด

 


เดือนเมษายนนี้ เป็นเดือนเกิดของพระ จึงต้องมีการจัดเตรียมงานบุญวันเกิดวันที่ 22 เมษายน ดังนั้น อาจไม่สะดวกที่จะเข้าพบพนักงานสอบสวนเดือนนี้ ต้องขอหารือเพื่อกำหนดนัดใหม่ หลังจากนี้จะทำหนังสือแจ้งขอเลื่อนอย่างเป็นทางการไปยังพนักงานสอบสวนดีเอสไอ แจ้งเหตุผลการขอเลื่อนประกอบการพิจารณากำหนดวันนัดต่อไป

 


ด้าน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งว่าจะเข้าพบพนักงานสอบสวนตามนัดหรือแจ้งขอเลื่อนการรับทราบข้อหา หากได้รับหนังสืออย่างเป็นทางการจะพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นก่อนทำความเห็นว่าจะให้เลื่อนนัดหรือไม่ ขณะนี้ไม่สามารถให้คำตอบได้

 


นอกเหนือจากการดำเนินคดีกับพระธัมมชโยซึ่งเป็นคดีฉ้อโกงเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น อีกหนึ่งเรื่องร้อนของพระธัมมชโยนั่นคือ ข้อครหาว่าได้อาบัตปาราชิกไปแล้วหรือไม่ จากกรณียักยอกทรัพย์ เมื่อปี 2542

 


ซึ่งต่อมาอัยกายมีการถอนฟ้องกระทันหันและมหาเถรสมาคมก็มีมติไม่ดำเนินการใดๆต้อพระธัมมชโย จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่าการที่หน่วยงานของรัฐดำเนินการช่วยเหลือพระธัมมชโยนั้นถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่

 


ล่าสุด ดีเอสไอสรุปกรณีพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชให้ดำเนินการอาบัติปาราชิกกับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ฐานยักยอกทรัพย์ เมื่อปี 2542 ส่ง ป.ป.ช.พิจารณาดำเนินการเอาผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นเจ้าพนักงานละเลย ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

 

 


พระลิขิต 6 ฉบับ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2542 ให้ดำเนินการตามพระธรรมวินัยกับพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย กรณีเป็นภิกษุยักยอกทรัพย์กว่า 950 ล้านบาทของวัดมาเป็นของตน ถูกยื่นให้ดีเอสไอตรวจสอบการทำหน้าที่ของผู้ปกครองคณะสงฆ์และกรมการศาสนา หรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในปัจจุบัน

 


ล่าสุดดีเอสไอสรุปส่ง ป.ป.ช.พิจารณาดำเนินการตามคำร้อง เอาผิดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเลยไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่ดำเนินการตามพระลิขิต

 


มีรายงานว่า ดีเอสไอยืนยันพระลิขิตเป็นพระวินิจฉัยที่ต้องปฏิบัติตาม เพราะรับรองโดยมติมหาเถรสมาคม และมติคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย แต่กระบวนการดำเนินการไม่ถูกต้อง การพิจารณากลับไปกลับมา ใช้ประโยชน์จากคดีทางโลก ไม่ทำตามพระลิขิต ถอนฟ้องทั้งที่ยังไม่มีการพิจารณาทางสงฆ์ การไม่ทำหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ทำให้พระพุทธศาสนามัวหมอง และยังมีการเสนอเลื่อนสมณศักดิ์พระธัมมชโย ทั้งที่เรื่องอธิกรณ์ยังไม่พิจารณาให้กระจ่าง

 


คดีที่เกี่ยวพันกับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย อยู่ในขั้นตอนสอบสวนของดีเอสไอเป็นคดีพิเศษ 2 คดี คือ คดีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่รอการชี้มูล และคดีรับเช็คสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นกว่า 800 ฉบับ ยอดเงินกว่า 2,000 ล้านบาท ออกหมายเรียกพระธัมมชโยเป็นผู้ต้องหา ในคดีฟอกเงินและรับของโจร โดยให้มารับทราบข้อกล่าวหา 8 เมษายนนี้ หากไม่มา 2 ครั้ง ต้องออกหมายจับ

 


ก่อนหน้านี้ หลายฝ่ายให้มหาเถรสมาคม ดำเนินการให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกตามลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชที่ก็มีมติของมหาเถรสมาคมรับรองให้ถือเป็นคำสั่งที่ชอบและจะต้องปฏิบัติตามให้ครบถ้วน ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 


แต่ว่า ในการประชุม วันที่ 10 กุมภาภาพันธ์กับการประชุมมหาเถรสมาคม ในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสมณะความเป็นสงฆ์ของพระธัมมชโย    ซึ่ง เกี่ยวกับองค์ประกอบความผิดเรื่องการยักยอกทรัพย์วัดธรรมกายเมื่อปี  2542   ควรดำเนินการให้เป็นไปตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช  ถูกปฏิเสธจากที่ประชุมมหาเถรสมาคมอย่างสิ้นเชิง

 


สรุปใจความ ตามผลการประชุมของมหาเถรสมาคม  ก็คือข้อกล่าวอ้างว่า  ที่ผ่านมามหาเถรสมาคมยึดแนวปฏิบัติตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชมาตั้งแต่ต้น แต่เนื่องจากระบวนการทางสงฆ์ว่าด้วยการพิจารณาคำฟ้องต่อพระธัมมชโย     ซึ่งมีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี   2542    จนกระทั่งมีผลการสรุปจากเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี  

 


เมื่อปี   2549    ในฐานะคณะสงฆ์ผู้พิจารณาคำฟ้องมูลเหตุความผิดของพระธัมมชโย  ว่า    คำฟ้องดังกล่าวไม่สมบูรณ์   จึงเป็นเหตุให้สำนวนคดีที่เข้าสู่ศาลสงฆ์ชั้นต้นเป็นที่ยุติแล้ว  ไม่อาจรื้อฟื้นมาดำเนินการได้   ยกเว้นการยื่นฟ้องด้วยสำนวนคำร้องคดีใหม่ต่อคณะสงฆ์ตามกฎมหาเถรสมาคม

 


หลายครั้งที่หน่วยงานรัฐซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายออกมาตอกย้ำว่าพระธัมมชโยต้องปาราชิก แต่ทว่าองค์กรปกครองฝ่ายสงฆ์กลับเพิกเฉย จนเต็มไปด้วยข้อครหาว่าอยู่ฝ่ายเดียวกับวัดพระธรรมกายและต้องการปกป้องพระธัมมชโยหรือไม่

 

กรรมการมหาเถรสมาคมชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย
ฝ่ายมหานิกาย
ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม 


สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยสมณศักดื์ 


สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี)
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร 


สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) 
วัดพิชยญาติการามวรวิหาร 


สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ)
วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร


กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง 
พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) 
วัดยานนาวา 


พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) 
วัดปากน้ำ 


พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) 
วัดสามพระยา


พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) 
วัดปากน้ำ 


พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) 
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร


พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร 


ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย    กรรมการมหาเถรสมาคมโดยสมณศักดื์ 
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) 
วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร


สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) 
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารเริ่มวาระ


สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) 
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร 


สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) 
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร 
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง 


พระพรหมเมธาจารย์ (คณิศร์ เขมวํโส) 
วัดบุรณศิริมาตยาราม


พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) 
วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร 


พระพรหมมุนี (สุชิน อคฺคชิโน) 
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร 


พระพรหมวิสุทธาจารย์ (มนตรี คณิสฺสโร)
วัดเครือวัลย์วรวิหาร เริ่มวาร  


พระธรรมธัชมุนี (อมร ญาโณทโย) 
วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร  


พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) 
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

 


ทั้งนี้คงต้องจับตากันว่าหลังจากที่ดีเอสไอส่งเรื่องไปให้ปปช.เพื่อดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งในที่นี้หมายถึงกรรการมหาเถรสมาคม จะทำให้เกิดสถานการณ์อะไรต่อไป