"สนธิญาณ" ชี้! 7 ส.ค.วันชี้ชะตาปท.ไทย หากรธน.ไม่ผ่าน "ระบอบแม้ว" หยิบเป็นเงื่อนไขผนึก "ม็อบจีวร" ออกมาป่วน "คสช."แน่

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tnews.co.th

รายการ "สถาพรถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2559  ออกอากาศทางช่อง ทีนิวส์ ดำเนินรายการโดย คุณสถาพร เกื้อสกุล (ถา) ได้สัมภาษณ์คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย)  กรรมการผู้อำนวยการบริษัท ทีนิวส์ทีวี โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

 

 

สถาพร :  2- 3 วันที่ผ่านมา มีเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่ 2 - 3 เรื่องด้วยกัน เรื่องแรกคือที่ทางท่านเจ้าคุณประสาร เหมือนจะออกมาปุลกระดมในเรื่องราวที่จะให้พระสงฆ์เตรียมตัวให้พร้อมที่จะออกมาชุมนุมหรือไม่อย่างไร กับอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องของการไปสำรวจความคิดเห็นของโพลต่าง ๆ กับประชาชนที่จะไปลงประชามติ ซึ่งเหลือเวลาอีก 13 วันต่อจากนี้ ก็ต้องไปทำหน้าที่ลงประชามติกันแล้วครับ

 

สนธิญาณ : 13 วันเป็นวันที่จะชี้ชะตาของประเทศชาติ ต้องเรียนอย่างนั้น ความเห็นต่าง ๆ หลากหลายออกมาทุกเรื่อง ดูเหมือนว่าจะเป็นคนละเรื่อง แต่เอาเข้าจริงเป็นเรื่องเดียวกันหมด ก็คือเรื่องของอนาคตและความเป็นไปของบ้านเมืองว่า จะเดินไปสู่ทิศทางไหน หลังจากวันที่ 7 สิงหาคม แน่นอนครับในแง่มุมของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน หรือกับไปดูฉบับอาจารย์บวรศักดิ์ ที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของ สนช. เพราะ สนช. และ พล.อ.ประยุทธ์ อาจจะไม่เกี่ยว เป็นเรื่องของคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมาและนำเสนอต่อประชาชน แต่ในแง่ข้อเท็จจริงนั้นแตกต่างตอนที่ สปช. ไม่เห็นชอบร่างของอาจารย์บวรศักดิ์ นั่นไม่ใช่ประชาชนจะหยิบเอามาอ้างไม่ได้ หมายความว่า นปช. คนเสื้อแดง ระบอบทักษิณหยิบมาอ้างไม่ได้ แต่ครั้งนี้ถ้าไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชนหยิบมาอ้างได้ เพราะเสียงเป็น 10,000 ล้านเสียง จะถูกหยิบมาสร้างกระแสอย่างแน่นอน เป็นอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้นจะบอกว่า คสช. ไม่ต้องรับผิดชอบไม่เกี่ยวข้อง หรือร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน คสช. จะอยู่นาน นี่ในแง่มุมทางกฎหมายนั่นใช่ครับ แต่ในทางการเมืองหรือเทคนิคในการเคลื่อนไหวที่จะหยิบยกมาใช้ จะกลายมาเป็นปัญหาทางการเมืองแน่นอน

 

03.03

ทีนี้เรื่องของพระเมธีธรรมาจารย์ที่ออกมาเคลื่อนไหวก็เรื่องเดียวกัน จับตาเลยสำหรับการเคลื่อนไหวทั้งหมดจะถูกกำหนดให้เห็นรูปธรรมหลังวันที่ 7 สิงหาคม เพราะว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านเป็นไปตามความฝันของทักษิณ ฝันของ นปช. และเห็นว่าไม่ผ่านมาก ม็อบก็จะออกมา ออกมาบอกว่าพอได้แล้วประชาชนไม่ยอมรับแล้ว จะชี้ไปยังต่างชาติให้เห็นเลย ฝ่ายต่างชาติที่รอจังหวะรีรอ จะช่วยสนับสนุนแต่ไม่รู้จะเอาอย่างไร ไม่รู้กระแสเสียงคนยังชอบ คสช. จริงหรือไม่จริง ก็ไปวัดจากตัวลงประชามติ หลังจากนั้นม็อบพระก็ต้องผสมโรง จังหวะโอกาสอย่างนี้จะหาได้จากที่ไหน ก็คือจังหวะในการที่สร้างกระแสได้ว่า คนไม่เห็นด้วยกับ คสช. อย่างมากมายมหาศาลเป็น 10 ล้านเสียง กระแสก็จะออกมาแบบนั้นครับ กระแสของเสียงประชามติไม่ใช่เสียงชี้ขาดหรอกครับ แต่เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับม็อบ ซึ่งระดับการจัดตั้งม็อบ 30,000 - 50,000 คน ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าทะลักออกมา คสช. ก็เอาไม่ทันเอาไม่อยู่ ก็ถ้ากองกำลังติดอาวุธซึ่งพร้อมอยู่ก็เรื่องที่เราเห็นภาพเมื่อปี 2553 ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ จะเป็นการผสมผสานที่ทำให้เห็นภาพว่า เป็นเรื่องที่มีความชอบธรรมอย่างยิ่ง ถึงเวลาแล้วที่จะต้องต่อสู้กับเผด็จการ ประชาธิปไตยก็ไม่มีสังฆราชก็ไม่ให้ตั้ง กระแสเสียงจะมาแบบนี้ แต่ที่พยายามเคลื่อนไหวกันอยู่

 

สถาพร :  คือพี่ต้อยมองไปในแง่ร้ายมากเกินไปหรือเปล่าครับ

 

สนธิญาณ : ก็อาจจะเป็นไปได้ครับ แต่ต้องกลับไปดูปี 2553 ก่อนจะมีการชุมนุมปี 2553 ผมก็มองไว้แบบนี้ แล้วผมถามคำถามที่ถามไปยังทุกคนว่า วันนี้คุณทักษิณยังสู้หรือไม่ ถาคิดว่าคุณทักษิณยังสู้อยู่ไหม

 

สถาพร :  ยังสู้ครับ

 

สนธิญาณ : การต่อสู้กับคุณทักษิณมีได้ 2 ทางเท่านั้นครับ ทางแรกคือผ่านการเลือกตั้งเพื่อได้อำนาจมา ทางสองเมื่อยามไม่มีอำนาจอยู่ในมือก็ต้องทำเหมือนกับตอบปี 2553 เพราะอำนาจไปอยู่ในมือรัฐบาลอภิสิทธิ์ ประชาธิปัตย์ อาจจะมีข้ออ้างว่ามาตั้งรัฐบาลกันในค่ายทหารเป็นรัฐบาลเผด็จการ ความจริงเขาก็ตั้งมาตามกลไกของรัฐธรรมนูญ คือทุกเรื่องสามารถที่จะสร้างให้เป็นกระแสได้ นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น และกองกำลังติดอาวุธก็ออกมา ครั้งนี้เงื่อนไขรุนแรงกว่าอีกนะครับ เพราะตอนปี 2553 ก่อนหน้าที่จะเลือกตั้งทักษิณอยู่แล้วว่าโดย Road Map ของรัฐธรรมนูญฉบับนั้นจบสิ้นลง คมช. ถอยออกจากอำนาจ คืนอำนาจการเลือกตั้งมาให้เป็นไปตามกลไกปกติ เลือกตั้งก็ชนะเพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความสามารถที่จะชนะพรรคเพื่อไทย เมื่อวัดพื้นที่กันเขตต่อเขต หน่วยต่อหน่วยพื้นที่เลือกตั้ง ทักษิณก็รู้อยู่แล้ว ครั้งนี้ถ้าปล่อยให้ไปเลือกตั้งตามปกติ การคัดค้านรัฐธรรมนูญของระบอบทักษิณก็จะทำพอเป็นพิธีการ ให้ผ่านไปเลือกตั้งเร็ว ๆ แต่ครั้งนี้จตุพรบอกว่าเลือกตั้งช้าก็ไม่เป็นไร ทำไมครับ ก็เพราะว่าร่างรัฐธรรมนูญที่เขียนที่อาจารย์วรเจตน์ และ 43 องกรณ์ออกมาพูด ที่บอกว่าสืบทอดอำนาจชัดเจนไหมครับ คือ คสช. ต่อท่ออำนาจแน่นอนเห็นชัด ไม่เป็นอย่างอื่น

 

สถาพร :  เลือกตั้งไปโอกาสก็ชนะยาก

 

สนธิญาณ : เลือกตั้งไประบอบทักษิณก็ชนะเลือกตั้งแต่ไม่ได้เป็นรัฐบาล เพราะมี ส.ว. มาค้ำคอ เป็นก้างขวางคออยู่ ส.ว. ก็มาจากการแต่งตั้งของ คสช. และ คสช. ก็สืบทอดอำนาจ วันนี้มีคำถามว่า คสช. เขาสืบทอดอำนาจเพื่อตัวเอง เพื่อจะไปโกงกิน หรือสืบทอดอำนาจเพื่อจัดการกับความเลวร้ายที่ค้างคาอยู่ให้หมดไป ก็จะเลือกไปประชาธิปไตยแบบไหนอย่างไร เอาประชาธิปไตยแบบเดิม ๆ ใช้อำนาจเสียงส่วนใหญ่เพื่อตอบสนองการช่วยเหลือทักษิณ การตอบสนองสิ่งที่คนในตระกูลชินวัตรทำเอาไว้ การทุจริตจำนำข้าวเป็นแสนแสนล้านบาท ก็พิจารณาเอาครับ นี่คือจะมองในแง่ร้ายหรือไม่ก็ลองไปพิจารณาครับ ซึ่งก็เกี่ยวโยงไปถึงพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์มองในแง่ร้ายแบบผมก็คงไปร่วมกับพรรคเพื่อไทยไม่ได้ครับ เพราะถ้าเกิดร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านเงื่อนไขการเคลื่อนไหวจะเคลื่อนไหวกันต่อแน่ ซึ่งตอนนั้นพรรคประชาธิปัตย์จะลงสู่ท้องถนนจะเคลื่อนไหวกับพรรคเพื่อไทยอีกหรือไม่ก็ไม่รู้ หรือจะบอกว่าไม่ร่วมแค่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านแล้วไม่เป็นประชาธิปไตย แล้วคำถามต่อไปล่ะครับคืออะไร พรรคประชาธิปัตย์อาจจะบอกว่าเขาเรียกร้องอยู่แล้วว่าเขาเรียกให้ร่วมร่างร่วมกัน พล.อ.ประยุทธ์บอกว่าไม่ยอม พรรคประชาธิปัตย์จะว่าอย่างไรต่อ พรรคประชาธิปัตย์จะไม่ยอมจะร่วมกับพรรคเพื่อไทยต่อสู้ ไม่ได้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญใหม่เอง ตอบไปที่ละประเด็นให้จบ มองการเมืองไม่ใช่มองช็อตเดียวหรือคิดแต่เรื่องของประเด็นตัวเอง ความหมายที่ผมเรียนถึงพรรคประชาธิปัตย์ ที่เขาบอกว่า ทำไมพรรคประชาธิปัตย์จะมองความเห็นต่างไม่ได้ พวกที่คิดเห็นแตกต่างไม่ได้ ไม่ใช่ครับ การเมืองไม่ใช่แค่เลือกตั้งหรือไม่ พรรคประชาธิปัตย์เขาออกมาชุมนุมครั้งก่อนเขาไม่เคารพประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา แต่เคารพความคิดเห็นของประชาชนเสียงส่วนใหญ่ การเมืองจะเป็นอย่างนี้ มาดูโพลก็ติดตามมาทุกโพล ผมหยิบยกมาให้ฟังว่า การเล่นพนันนั้นผิดกฎหมาย ถ้าไม่ผิดผมจะรับเแทงถ้ารัฐธรรมนูญผ่าน 43 องค์กรที่เขาออกมาเคลื่อนไหว ฉะนั้นพอออกมาแล้วก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นนักวิชาการเสื้อแดง จะอ้างว่า 43 องค์กร ต่อให้ 500 องค์กรก็ไม่มีความหมายสำหรับประชาชนที่เชียร์ คสช. อยู่ ความจริงประชาชนฝ่ายไหนตัดสินใจกันอยู่แล้ว ข้อเท็จจริงเป็นแบบนั้น จะมาอ้างมาสร้างกระแสความเคลื่อนไหวก็ว่ากันไป จะให้เข้าหูเข้าตาใครก็ดูกันไป แต่ไม่มีราคาหรอกที่มาทำกันอยู่ วันที่ 7 สิงหาคมนี้ ตัวบุคคลแบบสนธิญาณนั้นจิ้บ ๆ

 

สถาพร :  ฝ่ายความมั่นคงเขามองทักษิณออกไหมครับ

 

สนธิญาณ : ผมเป็นฝ่ายสื่อมวลชน ผมคิดว่าถ้ามองไม่ออกก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรครับ เขาดูแลบ้านเมืองมาได้ขนาดนี้เขาเตรียมการในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เขาเตรียมการยึดอำนาจขณะที่อีกฝั่งเตรียมต่อต้านอย่างเต็มที่เขายังทำได้

 

สถาพร :  ที่ถามเพราะจะให้ประชาชนได้อุ่นใจว่า ฝ่ายความมั่นคงเขาก็ทันเกม

 

สนธิญาณ : แต่อุ่นใจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องไปลงประชามติ

 

สถาพร :  หมายความว่า วันที่ 7 สิงหาคม ต้องไปทำหน้าที่

 

สนธิญาณ : ก็ที่มาชุมนุมก็เสียเปล่า แต่จะออกไปทางหนึ่งทางใดก็เรื่องของคุณ ก็ต้องตัดสินใจไปคิดใคร่ครวญกันเป็นแบบนั้นครับ