ที่มาของ “พลับพลาพิมพวดี”วัดมกุฏกษัตริยาราม กับเรื่องราววิญญาณระลึกชาติ บทพิสูจน์ตายแล้วไม่สูญ ภพชาติ เวรกรรม มีจริง !!!

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th/

เคยเป็นข่าวฮือฮาอยู่พักหนึ่ง เรื่องประสบการณ์ของ "นายแพทย์อาจินต์ บุณยเกตุ" อดีตแพทย์ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลวชิระ จังหวัดภูเก็ต

เมื่อท่านได้เปิดเผยเรื่องราวว่ารับรู้อดีตชาติของตนเอง ผ่านวิญญาณของเด็กหญิงผู้หนึ่ง  “เด็กหญิงพิมพวดี  โหสกุล”

  ที่มาของ “พลับพลาพิมพวดี”วัดมกุฏกษัตริยาราม กับเรื่องราววิญญาณระลึกชาติ บทพิสูจน์ตายแล้วไม่สูญ ภพชาติ เวรกรรม มีจริง !!!

(พลับพลาพิมพวดี)

เมื่อ “เด็กหญิงพิมพวดี  โหสกุล”  ลูกในอดีตชาติ ได้กลับมาเกิดใหม่ในชาตินี้ และได้เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์ วิญญาณของ พิมพวดี โหสกุล ไม่ได้ไปเกิดในภพใหม่ ยังคงเฝ้าวนเวียนอยู่ในโลกทิพย์ และวิญญาณของเธอได้มาช่วย "นายแพทย์อาจินต์ บุณยเกตุ" บิดาเมื่อชาติที่แล้ว เมื่อครั้งต้องผ่าตัดประสาทสมอง ซึ่งต้องทนทุกข์ทรมานมานานกว่า 10 ปี

 

เรื่องนี้เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทุกอย่าง มีทั้งพยานวัตถุ และพยานบุคคล ยืนยันเรื่องราวที่ "นายแพทย์อาจินต์ บุณยเกตุ"  ได้เล่าไว้

ว่า "ดญ. พิมพวดี  โหสกุล" หรือลูกสาวของ หมออาจินต์ ในอดีตชาตินั้น มีตัวตนอยู่จริง... ซึ่งวันนี้ทางทีม ปัญญาญาณทีนิวส์ ก็ได้นำกลับมานำเสนออีกครั้ง ...ตามเนื้อหาดังต่อไปนี้

 

          พิมพวดี โหสกุล ในชาตินี้ได้มาเกิดในครอบครัวของตระกูลโหสกุล เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2493 บิดาคือ นายเสียง โหสกุล และ มารดานางสมพร พัฒนวิบูลย์ โดยมีพี่น้องรวมกัน 5 คน คือ นายเสรี โหสกุล, นายวัฒนา โหสกุล, นายถาวร โหสกุล, นายวันชัย โหสกุล และ เด็กหญิงพิมพวดี โหสกุล โดย พิมพวดี โหสกุล บุตรสาวคนเล็กเป็นที่รักของทุกคนในครอบครัว เนื่องจากที่ผ่านมาครอบครัวโหสกุลมีแต่ลูกผู้ชาย เมื่อได้น้องสาวมาหนึ่งคน ทำให้ใครๆ ต่างก็รักและเอ็นดู พิมพวดี โหสกุล

 

แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อ พิมพวดี โหสกุล ป่วยเป็นไข้เลือดออก จนต้องเข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริรราช และได้เสียชีวิตในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ซึ่งสร้างความโศกเศร้าเสียใจให้แก่ครอบครัวโหสกุลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ นายเสียง และ นางสมพร เพราะถือเป็นลูกสาวคนเดียวในบ้าน และจากไปตั้งแต่อายุยังน้อย คืออายุได้เพียง 9 ปี 9 เดือน นายเสียงถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ เห็นรูปของ พิมพวดี โหสกุล ลูกสาวสุดที่รักคราวใดเป็นต้องร้องไห้โฮ หรือถ้าหากใครเผลอเอ่ยถึง พิมพวดี โหสกุล ทีไรก็เป็นต้องร้องไห้ทุกครั้งไป

             

   ที่มาของ “พลับพลาพิมพวดี”วัดมกุฏกษัตริยาราม กับเรื่องราววิญญาณระลึกชาติ บทพิสูจน์ตายแล้วไม่สูญ ภพชาติ เวรกรรม มีจริง !!!

(พลับพลาพิมพวดี)

 

ด้วยความรักและอาลัยที่มีต่อ พิมพวดี โหสกุล ลูกสาวเพียงคนเดียว ทำให้ นายเสียง เกิดความคิดที่จะต้องสร้างถาวรวัตถุขึ้นเป็นอนุสรณ์ จึงได้ไปเข้าเฝ้าเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) เจ้าอาวาสวัดมกุฎกษัตริยาราม (ในขณะนั้น) กราบทูลว่ามีความประสงค์จะหาที่ในบริเวณวัดที่เหมาะ ๆ สร้างศาลาสักหลักหนึ่ง เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ พิมพวดี โหสกุล ลูกสาว และถวายวัดไว้สำหรับตั้งศพของบรรดาญาติโยมทั่วไป ซึ่งท่านก็ได้ให้การสนับสนุน โดยทรงอนุญาตให้รื้อกุฎีหลังหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ข้างอาคารสำนักงานผลประโยชน์ของวัดเป็นสถานที่ก่อสร้างศาลาแล้วเสร็จปี พ.ศ.2504 โดยใช้ชื่อว่า "พลับพลาพิมพวดี"

ซึ่งด้านในได้ตั้งรูปถ่ายของ พิมพวดี โหสกุล บุตรสาวสุดที่รัก พร้อมพานพุ่ม และเครื่องบูชาเอาไว้ด้วย และนับตั้งแต่นั้นมาบรรดาญาติ ๆ พี่น้องของตระกูล "โหสกุล" จะร่วมกันไปทำบุญให้ พิมพวดี โหสกุล น้องสาวคนสุดท้องเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง คือ ทุกวันที่ 25 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิด และทุกวันที่ 2 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันที่เด็กหญิงพิมพวดีเสียชีวิต 
 

ที่มาของ “พลับพลาพิมพวดี”วัดมกุฏกษัตริยาราม กับเรื่องราววิญญาณระลึกชาติ บทพิสูจน์ตายแล้วไม่สูญ ภพชาติ เวรกรรม มีจริง !!!

(หนังสือที่เคยตีพิมพ์  เรื่องพิมพวดี)


           สำหรับเรื่องราวที่ พิมพวดี โหสกุล เกี่ยวข้องกับนายแพทย์อาจินต์ นั้น เป็นเรื่องที่นายแพทย์อาจินต์ เล่าไว้ด้วยตัวเอง  เมื่อปลายปี 2529 โดยอ้างว่าในระหว่างที่เขาเข้ารักษาตัว ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยอาการปวดหัวขั้นรุนแรง เขาได้มีการสื่อวิญญาณกับเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งมาช่วยรักษาโรคอย่างลึกลับ เหตุการณ์ทุกอย่างถูกจดบันทึกไว้ และมีพยานบุคคล จนสืบสาวราวเรื่องได้ว่า  วิญญาณของเด็กหญิงพิมพวดี มาหาถึง รพ.จริงๆ

ตามเรื่องที่จะได้นำเสนอต่อไป... (ตอน วิญญาณกตัญญู ดญ.พิมพวดี รักษาอาการป่วยให้พ่อ เฉลยกรรมเก่าพ่อเคยบีบขมับนักโทษ)