คณะวิทยาศาสตร์ สจล. คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ยกระดับวงการแพทย์ สร้างทางเลือกใหม่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย เพิ่มโอกาสการรักษา

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

คณะวิทยาศาสตร์ สจล. โชว์ศักยภาพนักวิจัยไทยและทีมคณาจารย์ ก้าวทันยุคดิจิตอล ยกระดับวงการแพทย์ สร้างมิติใหม่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเข้าถึงการตรวจ เพิ่มโอกาสการรักษาโรค เผยโฉมสองนวัตกรรมใหม่ ได้แก่ ผลงานที่คว้ารางวัลเหรียญทองจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ "อัลบูมินสมาร์ทเทสท์" ชุดทดสอบภาคสนามนวัตกรรมใหม่ สำหรับตรวจอัลบูมินในปัสสาวะโดยใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคไต และ “โครงการแบบจำลองฝึกตรวจมะเร็งเต้มนมจากโฟมยางธรรมชาติ” เพื่อช่วยลดอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม เผยแพร่เนื่องในโอกาสสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2559 ที่จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “วิทยาศาสตร์ก้าวไกลด้วยสะเต็ม” (Science inspired by STEM) ที่ผ่านมา ณ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง

 

คณะวิทยาศาสตร์ สจล. คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ยกระดับวงการแพทย์ สร้างทางเลือกใหม่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย เพิ่มโอกาสการรักษา

 

รศ.ดร.ดุษณี ธนะบริพัฒน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง (สจล.) เผยว่า วิสัยทัศน์ของคณะฯ คือ การเป็นสถาบันแนวหน้าในเอเชีย ทางการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี พ.ศ.2567 จึงสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยเชิงประยุกต์และแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อประยุกต์ความรู้สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมคุณภาพชีวิตในสังคม นำไปสู่การพึ่งพาตนเองของประเทศ

 


ล่าสุดในโอกาสสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ 2559  ที่จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "วิทยาศาสตร์ก้าวไกลด้วยสะเต็ม" (Science inspired by STEM) ทางคณะวิทยาศาสตร์ สจล.จึงได้ถือโอกาสเผยแพร่นวัตกรรมใหม่ จากฝีมือการคิดค้นของนักวิจัยไทย ทีมคณาจารย์ และนักศึกษา โดยในจำนวนนี้มีผลงานที่สร้างปรากฏการณ์และยกระดับการตรวจรักษาให้กับวงการแพทย์ อาทิ “อัลบูมินสมาร์ทเทสท์” ชุดทดสอบภาคสนามนวัตกรรมใหม่ สำหรับตรวจอัลบูมินในปัสสาวะโดยใช้โทรศัพท์มือถือ, โครงการแบบจำลองฝึกตรวจมะเร็งเต้มนมจากโฟมยางธรรมชาติ, แอพพลิเคชั่นตรวจโรคหนังตาตก (iOS Application for Ptosis Diagnosis) และโปรแกรมชุดฝึกกายภาพบำบัดมือและกล้ามเนื้อแขนในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เป็นต้น

 

คณะวิทยาศาสตร์ สจล. คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ยกระดับวงการแพทย์ สร้างทางเลือกใหม่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย เพิ่มโอกาสการรักษา

ในจำนวนนี้นวัตกรรมโดดเด่นและนับเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดมาก่อน จนสามารถคว้ารางวัลดีเยี่ยม (ระดับเหรียญทอง) จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ ในงานประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 32 ได้แก่ ชุดทดสอบภาคสนาม "อัลบูมินสมาร์ทเทสท์"

 

 

ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ เชิงชั้น อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สจล. หัวหน้าทีมวิจัยผู้คิดค้น “อัลบูมิน สมาร์ทเทสท์” กล่าวว่า จากข้อมูลสำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ผู้ป่วยโรคไตจากเบาหวาน มีจำนวนร้อยละ 18.7-43.5 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด หากสามารถรักษาในระยะเริ่มต้น จะลดความเสี่ยงภาวะไตวายเรื้อรัง จากสถานการณ์นี้ทำให้ทีมวิจัยเกิดความสนใจที่จะพัฒนาวิธีวินิจฉัยโรคไต ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการตรวจวัดระดับอัลบูมินในปัสสาวะ (อัลบูมิน : โปรตีนชนิดหนึ่ง การตรวจพบอัลบูมินในปัสสาวะ มักเกิดกับผู้ป่วยโรคไตจากเบาหวาน) ตามโรงพยาบาลใช้เวลาวินิจฉัยค่อนข้างนาน ต้องใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ มีความซับซ้อน มีราคาแพง และต้องดำเนินการโดยนักเทคนิคการแพทย์เท่านั้น อีกทั้งการใช้ชุดตรวจภาคสนามที่มีอยู่ทั่วไป แม้ใช้งานง่าย แต่มีข้อจำกัดในการอ่านค่าคลาดเคลื่อน เพราะเป็นการวัดแถบสีด้วยสายตา เหล่านี้จึงนำไปสูการคิดค้น "อัลบูมินสมาร์ทเทสท์"

 

คณะวิทยาศาสตร์ สจล. คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ยกระดับวงการแพทย์ สร้างทางเลือกใหม่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย เพิ่มโอกาสการรักษา

 


ความชาญฉลาดของ "อัลบูมินสมาร์ทเทสท์" อยู่ที่ใช้งานง่าย ให้ผลแม่นยำ ผู้ใช้ตรวจวัดผลได้เอง โดยใช้แอพพลิเคชั่นและโทรศัพท์มือถือถ่ายรูปที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มาทำงานร่วมกับชุดอุปกรณ์ ประกอบไปด้วยแผ่นทดสอบ น้ำยา เพียงปฏิบัติตามคู่มือใช้งานที่มาพร้อมกับชุดอุปกรณ์ จากการนำปัสสาวะตัวอย่างผสมกับน้ำยาทดสอบ และนำแผ่นทดสอบลงไปจุ่ม รอให้เปลี่ยนสีเพื่ออ่านค่า จากนั้นนำแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า“อัลบูมินสมาร์ทเทสท์” ถ่ายภาพแถบสี แอพฯ จะประมวลผลเปลี่ยนความเข้มของสีให้เป็นตัวเลข แสดงผลทางหน้าจอ ในเวลาไม่เกิน 1 นาที ซึ่งตัวแอพฯ สามารถหักล้างการรบกวนแสงภายนอกขณะถ่ายรูปและการรบกวนจากสี จึงสามารถแยกแยะค่าได้ถึง 5 ระดับ

 

คณะวิทยาศาสตร์ สจล. คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ยกระดับวงการแพทย์ สร้างทางเลือกใหม่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย เพิ่มโอกาสการรักษา

 


"เบื้องต้นเราได้ทดสอบแอพฯ นี้ กว่า 1 ปีกับโรงพยาบาลในพื้นที่กับกลุ่มตัวอย่างหลาย 100 คน  ผลการตรวจค่าทดสอบจากแอพฯ ถือว่ามีความแม่นยำใกล้เคียงกับค่าทดสอบที่ตรวจในโรงพยาบาล และในอนาคตจะมีการทดสอบอีกในโรงพยาบาลที่มีระดับใหญ่ขึ้น ณ วันนี้นวัตกรรมนี้ได้รับการจัดสิทธิบัตรแล้ว ในวงการแพทย์ถือว่าได้รับความสนใจมาก ในอนาคตหวังว่าสิ่งประดิษฐ์นี้จะเข้าถึงประชาชนทั่วไป โดยเรามีแผนพัฒนานวัตกรรมนี้ในการตรวจโรคอื่นๆ โดยใช้หลักการเดียวกัน" ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ เสริม

 

คณะวิทยาศาสตร์ สจล. คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ยกระดับวงการแพทย์ สร้างทางเลือกใหม่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย เพิ่มโอกาสการรักษา

ส่วนอีกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ โครงการแบบจำลองฝึกตรวจมะเร็งเต้านมจากโฟมยางธรรมชาติ โดย รศ.ดร.อิทธิพล แจ้งชัด อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สจล. ผู้คิดค้น เผยว่า โครงการนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ สจล. และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ซึ่งเล็งเห็นวิกฤตมะเร็งเต้านม เพราะจากสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด การค้นพบมะเร็งในระยะเริ่มแรก จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดมากขึ้น แบบจำลองฝึกตรวจมะเร็งเต้านมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และผู้สนใจ แต่ในปัจจุบันแบบจำลองนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง อีกทั้งยังเป็นการเลียนแบบก้อนแข็งแบบเดียว ทำให้ไม่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ขาดความแม่นยำในการตรวจ จึงเป็นที่มาของการริเริ่มโครงการนี้

 


"การพัฒนาแบบจำลองฝึกตรวจมะเร็งเต้านมของเรา เป็นการพัฒนาสูตรโฟมยางธรรมชาติและสูตรยางซิลิโคน เพื่อพัฒนาก้อนมวลเลียนแบบให้ได้ทั้งก้อนมะเร็ง เนื้องอก และซีสต์ ให้มีรูปร่างและขนาดที่เหมือนจริง ทำให้สามารถฝึกตรวจมะเร็งเต้านมที่สามารถใช้งานได้จริง ราคาไม่แพง โครงการนี้ไม่เพียงช่วยให้การตรวจแม่นยำ นำไปสู่การรักษาได้ทันท่วงทีเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าการใช้งานยางพาราในประเทศไทยอีกด้วย"

 

คณะวิทยาศาสตร์ สจล. คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ยกระดับวงการแพทย์ สร้างทางเลือกใหม่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย เพิ่มโอกาสการรักษา


นอกจากนวัตกรรมสนับสนุนด้านการแพทย์แล้ว สจล.ยังมีผลงานวิจัยอื่นๆ ที่น่าสนใจ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานการคิดค้นของคณาจารย์และนักวิจัยของคณะต่างๆ ทั้งสิ้น อาทิ คอนกรีตบล็อกเทอร์โมอิเล็กทริกทนไฟผลิตไฟฟ้าได้จากความร้อน, ต้นแบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเทอร์โมอิเล็กทริกผลิตไฟฟ้าจากความร้อนชีวมวล, ต้นแบบระบบอัตโนมัติทำน้ำจืดจากน้ำทะเลราคาถูกสำหรับชุมชนชายฝั่ง เป็นต้น