"สนธิญาณ" ย้ำ! แม้ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ "สว." เสนอชื่อนายกฯได้ก๊อก2 แต่ "บิ๊กตู่" นั่งนายกฯ ไม่ง่าย ต้องมี ส.ส.หนุนเกินครึ่งสภาฯจึงอยู่ได้!!

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tnews.co.th

รายการ "ยุคลถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำวันที่ 29 กันยายน 2559  ออกอากาศทางช่อง ทีนิวส์ ดำเนินรายการโดย คุณยุคล วิเศษสังข์ (หนึ่ง) ได้สัมภาษณ์คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย)  กรรมการผู้อำนวยการบริษัท ทีนิวส์ทีวี โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ยุคล : วันนี้จะมาชี้เป้าที่แท้จริง หลังจากที่เมื่อวานนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเนื้อหาร่างของรัฐธรรมนูญ กรธ. และมีการเตรียมที่จะปรับแก้ด้วย ส่วนการปรับแก้ที่ว่านั้น บทสรุปคืออะไร เดี๋ยวคุณสนธิญาณมาให้คำตอบครับ

 

สนธิญาณ : ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนาบุญกับคณะสงฆ์ที่มีส่วนร่วมในการสร้างขนมปังรสพระทำ ดูแล้วยังดีกว่าพระที่อ้างอิงในวัดปฏิบัติมายืนบิณฑบาตออยู่กลางตลาดให้คนมาใส่ แล้วเอาของไปเวียนเทียนขาย นั่นน่าอนาถ น่าเศร้าใจ กลับมาเรื่องการเมือง หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้มาแล้วเมื่อวาน อาจจะมีเรื่องถกเถียงกันบ้าง แต่ว่าผมคิดว่าที่สื่อหรือผู้คนจำนวนหนึ่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่านี่ชัดเจนแล้ว เปิดทางให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นนายกรัฐมนตรี ผมก็ต้องย้อนคืนกลับไป ณ วันที่ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงว่า ที่รับทั้งหมดส่วนใหญ่รับเพราะพล.อ.ประยุทธ์ อยากเชียร์พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งคำถามพ่วงและรัฐธรรมนูญ เนื้อหารัฐธรรมนูญเป็นแค่องค์ประกอบส่วนหนึ่ง แต่มีการตั้งคำถามเรื่องการเสนอชื่อ กลายเป็นประเด็นจนคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ต้องมายกร่างและส่งให้ตุลากรรัฐธรรมนูญตีความ ข้อสรุปข้อที่1 ทวนซ้ำว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่า ส.ว.จะมีสิทธิ์ร่วมเลือกนายกได้ก็เพราะวาระแรก นี่ตกไปเลย ใน 5 ปี ถูกไหมครับ ส.ว. มีสิทธิ์เลือกนายกได้ตลอด สรุปข้อที่2 ขั้นตอนที่จะเลือกอยู่ในขั้นตอนที่2 ขั้นตอนการเสนอชื่อยังเป็นไปตามร่างที่คณะกรรมการร่าง นั่นก็คือ จะต้องมาจาก ส.ส. เกินครึ่งก่อนและเมื่อไม่ได้ก็เข้าสู่กระบวนการของ ส.ว. ในการนำเสนอชื่อเสียงครึ่งหนึ่ง ส่วนมวลก็ยังถกเถียงกันระหว่างครึ่งหนึ่ง กับ 2 ใน 3 ก็เดี๋ยวจะชัดเจนตรงนี้ ตรงที่ครั้งนี้ไม่ต้องส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว แต่อาจารย์มีชัย ในฐานะประธานร่างรัฐธรรมนูญก็ยืนยันว่า ในระหว่างร่างจะได้มีการหารือกับศาลรัฐธรรมนูญไปเป็นระยะ เพื่อไม่ให้เจตนารมณ์ ก็ถือว่าจะลงตัวด้วยดี ประเด็นที่ผมจะเรียนให้ชัดเจนที่บอกว่า ถึงเวลานี้เปิดทางประยุทธ์ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่จริงครับ ท่านผู้ชมที่ติดตามมาโดยตลอดจะเข้าใจ กลไกทางตัวเลขว่าข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ นายกรัฐมนตรี แม้ส.ว.จะมีสิทธิ์เลือก แต่จะอยู่ได้หรือไม่อยู่ที่ส.ส. อยู่ที่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ผมจะเรียนว่าเข้าสู่กระบวนการขั้นตอนแรก เสนอชื่อที่ ส.ส.เสนอแล้วหานายกไม่ได้ เข้าสู่กระบวนการ2 โหวตได้นายกประยุทธ์มา บริหารราชการไปได้เดือนหนึ่ง ส.ส.เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ เหตุผลบอกว่าเป็นนายกคนนอก ไม่เข้าใจประชาธิปไตย เสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส.ไม่เอาก็โหวตปั้งไปทันที เพราะฉะนั้น พล.อ.ประยุทธ์จะมาเป็นนายกได้จะต้องมีเสียง ส.ส. สนับสนุนเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งนั่นเข้ามาสู่การโหวต 2 ใน 3 เอาพูดกันง่าย ๆ ต้องมี ส.ส. สนับสนุนประมาณ 300 คน รัฐบาลถึงจะอยู่เย็นเป็นสุข ทีนี้ส.ส.จะสนับสนุน 300 คน ก็มีตัวเลขที่ล็อกอยู่แล้วแน่นอนไม่มีทางจะเป็นอย่างอื่น  คือพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย 2 พรรคร่วมกันแล้ว 300 ขึ้น พรรคเล็ก ๆ รวมกันได้สัก 150-180 พรรคละ 20-50 คนก็ว่ากันไป เพราะฉะนั้นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ไม่ว่าจะมาจาก ส.ส. หรือเป็นคนกลาง จะต้องได้รับการสนับสนุนไม่จากพรรคประชาธิปัตย์ก็พรรคเพื่อไทยเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ครับ อันนี้เป็นปมที่ผมคิดว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญผูกเอาไว้ ดังนั้น ไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะมาจากพรรคการเมืองหรือว่าคนนอก ล้วนแต่สง่างาม เพราะเป็นตัวแทนที่ ส.ส. ซึ่งมาจากประชาชนเลือกและให้ความไว้วางใจไว้ อันนี้ทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน เพื่อจะได้ไปดับกระแสพวกต้องการโจมตี พล.อ.ประยุทธ์ก็เห็นไหมเขียนรัฐธรรมนูญพวกเผด็จการอะไรก็ว่ากันไป จะได้ดับกระแสไป พวกที่บอกว่าโอ๊ยได้แล้วอย่าได้ฝันค้าง ถ้าพล.อ.ประยุทธ์จะมาเป็นนายกหรือคนนอกจะมาเป็นนายก ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง จะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส.เป็นส่วนใหญ่ นั่นหมายความว่า ต้องพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทยหนุนเท่านั้น