ประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

ประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)

ประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม แพ ฉายา ติสฺสเทโว เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481[1] ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 6 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ขณะพระชันษาได้ 89 ปี

พระประวัติ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่าแพ ประสูติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี พระชนกชื่อนุตร พระชนนีชื่ออ้น สกุล พงษ์ปาละ

ประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)

เมื่อพระชันษาได้ 7 ปี ได้ไปศึกษาอักษรสมัยกับสมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุรณ์) ขณะยังเป็นเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร เมื่อสมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุรณ์) ย้ายไปครองวัดราชบุรณราชวรวิหาร พระองค์ได้ย้ายตามไปด้วย ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2411 โดยมีสมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุรณ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อสมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุรณ์) ย้ายไปครองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ก็ให้รับพระองค์ไปอยู่ด้วย ขณะอยู่วัดพระเชุตพนฯ พระองค์ได้ศึกษากับสมเด็จพระวันรัตเป็นหลัก นอกจากนี้ก็ศึกษากับเสมียนตราสุขบ้ง พระโหราธิบดี (ชุ่ม) บ้าง อาจารย์โพบ้าง ได้เข้าสอบครั้งแรกที่พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทในปี พ.ศ. 2419 แต่สอบไม่ผ่าน

ประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)

พ.ศ. 2419 ท่านอายุครบอุปสมบท แต่สมเด็จพระวันรัต (สมบุรณ์) อาพาธ พระองค์อยู่พยาบาลจนกระทั่งท่านมรณภาพ จึงไปฝากตัวเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) วัดสุทัศนฯ ตามที่สมเด็จพระวันรัต (สมบุรณ์) ฝากฝังไว้ ในปีเถาะ พ.ศ. 2422 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเศวตรฉัตร โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วย้ายมาอยู่วัดสุทัศนฯ ศึกษากับสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) เป็นหลัก และไปศึกษากับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) บ้าง เข้าสอบอีกครั้งที่พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทในปีมะเมีย พ.ศ. 2425 ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ต่อมาปีระกา พ.ศ. 2428 เข้าสอบที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แปลเพิ่มได้อีก 1 ประโยค เป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค

ข่าวโดย : กิตติทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์

ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี