- 17 เม.ย. 2563
หนึ่งประเด็นร้อนทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็คือการที่คณะทำงานอัยการคดีศาลสูง จำนวน 5 คนที่นายมนต์ชัย บ่อทรัพย์ เป็นอธิบดีอัยการ ตั้งขึ้นมา 5 คน ร่วมกันพิจารณาสำนวน คดีหมายเลขดำ อท.245/2561 ที่พนักงานอัยการคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายพานทองแท้ ชินวัตร ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบคบกันฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 , 9 , 60 และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2558 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 , จากกรณีตรวจพบหลักฐานว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ทุจริตการปล่อยสินเชื่อธ.กรุงไทยฯ ให้ธุรกิจเครือกฤดามหานคร ต่างเห็นพ้องกับอัยการคดีพิเศษ กรณี ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษายกฟ้อง จึงลงมติร่วมจะไม่ดำเนิ นการในชั้นอุทธรณ์คดี
หนึ่งประเด็นร้อนทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็คือการที่คณะทำงานอัยการคดีศาลสูง จำนวน 5 คนที่นายมนต์ชัย บ่อทรัพย์ เป็นอธิบดีอัยการ ตั้งขึ้นมา 5 คน ร่วมกันพิจารณาสำนวน คดีหมายเลขดำ อท.245/2561 ที่พนักงานอัยการคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายพานทองแท้ ชินวัตร ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบคบกันฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 , 9 , 60 และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2558 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 , จากกรณีตรวจพบหลักฐานว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ทุจริตการปล่อยสินเชื่อธ.กรุงไทยฯ ให้ธุรกิจเครือกฤดามหานคร ต่างเห็นพ้องกับอัยการคดีพิเศษ กรณี ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษายกฟ้อง จึงลงมติร่วมจะไม่ดำเนิ นการในชั้นอุทธรณ์คดี
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : อัยการศาลสูง ยืนกรานไม่อุทธรณ์ คดี โอ๊ค พานทองแท้ ฟอกเงินกรุงไทย)
อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยหลักการของกฎหมาย ตามที่ นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ระบุว่า จากนี้เป็นขั้นตอนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ว่าจะพิจารณาเห็นแย้งหรือเห็นด้วย ถ้าดีเอสไอเห็นด้วยกับอธิบดีอัยการศาลสูงก็จบ ไม่ต้องไปอัยการสูงสุด แต่ถ้าเห็นแย้งก็จะส่งเรื่องไปถึงอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณา ท่ามกลางข้อพิจารณาว่าดีเอสไอ หลังจากการลาออกของ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง จะดำเนินการอย่างไร ภายใต้กรอบเวลาที่ค่อนข้างกระชั้นชิด
ล่าสุด น.พ.ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่ า กรมสอบสวนคดีพิเศษจะดำเนินการโดยเร็วและรอบคอบ หากสามารถมีความเห็นกลับไปยังพนักงานอัยการทันภายในวันที่ 25 เมษายน 2563 ซึ่งครบขยายเวลาอุทธรณ์ ก็จะดำเนินการในทันที แต่หากไม่เสร็จ ก็มีเหตุจำเป็นจะต้องมีหนังสือถึงพนักงานอัยการ ในฐานะโจทก์ เพื่อขอขยายเวลาอุทธรณ์ต่อศาลต่อไป โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษขอยืนยันว่า การพิจารณาเป็นการดำเนินการในรูปคณะทำงาน มีความโปร่งใส รอบคอบ และเป็นไปตามกฎหมาย
น.พ.ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ทางด้าน พ.ต.ต. วรณัน ศรีล้ำ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษและรองโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวเพิ่มเติมว่า คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้มีหนังสือกล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ดำเนินคดีอาญากับ นางกศนี จิปิภพ, นางกาญจนาภา หงษ์เหิน, นายวันชัย หงษ์เหิน และนายพานทองแท้ ชินวัตร รวม 4 คน ในความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ร่วมกันฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน เพราะเหตุที่ได้สมคบกัน โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษรับเป็นคดีพิเศษที่ 25/2560 จากนั้นได้ทำการสอบสวนทางคดีเสร็จสิ้นและส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 ต่อมาพนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ยื่นฟ้องต่อศาล โดยเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ศาลอาญาคดีทุจริตฯ มีคำพิพากษายกฟ้อง
พ.ต.ต. วรณัน ศรีล้ำ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษและรองโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ
จากนั้น พนักงานอัยการ ในฐานะโจทก์ ได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษา จำนวน 4 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 ศาลอนุญาตถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2562 ครั้งที่ 2 ศาลอนุญาต ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ครั้งที่ 3 ศาลอนุญาตถึงวันที่ 25 มีนาคม 2563 โดยระหว่างนั้น (วันที่ 19 มีนาคม 2563) พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่อุทธรณ์ (อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง)
ต่อมา วันที่ 26 มีนาคม 2563 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการคดีพิเศษ (ฝ่ายคดีพิเศษ 4) ส่งสำนวนให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมความเห็นไม่อุทธรณ์คำพิพากษามายังอธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณาว่าจะมีความเห็นแย้งหรือไม่ อันเป็นไปตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 34 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 และพนักงานอัยการได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษา เป็นครั้งที่ 4 โดยศาลอนุญาตถึงวันที่ 25 เมษายน 2563
จากกรณีดังกล่าวจึงต้องจับตาว่ากระบวนการยุติธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับคดีของนายพานทองแท้ จะมีบทสรุปอย่างไร เพราะต้องไม่ลืมว่าในชั้นการพิจารณาคดีของ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เมื่อวันที่ 25 พ.ย.2562 มีข้อเท็จจริงภายหลังการอ่านคำพิพากษา ว่า คดีดังกล่าวเกิดความเห็นแย้งกันขึ้น ภายใต้การพิจารณาข้อกฎหมายเดียวกัน
"คดีนี้องค์คณะผู้พิพากษา (มี 2 คน) มีความเห็นต่างกันในการตัดสิน จึงได้นำความเห็นของคณะที่มีผลร้ายน้อยที่สุดกับจำเลยมาเป็นคำตัดสิน ขณะที่ความเห็นขององค์คณะอีกคนหนึ่งนั้นเห็นแย้งว่า จำเลยมีความผิดเห็นควรให้ลงโทษจำคุกจำเลย หรือ นายพานทองแท้ เป็นเวลา 4 ปี ในความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ มาตรา 5(1)(2) , 60 ซึ่งได้มีการบันทึกไว้เป็นความเห็นแย้งท้ายคำพิพากษาด้วย หากคู่ความยื่นอุทธรณ์ความเห็นแย้งนี้ในสำนวนก็จะขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ทราบเช่นกัน"
โดยการตัดสินดังกล่าวเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 184 ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้นหรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก ถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายหรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไป จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า
ล่าสุด นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด เพื่อขอส่งความเห็นแย้งของผู้พิพากษา เจ้าของสํานวนคดีนายพานทองแท้ ชินวัตร ที่ตัดสินลงโทษจําคุก 4 ปีนายพานทองแท้ในคดีฟอกเงินดังกล่าว และขอทราบเหตุผลรายละเอียดการไม่อุทธรณ์คดี รวมทั้งขอให้มีการเปิดเผยรายชื่ออัยการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในคดี
ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสํานักงานอัยการสูงสุด แถลงว่าอัยการสํานักคดีพิเศษและอัยการศาลสูง ได้ตั้งคณะกรรมการ 5 คน มีความเห็นพ้องต้องกันมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่อุทธรณ์คดีนายพานทองแท้ฟอกเงิน ทำให้ประชาชนผู้เสียภาษีมีความสงสัยในการปฎิบัติหน้าที่ของสํานักงานอัยการสูงสุดคดีนี้เป็นอย่างมาก จึงนำมาสู่การยื่นหนังสือสอบถามในแต่ละประเด็น ดังนี้
1.การที่อัยการไม่อุทธรณ์คดีนายพานทองแท้ โดยอ้างคําพิพากษายกฟ้องนั้น ท่านได้อ่านความเห็นแย้งของผู้พิพากษาเจ้าของสํานวนที่ตัดสินลงโทษจําคุกนายพานทองแท้ 4 ปีหรือไม่ ซึ่งคดีนี้มีองค์คณะผู้พิพากษา 2 ท่านเท่านั้นและความเห็นแย้งของผู้พิพากษาฉบับเต็มนั้นย่อมติดอยู่ท้ายคําพิพากษาในคดีนี้อยู่ที่สํานักงานอัยการสูงสุดผู้ว่าคดีแล้ว
2.การปฏิบัติราชการของอัยการ กรณีผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นมีความเห็นแย้งแนบท้ายคําพิพากษา เมื่อคดีมันไม่ขาด ในอดีตอัยการมีธรรมเนียมการปฏิบัติราชการที่ผ่านมาอย่างไร
3.ขอให้เปิดเผยเหตุผลการไม่อุทธรณ์คดีนายพานทองแท้โดยละเอียด และขออนุญาตถามตรงๆว่ามีใบสั่งหรือมีการแทรกแซงทางการเมืองหรือมีการวิ่งเต้นคดีนี้หรือไม่
4.คณะกรรมการอัยการศาลสูง 5 คนที่ตัดสินเห็นพ้องต้องกันไม่อุทธรณ์เป็นเอกฉันท์นั้น ได้มีการหารืออัยการสูงสุดหรืออัยการสูงสุดเห็นชอบด้วยหรือไม่ หรือจะมีการทบทวนดุลยพินิจไม่อุทธรณ์นี้หรือไม่
5.ขอให้เปิดเผยรายชื่ออัยการสํานักคดีพิเศษผู้ทำคดีนายพานทองแท้และขอคําสั่งแต่งตั้งหรือรายชื่ออัยการคดีศาลสูง 5 คน โดยขอให้เปิดเผยรายชื่อต่อสาธารณชนได้หรือไม่
6.ขอทราบรายชื่อคดีสําคัญๆที่สํานักงานคดีพิเศษสั่งไม่ฟ้อง หรือคดีที่อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องตั้งแต่พ.ศ.2540 มีกี่คดี ชื่อคดีอะไรบ้าง
ทั้งนี้ นายวัชระ ขอให้สํานักงานอัยการสูงสุด ดำเนินการเปิดเผยข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบโดยเร็วที่สุด เพื่ออัยการจะได้เป็นที่พึ่งที่ยุติธรรมของประชาชนต่อไป ส่วนเหตุผลที่ขอรายชื่ออัยการศาลสูงทั้ง 5 ท่าน ก็เพื่อที่จะนำไปพิจารณาฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157 โดยมีนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและคณะเป็นผู้ร่างสำนวน ดำเนินการฟ้องศาลยุติธรรมเพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไป