ถึงบางอ้อทันที"หมอธีระ"เปิด 2 ปัจจัย รู้แล้วทำไมโควิด BA.5 ระบาดรวดเร็ว

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความ Omicron BA.5 นั้นแพร่ระบาดทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสองปัจจัยสำคัญ

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ระบุข้อความว่า

9 กรกฎาคม 2565...

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 752,024 คน ตายเพิ่ม 1,339 คน รวมแล้วติดไป 559,504,675 คน เสียชีวิตรวม 6,371,019 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อิตาลี บราซิล สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 66.06 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 51.6

ถึงบางอ้อทันที"หมอธีระ"เปิด 2 ปัจจัย รู้แล้วทำไมโควิด BA.5 ระบาดรวดเร็ว

...สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

...Omicron BA.5 นั้นแพร่ระบาดทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสองปัจจัยสำคัญคือ

หนึ่ง ความแข็งแรงของไวรัส (Viral fitness) ที่มากกว่าทุกสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อน โดยมีสมรรถนะการขยายวงการระบาดเร็วขึ้น (growth advantage) และหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น (immune evasion) ในขณะที่ความรุนแรงของโรค (severity) นั้น แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะฟันธง แต่หลายประเทศที่โดน BA.5 ระบาดมากนั้นก็พบว่าทำให้มีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้นอย่างชัดเจน

แม้ว่าทั่วโลกจะได้มีการฉีดวัคซีนไปมากพอสมควรแล้วก็ตาม แต่ด้วยความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่ฉีด และภูมิจากการที่เคยติดเชื้อมาก่อน ทำให้พบการติดเชื้อมากขึ้นอย่างมากทั้งในคนที่ไม่เคยติดมาก่อน รวมถึงคนที่เกิดการติดเชื้อซ้ำ (Reinfection)

ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงไม่แปลกใจที่มีหลายฝ่ายยกให้ BA.5 เป็นศัตรูที่น่ากลัวกว่าทุกสายพันธุ์ที่มีมา

ถึงบางอ้อทันที"หมอธีระ"เปิด 2 ปัจจัย รู้แล้วทำไมโควิด BA.5 ระบาดรวดเร็ว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ thainewsonline

 

สอง ทั่วโลกมีการผ่อนคลายมาตรการ เสรีการเดินทางและการใช้ชีวิต หลายประเทศไม่ได้เน้นให้ประชาชนป้องกันตัวระหว่างการใช้ชีวิต จึงทำให้เกิดการระบาดปะทุรุนแรงดังที่เห็นในปัจจุบัน

สิ่งที่จะเป็นปัญหาระยะยาวคือ ภาวะ Long COVID ซึ่งจะบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการใช้ชีวิตและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม

...สำหรับสถานการณ์ของไทย

ข้อมูล ณ 7 กรกฎาคม 2565

อัตราการครองเตียงในสถานพยาบาลภาครัฐในกรุงเทพมหานครนั้นอยู่ราว 40.36% (ครองเตียง 1,043 จากทั้งหมด 2,584 เตียงในทุกสังกัด)

แต่อัตราการครองเตียงในสถานพยาบาลภาคเอกชนสูงถึง 74.6% (ครองเตียง 2,121 จากทั้งหมด 2,842 เตียง)

ทั้งนี้หากดูภาคเอกชน จะพบว่าเตียงระดับ 1 สำหรับผู้ป่วยอาการน้อยนั้นครองเตียงถึง 96.7% (1863/1916)

จะเห็นได้ว่ามีผู้ติดเชื้อจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้เข้าระบบการดูแลรักษาของภาครัฐด้วยเหตุผลต่างๆ

แม้จะมีข่าวว่า ตัวเลขติดเชื้อที่รวมคนที่มาใช้บริการเจอแจกจบอยู่ราว 30,000 คนต่อวัน

แต่ด้วยข้อมูลโดยอ้อมจากลักษณะการเข้ารับบริการรักษาในโรงพยาบาลที่มีจำนวน และสัดส่วนในเอกชนสูงกว่ารัฐอย่างชัดเจนนั้น ทำให้เราต้องฉุกคิดว่า สถานการณ์การติดเชื้อจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละวันนั้นคงต้องมากกว่าที่มีรายงานในระบบ ทั้งคนที่พอมีพอกิน ติดเชื้อแล้วรักษาเองตามที่ต่างๆ หรือคนที่มีปัญหาเศรษฐกิจ ติดเชื้อแล้วไม่สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาได้ด้วยข้อจำกัด เช่น ความจำเป็นที่จะต้องทำมาหากิน การลางาน ค่าเดินทาง ภาระทางครอบครัว ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ใส่หน้ากากนะครับ สำคัญมาก

เครดิตภาพ:

1. Gruell H et al. Cell Host & Microbe, 6 July 2022.

2. Narasimhan H et al. Science Immunology, 8 July 2022.

3. Lim SS. SSRN, 6 July 2022.

ถึงบางอ้อทันที"หมอธีระ"เปิด 2 ปัจจัย รู้แล้วทำไมโควิด BA.5 ระบาดรวดเร็ว