"ทนายอนันต์ชัย" ลั่นแล้ว รัฐกับคณะสงฆ์ ควรทำอย่างไรกับ ลัทธิเชื่อมจิต

ทนายอนันต์ชัย ไชยเดช (ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม) เคลื่อนไหว รัฐกับคณะสงฆ์ ควรทำอย่างไรกับ ลัทธิเชื่อมจิต

ทนายอนันต์ชัย ไชยเดช (ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม) ได้ออกมาโพสต์ข้อคาวมระบุ

รัฐกับคณะสงฆ์ ควรทำอย่างไรกับ ลัทธิเชื่อมจิต

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ กรณีเด็กอายุ ๘ ขวบ กิจกรรม “ เชื่อมจิต” ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์ เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมไทย-สื่อไทย ทั้งเรื่องความเหมาะสม การบิดเบือนพระพุทธศาสนา จนถึงการหาประโยชน์จากเด็กหรือไม่

"ทนายอนันต์ชัย" ลั่นแล้ว รัฐกับคณะสงฆ์ ควรทำอย่างไรกับ ลัทธิเชื่อมจิต

๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

มาตรา ๖๗ “รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น

ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือ มาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการ หรือกลไกดังกล่าวด้วย”

เรื่องการอุปถัมภ์คํ้าจุนศาสนา โดยการนําหลักการสําคัญของพระพุทธศาสนาเรื่อง ไตรสิกขามาบัญญัติเพิ่มเติมโดยกําหนดให้รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา และการเผยแผ่หลักธรรมของ พระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทั้งนี้ การใช้คําว่า “หลักธรรมของ พระพุทธศาสนาเถรวาท”

เพื่อให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาที่อ้างถึงไว้ในมาตรานี้ หมายถึง พระพุทธศาสนาที่สืบ ต่อมาจากครั้งพุทธกาลเป็นแบบแผนเดิมไม่ขาดสายอันเรียกว่า เถรวาท เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันถึงแก่น แท้แห่งพระพุทธศาสนา รวมทั้งหลักการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาเพื่อไม่ให้มีการบ่อนทำลาย พระพุทธศาสนาทั้งภายในและภายนอก หรือโดยวิธีการใด ๆ

โดยวางหลักการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ดังนี้

๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา

๒) ต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด

๓) ให้พุทธศาสนิกชนหรือฆราวาสมีบทบาทมากยิ่งขึ้นโดยมีส่วนร่วมในการปกป้อง พระพุทธศาสนา เพื่อความเจริญและความยั่งยืนในการนับถือพระพุทธศาสนาสืบต่อไป

"ทนายอนันต์ชัย" ลั่นแล้ว รัฐกับคณะสงฆ์ ควรทำอย่างไรกับ ลัทธิเชื่อมจิต

“หลักธรรมของ พระพุทธศาสนาเถรวาท” เพื่อให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาที่อ้างถึงไว้ในมาตรานี้หมายถึง พระพุทธศาสนาที่สืบต่อมาจากครั้งพุทธกาลเป็นแบบแผนเดิมไม่ขาดสายอันเรียกว่า เถรวาท เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันถึงหลักอันแท้จริงแห่งพระพุทธศาสนา โดยมิได้เป็นการตัดรอนคํา สอนของนิกายอื่น หากแต่เป็นการสร้างความชัดเจนให้แก่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเพื่อจะรักษาสืบ ต่อพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับประเทศชาติบ้านเมืองสืบต่อไป โดยมิได้เป็นการลดความสําคัญของ พระพุทธศาสนานิกายต่างๆ ลง

ประกอบ มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก

มาตรา ๑๓ ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ด้วย ถ้อยคํา ดังต่อไปนี้“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า

มาตรา ๒๕ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการ เฉพาะ ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจํากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคล ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทําการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น

๒.พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ มหาเถรสมาคม

มาตรา ๑๕ ตรี มหาเถรสมาคมมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๔) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา วรรคสอง เพื่อการนี้ ให้มหาเถรสมาคมมีอํานาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับวางระเบียบ ออกคําสั่ง มีมติหรือออกประกาศ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัยใช้บังคับได้ และจะมอบให้พระภิกษุรูปใดหรือคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๙ เป็นผู้ใช้อํานาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่งก็ได้

มาตรา ๑๙ สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ตามมติมหาเถรสมาคม ประกอบด้วยพระภิกษุหรือบุคคลอื่นจํานวนหนึ่ง มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่จะเสนอต่อมหาเถรสมาคมและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่มหาเถรสมาคมมอบหมายโดยขึ้นตรงต่อมหาเถรสมาคมการจัดให้มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ การแต่งตั้งกรรมการหรืออนุกรรมการ การพ้นจากตําแหน่งของกรรมการหรืออนุกรรมการ และระเบียบการประชุม ให้เป็นไปตามระเบียบมหาเถรสมาคม

๓. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระท าผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักน าไป ในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ตามที่กําหนดใน กฎกระทรวง

หมวด ๒ การปฏิบัติต่อเด็ก

มาตรา ๒๓ ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ตํ่ากว่ามาตรฐานขั้นตํ่าตามที่กําหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ

มาตรา ๒๕ ผู้ปกครองต้องไม่กระทําการ ดังต่อไปนี้

(๕) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ

มาตรา ๒๖ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการ ดังต่อไปนี้

(๓) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด

(๗) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก

มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทําให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ สําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

มาตรา ๒๙ ผู้ใดพบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพจําต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามหมวด ๓ และหมวด ๔ จะต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ โดยมิชักช้า

แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นัก สังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่รับตัวเด็กไว้รักษาพยาบาล ครูอาจารย์ หรือนายจ้าง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กที่เป็นศิษย์หรือลูกจ้าง จะต้องรายงานให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ ทราบโดยมิชักช้า หากเป็นที่ปรากฏชัดหรือน่าสงสัยว่าเด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บป่ วยเนื่องจากการเลี้ยงดูโดยมิชอบ

การแจ้งหรือการรายงานตามมาตรานี้ เมื่อได้กระทําโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครอง

หมวด ๔ การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก

มาตรา ๔๐ เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่

(๒) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทําผิด

(๓) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จําต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

หมวด ๙

บทกำหนดโทษ

มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ มาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๘๐ ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๕) หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็น

เอกสารเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา ๓๐ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคํา ไม่ยอมให้ถ้อยคํา หรือให้ถ้อยคําอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ (๓) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคํากลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคํายังไม่เสร็จสิ้นการดําเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป

- กฎกระทรวง กำหนดเด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ พ.ศ.๒๕๔๙

เด็กที่อยู่ในสภาพที่จําต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามมาตรา ๔๐ (๓) ได้แก่

(๔) เด็กที่อาศัยอยู่กับบุคคลที่มีพฤติกรรมที่น่าสงสัยว่าประกอบอาชีพไม่สุจริตหรือหลอกลวงประชาชน

- กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ. ๒๕๔๙

ข้อ ๓ (๒) ด้านสุขภาพจิต แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

(ข) ได้รับการเรียนรู้ได้แก่ การเรียนรู้ตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ ด้านจริยธรรม เช่น การมีเงื่อนไขและปัจจัยภายนอกที่เอื้อด้านคุณธรรมของเด็ก รวมทั้งมีการสร้างแรงจูงใจให้เด็กประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีและงดเว้นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และมีการเล่นอย่างเหมาะสม เช่น เล่นของเล่นที่ไม่เป็นอันตราย ไม่กระตุ้นพฤติกรรมเบี่ยงเบน และไม่ขัดขวางพัฒนาการ ของเด็ก

(ค) มีอารมณ์และพฤติกรรมปกติไม่มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น มีความสุข สามารถควบคุมตนเองได้แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม และไม่มีปัญหาด้านพฤติกรรม

(ง) มีทักษะในการดูแลตนเอง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม

(จ) สามารถแสดงออกทางสังคม เช่น เตรียมตัวเองได้อย่างเหมาะสมตามวัยใน การเข้าสู่สังคม วางตัวได้เหมาะสม และสามารถปฏิบัติตามกฎกติกาของสังคม

ข้อ ๔ ผู้ปกครองต้องมีศักยภาพและปฏิบัติตนดังต่อไปนี้

(๓) กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้และการฝึกวินัย ในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

(ก) เรื่องเกี่ยวกับตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน หนังสือ

(ข) เรื่องจริยธรรมของเด็กโดยสร้างเงื่อนไขควบคุมจากภายนอก เช่น การจูงใจ ให้มีพฤติกรรมที่ดีการยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่ดีและสร้างความสามารถควบคุมจากภายใน เช่น ฝึกให้เด็กสามารถแยกแยะผิดชอบชั่วดีมีทักษะในการควบคุมอารมณ์เกิดแรงจูงใจอยากทําสิ่งที่ดีด้วย ตัวเอง

(๔) ให้การตอบสนองทางอารมณ์แก่เด็กในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

(ก) ดูแลไม่ให้เด็กมีความทุกข์เกินกว่าพัฒนาการตามวัย และขจัดปัจจัยที่มีผลทําให้เกิดความทุกข์หรือความคับข้องใจของเด็ก

(ข) ดูแลเด็กในด้านการจัดการกับอารมณ์เช่น ฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง ฝึก ให้เด็กรู้จักขอความช่วยเหลือ

"ทนายอนันต์ชัย" ลั่นแล้ว รัฐกับคณะสงฆ์ ควรทำอย่างไรกับ ลัทธิเชื่อมจิต

๔. ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๓๔๑ ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๓๔๒ ถ้าในการกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทํา (๑) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ (๒) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวงผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๓๔๓ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๓๔๑ ได้กระทําด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ถ้าการกระทําความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา ๓๔๒ อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

ข้อกฎหมายจะดำเนินการอย่างไร ฟังในการไลฟ์สด โดยทนายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม และทนายด.ร.ประยุทธ ประเทศเสนา รองประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม

ทนายอนันต์ชัย ไชยเดช

(ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม)