ดวงจิตแห่งพระพรหมเอราวัณ คือดวงพระวิญญาณสมเด็จพระปิ่นกล้า บารมีพระพรหมดับอาถรรพ์พื้นที่ต้องสาป

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th/

เปิดประวัติ ที่มาพระพรหมเอราวัณ

 

ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ เป็นศาลศาสนาฮินดูตั้งอยู่หน้าโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพนับถือจากทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยมีการจัดคณะทัวร์จากต่างประเทศเพื่อเข้ามาสักการะท้าวมหาพรหมโดยเฉพาะ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 เกิดเหตุชายคนหนึ่งใช้ค้อนทุบทำลายศาลดังกล่าวและถูกทุบตีจนเสียชีวิตโดยผู้เห็นเหตุการณ์

เมื่อ พ.ศ. 2494 พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ กำหนดให้มีการก่อสร้างโรงแรมเอราวัณ ขึ้นบริเวณสี่แยกราชประสงค์ เพื่อรองรับแขกต่างประเทศ ว่ากันว่าในช่วงแรกของการก่อสร้างเกิดอุบัติเหตุขึ้นมากมาย เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ปลายปี พ.ศ. 2499 ทาง บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด ผู้บริหารโรงแรมได้ติดต่อ พลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ ร.น. นายแพทย์ใหญ่ กองทัพเรือ ผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องการนั่งทางใน เข้าดำเนินการหาฤกษ์วันเปิดโรงแรม

พลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ได้ท้วงติงว่า ในการก่อสร้างโรงแรมไม่ได้มีการทำพิธีบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณนั้นก่อน ฤกษ์ในการวางศิลาฤกษ์ของโรงแรมก็ไม่ถูกต้อง อีกทั้งชื่อของโรงแรม "เอราวัณ" นั้น เป็นชื่อของช้างทรงของพระอินทร์ ถือเป็นชื่อที่ศักดิ์สิทธิ์ จำเป็นต้องมีการบวงสรวงที่เหมาะสม วิธีการแก้ไขจะต้องขอพรจากพระพรหมเพื่อช่วยให้อุปสรรคหมดไป และจะต้องสร้างศาลพระพรหมขึ้นทันทีหลังจากการก่อสร้างโรงแรมแล้วเสร็จ และสร้างศาลพระภูมิขึ้นไว้ในโรงแรม

จึงได้มีการตั้งศาลพระพรหม ออกแบบตัวศาลโดยนายระวี ชมเสรี และ ม.ล.ปุ่ม มาลากุล องค์ท้าวมหาพรหมปั้นด้วยปูนพลาสเตอร์ปิดทอง ออกแบบและปั้นโดยนายจิตร พิมพ์โกวิท ช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร และอัญเชิญพระพรหมมาประดิษฐานที่หน้าโรงแรมเอราวัณเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

 

ตามแผนงานครั้งแรก องค์ท้าวมหาพรหมจะเป็นโลหะหล่อสีทอง แต่เนื่องจากระยะเวลาจำกัดด้วยฤกษ์การเปิดโรงแรม จึงได้เปลี่ยนวัสดุเป็นปูนปั้นปิดทองแทน

ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ ถือเป็นศาลพระพรหมศาลแรกที่มีขนาดใหญ่ ในเวลาต่อมาเมื่อมีการสร้างศาลพระพรหมไว้บูชาในอาคารหรือสถานที่ขนาดใหญ่ จะยึดแบบการสร้างจากศาลท้าวมหาพรหมที่โรงแรมเอราวัณ เนื่องจากความเชื่อว่าจะช่วยปัดเป่าความขัดข้อง อุปสรรค และส่งเสริมโชคและความสำเร็จ

ปัจจุบัน ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ อยู่ในความดูแลของ "มูลนิธิทุนท่านท้าวมหาพรหม"

ด้วยเหตุที่ท่านท้าวมหาพรหมถูกชายที่ไม่สมประกอบทุบในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งทำให้ตัวองค์แตก ดังนั้นจึงมีกำหนดการที่จะบูรณะพระองค์ขึ้นมาใหม่ พร้อมกับสร้างองค์ใหม่ด้วย แล้วเสร็จในปลายเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน

พระพรหมเอราวัณ” นามว่าเอราวัณนั้นจริงๆ เป็นชื่อโรงแรมหาใช่ชื่อจริงนามจริงขององค์พระพรหมไม่ แล้วนามจริงๆ ขององค์พรหมมีใครรู้บ้างว่าชื่ออะไร

 

แท้จริงแล้วองค์พระพรหมองค์นี้มีนามว่า “ท้าวมหาพรหมเกศโร” หรือ “ท่านพ่อเกศโร” ซึ่งก็คือ “สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว” น้องชายแท้ๆ ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ ที่มีดวงพระชาตาแรงกล้ายิ่งนัก ทั้งเก่งเรื่องคาถาอาคมตลอดจนวิทยาการแบบตะวันตก

 

ที่มานั้นสืบเนื่องจากตอนประกอบพิธีเชิญดวงพระวิญญาณ ผู้เชิญในยุคนั้นคือคุณหลวงสุวิชาญท่านมีความสามารถในการติดต่อโลกทิพย์มีหูทิพย์ตาทิพย์เป็นที่เลื่องลือยิ่งนัก

  ดวงจิตแห่งพระพรหมเอราวัณ คือดวงพระวิญญาณสมเด็จพระปิ่นกล้า บารมีพระพรหมดับอาถรรพ์พื้นที่ต้องสาป

ท่านได้ติดต่ออาราธนาบารมีแห่งสมเด็จพระปิ่นเกล้าหรือท่านพ่อเกศโรมหาพรหม ให้แผ่บารมีสถิตย์ดับอาถรรพ์นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่สถานที่แห่งนี้พร้อมทั้งผู้สักการะบูชา

ดวงจิตแห่งพระพรหมเอราวัณ คือดวงพระวิญญาณสมเด็จพระปิ่นกล้า บารมีพระพรหมดับอาถรรพ์พื้นที่ต้องสาป

สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่องลือในวิทยาคมมาตั้งแต่เป็น “เจ้าฟ้าจุฑามณี” ร่ำลือกันต่างๆนาๆว่า ล่องหนหายตัวบ้าง เดินบนน้ำบ้างและอีกสารพัด ผู้ชำนาญในวิทยาคมย่อมแก่กล้าในด้านสมถะภาวนา เรื่องสมาธิฌานนั้นย่อมไม่ใช่เรื่องเหนือความสามารถ

คุณหลวงสุวิชาญผู้มีหูทิพย์ตาทิพย์ในยุคนั้น ได้ติดต่อกับดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระปิ่นเกล้า จึงทราบว่าพระองค์ขึ้นไปอุบัติเป็น “ท้าวมหาพรหมเกศโร” มีเดชศักดายิ่งนัก เมื่อคราวโรงแรมเอราวัณประสบอาถรรพ์จึงสร้างพระพรหมแล้วเชิญบารมีท่านพ่อเกศโรมาดับอาถรรพ์ (เชื่อว่าพื้นที่ ที่สร้างโรงแรมเป็น พื้นที่ต้องคำสาป ถือเป็นจุดกำเนิดของแยกมหาเทพ ซึ่งมีการสร้างเทพองค์อื่นๆตามมาในกาลต่อมา)

 

 

ในยุคนั้นคุณหลวงสุวิชาญยังได้มาสร้างพระบวรนุเสาวรีย์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่หน้าโรงละครแห่งชาติในปัจจุบันด้วยแล้วเชิญพระบารมีแห่งท่านพ่อเกศโรมหาพรหมลงสถิตย์เป็นมิ่งขวัญสิริมงคล

ดวงจิตแห่งพระพรหมเอราวัณ คือดวงพระวิญญาณสมเด็จพระปิ่นกล้า บารมีพระพรหมดับอาถรรพ์พื้นที่ต้องสาป

(บวรนุสาวรีย์ สมเด็จพระปิ่นเกล้า หน้าโรงละครแห่งชาติ)

 

ประวัติของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นที่รู้จักกันในพระนามว่า ทูลกระหม่อมฟ้าน้อย เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 50 หรือ พระราชกุมารพระองค์ที่ 27 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 3 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระองค์พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2351 ณ พระราชวังเดิม คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา ซึ่งในครั้งนั้นเรียกว่า พระบวรราชวังใหม่ อันเนื่องมาจากในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยมีคุณหญิงนก (ไม่ทราบสกุล) เป็นพระพี่เลี้ยง

 

พระองค์มีพระเชษฐาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี

 

หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว 10 ปี พระองค์ก็เริ่มทรงพระประชวรบ่อยครั้ง หาสมุฏฐานของพระโรคไม่ได้ เสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 2 แรม 6 ค่ำ เวลาเช้าย่ำรุ่ง ตรงกับ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2408 พระชนมพรรษา 58 พรรษา ทรงอยู่ในบวรราชสมบัติทั้งสิ้น 15 ปี

 

หนังสือแนะนำ : บารมีพระพรหม โดย “ทิพยจักร”

 

  ดวงจิตแห่งพระพรหมเอราวัณ คือดวงพระวิญญาณสมเด็จพระปิ่นกล้า บารมีพระพรหมดับอาถรรพ์พื้นที่ต้องสาป

เรียบเรียงข่าวโดย : ไญยิกา เมืองจำนงค์ (ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์)