ปาฏิหาริย์ข้ามทวีป! แม้แต่กษัตริย์เยอรมันยังทึ่ง! เมื่อเห็นแสงพุ่งจากวรกาย ร.5 ที่มาเครื่องรางไทยชื่อฝรั่ง #พระเครื่องกับเรื่องประวัติศาสตร์

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th/

จากข่าวที่ได้นำเสนอเรื่องเอกสารอันเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ จากบันทึกของหลวงตาคำ วัดอัมรินทร์ เกี่ยวกับการสร้างพระสมเด็จ โดยเฉพาะ “สมเด็จไกเซอร์” นั้น

(คลิกเนื้อหาข่าวก่อนหน้านี้ “บันทึกหลวงตาคำ เรื่องพิมพ์พระสมเด็จ”)

 

สำหรับผู้ที่เริ่มสนใจเรื่องราวของพระสมเด็จ อาจเกิดความสงสัยว่า ชื่อพิมพ์พระสมเด็จพิมพ์นี้ เหตุใดจึงฟังแปลกหู ทีมข่าวจึงนำเรื่องราวของพระพิมพ์ไกเซอร์มานำเสนอให้อ่านกัน ซึ่งข้อมูลที่ยกมาจาก http://amuletaa.blogspot.com/ มีเนื้อหาว่า

 

จากหลักฐานตามประวัติเก่าแก่และจากคำบอกเล่าที่สืบทอดต่อๆ กันมา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านได้ทรงสร้างไว้ เมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เวลา 9.00 น พ.ศ.2413 โดยมีส่วนผสมของเนื้อพระ เป็นเนื้อผงวิเศษทั้ง 5 ดังนี้

ผงอิทธิเจ

ผงปัถมัง

ผงมหาราช

ผงตรีนิสังเห

ผลพุทธคุณ

นอกจากนี้แล้วยังมีส่วนผสมของ ข้าวสุก กล้วยน้ำ, กล้วยหอมจันทน์, เกษรดอกไม้ต่างๆ อีก 108 อย่าง เช่น ดอกกาหลงดอกขาว, ดอกสวาท, ดอกรักช้อนตัวผู้ตัวเมีย, ใบพลูสองหาง, ไส้เทียนหรือขี้เทียนบูชาพระพุทธเจ้า, ดินเจ็ดโป่ง,ดินเจ็ดป่า, ตะไคร่เสมา, ขี้ไครพระพุทธ, ใบราชพฤกษ์, พระแจะตะนาวศรี, น้ำเซาะหินที่หยดในถ้ำ, ผงใบลาน, ผงปูนเปลือกหอย, ข้าวสุกและภัตตาหารที่รสอร่อยๆ ที่ท่านเก็บไว้ นำมาผสมรวมกัน ตากให้แห้ง ใช้น้ำอ้อยเคี่ยวให้เป็นยางมะตูม ผสมนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนวดด้วยน้ำมันตั๊งอิ๊วอีกครั้งหนึ่ง นำไปกดแม่พิมพ์โดยองค์พระมีขนาดความกว้าง 3.7 ซม. ทางด้านความยาวหรือสูง 5.8 ซม. ด้านความหนา 5 มล. ดูแล้วขนาดเก่ากับกลักไม้ขีด องค์พิมพ์ลึก คมชัด มีบัวห้าดอกรองรับ ก่อนจะมีชื่อเรียกว่า “พระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์” นั้น หลวงพ่อสมเด็จท่านเรียกว่า “พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ” ท่านได้สร้างไว้ประมาณ 300 องค์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้ทำการปลุกเสกเป็นกรณีพิเศษถึง 3 เดือน (ครบไตรมาศ) แล้วท่านได้มอบถวายพระสมเด็จพิมพ์พิเศษทั้งหมดนั้นแด่พระพุทธเจ้าหลวง ร.5 ก่อนที่พระพุทธเจ้าหลวงจะได้เสด็จประพสต่างประเทศหลายๆ ประเทศ เมื่อพ.ศ.2413 ตามคำกราบบังคมทูล เป็นกรณีพิเศษสำหรับพระองค์ท่านโดยเฉพาะ

  ปาฏิหาริย์ข้ามทวีป! แม้แต่กษัตริย์เยอรมันยังทึ่ง! เมื่อเห็นแสงพุ่งจากวรกาย ร.5 ที่มาเครื่องรางไทยชื่อฝรั่ง #พระเครื่องกับเรื่องประวัติศาสตร์

พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์ มาโด่งดังมากเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสประเทศเยอรมัน จึงเป็นเหตุให้พระสมเด็จพิมพ์พิเศษนี้ ได้ชื่อเรียกว่า “พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์” ดังมีประวัติต่อไปนี้

จากหลักฐานตามประวัติเก่า ๆ และผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีประสบการณ์ ได้เล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า เมื่อคราวเสด็จประพาส ณ ประเทศเยอรมันนี ทวีปยุโรป โดยเฉพาะบรรดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จได้เล่าถึงอภินิหารของพระสมเด็จหน้าโหนก อกครุฑ เศียรบาตร ฐานมีบัว 5 ดอกรองรับ “พิมพ์ทรงไกเซอร์” นี้มีอยู่ตอนหนึ่งว่า

ปาฏิหาริย์ข้ามทวีป! แม้แต่กษัตริย์เยอรมันยังทึ่ง! เมื่อเห็นแสงพุ่งจากวรกาย ร.5 ที่มาเครื่องรางไทยชื่อฝรั่ง #พระเครื่องกับเรื่องประวัติศาสตร์

ปาฏิหาริย์ข้ามทวีป! แม้แต่กษัตริย์เยอรมันยังทึ่ง! เมื่อเห็นแสงพุ่งจากวรกาย ร.5 ที่มาเครื่องรางไทยชื่อฝรั่ง #พระเครื่องกับเรื่องประวัติศาสตร์

(ภาพพระพิมพ์ไกเซอร์  ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงได้ทำสันถวไมตรีตามธรรมเนียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นั่งสนทนาอยู่กับพระเจ้าไกเซอร์ วิลเลี่ยมที่ 2 หรือ พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 ณ ประเทศเยอรมันนี ในขณะนั้น พระเจ้าไกเซอร์ทอดพระเนตรเห็นที่กระเป๋าเสื้อของพระพุทธเจ้าหลวง มีรัศมีเปล่งออกมาเป็นสีแดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ชมพู พุ่งขึ้นรอบๆ กระเป๋าเสื้อ ท่านสงสัยจึงได้ทรงตรัสถามว่า พระองค์มีสิ่งใดอยู่ในกระเป๋าเสื้อ พระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงหยิบพระสมเด็จพิมพ์พิเศษที่ในกระเป๋าเสื้อออกมาให้ทอดพระเนตร และตรัสว่าเป็นพระเครื่อง ซึ่งคนไทยทุกๆ คน ที่นับถือพระพุทธศาสนา ใช้นำติดตัวไว้เพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆ ซึ่งอาจจะมาถึงตัวได้ และเป็นพุทธานุสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ทำให้จิตใจสบายและมีความสุข

  ปาฏิหาริย์ข้ามทวีป! แม้แต่กษัตริย์เยอรมันยังทึ่ง! เมื่อเห็นแสงพุ่งจากวรกาย ร.5 ที่มาเครื่องรางไทยชื่อฝรั่ง #พระเครื่องกับเรื่องประวัติศาสตร์

(พระเจ้าไกเซอร์)

เมื่อพระเจ้าไกเซอร์ทรงทราบเช่นนั้น ท่านสนพระทัยและเกิดความเลื่อมใสมีใจศรัทธามาก พระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงถวายให้ไว้เพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสครั้งนี้ด้วยพระเจ้าไกเซอร์ทรงรับไว้และยกมือไหว้พนมมือแบบคนไทย แล้วนำมาใส่ในกระเป๋าเสื้อของพระองค์บ้าง สักพักหนึ่งก็ได้เกิดรัศมีออกมาจากกระเป๋าเสื้อในทำนองเดียวกัน ทำเอาพระเจ้าไกเซอร์และข้าราชบริพารของพระองค์และบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่นั้น ต่างแปลกใจไปตามๆ กัน ทำให้พระองค์เกิดศรัทธาพระสมเด็จที่ได้รับมาและเกิดความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าหลวงของประเทศไทยเราว่า ทรงมีพระบารมีและทรงมีพระปรีชาสามารถยิ่งนัก

พระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงตั้งพระนามของพระเจ้าไกเซอร์ เรียกชื่อย่อรวมกันเป็นพระนามว่า “พระสมเด็จทรงไกเซอร์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประชาชนทั่วไปในสมัยนั้นต่างประเทศและในประเทศให้ความเคารพนับถือพระสมเด็จรุ่นนี้เป็นอันมาก เพราะคุณต่าและอานุภาพพุทธคุณในความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารประสบการณ์ต่างๆ เหนือคำบรรยายที่จะสรรหามาบรรยายไว้ ณ ที่นี้ได้ทั้งหมด จะทำให้ประชาชนทั่วไปต่างพากันมาขอพระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ในสมัยนั้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องผิดหวังกลับไป เพราะทางวัดไม่มีเหลือไว้เลย

นับแต่นั้นเป็นต้นมา พระพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ เศียรบาตร ฐานมีบัวรองรับ 5 ดอกอันมีความหมายถึง รัชกาลที่ 5 ดอกกลางหรือกลีบกลางใหญ่กว่าดอกริมหรือกลีบริมทั้งสองข้าง ทุกคนจึงเรียกพระพิมพ์พิเศษนี้ ตามพระราชดำรัสที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงประทานไว้ว่า “พระสมเด็จพิมพ์ทรงไกเซอร์” มาจนถึงปัจจุบันนี้

 

  ปาฏิหาริย์ข้ามทวีป! แม้แต่กษัตริย์เยอรมันยังทึ่ง! เมื่อเห็นแสงพุ่งจากวรกาย ร.5 ที่มาเครื่องรางไทยชื่อฝรั่ง #พระเครื่องกับเรื่องประวัติศาสตร์

ประวัติเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

๒๒ มิถุนายน วันมรณภาพ (๑๔๔ ปี)
ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี) 
บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ 
บวชเป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป
เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น "พระธรรมกิตติ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น "พระเทพกวี" ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "สมเด็จพระ พุฒาจารย์" ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง" เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง "สมเด็จโต" ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี อายุ พรรษาได้ 56 พรรษาแล้ว 
•มรณภาพ สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ บนศาลา ใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม 
สรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปํนที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ

 

ข่าวโดย :ไญยิกา เมืองจำนงค์ (ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์)