บุญของแผ่นดินไทย!! "ในหลวงทรงค้นพบว่า "ราชสมบัติ" อันมีค่ายิ่ง คือ "ประชาชน" ความคิดของยุวกษัตริย์ สู่ พระราชปณิธานของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ !!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

บุญของแผ่นดินไทย!! \"ในหลวงทรงค้นพบว่า \"ราชสมบัติ\" อันมีค่ายิ่ง คือ \"ประชาชน\" ความคิดของยุวกษัตริย์ สู่ พระราชปณิธานของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ !!

          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงานหนักที่สุดในโลก และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองสิริราชสมบัตินานที่สุดในโลก ด้วยพระบารมีของพระองค์ท่านและมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ทำให้คนไทยมีอยู่มีกินจนมาถึงทุกวันนี้

         “...ฉันครองราชย์สองปีแรก ฉันไม่มีผลงาน เพราะฉันยังไม่รู้ว่าราษฎรต้องการอะไร...” จากพระราชปรารถเบื้องต้น ได้แสดงให้เห็นว่าการเป็นพระมหากษัตริย์ของไทยนั้นเป็นพระราชภาระอันหนักอึ้ง อย่างที่หลายท่านอาจทราบดีแล้วว่า “...เดิมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ว่า พระองค์จะครองราชสมบัติเพียงชั่วระยะจัดงานพระบรมศพ (รัชกาลที่ ๘) ให้งดงามสมพระเกียรติเท่านั้น...” กระทั่งถึงวันที่ต้องเสด็จพระราชดําเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ท่ามกลางเสียงซุบซิบว่า "จะไม่กลับมา"

บุญของแผ่นดินไทย!! \"ในหลวงทรงค้นพบว่า \"ราชสมบัติ\" อันมีค่ายิ่ง คือ \"ประชาชน\" ความคิดของยุวกษัตริย์ สู่ พระราชปณิธานของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ !!

           ในเวลานั้นเสียงหนึ่งดังขึ้นว่า "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" ทําให้ทรงค้นพบว่า "ราชสมบัติ" อันมีค่ายิ่ง คือ "ประชาชน" ที่จะละทิ้งไม่ได้ และในฐานะของพระมหากษัตริย์ ก็จะต้องทรง "ฟังเสียงความทุกข์ยากจากราษฎร" ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภูมิภาค เพียงระยะเวลาอันสั้นนั้นความคิดของ "ยุวกษัตริย์" ในวัยเพียง ๑๘ พระชันษา ที่ทรงคิดขึ้นครองราชย์เพื่อพี่ชาย กลับกลายเป็นพระราชปณิธานของพระมหากษัตริย์ของประชาชนอย่างเต็มพระองค์

           พระบรมฉายาลักษณ์ และภาพยนตร์ที่เคยได้ชมทางทีวี ฉายให้เห็นถึงเรื่องราวระหว่างการเสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรไปยังสถานที่ต่างๆ เห็นได้ชัดว่าหลายครั้งเป็นไปด้วยความยากลําบาก โครงการในพระราชดำริและโครงการพัฒนาต่างๆกว่า ๔,๒๔๐ โครงการ ต้องเผชิญกับปัญหาสารพัน ทั้งจากแสงแดดและสายฝน ที่ต้องทรงพระดำเนินข้ามภูเขาเป็นระยะทางไกล และมีหลายครั้งที่ต้องทรงพระดำเนินลึกลงไปในโคลนตม ล้วนเป็นสิ่งเล็กน้อยของการทรงงานที่มีอะไรหนักหนามากกว่านั้น กับการที่ต้องทรงงานอยู่ในถิ่นทุรกันดารมากกว่า ๖ เดือนต่อปี ตั้งแต่ช่วงต้นของการครองสิริราชสมบัติ

 

บุญของแผ่นดินไทย!! \"ในหลวงทรงค้นพบว่า \"ราชสมบัติ\" อันมีค่ายิ่ง คือ \"ประชาชน\" ความคิดของยุวกษัตริย์ สู่ พระราชปณิธานของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ !!

         นาวาอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ (องคมนตรี) ได้เขียนเล่าเหตุการณ์ความประทับใจในระหว่างติดตามเสด็จฯ ที่หลายคนอาจยังไม่ทราบ ไว้ในหนังสือ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับคณะองคมนตรี” ไว้ว่า วันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่ จ. สกลนคร

        จากนั้นจึงได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ทําให้ทรงทราบว่าราษฎรมีปัญหาน้ำไม่พอใช้ แม้จะมี "อ่างเก็บน้ำห้วยหวด" อยู่แล้วก็ตาม จึงมีพระราชดำริให้ยกประตูน้ำขึ้น เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บนํ้า แต่การยกประตูน้ำจะทําให้นํ้าเข้าท่วมพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีราษฎรเข้าไปบุกรุกใช้สอยอยู่ หากว่ากันตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ก็สามารถไล่ออกไปจากพื้นที่ได้ทันที ทว่าไม่ทรงปฎิบัติเช่นนั้น ทรงเข้าพระราชหฤทัยดีว่า การที่ราษฎรต้องบุกรุก "...มาทำมาหากินในพื้นที่แห้งแล้งเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าเขาอยากจะมา แต่เพราะเขาไม่มีที่อื่นจะไป ที่ฉันช่วยเขาไม่ใช่ว่าจะช่วยตลอดไป แต่ช่วยเพื่อให้เขาได้มีโอกาส..."

บุญของแผ่นดินไทย!! \"ในหลวงทรงค้นพบว่า \"ราชสมบัติ\" อันมีค่ายิ่ง คือ \"ประชาชน\" ความคิดของยุวกษัตริย์ สู่ พระราชปณิธานของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ !!

            ทรงพยายามอธิบายให้ชาวบ้านที่อาจจะต้องเดือดร้อนเข้าใจ..." โดยทรงลงประทับที่พื้นเจรจาอธิบายกับชาวบ้าน ทรงเจรจากับชาวบ้านอยู่นาน แต่ชาวบ้านก็ไม่เข้าใจอยู่อย่างนั้น จนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือคติขณะทรงงานว่า "ไม่ต้องห่วงครอบครัวของฉัน จะทำอะไรก็ทำเถิด ขอให้เป็นสิ่งที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนก็แล้วกัน" เมื่อชาวบ้านไม่เข้าใจ ก็ไม่ทรงคิดจะเสด็จฯ กลับ ปรากฏว่าในคํ่าของคืนวันนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องนำเทียนไขมาจุด ทรงเจรจากับชาวบ้านจนหมดเทียนเป็นเล่ม 

           จะเห็นได้ว่าทรงเป็นองค์พระมหากษัตริย์ ที่เอาพระราชหฤทัยใส่ความทุกข์ยากของราษฎรในทุกมิติ และอย่างสุขุมคัมภีรภาพโดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อย จนทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก

 

 

 

ที่มาจาก : เพจ บันทึกเรื่องราวของแผ่นดินรัชกาลที่๙