มะกันหงายหลัง!!!  "บิ๊กตู่" นำไทยร่วมสมาชิกธนาคาร AIIB ที่มีจีนนำทัพย้ำสัญญาณสิ้นสุดยุุคตามก้นโลกตะวันตก??

ติดตามรายละเอียด www.tnews.co.th

     ถือเป็นอีกหนึ่งข่าวใหญ่ทางเศรษฐกิจและมีผลเชื่อมโยงโดยตรงกับการเมืองระดับภูมิภาคโลกอย่างแน่นอน  เมื่อล่าสุดมีการเปิดเผยจาก   นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง  ระบุว่าว่า ประเทศไทยได้เข้าเป็นประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย  หรือ  AIIB (Asian Infrastructure Development Bank) อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากได้ส่งมอบสัตยาบันสารต่อความตกลงว่าด้วยธนาคาร AIIB   เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2559   และทำให้สถานะประเทศไทยเป็นสมาชิกของธนาคาร  AIIB   โดยสมบูรณ์

 

     ทั้งนี้  นายกฤษฎา  ระบุถึงผลของการเข้าเป็นสมาชิกธนาคาร  AIIB   ว่า จะทำให้ประเทศไทยสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของธนาคารฯ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจที่คำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชีย   โดยขณะนี้มีประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันต่อความตกลงว่าด้วยธนาคาร AIIB แล้วจำนวน 39 ประเทศจากประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งทั้งหมด 57 ประเทศ

 

     สำหรับธนาคาร   AIIB     มีจุดเริ่มต้นมาจาก  ประธานาธิบดี  สี  จิ้นผิง   ของสาธารณรัฐประชาชนจีน  ที่มีแนวคิดจัดตั้งสถาบันทางการเงินสนับสนุนเงินทุนให้กับกลุ่ม BRICS   หรือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูง  ประกอบด้วย  บราซิล  รัสเซีย  อินเดีย  จีน  และ แอฟริกาใต้   เนื่องจากการพัฒนาประเทศด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการพัฒนาในระยะยาวมีความจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินทุนเป็นจำนวนมาก

 

        แต่อีกมุมหนึ่งแนวคิดของจีนในการผลักดันธนาคาร AIIB  ก็ถูกมองว่ามีนัยสำคัญทางการเมืองโลก    เพราะจีนต้องการสร้างดุลอำนาจทางการเงินกับสถาบันการเงินหรือแหล่งเงินทุนของโลกในปัจจุบัน  อาทิ  ธนาคารโลก  หรือ  World Bank    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ   หรือ  International  Monetary Fund  (IMF)  ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง   และ  ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย  หรือ  Asian Development  Bank ( ADB)   

     ขณะที่ก่อนหน้านี้ทั้งสองขั้วอำนาจก็มีกระทบกระทั่งกันมาตลอด    โดยเฉพาะปฏิกิริยาจากสหรัฐอเมริกา  ที่แสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจนต่อจีน   เพราะจีนแสดงให้เห็นว่าต้องการก่อตั้ง  AIIB   เพื่อลดทอนการพึ่งพิงเงินทุนจากสถาบันทางการเงินหรือกลุ่มทุนเดิม ๆ  ที่มีสหรัฐอเมริกา   หรือญี่ปุ่นหนุนหลัง   ด้วยการนำเงินสำรองจากกลุ่มประเทศสมาชิกมาใช้เป็นแหล่งเงินทุนแก่ประเทศกำลังพัฒนา    สำหรับลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมโยงให้เป็นโครงข่ายระบบคมนาคมในแถบเอเซียเข้าด้วยกัน     ซึ่งมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกามองว่าท้ายสุดจะเป็นผลประโยชน์แก่จีนโดยตรง     

 

     และถ้ากลับมามองผลประโยชน์ฝั่งไทย  แน่นอนว่าด้วยปฏิกิริยาทางการเมืองที่สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป  แสดงต่อรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา   โดยอ้างเรื่องวิถีทางประชาธิปไตย   การเข้าร่วมเป็นสมาชิกธนาคาร AIIB  อย่างเป็นทางการของไทย  แม้จะมีวัตถุประสงค์สำคัญในการเพิ่มทางเลือกแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ  ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อไทยโดยตรง

 

     แต่อีกมุมหนึ่งย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกธนาคาร AIIB  ที่จีนเป็นโต้โผใหญ่  ย่อมถือเป็นทิ่มแทงความรู้สึกของสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตก  ซึ่งพยายามกดดันรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ในหลากหลายรูปแบบอย่างได้ผลชะงัด  สำหรับการรักษาดุลอำนาจทางการเมืองโลก และตอบโต้พฤติกรรมของชาติตะวันตกในการคุกคามประเทศไทย

       ขณะเดียวกันก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าภายใต้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมคมขนส่งของไทย อย่างรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีแนวโน้มสูงว่าจะเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับจีนจะเกิดขึ้นเมื่อไร  และทั้งไทย-จีนจะมีแผนร่วมมือการค้าการลงทุนใด ๆ เพิ่มเติมอีกหรือไม่    เพราะทั้งหมดจะยิ่งสะท้อนภาพชัดเจนยิ่งขึ้นในการกำหนดยุทธศาสตร์การเมืองของไทย   ในยุครัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  ว่าไทยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกเสมอไป   ในขณะที่ไทยวันนี้มีตลาดการค้าใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน และโลกเอเซียตะวันนออก     รวมถึงมีธนาคาร AIIB  เป็นแหล่งสนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน  !!! 

 

     ขณะเดียวกันก็ทำให้คนไทยหลายคนย้อนนึกไปถึงสิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์  เคยพูดเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2558  ว่า  “ขอให้ไปบอกกับสหรัฐฯให้เข้าใจด้วยว่า  การตัดเสื้อจะตัดตัวเดียวแล้วให้ทุกคนใส่ไม่ได้   ต้องมีหลายขนาดให้เหมาะกับแต่ละคน จึงต้องมีช่างตัดให้จะตัดเสื้อตัวเดียวให้คนทั้งโลกใส่ไม่ได้  เพราะแต่ละประเทศมีปัญหาต่างกัน แต่หากได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐฯทุกประเทศจะได้รับความเท่าเทียมกัน ร่วมมือกันทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

 

      วันนี้ตนจะไปพูดคุยกับญี่ปุ่น และสมาชิกอีกหลายประเทศ จะมีความร่วมมือหลายมิติทั้งการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคมทั้งในและนอกอาเซียน มีอาเซียนบวกสาม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอาเซียนบวกหก จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ตนเดินตลาดพวกนี้ได้ทั้งหมด...!!! ”