จากการรุกคืบของ "ทีวีดิจิตอล" สู่การปรับตัวแต่ละองค์กร วิกฤติการณ์ของผู้รอดชีวิต

การรุกคืบของ "ทีวีดิจิตอล" ที่เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างสูงในห้วงเวลานี้ ส่งผลให้หลายสำนักข่าวที่เคยครองความยิ่งใหญ่ในวงการสื่อช่วงยุค "ทีวีดาวเทียม" เข้าสู่ภาวะวิกฤต ผู้ประกอบการหลายรายจำต้องทำทุกวิถีทาง

จากการรุกคืบของ "ทีวีดิจิตอล" สู่การปรับตัวแต่ละองค์กร วิกฤติการณ์ของผู้รอดชีวิต

การรุกคืบของ "ทีวีดิจิตอล" ที่เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างสูงในห้วงเวลานี้ ส่งผลให้หลายสำนักข่าวที่เคยครองความยิ่งใหญ่ในวงการสื่อช่วงยุค "ทีวีดาวเทียม" เข้าสู่ภาวะวิกฤต ผู้ประกอบการหลายรายจำต้องทำทุกวิถีทาง เพื่อพยุงค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับต้นทุน งัดทุกกลยุทธ์ตั้งแต่การปรับขนาดองค์กร ปลดพนักงาน แต่ท้ายสุดแล้วก็มีจำนวนไม่น้อยที่ต้องก้มหน้าปิดตัวลงในที่สุด 
 
อย่างไรก็ตามขณะที่บางองค์กรเลือกที่จะยกธงขาวเพราะทนแรงเสียดทานจากเทคโนโลยียุคใหม่ไม่ไหวอีกต่อไป ก็ยังมีองค์กรที่ยืนหยัดพร้อมกับปรับตัว และนับเป็นกรณีที่น่าศึกษายิ่ง ว่าด้วยเหตุผลกลใด จากสื่อที่อยู่ในจุดตกต่ำสามารถขึ้นผงาดกลับมาปรากฏบนฉากหน้าในวงการสื่อได้อีกครั้ง

 

จากการรุกคืบของ "ทีวีดิจิตอล" สู่การปรับตัวแต่ละองค์กร วิกฤติการณ์ของผู้รอดชีวิต
 
นับว่าน่าสนใจไม่น้อยที่ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงปี 2560 บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ได้รายงานงบการเงินรวม สำหรับ 9 เดือนแรก สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งมีผลขาดทุนจำนวน 2,135.17 ล้านบาท เทียบกับผลขาดทุน 622.76 ล้านบาท ของช่วงเวลาเดียวกันในปี 2559 โดยขณะนั้น ทางเนชั่นให้เหตุผลว่า การขาดทุนเกิดจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบต่อวงการโทรทัศน์ดิจิทัลอย่างกว้างขวาง ประกอบกับภาระที่ต้องแบกรับจากการจ่ายค่าใบอนุญาตทีวีดิจิทัลทั้งสองช่อง คือเนชั่นทีวี และ NOW26

และยืนยันว่าทางเนชั่น มีแผนที่ จะสร้างแหล่งรายได้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผ่านช่องทางสื่อดิจิทัลและสื่อออนไลน์ ล่าสุด พ.ย. 2561 เห็นได้ชัดว่า ผลประกอบการของเนชั่นได้ฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ มีรายการคุณภาพผลิตออกมาให้ผู้ชมได้เข้าถึงหลายช่องทางอาทิ เก็บตกจากเนชั่น ดำเนินรายการโดยกนก รัตน์วงศ์สกุล และข่าวคุณภาพบนเพจเฟสบุ๊กโดยเฉพาะบทควาทันใจ (ia) ที่สามารถทำรายได้ 1,000​ เหรียญ/วัน​ (ประมาณ​ 30,000 บาท/วัน) ซึ่งหากรักษาระดับมาตรฐานต่อไปเนชั่นจะมีรายได้​ 10,800,000​ บาท​ ซึ่งจะเปลี่ยนจากการขาดรายได้มาเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นกว่า​ 5,400,000​ บาท
 
จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ เผยให้เห็นว่าประกอบการของเนชั่นก่อนหน้านี้ขาดทุนสะสมมากว่า 1,000​ ล้าน โดยระบุว่า ปี​ 2558 เนชั่น​ (NBC) ขาดทุน​ 20​ ล้าน ,ปี​ 2559 เนชั่น (NBC) ขาดทุน​ 275 ล้าน ,ปี​ 2560 เนชั่น (NBC) ขาดทุน​ 915 ล้าน แต่ตัวเลขของไตรมาส 2​ ปี​ 2561​ มีผลประกอบการดีขึ้นเหลือขาดทุน​เพียง​ 68​ ล้าน และกำลังมีทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ

 

จากการรุกคืบของ "ทีวีดิจิตอล" สู่การปรับตัวแต่ละองค์กร วิกฤติการณ์ของผู้รอดชีวิต
 

 สำหรับช่อง พีพีทีวี 36 ก็ต้องเผชิญวิกฤติเช่นเดียวกัน ทางนายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้ดำเนินกลยุทธปรับผังรายการกว่า 50-60% โดยใช้วิธีเสริมรายการบันเทิง วาไรตี้ และภาพยนตร์มากขึ้น แน่นอนว่าทำให้รายได้ขององค์กรเติบโตอย่างก้าวกระโดด

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้พีพีทีวี ถือเป็นช่องที่มีจุดเด่นด้านรายการกีฬาระดับโลก โดยเฉพาะฟุตบอล ทั้งพรีเมียร์ลีก อังกฤษ, ลาลีกาสเปนและกัลโชซีรีเอ อิตาลี แต่การตัดสินใจนำภาพยนต์บล็อกบัสเตอร์ระดับฮอลลีวูด รวมถึงสารคดีคุณภาพจากดิสคัฟเวอรี่ แน่นอนว่าเวลานี้ พีพีทีวี ก็ได้รับความนิยมสอดคล้องกับผลประกอบการที่มากขึ้น และเป็นตัวเลือกแรกๆ สำหรับผู้ที่ต้องการเสพข่าวคุณภาพและรับชมรายการบันเทิงอย่างครบเครื่องไปพรัอมกัน

จากการรุกคืบของ "ทีวีดิจิตอล" สู่การปรับตัวแต่ละองค์กร วิกฤติการณ์ของผู้รอดชีวิต

 

ส่วนทีนิวส์ เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจนจำต้องทำการปรับลดขนาดองค์กร จากเน้นรายการโทรทัศน์มาเป็นมุ่งผลิตคอนเทนต์บนสื่อโซเชียลมีเดีย โดยในขณะนี้ทีนิวส์มีข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ประมาณ 400-500 ข่าว/วัน หรือ 15,000 ข่าว/เดือน ด้วยการใช้บุคลากรตำแหน่งรีไรท์เตอร์ประมาณ 100 คน เท่านั้น หากจะกล่าวว่าในเวลานี้ ทีนิวส์ขึ้นแท่นสื่ออันดับ 1 ในแง่ปริมาณก็ดูจะไม่เป็นคำกล่าวที่เกินจริงนัก 

ตอกย้ำด้วยข้อเท็จจริง จากตัวเลขผลประกอบการที่มีกำไร คือ ปี​ 2558 ทีนิวส์​ ขาดทุน​ 0.93 ล้าน
,ปี​ 2559 ทีนิวส์​ ขาดทุน​ 10.91 ล้าน ,ปี​ 2560 ทีนิวส์มี​ กำไร​ 11.54  ล้าน ขณะที่ปี​ 2561​ ที่ไตรมาส 3​ ทีนิวส์มีกำไร​ 5​ ล้าน​ ประมาณตัวเลขกำไรสิ้นปี​ 15.5 ล้าน)

 

จากการรุกคืบของ "ทีวีดิจิตอล" สู่การปรับตัวแต่ละองค์กร วิกฤติการณ์ของผู้รอดชีวิต
 
นับตั้งแต่ปลายปี 2556 ที่ กสทช. จัดประมูลคลื่นทีวีดิจิทัล ผลปรากฏว่ามีทีวีดิจิตอลผุดขึ้นอย่างมากมาย ขณะที่มูลค่าโฆษณาผ่านโทรทัศน์มีมูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของสื่อโฆษณาที่มีกว่า 115,029 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของโฆษณาทั้งหมด โดยทาง กสทช. ได้โฆษณาว่า ภายในปี 2562 เม็ดเงินจากค่าโฆษณาของทีวีดิจิตอลจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว แน่นอนว่าย่อมทำให้หลายบริษัทในวงการสื่อที่มีกำลังทรัพย์ ทุ่มเงินไม่อั้นเพื่อเข้าร่วมประมูล คงต้องติดตามกันต่อไปว่าปี 2562 ใครจะอยู่หรือใครจะไป

 

จากการรุกคืบของ "ทีวีดิจิตอล" สู่การปรับตัวแต่ละองค์กร วิกฤติการณ์ของผู้รอดชีวิต